จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
หลักกฏหมายมหาชน

วิวัฒนาการของมนุษย์และกำเนิดของกฏหมาย

พัฒนาการของสังคมมนุษย์

1. ครอบครัว
2. ชุมชน
3. เมืองหรือนคร

กำเนิดของกฏหมาย

- จารีตประเพณี >> Common Law
- ลายลักษณ์อักษร >> Civil Law

กำเนิดของกฏหมายมหาชน

[1] เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของผู้ปกครองที่ขาดการควบคุม: บิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย John Locke กว่าไว้ว่า "มนุษย์ทุกคนที่เกิดมานั้นต่างมีความเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคกันมาตั้งแต่กำเนิดไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดมีสิทธิมากกว่าผู้อื่น"

[2] การใช้อำนาจของผู้ปกครองถูกควบคุมโดยการแบ่งแยกอำนาจ: นิติบัญญัติ บริหาร และ ต่างประเทศ

[3] หลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นจุดกำเนิดประชาธิปไตย: Bill of rights - กำหนดอำนาจหน้าที่รวมทั้งหลักการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เพื่อไม่ให้ใช้อำนาจเกินขอบเขตจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน (หลักการนี้เรียกว่า "นิติรัฐ" = ประชาชนจะไม่ถูกละเมิดจากการใช้อำนาจของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยขาดความยุติธรรม)

[4] ระบอบประชาธิปไตยต้องสามารถควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้:
- ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน
- ผู้ที่จะมาใช้อำนาจในการปกครองประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่
- ผู้ปกครองจะต้องใช้อำนาจเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ
- ต้องมีการแบ่งแยกอำนาจและการใช้อำนาจต้องสามารถควบคุมและตรวจสอบได้

[5] หลักนิติรัฐ:
- รัฐและฝ่ายปกครองจะต้องใช้กฏหมายที่ประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนบัญญัติ
- การดำเนินกิจการใดๆ ก็ตามของรัฐและฝ่ายปกครองจะต้องดำเนินไปตามกฏหมายให้อำนาจไว้และต้องเป็นไปตามหลักแห่งความยุติธรรม
- รัฐและฝ่ายปกครองจะกระทำการใดๆ นอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนดไว้ไม่ได้
- การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองต้องตรวจสอบและควบคุมได้

สรุป: หลักนิติรัฐบัญญัติเกี่ยวกับ
1) อำนาจ
2) หน้าที่
3) การควบคุมการใช้อำนาจ


[6] หลักการของกฏหมายมหาชน: การให้อำนาจหน้าที่แก่ผู้ปกครอง (รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือ เจ้าหน้าที่รัฐ) ในการบริหารประเทศ รวมทั้งการบริการสาธารณะ

กฏหมายรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยเป็นแม่บทที่นำหลักเกณฑ์ของกฏหมายมหาชนมาใช้

(1) หน้าที่ของผู้ทำการปกครองที่ประชาชนมอบหมาย:
- ต้องปกป้องและคุ้มครองสิทธิรวมถึงเสรีภาพของประชาชน
- ต้องคุ้มครองประโยชน์และรักษาไว้ซึ่งความเสมอภาคของประชาชน

(2) โครงสร้างอำนาจของผู้ทำการปกครองที่จะทำให้บรรลุผลตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย:
- อำนาจนิติบัญญัติ (ตรากฏหมาย, ควบคุมฝ่ายบริหาร)
- อำนาจบริหาร (ต้องมีกฏหมายกำหนดให้อำนาจและหน้าที่ไว้)
- อำนาจตุลาการ (ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง, ศาลทหาร)

เนื้อหาของกฏหมายมหาชน

1# ลักษณะเฉพาะของกฏหมายมหาชน:
- เป็นกฏหมายบังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน
- เป็นกฏหมายเพื่อสาธารณประโยชน์
- เป็นกฏหมายที่ให้รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจที่เหนือกว่า

2# องค์กรและบุคคลที่มีอำนาจและหน้าที่ตามกฏหมายมหาชน:
- รัฐ (คณะบุคคลที่มีอำนาจบริหารประเทศ คือ รัฐบาล ซึ่งประกอบไปด้วยคณะรัฐมนตรี และข้าราชการ)
- หน่วยงานของรัฐ (กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ)
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ (บุคคล คณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในการบริการสาธารณะในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด)

3# หน้าที่หลักตามบทบัญญัติของกฏหมายมหาชน:
- ลักษณะสำคัญ (อยู่ภายใต้การอำนวยการ/ควบคุมของฝ่ายปกครองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ แก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ กระทำอย่างต่อเนื่อง และเสมอภาค)
- ดำเนินการโดยส่วนราชการ (ส่วนกลาง - สำนักนายกฯ กระทรวง ทบวง กรม, ภูมิภาค - จังหวัด อำเภอ; ท้องถิ่น - อบต อบจ เทศบาล สุขาภิบาล กทม และ พัทยา) รัฐวิสาหกิจ และ เอกชน

การใช้อำนาจหน้าที่ตามหลักกฏหมายมหาชน

1~ หลักการใช้อำนาจ:- ตามเป้าประสงค์ของกฏหมาย
- เหมาะสมตามสมควร
- ไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนเกินควร

2~ นิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย:
- ทำโดยปราศจากอำนาจ
- ใช้อำนาจผิดวัตถุประสงค์
- ไม่ได้ทำตามรูปแบบขั้นตอน
- ขัดต่อกฏหมาย

3~ กรณีพิพาททางปกครอง:
- ความขัดแย้งระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ
- พิพาทเนื่องจากการใข้อำนาจที่มิชอบบังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
- คู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจของรัฐ และอีกฝ่ายเป็นผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือกฏข้อบังคับนั้น

4~ ลักษณะพิเศษของกรณีพิพาททางปกครอง:
- สถานภาพทางกฏหมายของคู่กรณี
- เป้าหมายของการแก้ปัญหา
- บทบัญญัติของกฏหมาย

การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจ

1+ โดยองค์กรภายใน: ควบคุมโดย
- การร้องทุกข์
- การอุทธรณ์

2+ โดยองค์กรภายนอก:
- ควบคุมอำนาจทางการเมือง (นิติบัญญัติ บริหาร - เช่นตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติด่วน และ อภิปรายฯ - ตุลาการ)
- ควบคุมการใช้อำนาจโดยองค์กรพิเศษ
- ควบคุมการใช้อำนาจโดยศาล (รัฐธรรมนูญ ปกครอง ยุติธรรม ทหาร)

กฏหมายมหาชนไทย

วิวัฒนาการกฏหมายไทย
- สุโขทัย
- อยุธยา
- รัตนโกสินทร์

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนากฏหมายไทย
- ระบบของกฏหมาย
- ระบบของศาล
- ระบบการเมืองและการปกครอง
- ความเจริงด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
- ระบบและวิธีการศึกษากฏหมาย

บทบาทความสำคัญของกฏหมายมหาชน

- ให้อำนาจหน้าที่ในการบริหารการปกครองและการบริการสาธารณะแก่รัฐหน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ช่วยคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน
- ควบคุมการใช้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ช่วยให้ข้าราชการได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมการกระจายอำนาจ


Create Date : 05 ตุลาคม 2548
Last Update : 5 ตุลาคม 2548 22:21:32 น. 40 comments
Counter : 3188 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 ตุลาคม 2548 เวลา:21:16:30 น.  

 
//www.nisblog.com


โดย: ... IP: 61.90.123.233 วันที่: 5 ตุลาคม 2548 เวลา:22:27:14 น.  

 
ถ้ามีปัญหาด้านกฎหมาย รับปรึกษาไหมครับ


โดย: noom_no1 วันที่: 5 ตุลาคม 2548 เวลา:22:48:17 น.  

 


เหมือนจะง่ายนะ...แต่ยาก


โดย: นภันตรา วันที่: 5 ตุลาคม 2548 เวลา:23:42:18 น.  

 
--- คุณ ... ---

กลับมาโฆษณาอีกครั้งนะคะ ;)

--- คุณ noom_no1 ---

แหะ แหะ... อาจจะได้คำปรึกษาผิดๆ ไปค่ะ

--- คุณ นภันตรา ---

(ชื่อเพราะจังค่ะ)
อืม เห็นด้วยๆ


โดย: ไร้นาม วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:7:54:03 น.  

 
เออ อันนี้ไม่คุ้นเลยแฮะ


แต่บางเนื้อหาคล้าย ๆ วิชาประวัติศาสตร์กฎหมายของเราเลยอะ


โดย: ชาบุ วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:53:57 น.  

 
--- ชาบุ ---

อันนี้วิชาปีหนึ่งจ้า ลืมแล้วล่ะสิ (แซว)


โดย: ไร้นาม วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:19:57:41 น.  

 
อันนี้กำลังอ่านโน้ตย่ออยู่เลย
เดะปีหนึ่งเหมือนกันค่ะ


โดย: วรานนท์ วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:20:32:31 น.  

 
แวะมาศึกษากฎหมาย และทักทายเจ้าของบล็อกค่ะ สวัสดียามดึก คึกคักเวลาลงเล่น (เริ่มไม่เกี่ยว ฮ่าๆ)


โดย: วิริญ (Wirincity ) วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:22:24:06 น.  

 
--- คุณวรานนท์ ---

อิอิ เด็กปีหนึ่งเหมือนกันค่ะ
(แต่ไร้นามไม่กล้าแต่งชุดนิสิตละ
กลัวเค้าเสียสถาบัน )

--- คุณวิริญ ---

แหม กำลังจะร้องคลอทีเดียว
ร้องไม่จบนินา ไม่คึกคักเลย คิก คิก



โดย: ไร้นาม วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:22:58:44 น.  

 
สู้ ๆ ค่ะ .. วิชาปี 1 ไม่ยากเน้อ .. ~
แต่นู๋เกลียด มหาชนที่สุดเรยอ่ะ ..

เด็กกว่าพี่ค่ะ .. แต่อยู่ปี 2 อ่า ..


โดย: JANii ~~ วันที่: 8 ตุลาคม 2548 เวลา:0:23:46 น.  

 
--- คุณ JANii~~ ---

เหรอคะ กลัวๆ เหมือนกัน
อิอิ อย่างนี้ต้องเรียกรุ่นพี่ค่ะ
(แม้ไร้นามจะแก่กว่า)


โดย: ไร้นาม วันที่: 22 ตุลาคม 2548 เวลา:17:13:11 น.  

 
เป็นประโยชน์มากเลยครับ ผมเองก็เรียนนิติศาสตร์อยู่ กำลังจะสอบเรื่องหลักกฏหมายมหาชนพอดีเลย ขอบคุณมากครับ ^^


โดย: putt IP: 203.113.44.84 วันที่: 30 กรกฎาคม 2549 เวลา:13:49:01 น.  

 
เนื้อหามีประโยชน์มากเลยค่ะแต่อยากรู้ถามอีกนิดหนึ่งได้ไหมค่ะว่าลักษณะเฉพาะของกฏหมายมหาชนที่ใช้ในการปฏิรูปยังไง ขอบคุณค่ะ


โดย: ning IP: 58.8.77.96 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:10:08:04 น.  

 
การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจ

1+ โดยองค์กรภายใน: ควบคุมโดย
- การร้องทุกข์
- การอุทธรณ์
การควบคุมโดยองค์กรภายในของฝ่ายปกครอง
-- การควบคุมบังคับบัญชา
1.การร้องทุกข์
2.การอุทธรณ์
--การกำกับดูแล
การที่องค์กรปกครองส่วนกลางหรือองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคมีอำนาจกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลักษณะเฉพาะของกฏหมายมหาชน:
- เป็นกฏหมายบังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน
- เป็นกฏหมายเพื่อสาธารณประโยชน์
- เป็นกฏหมายที่ให้รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจที่เหนือกว่า
ลักษณะเฉพาะของกฏหมายมหาชน
มี 6 ประการ
- เป็นกฏหมายบังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน
- เป็นกฏหมายเพื่อสาธารณประโยชน์
- เป็นกฏหมายที่ให้รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจที่เหนือกว่า
-เป็นกฎหมายที่ใช้ในการปฎิรูป
-เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาคสามารถบังคับเอาได้
-เป็นกฎหมายที่มีลักษณะการพัฒนาการเป็นแบบกฎหมายมหาชน

ผู้ร่วมเดินทางลำดับที่ 14 -
เนื้อหามีประโยชน์มากเลยค่ะแต่อยากรู้ถามอีกนิดหนึ่งได้ไหมค่ะว่าลักษณะเฉพาะของกฏหมายมหาชนที่ใช้ในการปฏิรูปยังไง ขอบคุณค่ะ
การปฎิรูป แปลว่า ปรับเปลี่ยน แก้ไขให้ดีขึ้น
ดังนั้นในการใช้อำนาจรัฐผ่านมาทางหน่วยงานของรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะนั้น รัฐจำเป็นต้องมีเอกสิทธทางปกครองเพื่อจะได้จัดทำได้ การปฎิรูปนั้น มีหลายอย่าง เช่น การปฎิรูปการปกครอง การปฎิรูประบบกฎหมาย การปฎิรูประบบเศรษกิจ การที่จะปฎิรูปได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอำนาจที่ได้จากกฎหมายมหาชนนั่นเอง
ขอบคุณครับ








โดย: กศน ป.6 IP: 203.118.93.191 วันที่: 18 สิงหาคม 2549 เวลา:10:11:46 น.  

 


โดย: สุพัตรา IP: 124.121.64.22 วันที่: 20 กันยายน 2549 เวลา:9:02:22 น.  

 
ควรมีการให้อำนาทประชาชนกว่านี้


โดย: เต๋ IP: 203.113.57.40 วันที่: 20 กันยายน 2549 เวลา:10:13:14 น.  

 


โดย: สมพร สอนพรม IP: 203.172.199.250 วันที่: 21 กันยายน 2549 เวลา:13:37:03 น.  

 
ไม่อยากเห็นการเมืองตีกันครับสาธุขอร้อง


โดย: เคนชิโล้ IP: 125.25.1.68 วันที่: 1 ตุลาคม 2549 เวลา:20:08:57 น.  

 


โดย: ปัด IP: 58.181.180.121 วันที่: 4 ตุลาคม 2549 เวลา:18:45:02 น.  

 
อยากรู้เรื่องการปฎิรูปปี 2549


โดย: ปัด IP: 58.181.180.121 วันที่: 4 ตุลาคม 2549 เวลา:18:46:36 น.  

 
อยากรู้การปฎิรูปปี 2549 เหมือนกันเพราะต้องเอามาเรียน ช่วยบอกด้วยค่ะ


โดย: Liverpool IP: 203.156.45.167 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:9:58:58 น.  

 
111121114


โดย: ทิพ IP: 203.172.135.242 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2549 เวลา:14:08:39 น.  

 
ช่วยลงการตรากฏหมาย ต่างๆเอาแบบเยอะๆ
ขอบคุณถ้าช่วยหาให้


โดย: คาโมะ IP: 203.113.67.166 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:19:31:06 น.  

 


โดย: เดียร์ IP: 202.28.35.1 วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:11:33:41 น.  

 


โดย: ryu รำไพ30 IP: 125.24.139.56 วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:17:25:13 น.  

 
ขอบคุณ...สำหรับบทความ ขื่อไม่รู้ไม่เป็นไรเพราะข้าพเจ้ารู้สึกดีๆในใจคนเดียวก็คงพอ...


โดย: ryu รำไพ30 IP: 125.24.139.56 วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:17:28:26 น.  

 


โดย: หาไม่ได้เลยอยากได้วิวัมนาการกฏหมายไทย IP: 203.113.55.204 วันที่: 7 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:41:44 น.  

 
ปวดหัวจังเลยค่ะกฏหมายเนี๊ยะทำยังไงถึงจะเข้าใจได็ง่ายๆบ้างค่ะ


โดย: เด็กมีปัญหา IP: 61.19.65.227 วันที่: 30 สิงหาคม 2550 เวลา:12:38:00 น.  

 
"กฏหมายนอนหลับแต่ไม่ตาย"
ผู้กระทำผิดจะอ้างตัวว่าไม่รู้กฏหมายไม่ได้
ขอบคุณ


โดย: ว่าที่นิสิตนิติศาสตร์ ม.อุบล IP: 58.147.38.138 วันที่: 9 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:14:40 น.  

 
หลักกฏหมายมหาชน ตามที่ผู้ร่วมเดินทางที่ 1 "คุณไร้นาม..ใช่ไหม?"ให้ไว้ก็ดูกระชับรัดกุมดีครับต้องขอขอบคุณที่ให้โอกาสรุ่นน้องได้ความรู้ตรงนี้ แต่ที่อยากให้ขยายความอีกสักนิดก็คือ Freshy ยังงงๆอยู่ว่าจำพวกหรือการจัดกลุ่มของ กม.มหาชนเนี่ยทำไมจึงจัดไม่ค่อยตรงกัน ชัดเจนก็คืออาทิเช่นกฏหมายอาญา อาจารย์บางคนยืนยัน (สอน)ว่ามันไม่ใช่ กม.มหาชนแต่ในตำราบางเล่มหรือเล่มเดียวกันบางตอน อีกความเห็นหนึ่งของท่านผู้รู้ดัง ศ.ดร.หยุดฯท่านบอกว่า "เป็น" ตำรา กม.เยอรมันก็บอกว่า "เป็น"และอีกหลาย ๆคนบอกว่า"เป็น กม.มหาชน"เพราะตั้งอยู่บนเหตุผลข้อหนึ่งในหลายๆ ข้อที่ว่า "เป็นกฏหมายที่ให้รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจที่เหนือกว่า" แล้วยังงี้กระมังการสอบจึงยังผลให้ได้เอฟกันไปเพราะมันไม่เป็นไปตามหลักการเดียวกัน น้อง Freshy ก็ให้รู้สึกหวาดหวั่นว่านี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งในการ "จบยาก"เพราะผลของของการตอบโจทย์มันไม่เที่ยง( precisian-ใช้คำนี้ถูกไหมกรุณาบอกด้วยจะได้เรียนรู้ไปด้วย) ก็อยากจะให้ท่านผู้รู้ในความเห็นที่ 1ออกมาเพิ่มเติมหน่อย เพราะไม่อยากเห็นเอฟตั้งแต่เริ่มต้นเรียนนิติ นั่นแล!!! หมายเหตุ: ไม่ได้ชีเรียสอะไรนักเพียงอยากได้ข้อยุติ อ้ออีกอย่างอยากทราบว่ามีเคล็ดลับยังไงถึงได้บอกในตอนท้ายว่าเรียน นิติแค่สองปีครึ่ง..ก็จบแล้ว เก่งมากทำได้ไง?..บอกหน่อยนึกว่าเอาบุญแล้วกันครับ.


โดย: Freshy LL.B. IP: 58.8.160.206 วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:04:57 น.  

 
แนะนำเด็กมีปัญหา ให้หาหนังสือ "คู่มือคำแนะนำ นศ.กฏหมาย"ของ อ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร ดีแน่ๆ เลยทดลองอ่านมาแล้วได้กำลังใจขึ้นเยอะแยะเลย


โดย: Freshy LL.B IP: 58.8.160.206 วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:37:46 น.  

 
ขอขอบคุณนะครับที่ให้ความรู้ ดีมากเลยครับครับ ผมกะลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ด้วย อิอิ ขอบคุณจริงๆ ครับ


โดย: น้องใหม่ใสบริสุทธิ์ IP: 58.9.191.217 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:11:17:17 น.  

 
ขอบคุณนะครับที่ให้ความรู้ สุดย้อด ขอบคุณอีกครั้งนะคาบ อยากรู้นามจังจะได้ให้กำลังใจอย่างเต็มที่คาบ


โดย: york IP: 125.26.119.244 วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:8:27:04 น.  

 
ขอบคุณครับที่สรุปให้อ่าน


โดย: ผ่านมา IP: 58.147.36.145 วันที่: 25 ตุลาคม 2551 เวลา:10:57:46 น.  

 
กำลังศึกษาอยู่ขอความกรุณาส่งหลักกฎหมายมหาชนให้หน่อยครับที่ ssth386@sanook.com


โดย: ssth IP: 222.123.226.101 วันที่: 6 ธันวาคม 2551 เวลา:6:50:49 น.  

 
ใกล้จะสอบแล้วก้อเลยมาหาข้อมูลเกี่ยวกับวิชานี้

ไม่รู้ว่าอาจารย์จะออกตรงไหน...? ก้อเลยมาหาข้อมูลเพิ่มเติมในการสอบอ่ะคับหวังว่าข้อมูลในที่นี้คงจาทำให้พอมีลุ้นในการสอบครั้งนี้บ้างนะครับ


โดย: TTTT IP: 118.175.135.236 วันที่: 28 ธันวาคม 2551 เวลา:14:23:10 น.  

 
กฎหมายรัฐธรรมนูญกับกฎหมายปกครองแตกต่างกันอย่างไรและหลักนิติรัฐคืออะไรใครรู้ชว่ยตอบที


โดย: คนไร้เงา IP: 125.26.64.206 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:23:17:35 น.  

 
ช่วยด้วยช่วยด้วยช่วยด้วย


โดย: คนไร้เงา IP: 125.26.64.206 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:23:20:19 น.  

 
ช่วยขยายความให้อีกหน่อยครับ
ผมพึ่งเรียนนิติเลยยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ครับ
ขอบคุณครับ


โดย: ponnaja IP: 172.16.21.199, 202.183.129.68 วันที่: 13 มีนาคม 2555 เวลา:15:40:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.