จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
นิติปรัชญา

ปรัชญากฏหมายสากล

ทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Legal Positivism)
1. กฎหมายกับศีลธรรมไม่เกี่ยวโยงกัน
2. กฎหมายมาจากรัฐ
3. กฎหมายมีสภาพบังคับ
(มองว่ากฎหมายมาจากผู้ปกครองไม่เปิดโอกาศให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นทฤษฎีเผด็จการ)

ปรัชญาเมธีในทางทฤษฎีปฏิฐานนิยม ศตวรรษที่ 19
1. เบนแธม: มองว่ากฎหมายมาจากผู้มีอำนาจ (รัฐฎาธิปัตย์) มีสภาพบังคับ (มีโทษ) เด็ดขาด และ ไม่เกี่ยวโยงกับศีลธรรม (เผด็จการ)
2. จอห์น ออสติน: มองว่า
- กฏหมายคือคำสั่งชนิดหนึ่ง
- คำสั่งรัฐฎาธิปปัตย์ (เหมือนเบนแธม)
- ต้องมีสภาพบังคับ (เหมือนเบนแธม)
- กฎหมายเป็นเรื่องอำนาจของผู้ปกครอง
- กฎหมายไม่จำเป็นต้องเกี่ยวโยงกับศีลธรรม (เหมือนเบนแธม)

ปฏิฐานนิยมศตวรรษที่ 20
ฮาร์ท: มองกฎหมายในลักษณะประนีประนอม ยอมรับว่ากฎหมายมาจากรัฐแต่ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฏหมาย กฎหมายที่ดีต้องได้รับการสนับสนุนดังนี้
1. มีลักษณะเป็นสภาบัน ในการออกกฎหมายต้องผ่านขั้นตอนที่ถูกต้อง คือ นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ
2. มีลักษณะเป็นบรรทัดฐาน มีสิทธิและหน้าที่
3. มีลักษณะเป็นนิติรัฐ หรือเจ้าหน้าที่จะต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย
4. มีการสร้างแนวความคิดที่ว่าระบบกฏหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
4.1 กฎปฐมภูมิ - รวบรวมบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตาม
4.2 กฎทุติยภูมิ - สร้างขึ้นมาเพื่อเสริมความสมบูรณ์ (รับรองความเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ เช่นเรื่องความชัดเจน; การบัญญัติและแก้ไขต้องมี พรบ; การวินิจฉันเกี่ยวกับอำนาจตุลาการ)
5. กฎหมายเป็นเรื่องระบบกฎเกณฑ์ที่เป็นการกระทำของมนุษย์ และ กฏหมายและศีลธรรมควรแยกออกจากกัน (แต่ยังให้ความสำคัญกับศีลธรรมอยู่)

ข้อวิจารณ์ทฤษฏีฮาร์ท
ศ. ฟุลเลอร์: เอาจุดยืนทางศีลธรรมเข้ามาวิจารณ์และบอกว่ากฏหมายและศีลธรรมนั้นเชื่อมโยงกันเสมอ (เป็นนักทฤษฏีกฏหมายธรรมชาติ)
ศ.โรแนล ดวอร์กิ้น: มองว่ากฏหมายนั้นมีสองประเภท (หรือ สามประเภท/กฏหมายที่ออกจากผู้พิพากษา) นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมองข้ามกฏหมายอีกรูปแบบหนึ่งคือกฎหมายในรูปของหลักการ (Principles)

ปรัชญากฏหมายธรรมชาติ
ความใฝ่ฝันหรือความเชื่อในกฏหมายอุดมคติ เชื่อว่ามีอยู่เองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น มาจากพระผู้เป็นเจ้า และเกี่ยวโยงกับศีลธรรม (เป็นปฏิปักษ์กับทฤษฎีปฎิฐานนิยม) แบ่งออกเป็น 5 ยุค
1. ยุคโบราณกรีกและโรมัน (เชื่อว่ามาจากพระเจ้า: เพลโต & สโตอิส; เชื่อว่ามาจากมนุษย์/ผู้ปกครอง: โสเครติส & อริสโตเติล)
2. ยุคมืดและยุคกลาง (กฏหมายเกิดจากเจตจำนงค์ของพระเจ้า มนุษย์จะเข้าถึงได้ต้องมีความเชื่อ โดย เซนต์ โทมัส อไควนัส - กฏหมายนิรันดร/กฏหมายธรรมชาติ/กฎหมายศักดิ์สิทธิ์/กฎหมายของมนุษย์)
3. ยุคฟื้นฟูหรือยุคปฏิรูป (เรื่องเหตุผล ถูกค้นพบได้โดยธรรมชาติ โดยฮูโกโกเซียส มองว่ากฎหมยไม่ได้มาจากพระเจ้า แต่มาจากสติปัญญาของมนุษย์)
4. ยุครัฐชาตินิยม (ยุคที่กฏหมายธรรมชาติเสื่อมที่สุด ตามความเจริญทางวิทยาศาสตร์ เป็นยุคที่ทฤษฏีปฏิฐานนิยมก่อตัว)
5. ยุคร่วมสมัย (ปัจจุบันมีการพูดถึงศีลธรรมภายในกฏหมาย - มีลักษณะทั่วไป/ถูกตีพิมพ์เผยแพร่/ไม่มีผลย้อนหลัง/ชัดเจนเข้าใจง่าย/ไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้/ไม่มีความขัดแย้ง/มีความมั่นคงแน่นอน/ต้องมีความกลมกลืนระหว่างกฎเกณฑ์ที่ประกาศใช้ระหว่างเจ้าหน้าที่และตัวบทกฏหมาย)

ข้อวิจารณ์กฏหมายธรรมชาติ
1. คลุมเครือไม่แน่นอน (5 ยุคมองไม่เหมือนกัน)
2. ขาดรูปแบบในเชิงวิทยาศาสตร์ (ไม่สามารถพิสูจน์ได้)
3. เป็นเพียงแค่นามธรรม (ไม่มีรูปธรรมชัดเจน)
4. มองกฏหมายโดยอ้างกฏหมายส่วนตัว ไม่เปิดโอกาศให้วิจารณ์

สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์
ซาวิญยี่: กล่าวว่ากฎหมายไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ตามใจชอบ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตัวมันเอง (ถูกค้นพบ/มีความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์จากบุพการสู่สมัยใหม่/ไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์อย่างสากล) กฏหมายรวมเอาจิตวิญญาณของประชาชน (The spirit of the people) ในสังคมเป็นลักษณะเฉพาะของชาติหนึ่งๆ เรียกว่า Volksgeist

นิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
ศึกษาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม ที่มีต่อกันระหว่างบุคคล
- เยียริ่ง: เชื่อว่ากฎหมายกำเนิดมาจากเงื่อนไขทางสังคม (ให้สิ่งตอบแทน/ข่มขู่เพื่อให้เคารพกฏหมาย/หน้าที่/ความรัก)
- ลีออง ดิวกี: เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมในสังคม (สังคมจะอยู่รอดได้เมื่อมนุษย์มีความสามัคคี)
- รอสโค พาวด์: กฎหมายต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความทันสมัย เป็นการก่อสร้างวิศวกรรมทางสังคม (ผลประโยชน์ปัจเจกชน/มหาชน/สังคม)

การดื้อแพ่ง
การกระทำที่เป็นตามหลักกฎหมายโดยสันติวิธี
- ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมทย์: ให้ความเห็นว่าประชาชนจะดื้อแพ่งต่อกฎหมายได้ต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ
1. กฏหมายบกพร่อง
2. ผู้ออกกฏหมายอยู่เหนือกฏหมาย
3. ไม่มีการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ
4. กฏหมายที่ออกมาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบของประชาชน
- เซนต์ โทมัส อไควนัส
- ควอร์กิ้น
- รอล: เห็นชอบในการดื้อแพ่งของประชาชนภายใต้เงื่อนไขแห่งความชอบธรรมตามกำหนดดังนี้
1. มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นธรรม
2. กฏหมายขาดความชอบธรรมอย่างยิ่ง
3. เป็นทางเลือกสุดท้าย (ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้)
4. การต่อต้านกฎหมายต้องทำอย่างสันติและเปิดเผย

ความยุติธรรม
ความเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
1. มนุษย์ทุกคนจำต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันในสิทธิขั้นพื้นฐาน
2. ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม จำต้องได้รับการจัดระเบียบ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและความยุติธรรม
1. กฎหมายและความยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับกฎหมาย
2. ทฤษฎีที่เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นอุดมคติของกฎหมาย ได้รับการยกย่องเชิดชูให้สูงกว่ากฏหมาย

แนวพระราชดำริ รัชกาลที่ 9
โดยที่กฎหมายเป็นเพียงแค่เครื่องมือรักษาความยุติธรรม ไม่ควรถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าความยุติธรรม หากควรถือความยุติธรรมต้องมาก่อน และอยู่เหนือกฎหมาย การพิจารณาคดีจะดูแต่กฎหมายจะเป็นอันไม่เพียงพอ ซึ่งต้องดูความยุติธรรมด้วย

ปรัชญากฏหมายไทย

หลักอัคคัญญสูตร
ข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งชนชั้นวรรณะระหว่างพุทธกับพราหม์

ไตรภูมิพระร่วง
1. กามภูมิ
2. รูปภูมิ
3. อรูปภูมิ

ทศพิศราชธรรม
1. ทาน
2. ศีล
3. ปริจจาจะ
4. อาชชวะ - ความซื่อตรง
5. มัทธวะ - ความสุภาพ
6. ตยะ - ความเพียร
7. อักโกธะ - ความไม่เกรี้ยวกราด
8. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน
9. ขันติ
10. อวิโรธนะ - ความไม่ประพฤติผิด

หลักจตุรธรรม
1. กฎหมายมิได้เป็นกฏเกณฑ์หรือคำสั่งของผู้ปกครอง
2. กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมะหรือศีลธรรม
3. จุดมุ่งหมายของกฎหมายคือต้องไปเพื่อความสุข
4. การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องกระทำบนพื้นฐานแห่งหลักทศพิศราชธรรม

ความคิดทางปรัชญากฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
กฎหมายนั้นคือคำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อทำแล้วตามธรรมดาต้องโทษ


Create Date : 26 มีนาคม 2550
Last Update : 27 มีนาคม 2550 0:41:32 น. 37 comments
Counter : 7259 Pageviews.

 
"ปรัชญากฏหมายไทย"

Depending upon in what moods the Thais are on.

Good moods, laws may be enforced lightly or seriously (depending on Vitamin M and media/public attentions). In this state, laws can be used as an excuse to justify their acts.

Bad moods, laws can be a scapegoat. Buring them down or ripping them off are not uncommon in our society.

In fact, do we have one? I meant philosophy?!?


โดย: amatuer translator วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:23:39:12 น.  

 
--- K. A.T. ---

Ha ha, that's what I'm wondering as well...

The same law has been applied differently to different persons... or is that a sample of the double standard case?


โดย: ไร้นาม วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:0:44:09 น.  

 
แวะมาอ่านอย่างเคยค่ะ คุณไร้นาม..
ข้อมือขวาเป็นยังงัยบ้างแล้วค่ะ ดีขึ้นหรือยังเอ๋ย



โดย: naragorn วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:1:10:42 น.  

 
วิชานี้ลงตั้งแต่ปีแรก
เห็นร่ำลือว่า.....
แต่ความเป็นจริงแล้ว....

คนสอบถอดใจไม่เข้าห้องสอบมากเกินครึ่ง

อาจารย์ประเสริฐ สอนคู่กับ อาจารย์จรัญ

ก่อนสอบมีปิดประกาศขอบเขตดูหนังสือด้วย

อา สบายกว่ากัน



โดย: คนหน้าเดิม IP: 203.185.68.99 วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:6:49:37 น.  

 
ได้ความรู้ดีครับ บางคนที่อ้างมาพอรู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง แต่ที่รู้แน่ๆเห็นจะเป็น Maslow และ David Hume ไม่ก็มาร์กซิส เพราะเหล่านักปรัชญาไม่ว่าทั้งยุคนีโอคลาสซิกและคราสซิก ต่างพูดเรื่องความเป็นจริงในสังคมและอ้างปรัชญาที่นำไปสู่ทฤษฎีและสมมุติฐานภายใต้กรอบการทดลองแล้วทดลองอีก จึงเห็นว่าเป้นจริงแล้วถ่ายทอดจากยุคสู่ยุค แต่ก็มีพวกชนรุ่นหลังที่คิดและสามารถหักล้างทฤษฎีในบางส่วนได้กับยุคและสมัยปัจจุบันจนเป็นที่ยอมรับและได้รับรางวัลโนเบลไปครอง

บางพวกที่ไม่เชื่อในทฤษฎีและปรัชญาฏ้พยามหาหรือแสสวงหลักการใหม่ๆมาหักล้าง จนบางสมมุติฐานที่นักเศรษฐศสาตร์อย่าง Baggwhati ออกมากล่าวว่า...ทฤษฎีที่มีมานั้นไม่ผิดหรอก แต่ตัวแปรหรือปจัจัยที่คุณนำมา Run Regression นั้นเอง ต่างหากที่ผิด แล้วมาโทษว่าทฤษฎีผิด

มันน่านักสำหรับพวกที่ชอบโทษโน่นโทษนี่ โดยไม่ดูและปรับประยุกต์ให้เข้ากับตัวแบบของแต่ละสังคม ว่านี่ไทย...หรือ อเมริกากันแน่


โดย: เมธี IP: 202.41.187.247 วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:16:13:18 น.  

 
ไม่ชอบวิชานี้สุด ๆ แถมต้องซ่อมอีกตะหาก กว่าจะสอบผ่านได้ hahaha


โดย: ชาบุ วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:17:59:01 น.  

 
--- คุณ narakorn ---

ข้อมือดีขึ้นแล้วค่ะ (เพราะยอมไปหาหมอ)
ได้ยามาตั้งสี่อันแน่ะ (ฮือๆ ไม่ชอบทานยา)
แต่แปลกจังทานยาแล้วหายปวดไปเยอะเลย


--- คุณคนหน้าเดิม ---

จริงๆ ไร้นามชอบวิชาแนวนี้นะคะ (อ่านหนังสือสนุก)
แต่เสียดายเวลา... ไม่ค่อยได้ว่างอ่านเลย


--- คุณเมธี ---

ตอนอ่านหนังสือจะนึกว่า ทำไมปรัชญาถึงอ้างแต่ชาติตะวันตก ทั้งๆ ที่ทางชาติตะวันออกก็มีประวัติศาสตร์ มีปรัชญาและมีกฏหมายเหมือนกัน (เช่นของประเทศจีน) แล้วก็จะสะท้อนใจว่าประวัติศาสตร์ที่เราเรียนมันก็อยู่ที่ว่าใครเป็นคนเขียนตำรา


--- ชาบุ ---

แสดงว่าชอบอ่านตัวบทกฏหมายมากว่าอ่ะสิ (อิอิ)


โดย: ไร้นาม วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:21:16:16 น.  

 
ถ้าเกิดทำได้3ข้อจาก4ข้อนี่มีสิทธิผ่านไหมครับ

ผมชักกลัวว่าจะตกเสียแล้ว เหอๆ


โดย: webew210 IP: 203.113.39.6 วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:22:12:33 น.  

 
นิติปรัชญา
มี สาม ข้อ

เป็นปรัชญาตะวันตก สอง ข้อ ข้อสอบจะวน ๆ อยู่กับปฏิฐานนิยมเป็นหลัก เปรียบเทียบกับแนวอื่น เช่น ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมนิยม ฯลฯ

ข้อที่สาม เป็นปรัชญาไทย ออกเสมอ ๆ เห็นจะเป็นทศพิธราชธรรม เนื่องจากเป็นธรรมชาตินิยม

ทำได้สักสองข้อน่าจะผ่าน
ยกเว้นเขียนตอบประเภทผักบุ้ง.....






โดย: คนหน้าเดิม IP: 202.44.219.99 วันที่: 28 มีนาคม 2550 เวลา:8:24:03 น.  

 
ดีครับ ถ้ามีโอกาส หวังว่าแนวทางของอี้จิ้ง ซุนวู เต๋าและอีกหลายๆท่านคงจะได้มาอ่านกันในที่นี้ ในแนวทางพิชัยสงครามยิ่งดี เพราะ ข้องด้วยเรื่องจัดการ บริหารที่เป็นแบบอย่างให้ชาวตะวันตกไปศึกษากันอย่างไม่อายทีเดียว

คนที่เห็นคุณค่าของดีเท่านั้นจึงรู้ค่าของไม่ดี


โดย: เมธี IP: 202.41.167.246 วันที่: 28 มีนาคม 2550 เวลา:12:11:18 น.  

 
--- คุณ webew210 ---

ถ้าข้อสอบมี 4 ข้อทำได้ 3 ข้อก็น่าจะผ่านนะคะ
(แต่วิชานิติปรัชญามี 3 ข้อ ดังนั้นต้องทำได้ 2 ข้อเป็นอย่างน้อย)


--- คุณคนหน้าเดิม ---

เขียนตอบแบบผักบุ้ง คือ น้ำท่วมทุ่งเหรอคะ ชื่อเท่ห์จัง
ขอบคุณสำหรับแนวข้อสอบนะคะ เห็นอาจารย์ก็เปรยๆ
ทศพิธราชธรรม มาเหมือนกัน (และจตุรธรรม และ
พระราชดำรัส ฯลฯ)


--- คุณเมธี ---

จริงค่ะ พูดถึงพิชัยสงครามตอนนี้กำลังอินกับสามก๊กอยู่
(ฉบับหงสาจอมราชันย์ฯ) อยากให้เพื่อนต่างชาติได้มาอ่านจัง


โดย: ไร้นาม วันที่: 28 มีนาคม 2550 เวลา:22:26:41 น.  

 
โชคดีในการสอบจ้า... ป่านนี้สอบเสร็จแล้วมั้ง..
แล้วจะได้ไปเที่ยวกันเนอะ อยากเที่ยวๆ


โดย: Ja~ IP: 202.28.169.165 วันที่: 29 มีนาคม 2550 เวลา:9:05:42 น.  

 
เข้ามาฝากรอยยิ้มที่รู้ทัน



โดย: เมธี IP: 202.41.187.247 วันที่: 29 มีนาคม 2550 เวลา:14:20:12 น.  

 
+++ Ja~ +++

Thank you ja ;)


+++ คุณเมธี +++

รู้ทันอะไรเหรอ คะ งงๆ ;)


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:20:45 น.  

 
ผ่านมา..... ได้อ่านข้อความ............น่าจะสอบผ่านว่าแต่ ซ่อม 2/49 ส่วนกลางออกอะไร หรอ


โดย: รามฯบ้านนอก IP: 125.26.107.1 วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:11:57:42 น.  

 
สวัสดีคะ พอดีเปิดมาเจอ ก็เลยมาทักทาย


โดย: ฟูลคอน IP: 58.11.32.123 วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:23:30:07 น.  

 
--- คุณรามฯบ้านนอก ---

ไม่ได้ลงสอบซ่อมค่ะเลยไม่ทราบข้อสอบที่ผ่านมาเหมือนกันแหะ แหะ


--- คุณฟูลคอน ---

ยินดีต้อนรับค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:22:47:48 น.  

 
ยากจิง


โดย: อัมม์ IP: 158.108.127.119 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:18:16:06 น.  

 


โดย: ไผ่กำเพลิง IP: 125.26.110.59 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:02:49 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:45:12 น.  

 

- จบเศรษฐศาสตร์มาจากเชียงใหม่ลองลงเรียน นิติศาสตร์ ราม เล่นๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรลงเรียนไปเรื่อยๆ พอมาเจอเพื่อนๆบอกว่า lw201 นั้นเป็นวิชาปราบเซียน ก็ชักกลัว แต่พออ่านๆไป เหมือนได้อ่านแฮรี่พอตเตอร์เลย ^^ ปีแรกก็ผ่านฉลุย 48 หน่วย( พื้นฐานทังนั้นเลย >< ) -


โดย: ๐นายมารน้อย๐ IP: 203.113.112.36 วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:00:11 น.  

 
จะสอบนิติปรัชญาอยู่แล้วพรุ่งนี้ยังไม่รู้แนวข้อสอบเลยน่ะค่ะ วิชานี้ค่อนข้างจะยากจริงๆ เลย เฮ้อออ


โดย: เหมียว IP: 125.25.91.214 วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:19:34 น.  

 
วันจันทร์เราสอบนิติปรัชญาเรื่องกฎหมายธรรมชาติ ครั้งแรกด้วย ตื่นเต้นมากมาย หัดอ่าน ท่อง เขียนจนปวดหัวหมดแล้ว


โดย: weerawan IP: 118.172.180.243 วันที่: 16 สิงหาคม 2551 เวลา:16:15:11 น.  

 
ผมสงสัย ทำไม ม.รามฯจึงถือเกณฑ์ว่า วิชา 2 หน่วยกิตออก ข้อสอบ 3 ข้อ ส่วน 3 หน่วยกิตออก 4 ข้อ คิดว่าถ้าออกหลายข้อ เช่น 4 ข้อ ทุกวิชา ทั้ 2-3 หน่วยกิตก็น่าจะดี... ดีตรงที่ ผู้สอบมีทางเลือกมากขึ้น แต่อาจไม่สบใจ นศ.บางท่านที่อยากให้ออกข้อสอบน้อย ๆ กรณ๊ที่ว่านี้มีกฏเกณฑ์และที่มาอยาไร ใครทราบ ( ถาม ทาง มร.เพราะเขาอ้างว่าเป็นระเบียบ )..โปรดแจ้งด้วย อีก 2 สัปดาห์ก็จะสอบไล่กันแล้ว.ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ30-08-08-03-00-03


โดย: Fresh_LL.B. IP: 58.8.159.12 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:8:39:02 น.  

 
ขอบคุณมากสำหรับโน๊ตย่อวิชาต่างๆและก็เรื่องเล่าที่บอกว่าราม(เดินเรื่อง)เรียนจบยาก



มีประโยชน์มากครับ



โดย: LL.B RU IP: 124.120.71.83 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:21:55 น.  

 
ขอบใจมากนะ


โดย: ไมไม IP: 222.123.8.198 วันที่: 20 มกราคม 2552 เวลา:18:31:04 น.  

 
ขอบคุณมากจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงจริงนะ


โดย: เกล้า IP: 222.123.8.198 วันที่: 20 มกราคม 2552 เวลา:18:38:53 น.  

 

ขอบใจนะ คราวนี้ต้องผ่านแน่ๆๆ เพราะเป็นวิชาสุดท้ายแล้วที่เหลืออยู่


โดย: ขวัญข้าว IP: 202.41.167.246 วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:12:06 น.  

 
ดี มากเลยคับ อยากอ่านอยู่พอดี
ขอบคุณนะ


โดย: ไร้นาม IP: 118.174.29.206 วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:55:02 น.  

 
--ภาค 2/52 ลงวิชาเลือกแต่วันเลยฮับ LW 419 (English For Lawyers) & LW 420(American Legal Institutions) กะเอาดีทาง Law Firm เลยป่าวเนี่ย เปล่าครับ คงไม่ทัน"บรรดา นร.นอก"ที่จบมามากมายแล้ว...

--แต่ที่ลงเพราะสนใจและอยากเรียนรู้ ส่วนจะได้ผลแค่ไหนว่ากันอีกที โดยเฉพาะ LW 420 ดูท่าจะผ่านยากหากไม่เข้ากิจกรรม Class Participation และอื่นๆ อีก เอาจริงเนี่ย ดีครับเพื่อมาตรฐานด้านการศึกษาของ RU.

--ส่วนเนื้อหา นิติปรัชญา ที่"ไร้นาม"นำมาลงไว้นี้ยังคงมีความหมายต่อไปสำหรับทั้ง นศ.ใหม่/ศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ผมมองว่าเป็นอะไรที่ขาดเสียมิได้แล้วสำหรับ "หลักกฏหมาย"ในบ้านเมืองเราทั้งในภาวะปัจจุบันและในอนาคตอ่ะนะครับ. ขอบคุณครับ.


โดย: Fresh_LL.B. IP: 58.11.98.78 วันที่: 13 ธันวาคม 2552 เวลา:14:28:54 น.  

 
--ผมอยากต่อในประเด็นที่เห็นว่า ทำไม"นิติปรัชญา"จึงมีบทบาทในแง่การเมืองการปกครองภายในกรอบของ "นิติรัฐ"โดยเคร่งครัด

--1)นิติปรัชญาเป็นวิชาที่ยืนอยู่ระหว่างปรัชญาทั่วไปกับทฤษฏีทางการเมือง หากการเมืองเมินเฉยต่อการยึดหลักปรัชญาทางการเมืองแล้ว หลัก "นิติรัฐ"จะมิสามารถเกิดขึ้นได้ ผลลัพธ์ จึงเห็นแล้วว่ามีแต่ความวุ่นวายดังที่เป็นอยู่.

--2)ในประเทศที่มีอารยะทางการเมือง เขามอง "นิติปรัชญา"กับทฤษฏีการเมืองเป็นเรื่องควบคู่กันเสมอ จึงเกิดผลทางวิวาทะระหว่างกันที่ต่อนข้างจะน้อยหรือมีก็มักตั้งอยู่บนเหตุผลที่ควรจะเป็น.

--3)คู่ความขัดแย้งในปัญหาเชิงปรัชญาการเมืองของประเทศด้อยฯและประเทศอารยะฯจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นประเด็นหัวใจสำคัญที่แฝงเร้นอยู่เบื้องหลังการถกเถียงหรือวิวาทะอย่างมีนียยะสำคัญฯลฯ

--เอาเท่านี้ก่อนผิดถูกอย่างไร/ร้อนวิชาก็ว่าเหอะ แต่ถึงงัยผมก็ยังมองว่า "นิติปรัชญา" เป็นวิชาหนึ่งที่หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองได้ใฝ่ใจ/ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว เชื่อว่าจะสามารถลดความขัดแย้งลงได้มากมาย.สวัสดีครับ.


โดย: Fresh_LL.B. IP: 58.11.98.78 วันที่: 13 ธันวาคม 2552 เวลา:15:46:02 น.  

 
ดีมากเลยครับผมเริ่มเข้าใจบ้างนิสหน่อยแล้ว


โดย: โย เด็กช่าง(ตวงวัด) IP: 113.53.21.13 วันที่: 12 มกราคม 2553 เวลา:20:21:47 น.  

 
ผมกำลังจะสอบนิติปรัชญาปลายเดือนกุมภาพันธ์53 ยังมึนอยู่เลยครับช่วยชี้แนะด้วยครับ จะขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ


โดย: กอล์ฟ (นครศรีธรรมราช) IP: 118.173.41.147 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:23:49:18 น.  

 
พพ


โดย: ก IP: 10.104.188.191, 125.25.39.220 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:15:24:02 น.  

 
อยากได้คำแนะนำจากพี่ๆ ในการหาหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ด้านกฎหมาย


โดย: nun IP: 10.104.188.191, 125.25.39.220 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:15:29:46 น.  

 
เปันวิชาที่อยากหลาย สับสน บ่อเข้าใจ ใผเข้าใจช่วยบอกแด่


โดย: Sack IP: 183.182.115.122 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:28:10 น.  

 
เพิ่งมาเห็น ทุกคนสู้ๆ นะคะ :)


โดย: ไร้นาม วันที่: 27 กันยายน 2561 เวลา:22:19:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.