|
กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ - บรรพ 1 ลักษณะ 3 ทรัพย์
บรรพ 1 หลักทั่วไป - ลักษณะ 3 ทรัพย์
ความหมายของคำว่าทรัพย์และทรัพย์สิน
มาตรา 137: ทรัพย์หมายถึงวัตถุมีรูปร่าง
มาตรา 138: ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้ง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
Note: - วัตถุมีรูปร่างคือมีขนาด กว้าง ยาว สูง; วัตถุไม่มีรูปร่าง คือมองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนสัด ไม่มีขนาด รวมถึงสิทธิต่างๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์ - อาจมีราคาได้ โดยราคาคือคุณค่าในตัวของสิ่งนั้น; อาจถือเอาได้ หมายถึงเข้าหวงแหนไว้เพื่อตนเอง
ประเภทของทรัพย์สิน
[1] อสังหาริมทรัพย์ [2] สังหาริมทรัพย์ [3] ทรัพย์แบ่งได้ [4] ทรัพย์แบ่งไม่ได้ [5] ทรัพย์นอกพาณิชย์
รวมถึงส่วนต่างๆ ของทรัพย์เหล่านี้ คือ ส่วนควบ อุปกรณ์ และ ดอกผล
มาตรา 139: อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
Note: - ที่ดิน พึงจัดได้เป็นส่วนกว้างส่วนยาว อันประจำอยู่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ไม่หมายถึงที่ดินที่ขุดมาแล้ว - ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ต้องติดกับที่ดินโดยมีลักษณะถาวร ไม่สามารถจะแยกหรือยกเอาไปได้โดยง่าย แต่มิได้หมายความไกลถึงกับต้องติดตรึงตราอยู่ตลอดไป มีอยู่สามลักษณะคือ +1+ ทรัพย์ที่เกิดหรือติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ เช่นไม้ยืนต้น (มีอายุยืนกว่า 3 ปี) +2+ ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินโดยมีผู้นำมาติด อย่างตรึงตราหนาแน่น +3+ ทรัพย์ที่ติดตรึงตราโดยลักษณะถาวรกับทรัพย์ที่ติดกับที่ดินอีกทอดหนึ่ง - ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เมื่ออยู่กับที่ดินก็เป็นอสังหาริมทรัพย์ - สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน =1= สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธ์ในที่ดินโดยตรง (กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิใช้สอย สิทธิจะได้รับผล สิทธิจะจำหน่ายจ่ายโอน สิทธิที่จะติดตามเอาคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน โดยมิชอบด้วยกฏหมาย รวมถึงสิทธิที่จำกัดตัดรอนสิทธิในที่ดิน เช่นสิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารจำยอม ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ และ สิทธิจำนอง =2= สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิในที่ดินโดยทางอ้อม - เช่าบ้านติดอยู่กันที่ดิน บ้านก็เป็นอสังหาริมทรัพย์เพราะถือว่าบ้านนั้นสืบเนื่องจากที่ดิน กรรมสิทธิ์ในบ้าน สิทธิจำนอง หรือสิทธิที่จะได้มาซึ่งดอกผลในบ้านถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์
มาตรา 140: สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
มาตรา 141: ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว
มาตรา 142: ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฏหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย
Note: - ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้จะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ - ทรัพย์แบ่งไม่ได้โดยสภาพ, โดยอำนาจของกฏหมาย(ต้องประมูลราคาหรือขายทอดตลาด แล้วนำเงินสุทธิที่ขายได้มาแบ่งกัน)
มาตรา 143: ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฏหมาย
ส่วนควบ เครื่องอุปกรณ์และดอกผล
มาตรา 144: ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจจะแยกจากกันได้นอกจากทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
Note: - สาระสำคัญโดยสภาพแห่งตัวทรัพย์, โดยจารีตประเพณีท้องถิ่น
มาตรา 145: ไม้ยืนต้น เป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ ไม้ล้มลุก หรือธัญชาติ อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
มาตรา 146: ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย
มาตรา 147: อุปกรณ์ หมายความว่าสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์เป็นประธานนั้นเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การที่จะจัดดูแลหรือใช้สอย หรือรักษาทรัพย์เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์เป็ฯประธานโดยการนำมาติดต่อ หรือปรับเข้าไว้ หรือกระทำโดยประการหนึ่งประการใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์เป็นประธานนั้น อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 148: ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย ดอกผลธรมดา หมายความว่าสิงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น ดอกผลนิตินัย หมายความว่าทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนด
บุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ
บุคคลสิทธิ คือสิทธิหนือบุคคล เช่นสิทธิของเจ้าหนี้ สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในทางละเมิด
ทรัพยสิทธิ คือสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน
Create Date : 25 กันยายน 2548 |
Last Update : 27 กันยายน 2548 7:55:27 น. |
|
15 comments
|
Counter : 1933 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:3:36:41 น. |
|
|
|
โดย: noom_no1 วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:15:43:04 น. |
|
|
|
โดย: ...ณ มิตร... (namit ) วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:17:10:26 น. |
|
|
|
โดย: ชาบุ วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:21:25:04 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:23:14:07 น. |
|
|
|
โดย: น้ำ IP: 203.113.17.171 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:8:10:38 น. |
|
|
|
โดย: ไก่นะคะ IP: 222.123.120.219 วันที่: 6 มิถุนายน 2550 เวลา:15:34:42 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:12:05:41 น. |
|
|
|
โดย: กลิ่นควัน IP: 61.19.65.162 วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:16:12:56 น. |
|
|
|
โดย: เด็กกฎหมายเหมือนกัน IP: 118.173.0.67 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:9:45:55 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:05:53 น. |
|
|
|
โดย: sia IP: 125.24.127.49 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:06:32 น. |
|
|
|
โดย: Red davil ยโสธร 608 IP: 58.147.93.113 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:16:24:12 น. |
|
|
|
โดย: purple IP: 112.143.48.114 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:19:25:56 น. |
|
|
|
โดย: อ้อย IP: 111.84.100.151 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:43:51 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
MY VIP Friends
 
|
|
|
|