จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
 
กันยายน 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
12 กันยายน 2548
 
All Blogs
 

กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 - ลักษณะ 1-2 ชั้นต้น

วันนี้มาแหวกแนวหน่อย ขอใช้พื้นที่ blog ตัวเองท่องหนังสือเตรียมสอบนะคะ ( ^_^ )




ภาค 3: วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

ลักษณะ 1. ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง

การบรรยายฟ้อง

มาตรา 158*: ฟ้อง ต้องทำเป็นหนังสือ และมี
1) ชื่อศาล และ วัน เดือน ปี
2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และ ฐานความผิด
3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฏรเป็นโจทก์ ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติ และ บังคับ
4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติ และ บังคับของจำเลย
5) การกระทำ*ทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริง และ รายละเอียดเกี่ยวกับเวลา และ สถานที่* ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของ*ที่เกี่ยวข้องด้วย พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียน หรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
6) อ้างมาตราในกฏหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
7) ลายมือชื่อโจทก์* ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง

Note:
การกระทำ
- ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ขอให้ลงโทษ

เวลาและสถานที่
- แบ่งเป็นกลางวัน/กลางคืนก่อนเที่ยง/กลางคืนหลังเที่ยง (ประมาณก็ได้)
- สถานที่พอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจ (ตำบล แขวง ฯลฯ)

บุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ถ้าไม่ทราบตัวเจ้าทรัพย์ก็ไม่ต้องระบุชื่อ
- ถ้าอ่านคำฟ้องแล้วพอเข้าใจว่าเจ้าของทรัพย์เป็นใครก็สมบูรณ์
- ความผิดอาญาแผ่นดิน รัฐเป็นผู้เสียหาย

ลงลายมือฟ้องแทน
- ถ้าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน เช่นนี้บุคคลอื่นสามารถลงชื่อได้
- นิติบุคคล การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว มอบอำนาจไม่ได้

ความผิดฐานต่างๆ
x กระทำโดยประมาท
x เจตนา
x ฉ้อโกง
x ยักยอก (เวลาส่งมอบ และ เวลาเบียดบัง)
x ลักทรัพย์
x ปล้นทรัพย์
x แจ้งความเท็จ
x เบิกความเท็จ
x พ.ร.บ. เช็ค (เกิดความผิดวันที่ธนาคารปฏิเสธ)


มาตรา 159: ถ้าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษเพราะได้กระทำความผิดมาแล้ว เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบ ให้กล่าวมาในฟ้อง
ถ้ามิได้ขอเพิ่มโทษมาในฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จะยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าสมควรจะอนุญาต ก็ได้

มาตรา 160: ความผิดหลายกระทงจะรวมในฟ้องเดียวกันก็ได้ แต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไป
ความผิดแต่ละกระทงจะถือว่าเป็นข้อหาแยกจากข้อหาอื่นก็ได้ ถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งให้เผยสำนวนพิจารณาความผิดกระทงใดหรือหลายกระทงต่างหาก และ จะสั่งเช่นนี้ก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาก็ได้

การตรวจคำฟ้อง

มาตรา 161*: ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง
โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งเช่นนั้นของศาล

Note:
แก้ฟ้อง
- ฟ้องโจทก์ไม่ระบุที่เกิดเหตุ
- ฟ้องที่ไม่ลงชื่อโจทก์

สั่งยกฟ้อง- ฟ้องที่ขัดกัน
- ฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
- ศาลพบ 161 ภายหลังประทับฟ้อง

สั่งไม่ประทับฟ้อง- คดีมิได้อยู่ในอำนาจศาล

กรณีฟ้องใหม่ไม่ได้
- ฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด (ในกรรมเดียวกัน)
- ฟ้องขาดเวลาและสถานที่


กรณีฟ้องใหม่ได้
- ยกฟ้องเพราะโจทก์ระบุฐานความผิดขัดกัน
- ยกฟ้องเพราะเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย 158 (5)


มาตรา 162*: ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่ง ต่อไปนี้
1) ในคดีราษฏรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา 2)
2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อน ก็ได้
ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพ ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา

การแก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้อง คำให้การ

มาตรา 163*: เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้วให้ส่งสำเนาแก้ฟ้อง หรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จำเลยเพื่อแก้และศาลจะสั่งแยก สำนวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้
เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติม คำให้การของเขาก่อนศาลพิจารณา ถ้าศาลเห็นสมควรขออนุญาตก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์

มาตรา 164*: คำร้องขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิด หรือรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี การเพิ่มเติมฐานความผิดหรือรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดี ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใดระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้นมิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น

การไต่สวนมูลฟ้อง

มาตรา 165*: ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ในวันไต่สวนมูลฟ้องให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาลให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป เมื่อศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริงแล้ว ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการต่อไป
จำเลยไม่มีอำนาจนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิ์ในการที่จำเลยจะมีทนายมาช่วยเหลือ
ในคดีที่ราษฏรเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไปกับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลยทราบ จำเลยจะมาฟ้งการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจำเลยจะไม่มาแต่ตั้งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคำให้การจำเลย และก่อนที่ศาลจะประทับฟ้อง มิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น

*หมายเหตุ:
- การฟ้องนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการจึงจะดำเนินคดีได้
- แม้จะฟ้องภายในอายุความและศาลอนุญาติให้ผัดฟ้อง แต่วันนัดไต่สวนมูลฟ้องไม่มีตัวจำเลย คดีขาดอายุความ พิจารณายกฟ้อง!
- ถ้าจำเลยอยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ถึงแม้จะหลบหนีก็ดำเนินการต่อไปได้


โจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด

มาตรา 166*: ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้
คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดยแสดงให้ศาลเห็นได้ว่า มีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีซึ่งราษฏรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว

หมายเหตุ:
- โจทก์ = ตัวโจทก์, โจทก์ร่วม, ทนายโจทก์ หรือ เสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะ
- นัด = นัดไต่สวนมูลฟ้อง และ นัดพิจารณา


การประทับฟ้อง

มาตรา 167: ถ้าปรากฏว่าคดีมีมูล ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปเฉพาะกระทงที่มีมูล ถ้าคดีไม่มีมูลให้พิพากษายกฟ้อง

มาตรา 168: เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ให้ส่งสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยรายตัวไปเว้นแต่จำเลยจะได้รับสำเนาฟ้องไว้ก่อนแล้ว

มาตรา 169: เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมา ให้ศาลออกหมายเรียกหรือหมายจับมาแล้วแต่ควรอย่างใด เพื่อพิจารณาต่อไป

คำสั่งของศาล

มาตรา 170: คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้นโจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ ฏีกาได้ ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ ฏีกา
ถ้าโจทก์ร้องขอ ศาลจะขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ ฏีกาก็ได้

มาตรา 171: ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนและการพิจาณา เว้นแต่มาตรา 175 มาบังคับแก่การไต่สวน มูลฟ้องโดยอนุโลม
*ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ และมาตรา 172 ตรีมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พยาน เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ทั้งในคดีที่ราษฏรเป็นโจทก์ และในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์

ลักษณะ 2. การพิจารณา

การพิจารณาคดีต้องทำโดยเปิดเผย

มาตรา 172: การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณาต่อไป

มาตรา 172 ทวิ - ภายหลังที่ศาลได้ดำเนินการตามมาตรา 172 วรรค 2 แล้ว เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อให้การดำเนินการพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้าศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยายลับหลังจำเลยได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

1) ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสิบปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือในคดีมีโทษปรับสถานเดียวเมื่อจำเลยมีทนาย และจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณา และการสืบพยาน

2) ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคำแถลงของโจทก์ว่า การพิจารณาและการสืบพยานตามที่โจทก์ขอให้กระทำไม่เกี่ยวแก่จำเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยคนนั้นก็ได้

3) ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลเห็นสมควรจะพิจารณาและสืบพยานจำเลยคนหนึ่งๆ ลับหลังจำเลยคนอื่นก็ได้

ในคดีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานตาม 2) หรือ 3) ลับหลังจำเลยคนใด ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณาและการสืบพยาน ที่กระทำลับหลังนั้นเป็นผลเสียหายแก่จำเลยคนนั้น

มาตรา 172 ตรี - ในการสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ถ้าศาลเห็นสมควร และจัดให้พยานนั้นอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กแล้ว ศาลอาจปฏิบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

1) ศาลเป็นผู้ถามพยานเองโดยแจ้งให้พยานนั้นทราบประเด็น และข้อเท็จจริง ซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้นๆ หรือศาลจะถามผ่านนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ได้

2) ให้คู่ความถาม ถามค้านหรือถามติงผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์

ในการเบิกความของพยานดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงไปยังห้องพิจารณาด้วยและเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ทราบ

ก่อนการสืบพยานตามวรรคหนึ่ง ศาลจะจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง คำให้การของพยานที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวนตามมาตรา 133 ทวิ หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา 171 วรรคสอง ต่อหน้าคู่ความก็ได้ และหากศาลเห็นสมควรจะให้ถือสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาลก็ได้

ในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตามวรรคหนึ่งเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานนั้นในชั้นสอบสวนตามมาตรา 133 ทวิ หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา 171 วรรคสอง เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล และให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้

มาตรา 172 จัตวา - ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 172 ตรีมาใช้บังคับโดยอนุโลม แก่การสืบพยานนอกศาลในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี

กรณีที่ศาลตั้งทนายให้จำเลย

มาตรา 173*: ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้
ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกหรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้
ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรานี้ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด

การสืบพยาน

มาตรา 174: ก่อนนำพยานเข้าสืบโจทก์มีอำนาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดีโจทก์ คือแถลงถึงลักษณะของฟ้องอีกทั้งพยานหลักฐานที่จำนำสืบ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเสร็จแล้วให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ
เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยมีอำนาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดีจำเลย โดยแถลงข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายซึ่งตั้งใจอ้างอิงทั้งแสดงพยานหลักฐานที่จะนำสืบ เสร็จแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ
เมื่อสืบพยานจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยมีอำนาจแถลงปิดคดีของตนด้วยปาก หรือหนังสือหรือทั้งสองอย่าง
ในระหว่างพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือทำการอะไรอีก จะสั่งงดพยานหรือการนั้นเสียก็ได้

มาตรา 175: เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ถ้าเห็นสมควรศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้

คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ

มาตรา 176*: ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้น กฏหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง
ในคดีที่มีจำเลยหลายคนและจำเลยบางคนรับสารภาพเมื่อศาลเห็นสมควรจะสั่งจำหน่ายคดี สำหรับจำเลยที่ปฏิเสธ เพื่อให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธนั้น เป็นคดีใหม่ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ก็ได้

การพิจารณาการลับ

มาตรา 177: ศาลมีอำนาจสั่งให้พิจารณาเป็นการลับเมื่อเห็นสมควรโดยพลการ หรือโดยคำร้องขอของคู่ความฝ่ายใดแต่ต้องเพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ มิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน

มาตรา 178: เมื่อมีการพิจารณาเป็นการลับ บุคคลเหล่านี้เท่านั้นมีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาได้ คือ
1) โจทก์และทนาย
2) จำเลยและทนาย
3) ผู้ควบคุมตัวจำเลย
4) พยานและผู้ชำนาญการพิเศษ
5) ล่าม
6) บุคคลผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องและได้รับอนุญาตจากศาล
7) พนักงานศาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่ศาล แล้วแต่จะเห็นสมควร

การดำเนินการพิจารณา

มาตรา 179: ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฏหมายนี้หรือกฏหมายอื่น ศาลจะดำเนินการพิจารณาตลอดไปจนเสร็จโดยไม่เลื่อนก็ได้
ถ้าพยานไม่มาหรือมีเหตุอื่นอันควรต้องเลื่อนการพิจารณาก็ให้ศาลเลื่อนคดีไปตามที่เห็นสมควร

มาตรา 180: ให้นำบทบัญญัติเรื่องรักษาความเรียบร้อยในศาล ในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาโดยอนุโลม แต่ห้ามมิให้สั่งให้จำเลยออกจากห้องพิจารณา เว้นแต่จำเลยขัดขวางการพิจารณา

มาตรา 181: ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณา โดยอนุโลม




 

Create Date : 12 กันยายน 2548
14 comments
Last Update : 15 กันยายน 2548 0:05:39 น.
Counter : 2490 Pageviews.

 

^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ

 

โดย: ไร้นาม 12 กันยายน 2548 0:28:31 น.  

 

มาเป็นกำลังใจ คนท่องหนังสือนะคะ

 

โดย: ตะวันสีชมพู 12 กันยายน 2548 0:33:48 น.  

 

--- คุณตะวันสีชมพู ---

Thanks ค่ะ (อยากบอกว่าเห็นรูปแล้วตกใจนิดนึง ฮือๆ ดึกแล้วน้า) แต่หมดแรงก๋วยเตี๋ยวแล้วค่ะ วันนี้ทำได้แค่เขียนมาตรา เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยมาตกแต่งเพิ่ม ;-)

 

โดย: ไร้นาม 12 กันยายน 2548 1:18:37 น.  

 

ตั้งใจสอบนะจ๊ะอุ๊ สู้ สู้นะ

 

โดย: เป่าจิน 13 กันยายน 2548 10:18:13 น.  

 

กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ไม่น่าเปิดมาเลยช้านนนนนน

มาเจอของร้อนซะได้

แต่ให้กำลังใจจ้า เราเชื่อว่าหนูอุ๊สามารถอยู่แล้ว

 

โดย: ชาบุ 13 กันยายน 2548 18:12:05 น.  

 

--- เป่าจิน ---

thanks จ้า

--- ชาบุ ---

เดี๋ยวท่องอีกเยอะเลย (แกล้งๆ)

 

โดย: ไร้นาม 13 กันยายน 2548 23:42:12 น.  

 


ช่วยภาวนาให้สอบสำเร็จนะ...
ถ้าภาวนาแล้วยังไม่สำเร็จ ก็โชคชัย4แระกัน อิ อิ

 

โดย: เต้าหู้หิมะ 14 กันยายน 2548 2:02:16 น.  

 

--- คุณเต้าหู้หิมะ ---

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมพร้อมคำอวยพรค่ะ ;)

 

โดย: ไร้นาม 14 กันยายน 2548 19:53:07 น.  

 

 

โดย: ห IP: 58.8.168.218 10 พฤศจิกายน 2549 20:53:03 น.  

 

สอบกฎหมายวันจันทร์แล้วเวปนี้ช่วยได้มากเลย

 

โดย: พอเจตต์ IP: 222.123.21.250 16 กุมภาพันธ์ 2550 21:15:36 น.  

 

+++ คุณ ห +++

:)


+++ คุณพอเจตต์ +++

ดีใจค่ะ

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 12:25:00 น.  

 

รักนะ

 

โดย: ตุ่ย IP: 203.144.144.164 23 มกราคม 2553 15:14:34 น.  

 

เหมือนได้พบแสงนำทาง

 

โดย: มาดี IP: 110.49.193.72 26 สิงหาคม 2553 17:13:20 น.  

 

--- คุณตุ่ย & คุณมาดี ---

ดีใจที่ข้อมูลมีประโยชน์นะคะ

 

โดย: ไร้นาม 21 มีนาคม 2565 9:31:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.