จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
กฏหมายล้มละลาย

ฟ้องล้มละลาย

มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว หรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
(3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้ โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือใน อนาคตก็ตาม

มาตรา 10 ภายใต้บังคับ มาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่า ตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน และ
(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกัน เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาล ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 9 หรือ มาตรา 10 ถ้า ศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแต่ ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุที่ ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง

การประนอมหนี้

มาตรา 45 เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอ ชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ให้ทำคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่น ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับ กิจการและทรัพย์สินตาม มาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ได้กำหนดให้
คำขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้หรือวิธีจัดกิจการ หรือทรัพย์สินและรายละเอียดแห่งหลักประกัน หรือผู้ค้ำประกันถ้ามี
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่า จะยอมรับคำขอนั้นหรือไม่ มาตรา 46 การยอมรับคำขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุม เจ้าหนี้ยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว

มาตรา 56 การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็น ชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ แต่ไม่ ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจ หลุดพ้นโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยใน การประนอมหนี้

มาตรา 59 การประนอมหนี้ไม่ทำให้บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือรับ ผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย

ฟื้นฟูกิจการ

มาตรา 90/1 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
"เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน
"ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือ นิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
"คำร้องขอ" หมายความว่า คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
"ผู้ร้องขอ" หมายความว่า ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
"แผน" หมายความว่า แผนฟื้นฟูกิจการ
"ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้" หมายความว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ และหมายความรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ ทำนองเดียวกับผู้ถือหุ้น
"ผู้ทำแผน" หมายความว่า ผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ
"ผู้บริหารแผน" หมายความว่า ผู้จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
"ผู้บริหารของลูกหนี้" หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจ ดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
"ผู้บริหารชั่วคราว" หมายความว่า ผู้บริหารของลูกหนี้หรือบุคคลอื่นที่ศาลสั่ง ให้มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราวในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการแต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน

มาตรา 90/2 เจ้าหนี้หรือลูกหนี้หรือหน่วยงานของรัฐตาม มาตรา 90/4 อาจร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะถูกฟ้อง ให้ล้มละลายแล้วหรือไม่
กระบวนพิจารณาส่วนใดที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติ ในหมวดอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 90/3 เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนด ชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตาม มาตรา 90/4 อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้

มาตรา 90/4 ภายใต้บังคับ มาตรา 90/5 บุคคลซึ่งมีสิทธิยื่นคำร้อง ขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียว หรือหลายคนรวมกันและมีจำนวนหนี้แน่นอน ไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
(2) ลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะตาม มาตรา 90/3
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ลูกหนี้ตาม มาตรา 90/3 เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(4) สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่ลูกหนี้ตาม มาตรา 90/3 เป็นบริษัทหลักทรัพย์
(5) กรมการประกันภัย ในกรณีที่ลูกหนี้ตาม มาตรา 90/3 เป็นบริษัท ประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิต
(6) หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับ ดูแลการประกอบกิจการ ของลูกหนี้ตาม มาตรา 90/3 ซึ่งเป็นนิติบุคคล หน่วยงานของรัฐและลูกหนี้ดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ตาม (3) (4) (5) หรือ (6) หรือลูกหนี้นั้นเอง จะยื่นคำร้องขอตาม มาตรา 90/3 ด้วยตนเองได้ เมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ จากธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตาม (6) แล้วแต่กรณี
การขอความยินยอม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่หน่วยงาน ตามวรรคสองประกาศกำหนด
เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตาม (6) แล้วแต่กรณี ได้รับคำขอความยินยอม ให้หน่วยงานนั้นแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอทราบภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีที่ไม่ให้ความยินยอมให้แจ้งเหตุผลโดยย่อ และให้ผู้ขอมีสิทธิ ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลหน่วยงานนั้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการ พิจารณา ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา 90/5 บุคคลตาม มาตรา 90/4 จะยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
(2) ศาลหรือนายทะเบียนได้มี คำสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล ที่เป็นลูกหนี้ หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องเลิกกัน ด้วยเหตุอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าการชำระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่

มาตรา 90/6 คำร้องขอของบุคคลตาม มาตรา 90/4 เพื่อให้ศาล มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง
(1) ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
(2) รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
(3) เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
(4) ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
(5) หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน
ผู้ทำแผนอาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล เจ้าหนี้หรือ ผู้บริหารของลูกหนี้ก็ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอ จะต้องแนบรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้อื่น เท่าที่ทราบมาพร้อมคำร้องขอ
ถ้าลูกหนี้เป็นผู้ร้องขอ จะต้องแนบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้งของเจ้าหนี้ทั้งหลายมาพร้อมคำร้องขอ

มาตรา 90/8 ผู้ร้องขอจะถอนคำร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต แต่ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคำร้องขอไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ร้องขอทิ้งคำร้องขอ หรือขาดนัดพิจารณา หรือศาลอนุญาต ให้ถอนคำร้องขอ ก่อนที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลาย อย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายและลูกหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

มาตรา 90/9 เมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวน เป็นการด่วนและให้ศาลประกาศคำสั่งรับคำร้องขอ และวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์ รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ไม่น้อยกว่าสองครั้งห่างกันไม่เกินเจ็ดวัน กับให้ส่ง สำเนาคำร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบและแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือ นายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนายทะเบียนจะได้จดแจ้งคำสั่งศาลไว้ในทะเบียน และให้ส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตาม มาตรา 90/4 (6) แล้วแต่กรณีด้วย ทั้งนี้ ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ถ้าเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอ ให้ผู้ร้องขอนำส่งสำเนาคำร้องขอให้ลูกหนี้ทราบ ก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้ลูกหนี้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้งของเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อศาลก่อนวันนัด ไต่สวนด้วย
ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจ ยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า สามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้ การเสนอชื่อผู้ทำแผนต้องเสนอหนังสือยินยอมของผู้ได้รับ การเสนอชื่อเป็นผู้ทำแผนด้วย
ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ให้ผู้ร้องขอนำส่งสำเนาคำร้องขอ แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย

มาตรา 90/10 ในการไต่สวนคำร้องขอ ศาลต้องไต่สวนเอาความจริง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 90/3 ถ้าได้ความจริงและมีเหตุอันสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการ ทั้งผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอโดยสุจริต ให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ มิฉะนั้นให้มีคำสั่ง ยกคำร้องขอ
ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องขอ ถ้าศาลเห็นสมควรจะงดการไต่สวนและ มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก็ได้

มาตรา 90/11 ให้ศาลดำเนินการไต่สวนคำร้องขอติดต่อกันไป โดยไม่ต้องเลื่อนจนกว่าจะเสร็จการไต่สวนและมีคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
ให้ผู้ร้องขอและผู้คัดค้านมาศาลในวันนัดไต่สวนทุกนัด ฝ่ายใดมีหน้าที่ นำสืบในนัดใดให้เตรียมพยานหลักฐานมาให้พร้อม ถ้าผู้ร้องขอหรือผู้คัดค้านไม่มาหรือ ไม่เตรียมพยานหลักฐานมา ให้ถือว่าไม่ติดใจร้องขอหรือคัดค้าน หรือไม่ติดใจนำสืบ พยานหลักฐานอีกต่อไป แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่นำสืบมีคำขอว่าไม่อาจนำพยาน หลักฐานสำคัญเกี่ยวกับ ประเด็นข้อสำคัญในคดีมาศาลในนัดใด เพราะมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เกี่ยวกับพยานหลักฐานนั้น ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลจะสั่งให้เลื่อนการสืบพยานหลักฐานนั้น ไปก็ได้ แต่ให้สั่งเลื่อนได้เพียงครั้งเดียว
ในกรณีที่ผู้ร้องขอหรือผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่นำสืบในนัดใด เมื่อได้รับอนุญาต จากศาลแล้วจะไม่มาศาลในนัดนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิถามค้านพยาน ที่นำสืบในนัดนั้น
ในกรณีที่ผู้ร้องขอหรือผู้คัดค้านไม่มาศาลในนัดใด ไม่ว่าจะได้รับอนุญาต จากศาลหรือไม่ ให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว

มาตรา 90/12 ภายใต้บังคับ มาตรา 90/13 และ มาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการ ตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ หรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้
(1) ห้ามมิให้ฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษา หรือสั่งให้เลิกนิติบุคคลที่เป็น ลูกหนี้ ถ้ามีการฟ้องหรือร้องขอคดีดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดการพิจารณาคดีนั้นไว้
(2) ห้ามมิให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิก หรือจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่ เป็นลูกหนี้และห้ามมิให้นิติบุคคลนั้นเลิกกันโดยประการอื่น
(3) ห้ามมิให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตาม มาตรา 90/4 (6) แล้วแต่กรณี สั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของลูกหนี้หรือสั่งให้ลูกหนี้ หยุดประกอบกิจการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ
(4) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของลูกหนี้หรือเสนอ ข้อพิพาทที่ลูกหนี้อาจต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้ เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดีหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(5) ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ถ้ามูลแห่งหนี้ตามคำพิพากษานั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ในกรณีที่ได้ดำเนินการบังคับคดีไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดการบังคับคดีนั้นไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอ จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น หรือการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอ หรือการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์ เฉพาะสิ่งเสร็จก่อนวันดังกล่าวนั้น
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้เป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็น การเสี่ยงต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของทรัพย์สินนั้น ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีขายได้โดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่สมควร แล้วให้กักเงินไว้ ถ้าศาลมีคำสั่ง เห็นชอบด้วยแผนก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบเงินนั้นแก่ผู้บริหารแผนนำไปใช้จ่ายได้ ถ้าศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิก การฟื้นฟูกิจการก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและยังเหลือเงินอยู่ ให้ส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ต่อไป
(6) ห้ามมิให้เจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ
(7) ห้ามมิให้เจ้าหนี้ซึ่งบังคับชำระหนี้ได้เองตามกฎหมาย ยึดทรัพย์สินหรือ ขายทรัพย์สินของลูกหนี้
(8) ห้ามมิให้เจ้าของทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญ ในการดำเนินกิจการของ ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใน การโอนกรรมสิทธิ์หรือสัญญาเช่าที่ยังไม่สิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของบุคคลอื่นที่อาศัยสิทธิของลูกหนี้ รวมตลอดจนฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้ซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าว ถ้ามีการฟ้องคดีดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดการพิจารณาคดีนั้นไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น หรือหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้บริหาร แผนชั่วคราว แล้วแต่กรณี ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ราคา ค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ หรือค่าเช่าตามสัญญา สองคราวติดต่อกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
(9) ห้ามมิให้ลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้ การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอ จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(10) คำสั่งตามวิธีการชั่วคราวของศาลที่ให้ยึด อายัด ห้ามจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่ง รับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณานั้น ให้ศาลที่รับคำร้องขอมีอำนาจสั่งให้ระงับผลบังคับไว้ หรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ถ้าต่อมาศาลนั้นมีคำสั่ง ยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ก็ให้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวหรือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวดังกล่าว ตามที่เห็นสมควรต่อไป
(11) ห้ามมิให้ผู้ประกอบการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ งดให้บริการแก่ลูกหนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ หรือหลังจากวันที่ ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้บริหารแผนชั่วคราว แล้วแต่กรณี ไม่ชำระค่าบริการที่เกิดขึ้นหลังจาก วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการสองคราวติดต่อกัน
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ห้ามผู้ประกอบการสาธารณูปโภค ที่จะมีคำร้องให้ ศาลที่รับคำร้องขอมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามที่ศาลเห็นสมควร
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหรือคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการที่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดของวรรคหนึ่งไม่มีผลผูกพันลูกหนี้
การออกคำสั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท นายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ การทำนิติกรรม หรือการชำระหนี้ใด ๆ ที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดของวรรคหนึ่ง การนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 90/13 เจ้าหนี้และบุคคลซึ่งถูกจำกัดสิทธิตาม มาตรา 90/12 อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่รับคำร้องขอเพื่อให้มีคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิ ของตนตาม มาตรา 90/12 ได้ หากการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้น
(1) ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ หรือ
(2) มิได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอ
เมื่อได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินการพิจารณาเป็นการด่วน หากปรากฏเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ร้อง และหากเป็นกรณีตาม (2) ศาลอาจมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเพื่อให้เจ้าหนี้ มีประกันได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอก็ได้

มาตรา 90/14 การดำเนินการดังต่อไปนี้ถือเป็นการให้ความคุ้มครอง แก่เจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอแล้ว
(1) มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกัน ในจำนวนเท่ากับมูลค่าที่ลดลงไป ของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของการจำกัดสิทธิตาม มาตรา 90/12 (6) เพราะเหตุของการจำกัดสิทธินั้น
(2) มีการให้หลักประกันแก่เจ้าหนี้มีประกันเพื่อชดเชย หลักประกันเดิมในจำนวน เท่ากับมูลค่าที่ลดลงไปของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของการจำกัดสิทธิ ตาม มาตรา 90/12 (6) เพราะเหตุการจำกัดสิทธินั้น หรือ
(3) มีการดำเนินการอื่นใดที่เจ้าหนี้มีประกันนั้นยินยอม หรือที่ศาลเห็นว่า จะทำให้เจ้าหนี้มีประกันสามารถได้รับชำระหนี้ของตนตามมูลค่าของทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันในเวลาที่มีการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการพร้อมดอกเบี้ยและผลประโยชน์ ตามสัญญา เมื่อการดำเนินการตามความในหมวดนี้สิ้นสุดลง

มาตรา 90/17 ในการพิจารณาตั้งผู้ทำแผน ถ้าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ผู้คัดค้านไม่ได้เสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนด้วย เมื่อศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลจะ มีคำสั่งตั้งบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทำแผนก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอ ไม่สมควรเป็นผู้ทำแผนก็ดี หรือลูกหนี้ เจ้าหนี้ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนด้วยก็ดี ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทำแผน
ในกรณีที่ลูกหนี้มิได้เสนอผู้ทำแผน มติเลือกผู้ทำแผนต้องเป็นมติของเจ้าหนี้ ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น แต่ในกรณีที่ลูกหนี้เสนอ ผู้ทำแผนด้วย ให้ผู้ทำแผนที่ลูกหนี้เสนอเป็นผู้ทำแผน เว้นแต่จะมีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มี จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนน ในมตินั้นกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผน ในการลงมติตามมาตรานี้ ให้เจ้าหนี้มีประกัน ออกเสียงได้เต็มตามจำนวนหนี้
ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน ถ้าที่ประชุมมีมติเลือก ผู้ทำแผนได้ และศาลเห็นชอบด้วย ให้ศาลตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทำแผน หากศาล ไม่เห็นชอบด้วย ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้อีก ครั้งหนึ่ง เพื่อเลือกบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอชื่อเป็นผู้ทำแผน
ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทำแผนได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผนอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่ในกรณีที่เห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก็ได้
ในการประชุมเจ้าหนี้ในวรรคสามหรือวรรคสี่ ถ้าที่ประชุมมีมติเลือกผู้ทำแผนได้ ให้ศาลตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทำแผน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรที่จะไม่ตั้งบุคคล ดังกล่าวเป็นผู้ทำแผน หรือที่ประชุมไม่อาจมีมติเลือกผู้ทำแผนได้ ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่ง ให้ฟื้นฟูกิจการ
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผล ของการประชุมเจ้าหนี้ที่พิจารณา เลือกผู้ทำแผนทุกครั้งต่อศาลภายในสามวันนับแต่วันประชุม เพื่อให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป
การเสนอชื่อผู้ทำแผนต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ ต้องเสนอหนังสือยินยอมของ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทำแผนด้วย

มาตรา 90/18 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณากำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณา เลือกผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลาย อย่างน้อยหนึ่งฉบับล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และต้องแจ้งไปยังลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย ตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบด้วย
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธาน ในการประชุมเจ้าหนี้ และให้มี รายงานการประชุมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บไว้เป็นหลักฐาน

มาตรา 90/20 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดลง ให้ศาล มีคำสั่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทำแผน ในระหว่างที่ไม่สามารถมีคำสั่งตั้งผู้บริหารชั่วคราวได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราว
ในการกำกับดูแลนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดอำนาจหน้าที่ รวมทั้งสั่งให้ผู้บริหารชั่วคราวทำคำชี้แจงในเรื่องบัญชี เรื่องการเงินหรือเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับการจัดการกิจการและทรัพย์สิน หรือจะสั่งให้กระทำหรือมิให้กระทำการใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจ สั่งให้ผู้บริหารชั่วคราวพ้นจากอำนาจหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ศาลจะสั่งตั้งผู้บริหารชั่วคราวใหม่ ขึ้นทำหน้าที่ก็ได้ ถ้าศาลไม่มีคำสั่งตั้งผู้บริหารชั่วคราวใหม่ ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราวไปตามวรรคหนึ่ง
ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และคำสั่งตั้งหรือให้ผู้บริหารชั่วคราว พ้นจากอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลาย ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือนาย ทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยด่วน เพื่อนายทะเบียนจะได้จดแจ้งคำสั่งศาลไว้ใน ทะเบียนและแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตาม มาตรา 90/4 (6) แล้วแต่กรณี เพื่อทราบด้วย

มาตรา 90/21 ภายใต้บังคับ มาตรา 90/42 และ มาตรา 90/64 ในกรณี ที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน ให้บรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้น ของลูกหนี้ระงับลง เว้นแต่สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล และให้สิทธิดังกล่าวตกแก่ผู้บริหารชั่วคราว หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทำแผน
ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้บริหารชั่วคราวและ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยอนุโลม
เมื่อได้รับทราบคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ผู้บริหารของลูกหนี้ต้องส่งมอบ ทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน และกิจการของลูกหนี้ แก่ผู้บริหารชั่วคราวหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณีโดยเร็วที่สุด เพื่อการนี้ ให้ผู้บริหารชั่วคราวหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกให้ผู้ครอบครองส่งมอบ ทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารข้างต้นแก่ตนได้ด้วย
ให้ผู้บริหารชั่วคราวที่ศาลมีคำสั่ง ให้พ้นจากอำนาจหน้าที่มีหน้าที่ตามความ ในวรรคสามด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 90/22 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณา เลือกผู้ทำแผนต้องเป็นเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ และลูกหนี้ ได้ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด ชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม โดยเจ้าหนี้ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประชุมตามแบบพิมพ์ ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนด และแสดงหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้จนเป็นที่พอใจ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุม
เจ้าหนี้และลูกหนี้จะขอตรวจหลักฐาน แห่งความเป็นเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ก็ได้
เจ้าหนี้จะออกเสียงด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนก็ได้

มาตรา 90/23 ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถามลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่มาประชุมว่าจะคัดค้านการออกเสียง ของเจ้าหนี้รายใดหรือไม่ถ้ามีผู้คัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายใดให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สอบถามผู้คัดค้าน เจ้าหนี้ผู้ถูกคัดค้าน และลูกหนี้เกี่ยวกับเรื่องที่คัดค้าน ถ้าบุคคล ดังกล่าวมาประชุม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายนั้นออกเสียงในจำนวนหนี้ได้หรือไม่เท่าใด
คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด โดยให้มีผล เฉพาะให้เจ้าหนี้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีผลให้มติ เลือกผู้ทำแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลเปลี่ยนแปลงไปหรือกระทบถึงสิทธิ ในการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้

มาตรา 90/25 ภายใต้บังคับ มาตรา 90/42 และ มาตรา 90/64 เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ ผู้ทำแผน และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้ทำแผนโดยอนุโลม

มาตรา 90/26 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดย ปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในส่วนนี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ พร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้ให้ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้า
บุคคลใดได้รับความเสียหาย เพราะการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ถูกเพิกถอนตาม มาตรา 90/41 หรือเพราะผู้บริหารแผนไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิ ตามสัญญาตาม มาตรา 90/41ทวิ มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการสำหรับหนี้เดิม หรือค่าเสียหายได้ แล้วแต่กรณี ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง แต่ให้นับจากวันที่ อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามีข้อโต้เถียงเป็นคดีให้นับจากวัน คดีถึงที่สุด
ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 91 วรรคสอง มาตรา 105 มาตรา 108 และบทบัญญัติในหมวด 8 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยเรื่องค่าธรรมเนียมมาใช้บังคับเกี่ยวกับการ ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยอนุโลม

มาตรา 90/27 เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไข ก็ตาม เว้นแต่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้าม ตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีหรือหนี้ที่จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีไม่ได้
ผู้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม มาตรา 101 อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟู กิจการสำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิ ขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว
หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือผู้บริหารชั่วคราวก่อขึ้น หนี้ที่ลูกหนี้จะต้อง รับผิดตาม มาตรา 90/12 (8) หรือ (11) และหนี้ภาษีอากรหรือหนี้อื่นอันมีลักษณะเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการ แต่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะต้องมีหนังสือขอให้ผู้ทำแผนออกหนังสือรับรองสิทธิ ของตนก่อนวันประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน ถ้าผู้ทำแผนจะปฏิเสธสิทธิของเจ้าหนี้จะต้อง ปฏิเสธเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของเจ้าหนี้ มิฉะนั้น ให้ถือว่ายอมรับสิทธิของเจ้าหนี้ตามที่ขอมา ถ้าเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือขอให้ผู้ทำแผนออกหนังสือ รับรองสิทธิของตนหรือผู้ทำแผนมีหนังสือปฏิเสธสิทธิของเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ข้างต้น เจ้าหนี้นั้นอาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนหรือวันที่เจ้าหนี้ได้รับคำปฏิเสธนั้น แล้วแต่กรณี

มาตรา 90/28 ภายใต้บังคับ มาตรา 90/12 (6) มาตรา 90/13 และ มาตรา 90/14 เจ้าหนี้มีประกันจะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการก็ได้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือผู้ทำแผนตรวจดูทรัพย์สินนั้น

มาตรา 90/29 เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนอาจขอตรวจและโต้แย้ง คำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ แต่ต้องกระทำภายใน กำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้

มาตรา 90/31 เพื่อประโยชน์ในการคำนวณหนี้ที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนน ถ้าหนี้ได้กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศให้คิดเป็นเงินตราไทยในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันของธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรา 90/32 คำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายใด ถ้าเจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนไม่โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสั่งอนุญาต ให้รับชำระหนี้ได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น
คำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายใด ถ้ามีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ให้ยกคำขอรับชำระหนี้
(2) อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
(3) อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วน
การคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

มาตรา 90/34 ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำชี้แจงตาม

มาตรา 90/35 เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้ที่ตนรับรองแล้วตามแบบพิมพ์ต่อผู้ทำแผน
เมื่อผู้บริหารของลูกหนี้มี คำขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ข้างต้นโดยมีเหตุอันควร ผู้ทำแผนอาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน สามสิบวัน
ถ้าผู้บริหารของลูกหนี้ไม่ทำหรือไม่สามารถทำคำชี้แจงได้ ให้ผู้ทำแผน เป็นผู้ทำแทนและเพื่อการนี้ให้มีอำนาจจ้างบุคคลอื่นเข้าช่วยตามที่เห็นจำเป็นโดยคิดหัก ค่าใช้จ่ายจากทรัพย์สินของลูกหนี้
" มาตรา 90/35 คำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้อง แสดงโดยชัดแจ้งถึงรายการต่อไปนี้ ณ วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณา
(1) กิจการของลูกหนี้
(2) สินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่ลูกหนี้มีต่อบุคคลภายนอก
(3) ทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นประกันแก่เจ้าหนี้ และวันที่ได้ให้ทรัพย์สินนั้น เป็นประกัน
(4) ทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่อยู่ในความยึดถือของลูกหนี้
(5) การเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทหรือนิติบุคคล หรือเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนอื่น
(6) ชื่อ อาชีพและที่อยู่โดยละเอียดของเจ้าหนี้ทั้งหลาย
(7) ชื่อ อาชีพและที่อยู่โดยละเอียดของผู้เป็นลูกหนี้ของลูกหนี้
(8) รายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่จะตกแก่ลูกหนี้ในภายหน้า
(9) ข้อมูลอื่นตามที่ผู้ทำแผนเห็นสมควรให้แจ้งเพิ่มเติม
คำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นหลักฐานอันถูกต้องที่ใช้ยันลูกหนี้ได้

มาตรา 90/36 ผู้บริหารชั่วคราวหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำ คำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อผู้ทำแผนตาม มาตรา 90/35 ในช่วงเวลา ที่ตนมีอำนาจบริหารกิจการชั่วคราว และให้นำ มาตรา 90/34 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 90/39 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด ชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้และบุคคลนั้นไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สิน ของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ให้ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อดำเนินการ
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือ ไปยังบุคคลดังกล่าวให้ชำระหนี้ หรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้แจ้งไป และให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผล ประกอบข้อปฏิเสธเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสิบสี่วัน นับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นหนี้ลูกหนี้ตามที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด
ถ้าบุคคลที่รับแจ้งความนั้นปฏิเสธหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด เวลาตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวน เมื่อเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นหนี้ ให้แจ้งต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนและบุคคลนั้นทราบ ถ้าเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นหนี้เท่าใด ให้แจ้งเป็นหนังสือยืนยันไปยังบุคคลที่จะต้องรับผิดชอบนั้น และให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้าน ประการใด ให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน
ถ้าบุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันนั้น คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายใน กำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ศาลพิจารณา ถ้าพอใจว่าเป็นหนี้ให้มีคำบังคับให้บุคคลนั้น ชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผน ถ้าเห็นว่าไม่ได้เป็นหนี้ ให้มี คำสั่งจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้
ถ้าบุคคลที่ได้รับแจ้งความจาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ปฏิเสธต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือมิได้ร้องคัดค้านต่อศาลตามกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอต่อศาลให้บังคับให้บุคคลนั้นชำระหนี้ภายใน กำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
ถ้าบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาจมีคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ในกรณีที่ผู้ถูกทวงหนี้ร้องคัดค้านต่อศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้สั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ร้องคัดค้านไว้ชั่วคราวก่อน มีคำสั่งในเรื่องหนี้นั้นได้

มาตรา 90/40 การขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นให้ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอได้โดย ทำเป็นคำร้อง
ถ้านิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น เกิดขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวัน ยื่นคำร้องขอและภายหลังนั้น หรือเป็นการทำให้โดยเสน่หา หรือเป็นการที่ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้และผู้ที่ได้ลาภงอก แต่การนั้น รู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ

มาตรา 90/41 เมื่อปรากฏว่ามีการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ยื่นคำร้องขอและภายหลังนั้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้อง ในการนี้ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบเป็นบุคคลภายในของลูกหนี้ ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอน การโอนหรือการกระทำตามวรรคหนึ่งที่ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมี การยื่นคำร้องขอและภายหลังนั้น
การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำตามมาตรานี้ ไม่กระทบถึงสิทธิของ "บุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการยื่นคำร้องขอ"

มาตรา 90/41ทวิ ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ผู้บริหารแผน ทราบคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาล ให้ผู้บริหารแผนมีอำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ ตามที่ได้กำหนดไว้ในแผน
เจ้าหนี้หรือบุคคลใดได้รับความเสียหาย โดยการกระทำของผู้บริหารแผน ตามมาตรานี้ บุคคลนั้นอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำนั้น ศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใด ตามที่เห็นสมควร
บุคคลใดได้รับความเสียหาย ตามมาตรานี้ มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟู "กิจการสำหรับค่าเสียหายได้"

มาตรา 90/42 ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) เหตุผลที่ทำให้มีการฟื้นฟูกิจการ
(2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
(3) หลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการ
(ก) ขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการ
(ข) การชำระหนี้ การยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ การลดจำนวนหนี้ลง และการจัดกลุ่มเจ้าหนี้
(ค การลดทุนและเพิ่มทุน
(ง) การก่อหนี้และระดมเงินทุน รวมตลอดถึงแหล่งของเงินทุน และเงื่อนไขแห่งหนี้สินและเงินทุนดังกล่าว
(จ) การจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์สินของลูกหนี้
(ฉ) เงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและประโยชน์อื่นใด
(4) การไถ่ถอนหลักประกันในกรณีที่มีเจ้าหนี้มีประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
(5) แนวทางแก้ปัญหา ในกรณีขาดสภาพคล่องชั่วคราวระหว่างการปฏิบัติตามแผน
(6) วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องหรือโอนหนี้
(7) ชื่อ คุณสมบัติ หนังสือยินยอมของผู้บริหารแผน และค่าตอบแทน โดยนำ ความใน มาตรา 90/6 วรรคสอง มาใช้บังคับเกี่ยวกับผู้บริหารแผนโดยอนุโลม
(8) การแต่งตั้งและการพ้นตำแหน่งของผู้บริหารแผน
(9) ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี
(10) การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญา ในกรณีที่ทรัพย์สิน ของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้
มิให้นำ มาตรา 1117 มาตรา 1119 มาตรา 1145 มาตรา 1220 ถึง มาตรา 1228 มาตรา 1238 ถึง มาตรา 1243 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 54 มาตรา 84 มาตรา 102 มาตรา 107 มาตรา 116 มาตรา 119 มาตรา 136 มาตรา 137 มาตรา 139 มาตรา 140 มาตรา 141 มาตรา 146 ถึง มาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และ มาตรา 39 แห่ง พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้

มาตรา 90/42ทวิ การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ตาม มาตรา 90/42 (3) (ข) ให้จัดดังต่อไปนี้
(1) เจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายที่มีจำนวนหนี้มีประกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้า ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ให้จัดเป็นรายละกลุ่ม
(2) เจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้จัดกลุ่มไว้ใน (1) ให้จัดเป็นหนึ่งกลุ่ม
(3) เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม โดยให้เจ้าหนี้ไม่มีประกัน ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
(4) เจ้าหนี้ตาม มาตรา 130ทวิ ให้จัดเป็นหนึ่งกลุ่ม
เจ้าหนี้รายใดเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไป ตามวรรคหนึ่ง อาจยื่น คำร้องขอต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม และศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่ม เสียใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว คำสั่งศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา 90/42ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติ " เท่าเทียมกัน เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้ได้รับการปฏิบัติที่เสียเปรียบในกลุ่มนั้นจะให้ความยินยอม เป็นหนังสือ

มาตรา 90/60 แผนซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับ ชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ ตาม มาตรา 90/27
คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผน ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคล ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะ อย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และไม่มีผล ให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคล เช่นว่านั้นจะยินยอมโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย

มาตรา 90/61 เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่น คำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 90/26 หรือ มาตรา 90/27 วรรคสาม แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้จะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่
(1) แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ
(2) ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

มาตรา 90/62 เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการในหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผนดังต่อไปนี้
(1) หนี้ซึ่งผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนชั่วคราว เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าวก่อขึ้น
(2) หนี้ภาษีอากร และ
(3) หนี้อย่างอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ต้องชำระ เช่น เงินสมทบ กองทุนเงินทดแทน เป็นต้น


Create Date : 13 มีนาคม 2550
Last Update : 13 มีนาคม 2550 21:17:52 น. 18 comments
Counter : 1843 Pageviews.

 
ยังเรียนไม่ถึง


คิดว่าเทอม 1/50 น่าจะลง
ถ้าหากผ่านทุกวิชาเทอมนี้

ขอบคุณในสรุปวิชาที่มีต่อเพื่อน ๆ เสมอมาครับ




โดย: คนหน้าเดิม IP: 202.44.219.99 วันที่: 14 มีนาคม 2550 เวลา:9:30:44 น.  

 
--- คุณคนหน้าเดิม ---

มองการไกลจังเลยค่ะ...
ไร้นามยังไม่ได้เตรียมการให้ 1/50 เลย


โดย: ไร้นาม วันที่: 14 มีนาคม 2550 เวลา:20:21:16 น.  

 
เรียนที่ไหนค่ะเนี่ย เราเรียนรามฯ น่ะ ตอนนี้ ลง 1/50 รหัส 4 ทั้งนั้นเลย


โดย: ปุ้ย IP: 125.24.209.79 วันที่: 12 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:00:00 น.  

 
+++ คุณปุ้ย +++

เรียนรามฯ เหมือนกันค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:22:17 น.  

 
เราเรียนกม.ล้มละลายไม่รู้เรื่องเลย เพื่อนๆช่วยแนะนำเราหน่อย


โดย: คนเรียนนาน IP: 124.121.79.115 วันที่: 7 กันยายน 2550 เวลา:9:41:49 น.  

 
ตอนนี้ อาจารย์ บอกขอบเขตมานิดหน่อยแล้ว ของเทอม1/50และก็จะปิดวันศุกร์นี้ด้วย
เรื่องแรก การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 22 (1) (3) 119 ลองดู ฎ. 1998/2538
เรื่องที่2 การยกเลิกการล้มละลาย 135 (3) เกี่ยวโยง กับ 77 (1) (2) และ โยง มาตรา 91 ลองดู ฎ.6084 /48 ฎ.136/2540
ลองเข้าไปฟังคำบรรยายในเว็บรามดูก็ได้นะ ไม่ทันตกไหน ก็ย้อนกลับไปฟังอีกรอบได้ เรา ก็แนะนำประมาณนี้นะคะ เราก็งงอยู่เหมือนกัน ก็ค่อยๆอ่านๆไป


โดย: ฟูลคอน IP: 58.11.32.123 วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:23:53:48 น.  

 
จะขอความช่วยเหลือจากคุนทนายที่เก่งกฏหมายล้มละลายแม่อายุ72ปีกำลังจาโดนฟ้อง และเป็นข้าราชการบำนาญอยู่จันทบุรีจาทำไงดีค่ะแกกลุ้มใจมา Email kitkiss999@hotmail.com


โดย: แอนน์47 IP: 124.120.119.114 วันที่: 26 กันยายน 2550 เวลา:13:31:41 น.  

 
อยู่ๆก็ได้หมายศาลฟ้องล้มละลายมายอดเงิน 2 ล้านเศษจากธ.กรุงเทพฯ. แนบสรุปคำตัดสิน 3 คดีเมื่อ ปี 40 และปี
41 เป็นการขายลดเช็คกับธ.ซึ่งไม่เคยได้รับหทายศาลเลยและตัวเองก็ไม่เคยเอาเช็คไปขายลดกับธ.เลย ช่วงนั้นทำหจก.กับเพื่อนและเพื่อนก็สนิทกับบ.ที่นำเช็คไปขาย สันนิจฐานว่าอาจถูกขโมยไปแล้วปลอมลายเซ็น ตอนนี้กลุ้มใจมากถูกฟ้องล้มละลาย โดยไม่รู้เรื่องเลย ขอความกรุณาผู้รู้ว่าควรทำไงดีครับ

manatdd@yahoo.com


โดย: มนัส IP: 125.24.133.207 วันที่: 26 กันยายน 2550 เวลา:13:59:31 น.  

 
--- คุณคนเรียนนาน ---

ต้องขอบคุณคุณฟูลคอนที่มาช่วยตอบค่ะ


--- คุณฟูลคอน ---

ขอบคุณที่มาช่วยตอบค่ะ


--- คุณ แอนน์47 & คุณมนัส ---

แนะนำให้ไปปรึกษาทนายค่ะ (พอดีไร้นามยังเป็นนักเรียนอยู่) สู้ๆ เอาใจช่วยนะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:22:50:36 น.  

 
คุณมนัส ลองไปที่สภาทนายความดูสิ ครับ หรือ add เมลฺ์ผมไว้ก็ได้ moussieff@hotmail.com ถึงจะไม่รับปากว่าจะช่วยได้แค่ไหน แต่จะพยายามครับ พอดี รู้จักพี่ทนายความเก่ง ๆ หลายคน แล้วก็เคยฝึกงานที่สภาทนายความด้วย และผมว่า ล้มละลาย ผมก็ พอได้อยู่ น่าจะช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อย

ส่วนคุณแอนน์ ผมadd เมล์ไว้แล้วนะครับ

คุณไร้นามครับ ถ้าเป็นไปได้ ผมขอเมล์หน่อยได้ไหม๊ครับ add มาคุยกาน อยากเป็นเพื่อนด้วยครับ


โดย: villain IP: 58.64.93.108 วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:20:20:21 น.  

 
อ๊ะ โทษทีครับ ลืมแนะนำตัว ผมก็เรียนรามครับ รหัส 47 ครับ ชื่อภูมิ ครับ

อายุ จา 22 หล่ะ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เหมือนกันครับ

ส่วนรหัสวิชา เทอมนี้ ลง รหัส 1 ครับ ตัวเดียว T_T


โดย: villain IP: 58.64.93.108 วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:20:50:22 น.  

 
จะทำยังไงให้เรียนกฏหมายล้มละลายผ่านครับ ช่วยทีลงหลายรอบแล้ว ทำยังไงก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ ตอนนี้รหัส 44 ช่วยเถอะครับ อยากจะจบแล้ว เรียนแน่นเกินไปเด๋วมันจะแตกเอา ยังไงก็ฝากตอบด้วยนะคับ

ถ้าไม่เป็นการรบกวนก็ช่วยตอบกลับมาที่ เมลนี้นะคับ

jk_note_talents@hotmail.com

ขอบคุณล่วงหน้านะคับ


โดย: Jknote IP: 203.113.67.37 วันที่: 22 ธันวาคม 2550 เวลา:19:44:13 น.  

 
ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟู
ที่ศาลสั่งแล้ว นั้น
เจ้าหนี้สามารถคิดค่าปรับได้หรือไม่
คะ ผู้รู้ช่วยบอกหน่วยได้มั๊ย
ขอบคุณครับ


โดย: Nikom IP: 203.149.28.115 วันที่: 18 มีนาคม 2551 เวลา:15:06:42 น.  

 
คนหน้าเดิมช่วยอธิบายเรื่อง กม.ล้มละลายให้พอเข้าใจได้มั๊ญ๕ณํฐ


โดย: AD IP: 118.174.178.210 วันที่: 31 มีนาคม 2551 เวลา:20:57:11 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ

พอดีมาช้าไปหน่อยพลาดการติดต่อเพื่อนหลายๆ คนเลย ^^'


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:48:03 น.  

 
ขอบคุณมากๆเลยนะคะ เพราะ หนูกำลังเรียนเทอมนี้เลย


โดย: Lด็กxลJทาJ IP: 202.28.51.71 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:14:57:51 น.  

 
ขอบคุนมากครับพี่ เป็นความรู้อย่างสูงทีได้รับคับ


โดย: เรียนเหมือนกานคับ IP: 118.172.131.240 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:10:09 น.  

 
เพื่อนเรียนรามไม่ค่อยเข้าใจตอนใกล้จะจบทําไงดีอะบอกหน่อยคับยิ่งLW313งงอะ


โดย: bigcup IP: 10.0.0.183, 124.120.167.230 วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:49:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.