จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
23 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
กฏหมายประกันภัย

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ลักษณะ 2 สัญญา

ผลแห่งสัญญา

มาตรา 374* ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้ จากลูกหนี้โดยตรงได้
ในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อม เกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์ จากสัญญานั้น

มาตรา 375* เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามบทบัญญัติ แห่ง มาตรา ก่อนแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้น ในภายหลังได้ไม่

ลักษณะ 20 ประกันภัย

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 861* อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย

มาตรา 863*** อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วน ได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่ อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 865*** ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือ ให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็น ความเท็จไซร้ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับ ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายใน กำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป

มาตรา 866* ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดั่งกล่าวใน มาตรา 865 นั้นก็ดี หรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้ รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดั่งจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์

มาตรา 867* อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทน ของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย อันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้น แก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง
กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือของผู้รับประกันภัยและมีรายการ ดั่งต่อไปนี้
(1) วัตถุที่เอาประกันภัย
(2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง
(3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้กำหนดกันไว้
(4) จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
(5) จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
(6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
(7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย
(8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
(9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี
(10) วันทำสัญญาประกันภัย
(11) สถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย

ประกันวินาศภัย

ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 870* ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันเพื่อความวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกัน ภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับ ประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศจริง เท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศจริงแบ่งตาม ส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประกันภัยไว้
อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ ทำพร้อมกัน
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองราย หรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็น
ลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัย ก่อนถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้ม จำนวนวินาศภัยไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ ยังขาดอยู่นั้นต่อ ๆ กันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ

มาตรา 871** ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันก็ดี หรือสืบเนื่องเป็นลำดับกันก็ดี ท่านว่าการที่ย่อมสละสิทธิ อันมีต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่งนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ ของผู้รับประกันภัยรายอื่น ๆ

มาตรา 875** ถ้าวัตถุอันได้ประกันภัยไว้นั้น เปลี่ยนมือไปจากผู้ เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยบัญญัติกฎหมายก็ดี ท่านว่า สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยก็ย่อมโอนตามไปด้วย
ถ้าในสัญญามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอน วัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัยไซร้ ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย อนึ่ง ถ้าในการโอนเช่นนี้ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มขึ้นหนักไซร้ ท่านว่าสัญญาประกันภัยนั้นกลายเป็นโมฆะ

มาตรา 877*** ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดั่งจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ
(1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
(2) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สิน ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
(3) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่ง เหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่งจำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคา เช่นว่านั้น
ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอา ประกันภัยไว้

มาตรา 879** ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัย หรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ ประโยชน์
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผลโดยตรง มาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่ จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

มาตรา 880** ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของ บุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวน เพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และ ของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น
ถ้าผู้รับประกันภัย ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้น ใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอา ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น

มาตรา 881** ถ้าความวินาศเกิดขึ้นเพราะภัยมีขึ้นดั่งผู้รับประกันภัย ตกลงประกันภัยไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบ ความวินาศนั้นแล้วต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้า
ถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัย อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิด แต่การนั้นได้เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้

มาตรา 882** ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้อง คดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย
ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อ พ้นเวลาสองปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด

ส่วนที่ 3 ประกันภัยค้ำจุน

มาตรา 887*** อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้ รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัย จะต้องรับผิดชอบ
บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควร จะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้ หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตาม สัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย นั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย
อนึ่ง ผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอา ประกันภัยแล้ว ก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้อง เสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอา ประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว

มาตรา 888* ถ้าค่าสินไหมทดแทนอันผู้รับประกันภัยได้ใช้ไป โดยคำพิพากษานั้นยังไม่คุ้มค่าวินาศภัยเต็มจำนวนไซร้ ท่านว่าผู้เอา ประกันภัยก็ยังคงต้องรับใช้จำนวนที่ยังขาด เว้นไว้แต่บุคคลผู้ต้อง เสียหายจะได้ละเลยเสียไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วย ดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา ก่อน

ประกันชีวิต

มาตรา 891*** แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์ เองก็ดีผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้ แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น
ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยได้ทำเป็นรูปให้ใช้เงินตามเขาสั่งแล้ว ท่าน ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 309 มาใช้บังคับ

มาตรา 893* การใช้เงินอาศัยเหตุความทรงชีพ หรือมรณะของ บุคคลผู้ใด แม้ได้แถลงอายุของบุคคลผู้นั้นได้คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ได้กำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัยไว้ต่ำไซร้ ท่านให้ลดจำนวน เงินอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้นั้นลงตามส่วน
แต่ถ้าผู้รับประกันภัยพิสูจน์ได้ว่า ในขณะที่ทำสัญญานั้นอายุที่ ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติของเขาแล้ว ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 894* ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัย เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและ ได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปีไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือรับกรมธรรม์ใช้ เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัย

มาตรา 895** เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคล คนหนึ่งคนใดท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัย อันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
(1) บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่ง นับแต่วันทำสัญญา หรือ
(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาในกรณีที่ 2 นี้ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น

มาตรา 896** มรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอก นั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะ ในอันจะได้ค่าสินไหม ทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจำนวนเงิน อันพึงจะใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะหวนกลับมาได้แก่ตนด้วย


Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2550 0:20:24 น. 19 comments
Counter : 3964 Pageviews.

 
ว๊าววววว... วันนี้มีกฏหมายมาลงด้วยเหรอจ๊ะ
ดีๆจ๊ะ เหมือนมีหนังสือ ปพพ.เป็นเล่มเลยเนอะ


โดย: fonrin วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:0:29:57 น.  

 
ขอกฏหมายสิทธิบัตรขอรับ
โดยเฉพาะมาตราที่ 51

วิเคราะห์กันทีละคำเลยว่า มันยังไงกันแน่

โดยความเห็น ข้าพเจ้าคิดว่า คนร่างเดิมอาจจะไม่ได้คิดถึงว่าจะต้องแจ้งหรือไม่ต้องแจ้งก่อน แต่ว่าต้องแจ้ง

แต่ว่าคนตีความตอนนี้ ตีความว่า "ไม่ต้องแจ้งก่อน" ก็ได้ แต่ว่าต้องแจ้ง แล้วยกความดีให้คนร่าง บอกว่ามองการณ์ไกล


โดย: Plin, :-p (Plin, :-p ) วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:6:44:41 น.  

 
--- คุณ fonrin ---

ใช่ค่ะ เอาประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มา


--- คุณ Plin, :-p ---

มาตรา 51 บัญญัติไว้ใน...

หมวด2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์

ส่วนที่5 การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร มาตรา (45-52)

มาตรา 51 เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการสงวนรักษาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากร ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม หรือป้องกันหรือบรรเทาการขาดแคลนอาหาร ยา หรือสิ่งอุปโภค บริโภคอย่างอื่นอย่างรุนแรง หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น กระทรวง ทบวง กรม อาจใช้สิทธิตามสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา 36 โดยกระทำการดังกล่าวเอง หรือให้บุคคลอื่นกระทำแทน ในการใช้สิทธิดังกล่าว กระทรวง ทบวง กรม จะต้องเสีย ค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรตาม มาตรา 48 วรรคสอง และจะต้องแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตรทราบเป็นหนังสือโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ โดยไม่อยู่ ภายใต้บังคับเงื่อนไข มาตรา 46 มาตรา 47 และ มาตรา 47ทวิ

ในการนี้ให้ยื่นคำขอเสนอค่าตอบแทนและเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรต่อ อธิบดี การกำหนดค่าตอบแทนให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งประสงค์ ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรกับผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร และให้ นำ มาตรา 50 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมายเหตุ: วรรคแรกถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร ฉบับ 3, 2542 มาตรา 21 - วรรคสองเป็นความอันเดิมตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรฉบับแรก, 2522


โดย: ไร้นาม วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:50:09 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณ--ไร้นาม--
แวะมาอ่านค่ะ..
ขอบคุณค่ะ นำความรู้มาแบ่งปัน..
ขอโชคดีในการสอบนะค่ะ ... G โล๊ดดดดด



โดย: naragorn IP: 210.86.209.62 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:50:22 น.  

 
--- คุณ naragorn ---

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรดีๆ นะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:8:10:06 น.  

 
เตรียมตัวสอบ
พร้อมเกินร้อย (เท่าเอ็ม 150)
ขอให้เพื่อน ๆ สอบผ่านด้วยดีทุก ๆ คน



โดย: คนหน้าเดิม IP: 203.185.68.99 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:11:57:41 น.  

 
จะสอบแล้วเหรอ โชคเอนะจ๊ะอุ๊

สู้ สู้


โดย: เป่าจิน วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:16:46:12 น.  

 
ตามมาจากห้องราชดำเนินค่ะ

โวว มาตราอาไร อ่านไม่รู้เรื่องเลยน๊ะ


โดย: ปุ๊กกี้&คิตตี้ (ปุ๊กกี้&คิตตี้ ) วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:19:07:02 น.  

 
--- คุณคนหน้าเดิม ---

สู้ๆ นะคะ (ดีใจที่พร้อมสอบแล้วค่ะ)


--- ชาบุ ---

อาทิตย์หน้าสอบแล้วจ้า


--- คุณปุ๊กกี้&คิตตี้ ---

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:16:28 น.  

 
ใครก็ได้ผมขอหลักกฏหมายได้ไมอะ อยากได้ กฏหมายเอกเทศสัญญา1อะที่เกียวกับ สัญญาซื้อขาย แลกเปลียน เช่าซื้อ เช่าทรัพย์อะ และก็กฏหมายประกันภัย


โดย: เอ๋ IP: 61.7.175.190 วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:21:43:42 น.  

 
เอาด้วยๆ ฝากไว้ที่เมลนี้นะคับ

jk_note_talents@hotmail.com

ขอบคุณ คุณไร้นามด้วยนะคับ


โดย: Jknote IP: 203.113.67.37 วันที่: 22 ธันวาคม 2550 เวลา:20:11:32 น.  

 
คุณไร้นาม ครับ ผมขอก๊อปปี้ ไปไว้ใน บล็อกตัวเองหน่อยนะครับ ได้ความรู้ดีมากครับ
อย่างน้อยเราได้เผยแพร่ ให้ผู้ใช้รถ ที่ทำประกันภัย
ทราบเรื่องกฎหมายได้นะครับ

อย่างไร ผมขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
ปล. หากไม่เห็นด้วยอย่างไรเมล์บอกกันที่บล็อกได้นะครับ


โดย: taiyosan วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:05:16 น.  

 
--- คุณ เอ๋ & K. Jknote ---

โห... เพิ่งเห็นข้อความนะคะ สงสัยจะช้าไปแล้วค่ะ
(หนึ่งปีผ่านไป) แหะ แหะ ไม่ค่อยได้มีเวลามาเช็คเลย


--- คุณ taiyosan ---

ตามสบายเลยค่ะ ไม่ว่าอะไร


โดย: ไร้นาม วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:26:05 น.  

 
ถ้าบอกทำประกันแบบปากเปล่า โดยพนักงานของบริษัทประกันภัย บอกว่าเป้นผู้โชคดี 100 ท่านแรก หากทำประกันจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด แต่พอตกลงทำกับให้ชำระเงนิ โดยหักผ่นบัตรอิออน และก็หักไปแล้ว ผมสงสัยว่าหักไปได้ยังไง ไม่ได้เซ็นอะไรเลย และก่อนหน้านี้ก็.โทรไปหาบริษัท ประกันภัย แจ้งยกเลิกแล้ว บริษัทบอกว่าถ้าไม่มีการจ่ายเงิน ก็ถือว่ายกเลิกอัตโนมัติ แล้วมาหักจากอิอนได้ยังไง หลอกลวงกันไหมเนี่ย ผู้รู้ช่วยตอบคำถามที


โดย: สงสัย IP: 124.120.237.146 วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:20:09:52 น.  

 
บริษัท ประกันภัย Ace insurance อ้างว่าเราเป็นผู้โชคดีแล้วหลอกให้ทำประกันภัยด้วย ตอนแรกว่าไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ตอนหลังกลับเสีย แย่มาก พี่น้อง


โดย: หลอกลวง IP: 124.120.237.215 วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:20:11:50 น.  

 
โดนหักเดือนละ 150 เหมือนกัน มันบอกจะส่งกรมธรรม์ มาให้ไม่เห็นมีเลย อยากยกเลิกทำไงเนี่ย


โดย: ลูกค้าอิออน IP: 125.26.251.27 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:22:29:21 น.  

 
รู้เรื่องนิดหน่อย


โดย: คนน่ารัก IP: 192.168.212.152, 203.172.243.130 วันที่: 27 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:03:11 น.  

 
ขอบคุณมากๆเลยครับจากแต่ก่อนเรียน อ่าน สะเปะสะปะ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ แต่เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าจะรู้หลักการอ่านอย่างเป็นระบบขึ้น ขอบคุณจริงๆ


โดย: กันตรึม IP: 125.25.169.252 วันที่: 3 ธันวาคม 2552 เวลา:10:52:42 น.  

 
สำหรับ ในกรณี ของคุณ ที่ 15

จริงๆแล้วการทำประกัน จะ เหมือนฟรีก่อนวัน เดือนแรก
ถ้าได้อ่านเอกสาร กรรมธรรม์ที่ส่งไป มันจะมีเขียนตัวเล็กๆไว้ว่า ยกเลิกได้ ภายใน 30หลังจากที่ได้รับ
ซึ่ง อย่างคุณตกลงกับเค้าไปวันนี้ ค่าใช้จ่ายไปเกิดอีก 2-3เดือนข้างหน้านะ แต่ คุ้มครองเลยนะวันนี้ พอได้รับเอกสารกรรมธรรมแล้วพบว่าไม่ถูกใจก็โทรไปยกเลิกได้ 30วันไม่เสียค่าใช้จ่าย

มันก็เลย เหมือนจะ ฟรี ในช่วงแรก ซึ่งคุณต้องฟังดีๆ

สำหรับคุณ ที่ 14

จะเหมือนกับ กรณีคุณที่ 15
ก่อนอื่นผมต้องถามคุณก่อนว่า บัตร aeon เป็นบัตรผ่อนสินค้าหรือบัตร เครดิต

ถ้าเป็น บัตรเครดิต โทรไปศูลย์บัตรแล้วบอกเค้าว่าไม่ให้ เก็บค่าเบี้ยแล้วในเดือนต่อๆไป เด๋วพอ เก็บค่าเบี้ยไม่ได้มันจะ ยกเลิกไปเอง
แต่.... คุณจำไว้ว่า การยกเลิกกรรมธรรม์ทุก กรรมธรรม์ในโลกนี้ เท่ากันเงินที่คุณเสียไปแล้วก่อนหน้านั้น เป็นเงินทิ้งแล้ว แต่ถ้าถือไว้ มันก็เอาไว้ดูแลเราได้ซึ่งถ้าถือสัก 5 ปี เสียเงินไป 20000 แต่ตอนปีที่ 5เรา ได้ เบิกได้เครมก็ คุ้มแล้วครับแล้วค่อยยกเลิกก็ได้

ส่วนคุณ 16

ให้โทร ติดต่อ หา ว่า ประกันตัวนั้นทำกับบริษัทอะไรแล้วให้เค้าส่งไปใหม่ เพราะถ้าจะเคริมเรื่องเอกสานี้สำคัญ


โดย: ผู้รู้ IP: 192.168.1.211, 203.144.144.164 วันที่: 7 มีนาคม 2553 เวลา:13:46:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.