จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 - ภาค 3 อุทธรณ์ และ ฏีกา

ภาค 3 อุทธรณ์และฎีกา ลักษณะ 1 อุทธรณ์

มาตรา 223*: ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 138 , 168 , 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นให้ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด

Note: ผู้มีสิทธิอุทธรณ์
[1] ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ - หากเป็นบุคคลผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสีย หรือได้ผลกระทบกระเทือนต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ย่อมไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้
[2] คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่จะอุทธรณ์ - ต้องไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด
[3] คดีที่กฏหมายบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์ - ถ้าได้ประนีประนอมยอมความตามมาตรา 138 วรรคสอง เว้นแต่ {1} มีข้อกล่าวอ้างว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล {2} ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฏหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย {3} ถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง; คดีที่อุทธรณ์เฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว เว้นแต่ {1} คำนวนค่าฤชาไม่ถูกต้อง {2} ยกเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเข้าอุทธรณ์; คดีไม่มีข้อพิพาท และ พิพากษาเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาตโตตุลาการ เว้นแต่ {1} อนุญาโตตุลาการ หรือ ประธานจะกระทำการโดยสุจริต {2} ฝ่าฝืนกฏหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน {3} คำพิพากษานั้นไม่ตรงกับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
[4] อยู่ภายใต้บังคับกฏหมายลักษณะอุทธรณ์
[5] การอุทธรณ์เป็นสิทธิ



การอุทธรณ์ข้อกฏหมายโดยตรงต่อศาลฏีกา

มาตรา 223 ทวิ ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทำเป็น คำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย อุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายใน กำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดย ตรงต่อศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคำร้องในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้องให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223 คำสั่งของศาล ชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคำร้องในกรณีนี้ให้เป็น ที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าเป็นการ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ไปยังศาลฎีกาภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง
ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลฎีกาส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ชี้ขาดต่อไป

มาตรา 224*: ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้ง หรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือ จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณี
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่น คำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น รับรองว่ามี เหตุอันควรอุทธรณ์ได้ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อม กับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าว เพื่อพิจารณารับรอง

มาตรา 225*: ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น อุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใด ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความ ที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

คำสั่งระหว่างพิจารณา

มาตรา 226*: ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัด สินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ 228
(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลง ไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายใน กำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งให้รับคำฟ้อง ไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มี การยื่นคำฟ้องต่อศาล นอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ 228 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

ข้อยกเว้นที่ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

มาตรา 227*: คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความ ตาม มาตรา 18 หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาและให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี

มาตรา 228*: ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคำสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจำขังผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้
(2) มีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความใน ระหว่างการพิจารณา หรือมีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดี ตามคำพิพากษาต่อไป หรือ
(3) ไม่รับหรือคืนคำคู่ความตาม มาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หาก เสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ
คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไป
แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลดำเนินคดีต่อไป และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแต่ถ้าในระหว่าง พิจารณาคู่ความอุทธรณ์คำสั่งชนิดที่ระบุไว้ในอนุ มาตรา (3) ถ้าศาล อุทธรณ์เห็นว่าการกลับหรือแก้ไขคำสั่งที่คู่ความอุทธรณ์นั้นจะเป็น การวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อใดที่ศาลล่างมิได้ วินิจฉัยไว้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลล่างงดการพิจารณา ไว้ในระหว่างอุทธรณ์ หรืองดการวินิจฉัยคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะ ได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น
ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความใน มาตรา 223

การยื่นฟ้องอุทธรณ์

มาตรา 229*: การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวาง ศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่ง เป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 235 และ 236

การตรวจสั่งคำฟ้องอุทธรณ์

มาตรา 230: คดีตาม มาตรา 224 ถ้าคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ให้ศาลชั้นต้นตรวจเสียก่อนว่าฟ้องอุทธรณ์นั้นจะรับไว้พิจารณาได้ หรือไม่
ถ้าผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีนั้นมีความเห็นแย้ง หรือได้รับรองไว้ แล้วหรือรับรองในเวลาที่ตรวจอุทธรณ์นั้น ว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาใน ปัญหาข้อเท็จจริงดั่งกล่าวแล้ว
ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่กล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถ้าอธิบดีผู้ พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น ผู้ อุทธรณ์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้ พิพากษาภาคภายในเจ็ดวัน เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาล ส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดี ผู้พิพากษาภาค เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลนั้น คำสั่ง ของอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคเช่นว่านี้ ให้เป็นที่สุด
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ห้ามศาลในอันที่จะมีคำสั่งตาม มาตรา 232 ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ในเหตุอื่น หรือในอันที่ศาลจะมีคำสั่งให้ส่ง อุทธรณ์นั้นไปเท่าที่เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย

การขอทุเลาการบังคับ

มาตรา 231*: การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์ อาจยื่นคำขอต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา โดยทำ เป็นคำร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการ บังคับไว้
คำขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้จนถึงเวลาที่ศาล มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าภายหลังศาลได้มีคำสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก็ให้ศาลรีบส่ง คำขอนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อ ศาลชั้นต้นได้รับคำขอไว้ก็ให้มีอำนาจทำคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้รอ คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคำขอเช่นว่านั้น
ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้น เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตาม คำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจ ของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 (1)
เมื่อได้รับคำขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้โดยมิต้องฟ้องคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าคำสั่งนี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะ ได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการ บังคับไว้ตามที่ขอ คำสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้ายจำหน่ายทรัพย์สิน ของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมาให้ศาลให้พอกับเงินที่ ต้องใช้ตามคำพิพากษา หรือจะให้วางเงินจำนวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้ อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ศาลจะสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคำสั่งให้เอาออกขายทอดตลาดก็ได้ถ้า ปรากฏว่าการขายนั้นเป็นการจำเป็น และสมควรเพราะทรัพย์สินนั้น มีสภาพเป็นของเสียได้ง่ายหรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ น่าจะนำไปสู่ความยุ่งยาก หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

มาตรา 232: เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าศาลปฏิเสธไม่ส่งให้ศาลแสดง เหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคำสั่งทุกเรื่องไป ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่น อุทธรณ์ ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้นในคำสั่งฉบับเดียวกัน ก็ได้

การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่ม

มาตรา 233: ถ้าศาลยอมรับอุทธรณ์และมีความเห็นว่าการอุทธรณ์ นั้นคู่ความที่ศาลพิพากษาให้ชนะจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ให้ศาลมีอำนาจกำหนดไว้ในคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำเงินมาวางศาลอีก ให้พอกับจำนวนค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องเสียดั่งกล่าวแล้ว ตาม อัตราที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ หรือ ภายในระยะเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรอนุญาตหรือตามแต่ผู้ อุทธรณ์ไม่นำเงินจำนวนที่กล่าวข้างต้น มาวางศาลภายในกำหนด เวลาที่อนุญาตไว้ก็ให้ศาลยกอุทธรณ์นั้นเสีย

มาตรา 234*: ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์ คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษา หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง

การส่งสำเนาอุทธรณ์

มาตรา 235: เมื่อศาลชั้นต้นได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ นั้นให้แก่จำเลยอุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือถ้าจำเลยอุทธรณ์ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายใน กำหนดเจ็ดวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน มาตรา 237 สำหรับ การยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ ถ้าหากมีพร้อมทั้งสำนวนและหลักฐานต่าง ๆ ไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ได้รับฟ้องอุทธรณ์และสำนวนความไว้แล้ว ให้นำคดีลง สารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน

คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับหรือไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด

มาตรา 236*: เมื่อคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ ยอมรับอุทธรณ์ ให้ศาลส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดย ไม่ชักช้าพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและ ฟ้องอุทธรณ์ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ให้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้อง แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาล ชั้นต้น หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุด แล้วส่งไปให้ ศาลชั้นต้นอ่าน
เมื่อได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นส่ง สำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ และภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่ วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือนับแต่ระยะเวลาที่กำหนด ไว้ใน มาตรา 237 สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาล ส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้ อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความ เช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน

คำแก้อุทธรณ์

มาตรา 237: จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัด เพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์

มาตรา 238: ภายใต้บังคับ มาตรา 243(3) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่ เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาล อุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยาน หลักฐานในสำนวน

มาตรา 239: อุทธรณ์คำสั่งนั้นจะต้องพิจารณาก่อนอุทธรณ์ คำพิพากษาเท่าที่สามารถจะทำได้ แม้ถึงว่าอุทธรณ์คำพิพากษา นั้นจะได้ลงไว้ในสารบบความของศาลอุทธรณ์ก่อนอุทธรณ์คำสั่ง นั้นก็ดี

มาตรา 240: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่ พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่
(1) ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 241 แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาศาล ในวันกำหนดนัดศาลอุทธรณ์อาจดำเนินคดีไปได้ และคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นไม่ให้ถือเป็นคำพิพากษาโดยขาดนัด
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่เป็นที่พอใจในการพิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์และพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 238 และเฉพาะในปัญหาที่อุทธรณ์ ให้ศาลมีอำนาจ ที่จะกำหนดประเด็นทำการสืบพยานที่สืบมาแล้ว หรือพยานที่ เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีโดยทั่ว ๆ ไปดั่งที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายนี้สำหรับการพิจารณาในศาลชั้นต้น และให้นำ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(3) ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าศาลอุทธรณ์ เห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณา หรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอัน เป็นสารสำคัญในประเด็น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษา ไปตามรูปความ

มาตรา 241: ถ้าคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะมาแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นศาลอุทธรณ์ ให้ขอมาในตอนท้ายคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำแก้ อุทธรณ์แล้วแต่กรณีและให้ศาลอุทธรณ์กำหนดนัดฟังคำแถลงการณ์ ด้วยวาจานั้น เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่คดี จะสั่งงดฟังคำแถลงการณ์เสียก็ได้ ในกรณี ที่ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบ ที่จะไปแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ด้วย ถึงแม้ว่าตน จะมิได้แสดงความประสงค์ไว้
การแถลงการณ์ด้วยวาจา ผู้ขอแถลงเป็นผู้แถลงก่อน แล้วอีก ฝ่ายหนึ่งแถลงแก้ แล้วผู้ขอแถลง แถลงได้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าขอแถลง ทั้งสองฝ่ายให้ผู้อุทธรณ์แถลงก่อน ถ้าทั้งสองฝ่ายอุทธรณ์และต่าง ขอแถลง ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง

มาตรา 242: เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความ ทั้งปวงหรือสืบพยานต่อไปดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการหนึ่งในสี่ ประการนี้
(1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ให้ยกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกต้อง ไม่ว่าโดยเหตุเดียวกันหรือเหตุอื่น ก็ให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นนั้น
(3) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้อง ให้กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย และพิพากษาในปัญหาเหล่า นั้นใหม่
(4) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกแต่ บางส่วนและผิดบางส่วน ก็ให้แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไปตามนั้น โดยพิพากษายืนบางส่วนกลับบางส่วน และมีคำพิพากษาใหม่แทน ส่วนที่กลับนั้น

มาตรา 243: ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ด้วยคือ
(1) เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามี เหตุอันสมควรก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิพากษา หรือมีคำสั่งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นอาจประกอบด้วยผู้พิพากษา อื่นนอกจากที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งมาแล้ว และคำพิพากษาหรือ คำสั่งใหม่นี้อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นอย่างอื่น นอกจากคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถูกยกได้
(2) เมื่อคดีปรากฏที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา หรือมีเหตุที่ศาลได้ปฏิเสธไม่สืบ พยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอและศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น แล้ว กำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาคณะเดิม หรือผู้ พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร พิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่
(3) ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ถ้าปรากฏว่า
(ก) การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์อาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น หรือ
(ข) ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัย ข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์อาจทำคำสั่งให้ยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้ พิพากษาคณะเดิม หรือผู้พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใด ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรพิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยดำเนินตามคำชี้ขาดของศาลอุทธรณ์แล้วมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปความ ทั้งนี้ไม่ว่าจะปรากฏ จากการอุทธรณ์หรือไม่
ในคดีทั้งปวงที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งใหม่ตาม มาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่เช่นว่านี้ ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้

มาตรา 244: ศาลอุทธรณ์จะอ่านคำพิพากษานั้นเองหรือจะส่งไป ให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้ ในกรณีเหล่านี้ให้ศาลที่อ่านคำพิพากษามีคำสั่ง กำหนดนัดวันอ่านส่งให้แก่คู่ความอุทธรณ์ทุกฝ่าย

มาตรา 245: คำพิพากษาหรือคำสั่งชั้นอุทธรณ์ให้มีผลเฉพาะ ระหว่างคู่ความชั้นอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์นั้นเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ อันไม่อาจแบ่งแยกได้ และคู่ความแต่บางฝ่ายเป็นผู้อุทธรณ์ซึ่งทำให้ คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีผลเป็นที่สุดระหว่างคู่ความอื่น ๆ ถ้า ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรกลับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์ ให้ศาล อุทธรณ์มีอำนาจชี้ขาดว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้มีผล ระหว่างคู่ความทุกฝ่ายในคดีศาลชั้นต้นด้วย
(2) ถ้าได้มีการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีแทนคู่ความฝ่ายใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมมีผลบังคับแก่คู่ความฝ่ายนั้นด้วย

มาตรา 246: เว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ดังกล่าวมาข้างต้น บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีใน ศาลชั้นต้นนั้น ให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีใน ชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม

ภาค3 อุทธรณ์และฎีกา ลักษณะ2 ฎีกา

มาตรา 247*: ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้น อุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น และภายใต้บังคับบท บัญญัติสี่ มาตรา ต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบท บัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 248*: ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดี ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควร ที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับ อนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออก จากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคำฟ้อง ไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราช กฤษฎีกา
คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้อง ขับไล่ ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้าม ฎีกาข้อเท็จจริงตามวรรคสอง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ไม่ว่า ศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ หรือไม่ ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะได้มีความเห็นแย้งหรือ คำรับรอง หรือหนังสืออนุญาตให้ฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น หรือศาล อุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรมี่จะฎีกาได้ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึง ผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับ คำร้องเช่นว่านั้น ให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้ พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง

มาตรา 249*: ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

มาตรา 250: (ยกเลิกทั้ง มาตรา)

มาตรา 251: ถ้าคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับให้ตนชนะในข้อสารสำคัญอย่างใด อย่างหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ถอนการยึด หรืออายัดทรัพย์สินหรือคืนเงินจำนวนที่วางไว้ต่อศาลในข้อนั้น ๆ ก็ได้

มาตรา 252: ถ้าคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ยอมรับฎีกา ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมกับฎีกา และ คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลฎีกาเห็นจำเป็นจะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลล่าง ส่งสำนวนนั้นไปยังศาลฎีกา


Create Date : 06 ตุลาคม 2548
Last Update : 12 ตุลาคม 2548 0:09:03 น. 8 comments
Counter : 1939 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:23:17:01 น.  

 
ฝันดีนะครับ


โดย: noom_no1 วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:2:10:01 น.  

 
ขอบอกว่าเหลือบไปเห็นหัวข้อกลุ่มบล็อคแล้ว มันเป็นกลอนบทเดียวกันนี่


...สลักนามยามเยี่ยมชม...เพื่อภิรมย์กับสิ่งฝัน
คอยค่อยเพิ่มสะสมกัน...จึงคัดสรรนำภาพมา
...พร้อมวิชาพาเพลิดเพลิน

น่ารักดีครับ ทึ่งๆๆๆ


โดย: noom_no1 วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:2:14:56 น.  

 
ืเราซื้อเช็คแล้วหล่ะ กะจะเอาไปให้ British Council เอง

เราไปงานด้วยกันนะ


โดย: เป่าจิน วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:13:09:46 น.  

 
--- คุณ noom_no1 ---

ดีใจค่ะ ที่อ่านเจอแล้วรู้ว่าตั้งใจให้เป็นกลอนบทเดียวกัน

--- เป่าจิน ---

ไปๆ แต่จะเจอแววที่ไหนละเนี่ย?


โดย: ไร้นาม วันที่: 8 ตุลาคม 2548 เวลา:1:21:28 น.  

 
ดีจังเลย! มีแบบนี้ให้อ่านด้วย กลอนน่ารักดีนะ


โดย: bamboo IP: 58.136.93.248 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:9:00:30 น.  

 
+++ คุณ bamboo +++

ดีใจที่ชอบกลอนค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:59:46 น.  

 
ขอปัญญา ในการศึกษากฎหมายครับ พี่ ไร้นาม


โดย: หาชีวิต IP: 101.109.167.212 วันที่: 17 พฤษภาคม 2555 เวลา:19:46:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.