จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
หลักกฏหมายเอกชน

ความหมายและลักษณะของกฏหมาย

ระเบียบของสังคม
- ศีลธรรม
- ศาสนา
- จารีตประเพณี

ปรัชญาทางกฏหมาย
- แนวคิดธรรมชาติ: Plato, Aristotle, Cirero (มนุษย์สามารถนำเอากฏเกณฑ์ ความเห็นถูกผิดตามธรรมชาติ หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีมีถูกต้องชอบธรรมมีเหตุผลในจิตใจมนุษย์มาใช้เป็นกฏหมายเพื่อบังคับ หรือควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้)
- แนวคิดฝ่ายบ้านเมือง: John Austin (รัฐาธิปัตย์ หรือผู้ปกครองเป็นผู้ที่สามารถใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในการที่จะปกครองบ้านเมืองและปราบปรามผู้ที่ทำลายความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้)
- แนวคิดฝ่ายสังคมนิยม: Carl Marx, Lenin (กฏหมายเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลสะท้อนมาจากเศรษฐกิจและบ้านเมือง ไม่ใช่สิ่งจำเป็นตลอดไปแต่จะมีความจำเป็นอยู่ชั่วขณะเพื่อจัดระเบียบและกลไกต่างๆ ของสังคม เป็นเครื่องมือของรัฐที่จะนำมาใช้เพื่อส่วนรวมเป็นใหญ่)
- แนวคิดสำนักประวัติศาสตร์: Savigny (กฏหมายเป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้สึกทางศีลธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของประชาชาติที่ค่อยๆ วิวัฒนาการไป)

กฏหมาย คือ คำสั่งหรือขอบังคับของรัฐาธิปัตย์ที่ได้บัญญัติขึ้น เพื่อกำหนดความประพฤติของประชาชนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษด้วย

ลักษณะของกฏหมาย
1. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
2. มาจากรัฐาธิปัตย์
3. เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
4. ต้องใช้ได้เสมอไป
5. ต้องมีสภาพบังคับ (โทษ - ประหารชีวิต, จำคุก, กักขัง, ปรับ, ริบทรัพย์)

กฏหมายเอกชน คือ กฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน กำหนดถึงสิทธิทางแพ่งอันเป็นสิทธิทางกฏหมายที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ยันกับบุคคลอื่นได้ แบ่งเป็น กฏหมายแพ่ง และ กฏหมายพาณิชย์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 1 - หลักทั่วไป
บรรพ 2 - หนี้
บรรพ 3 - เอกเทศสัญญา
บรรพ 4 - ทรัพย์สิน
บรรพ 5 - ครอบครัว
บรรพ 6 - มรดก

การใช้กฏหมาย

[1] ผู้ใช้กฏหมาย
1. ศาลยุติธรรม
2. เจ้าพนักงาน
3. ราษฏร

[2] วันเริ่มใช้กฏหมาย
1. ให้ใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เร่งด่วน)
2. ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดไปจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (default)
3. กำหนดเวลาให้ใช้ในอนาคต (เพื่อให้เจ้าพนักงานและประชาชนเตรียมพร้อม)
4. ให้ใช้บังคับย้อนหลัง (ไม่ค่อยใช้)

[3] สถานที่ใช้กฏหมาย
1. ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร (พื้นดิน, ทะเลอ่าวไทย/ทะเลอาณาเขต, พื้นอากาศ, เรือไทย/อากาศยานไทย)
2. ใช้เฉพาะบางท้องที่ (ส่วนท้องถิ่น)
3. ใช้บังคับถึงการกระทำนอกราชอาณาจักร

[4] บุคคลที่กฏหมายบังคับใช้
1. ข้อยกเว้นตามกฏหมายไทย (พระมหากษัตริย์, สมาชิกรัฐสภาจากการฟ้องร้องในถ้อยแถลงในสภา)
2. ข้อยกเว้นตามกฏหมายอื่นๆ (ประมุขของรัฐต่างประเทศ, ฑูตและบุคคลในคณะฑูต)

[5] การใช้กฏหมายกับข้อเท็จจริง
- ทางอาญา (นำบทบัญญัติของกฏหมายอาญา)
- ทางแพ่ง (นำบทบัญญัติของกฏหมายแพ่ง)

การตีความกฏหมาย

1. การตีความตามตัวอักษร
2. การตีความตามเจตนารมณ์
- วิเคราะห์ถ้อยคำ
- วิเคราะห์จากตำแหน่งหรือหมวดหมู่ของกฏหมาย
- วิเคราะห์จากประเภทของกฏหมาย
- วิเคราะห์ถึงสถาณการณ์ในขณะที่บัญญัติกฏหมายนั้น

การอุดช่องว่างและการยกเลิกกฏหมาย

การอุดช่องว่าง
1. ถ้าไม่มีบทกฏหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ให้วินิจฉันคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
2. ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฏหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
3. ในกรณีที่ไม่มีบทกฏหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ก็ให้วินิจฉัยตามหลักกฏหมายทั่วไป

การยกเลิกกฏหมาย
1. โดยตรง
2. โดยปริยาย
3. โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
4. โดยคำพิพากษาของศาล

สิทธิ หน้าที่ และ เสรีภาพตามกฏหมาย

ความหมายของสิทธิ
- สิทธิในสถานะของบุคคล
- สิทธิในทางหนี้
- สิทธิในทางทรัพย์

การได้มาซึ่งสิทธิ
1. โดยนิติกรรม (เจตนา, ชอบด้วยกฏหมาย, ใจสมัคร, มุ่งตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์, เพื่อให้เกิดการเคลื่อนในสิทธิ)
2. โดยนิติเหตุ (ละเมิด, ลาภมิควรได้, จัดการงานนอกสั่ง)
3. โดยผลของกฏหมาย (โดยการเกิดหรือสถานะของบุคคล, มรดก, ครอบครองปรปักษ์, อาศัยหลักส่วนควบ, การเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย

กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าดวยบุคคล

หมวด 1 บุคคลธรรมดา

สภาพบุคคล

การเริ่มสภาพบุคคล
- การคลอดแล้ว
- การอยู่รอดเป็นทารก

สิทธิของทารกในครรภ์มารดา*
- สิทธิในการรับมรดก
- สิทธิในครอบครัว

*Note: ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก

วันเกิดของบุคคล
- ทางแพ่ง (ใช้สิทธิทางกฏหมายได้เมื่ออายุ 20 หรือทำการสมรสเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์; ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีจะรับบุตรบุญธรรมมิได้)
- ทางอาญา (เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีทำผิดไม่ต้องรับโทษ; 7-14 ไม่ต้องรับโทษแต่ศาลมีอำนาจดำเนินการส่งไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม; 14-17 ปีให้ศาลพิจารณาแล้ววินิจฉัยถ้าไม่ผิดลงโทษตามมาตรา 74 ถ้าผิดลดความผิดลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75; 17-20 ปีลงโทษโดยลดโทษหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งได้ตามมาตรา 76)

การนับอายุของบุคคล
- ให้เริ่มแต่วันเกิด
- ถ้าไม่รู้วันเกิดแต่รู้เดือน ให้นับตั้งแต่วันที่ 1
- ถ้าไม่รู้เดือน แต่รู้ปี ให้นับตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน

การสิ้นสภาพบุคคล
- สิ้นสุดลงเมื่อตาย (โดยธรรมชาติ หรือ ตามกฏหมาย/สาบสูญ)

ระยะเวลาที่ถือว่าผู้ไม่อยู่ถึงแก่ความตาย
- ไปจากภูมิลำเนาและไม่มีใครรู้แน่เป็นเวลา 5 ปี (หรือ 2 ปีในกรณีพิเศษ)
- ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ
- ศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

สิทธิประกอบสภาพบุคคล
1. สัญชาติ (ดินแดน/สายโลหิต)
2. ชื่อ (ชื่อตัว/ชื่อรอง/ชื่อสกุล/ชื่ออื่นๆ)
3. ภูมิลำเนา
4. สถานะบุคคล (นิติเหตุ/นิติกรรม)

ความสามารถ
- ในการมีสิทธิ
- ในการใช้สิทธิ (โดยธรรมชาติ/โดยกฏหมาย)

หมวด 2 นิติบุคคล

ความหมายและประเภทของนิติบุคคล

นิติบุคคล คือ บุคคลตามกฏหมายที่สมมติขึ้นมา และรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา กล่าวคือ นิติบุคคลสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ จำหน่ายจ่ายโดนทรัพย์สินได้ เป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ได้

ประเภทของนิติบุคคล
- ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
- ตามกฏหมายอื่น (พรบ สหกรณ์, พรบ มหาวิทยาลัย)


Create Date : 16 ตุลาคม 2548
Last Update : 16 ตุลาคม 2548 22:26:31 น. 15 comments
Counter : 3664 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 16 ตุลาคม 2548 เวลา:18:14:48 น.  

 
ข้างล่าง จะติดตามเรื่อยๆ


โดย: noom_no1 วันที่: 16 ตุลาคม 2548 เวลา:19:30:11 น.  

 
ตามมาอ่านด้วยครับ...

สมัยตอนเรียนล่ะมึน....


โดย: **mp5** วันที่: 16 ตุลาคม 2548 เวลา:19:51:10 น.  

 
--- คุณ noom_no1 ---

อิอิ แซวได้เจ๋งมากค่ะ


--- คุณ **mp5** ---

คุณ mp5 มึนแล้วไร้นามจะเหลือเหรอเนี่ย


โดย: ไร้นาม วันที่: 16 ตุลาคม 2548 เวลา:22:56:27 น.  

 
ผมต้องการที่จะต่อโทเมืองนอกผมควรทำยังไง


โดย: john IP: 202.12.74.5 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:18:20:41 น.  

 
+++ คุณ john +++

ค้นหาข้อมูลใน google, ไปตามสถานที่แนะนำการศึกษาต่อต่างประเทศต่างๆ เช่นของไร้นามที่ได้ทุนไปอังกฤษก็เพราะไปค้นที่ British Coucil ค่ะ สู้ๆ นะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:58:32 น.  

 
อยากทราบว่า ผู้พิทักษ์ หมายถึงใครหรอค่ะ แล้ว คนเสมือนไร้ความสามารถ แล้ว จะตีความกมให้ได้ ทำอย่างไรหรอค่ะ

โดย: Aing IP: 124.120.152.170 วันที่: 28 สิงหาคม 2550 เวลา:17:42:15 น.  

 
สวัสดี ขอร่วมแจมด้วย โอ๊ยปวดหัวจังเลยเรียนกฏหมายเนี๊ยะจะสอบแล้วตื่นเต้นแล้วเครียดด้วย
เคยเข้ามาอ่านหลายครั้งแล้วได้ประโยชน์มาก ขอบคุณน่ะ แล้วคงเป็นเพื่อน เว็บกันได้น่ะ จะคอยติดตามต่อไป


โดย: คนใกล้ฟ้า IP: 61.19.65.134 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:13:24:39 น.  

 
ได้ประโยชน์มากทีเดียว


โดย: ต้นปาล์ม IP: 202.12.73.19 วันที่: 26 มิถุนายน 2551 เวลา:17:05:16 น.  

 
เน„เธ”เน‰เธ›เธฃเธฐเน‚เธขเธŠเธ™เนŒเธกเธฒเธเน€เธฅเธขเธ„เธฑเธšเธžเธตเนˆ

เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธกเธฒเธเธ™เธฐเธ„เธฑเธšเธžเธตเนˆ



โดย: เน€เธžเธŠเธฃ IP: 58.8.103.96 วันที่: 23 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:56:29 น.  

 
ขอบคุรมาก



โดย: 11 IP: 67.15.183.14 วันที่: 19 กันยายน 2551 เวลา:13:04:07 น.  

 
ช่วยด้วยค้า จะสอบกฎหมายแล้วงงมาก


โดย: FFF IP: 58.64.49.97 วันที่: 26 เมษายน 2552 เวลา:21:35:41 น.  

 
ช่วยบอกแนววิธีการตอบข้อสอบ หน่อยสิค่ะ ว่าจะตอบแนวไหนดี
เพื่อไห้คะแนนดีๆๆนะค่ะ


โดย: fff IP: 58.64.49.97 วันที่: 26 เมษายน 2552 เวลา:21:38:05 น.  

 
คุณไร้นาม เขียนได้ดีครับ อ่านแล้วเห็นภาพรวมของประเด็น


โดย: wilson IP: 124.157.128.208 วันที่: 31 มกราคม 2553 เวลา:10:45:47 น.  

 
ช่วยด้วย

ผมยังอ่นเรื่องของกฎหมายไข้ใจเลยค้าบ

แต่ผมจะติดตามนะค้าบ


โดย: ใต้ IP: 112.142.8.92 วันที่: 8 มิถุนายน 2553 เวลา:20:40:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.