จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
16 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

นิติกรรมและสัญญา

บรรพ 1 หลักทั่วไป

ลักษณะ 4 นิติกรรม
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 149* นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบ ด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
มาตรา 150* การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 151* การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ
มาตรา 152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 153* การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่า ด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ

หมวด 2 การแสดงเจตนา
มาตรา 154* การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดง จะมิได้เจตนา ให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การ แสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึง เจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น
มาตรา 155** การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดย สุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้น เพื่ออำพรางนิติกรรม อื่นให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพราง มาใช้บังคับ
มาตรา 156** การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัว บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่ง เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น
มาตรา 157** การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของ บุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิด ดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
มาตรา 158** ความสำคัญผิดตาม มาตรา 156 หรือ มาตรา 157 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดง เจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์ แก่ตนไม่ได้
มาตรา 159** การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคล ภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น
มาตรา 160* การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลตาม มาตรา 159 ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการ โดยสุจริต
มาตรา 161** ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่ง ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่า สินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้
มาตรา 162** ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสีย ไม่แจ้งข้อความจริง หรือคุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การ นั้นจะเป็นกลฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้น ก็คงจะมิได้กระทำขึ้น
มาตรา 163* ถ้าคู่กรณีต่างได้กระทำการโดยกลฉ้อฉลด้วยกัน ทั้งสองฝ่ายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะกล่าวอ้างกลฉ้อฉลของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อบอกล้างการนั้น หรือเรียกค่าสินไหมทดแทนมิได้
มาตรา 164** การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูก ข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้ กระทำขึ้น
มาตรา 165** การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
การใดที่กระทำไปเพราะนับถือยำเกรง ไม่ถือว่าการนั้นได้กระทำ เพราะถูกข่มขู่
มาตรา 166** การข่มขู่ย่อมทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ แม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มข
มาตรา 167 ในการวินิจฉัยกรณีความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือ การข่มขู่ให้พิเคราะห์ถึง เพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย และ ภาวะแห่งจิตของผู้แสดงเจตนา ตลอดจนพฤติการณ์และสภาพ แวดล้อมอื่น ๆ อันเกี่ยวกับการนั้นด้วย ู่
มาตรา 168** การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่ผู้รับการแสดงเจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น ความข้อนี้ให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลหนึ่งแสดงเจตนาไปยังบุคคล อีกคนหนึ่งโดยทางโทรศัพท์หรือโดยเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น หรือ โดยวิธีอื่นซึ่งสามารถติดต่อถึงกันได้ทำนองเดียวกัน
มาตรา 169** การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะ หน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้น ไปถึงผู้รับการ แสดงเจตนา แต่ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้น ก่อน หรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล
การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลัง การแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่ง ให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
มาตรา 170** การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ที่ศาลสั่ง ให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ จะยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้ผู้รับการแสดงเจตนาไม่ได้ เว้นแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของผู้รับการแสดงเจตนานั้นได้รู้ ด้วยหรือได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้ว
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้าการแสดงเจตนานั้นเกี่ยวกับ การที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้เยาว์ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ กระทำได้เองโดยลำพัง
มาตรา 171 ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนา อันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร

หมวด3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
มาตรา 172* โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มี ส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าว อ้างก็ได้
ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ
มาตรา 173* ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะนิติกรรม นั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์ แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจาก ส่วนที่เป็นโมฆะได้
มาตรา 174 การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่น ซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือตามนิติกรรมซึ่งไม่เป็นโมฆะ ถ้าสันนิษฐานได้ โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า หากคู่กรณีได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะแล้ว ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น
มาตรา 175** โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอม ของผู้แทน โดยชอบธรรม
(2)บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือ คนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็น คนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
(3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือ ถูกข่มขู่
(4) บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม มาตรา
30 ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว
ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตาย ก่อนมีการ บอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้าง โมฆียะกรรมนั้นได้
มาตรา 176* โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะ มาแต่เริ่มแรก และให้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้น วิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้าง แล้วให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะ นับแต่วันที่ได้รู้หรือ ควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ
ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม วรรคหนึ่งเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม
มาตรา 177 ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตาม มาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็น อันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ ของบุคคลภายนอก
มาตรา 178 การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ย่อม กระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มี ตัวกำหนดได้แน่นอน
มาตรา 179 การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น จะสมบูรณ์ ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมด สิ้นไปแล้ว
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ควา มสามารถ คนเสมือนไร้ความ สามารถหรือบุคคลวิกลจริต ผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30 จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้ ต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่ง โมฆียะกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล แล้วแต่กรณี
ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ จะให้สัตยาบันแก่ โมฆียะกรรมได้นับแต่เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย เว้นแต่ สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมของผู้ตายนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ ถ้าการให้สัตยาบัน แก่โมฆียะกรรมกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
มาตรา 180 ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ตาม มาตรา 179 ถ้ามีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วย โมฆียะกรรม โดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ตาม มาตรา 175 ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ให้ถือว่าเป็น การให้สัตยาบัน
(1) ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(2) ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว
(3) ได้มีการแปลงหนี้ใหม่
(4) ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น
(5) ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(6) ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน
มาตรา 181* โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำ นิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

...

ลักษณะ 5 ระยะเวลา
มาตรา 193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวง ให้บังคับตามบทบัญญัติ แห่งลักษณะนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 193/2 การคำนวณระยะเวลา ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้า กำหนดเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ก็ให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่ กำหนดนั้น
มาตรา 193/3* ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ให้เริ่มต้นนับในขณะที่เริ่มการนั้น
ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรก แห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่ เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี
มาตรา 193/4 ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้ กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือ เวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 193/5* ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้ คำนวณตามปีปฎิทิน
ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือน หรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะ เวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอา วันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
มาตรา 193/6 ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนด เป็นเดือนและส่วนของเดือน ให้นับจำนวนเดือนเต็มก่อน แล้วจึงนับ จำนวนวันหรือส่วนของเดือนเป็นวัน
ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นส่วนของปี ให้คำนวณส่วนของปีเป็น เดือนก่อนหากมีส่วนของเดือน ให้นับส่วนของเดือนเป็นวัน
การคำนวณส่วนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่า เดือนหนึ่งมีสามสิบวัน
มาตรา 193/7 ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการ กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ให้นับวันที่ต่อจาก วันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น
มาตรา 193/8 ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการ ตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา

ลักษณะ 6 อายุความ
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 193/9* สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ
มาตรา 193/10** สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่ จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้
มาตรา 193/11 อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น คู่กรณีจะ ตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้
มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิ เรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการ อย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น
มาตรา 193/13 สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่า จะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลา แรกที่อาจทวงถามได้เป็นต้นไป แต่ถ้าลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระหนี้จน กว่าระยะเวลาหนึ่งจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่ได้ทวงถามนั้น ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ระยะเวลานั้นสิ้นสุดไปแล้ว
มาตรา 193/14** อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1)** ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
(2)** เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
(3) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
(4) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
(5) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี
มาตรา 193/15 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วง ไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ
เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุ ความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น
มาตรา 193/16 หนี้ใดซึ่งตามมูลแห่งหนี้นั้น เจ้าหนี้จะได้รับ ชำระหนี้เป็นคราว ๆ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพ หนี้ให้ในเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนอายุความครบบริบูรณ์เพื่อเป็นหลักฐาน ว่าอายุความสะดุดหยุดลง
มาตรา 193/17** ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตาม มาตรา 193/14 (2) หากคดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำฟ้อง หรือคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง
ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับ หรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดี ไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้อง ใหม่และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่ง นั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง หรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นถึงที่สุด
มาตรา 193/18 ให้นำ มาตรา 193/17 มาใช้บังคับแก่กรณีที่ อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตาม มาตรา 193/14 (3)(4)และ (5) โดยอนุโลม
มาตรา 193/19* ในขณะที่อายุความจะครบกำหนดนั้น ถ้ามีเหตุ สุดวิสัยมาขัดขวางมิให้เจ้าหนี้กระทำการตาม มาตรา 193/14 ให้ อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ เหตุสุดวิสัยนั้นได้สิ้นสุดลง
มาตรา 193/20 อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของ บุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถ เต็มภูมิหรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทน โดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่า จะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหหรือ ได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความ สิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลา ที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว
มาตรา 193/21 อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของ คนไร้ความสามารถหรือของคนเสมือนไร้ความสามารถ ที่จะฟ้องร้อง ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของตนนั้น ถ้าจะครบ กำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบ ธรรม หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนด จนกว่าจะครบหนึ่งปี นับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็ม ภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่ กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลา หนึ่งปีดังกล่าว
มาตรา 193/22 อายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างสามีภริยา ถ้า จะครบกำหนดก่อน หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่การ สมรสสิ้นสุดลง
มาตรา 193/23 อายุความสิทธิเรียกร้องอันเป็นคุณหรือเป็น โทษแก่ผู้ตาย ถ้าจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตาย อายุความ นั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันตาย
มาตรา 193/24** เมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว ลูกหนี้จะสละ ประโยชน์แห่งอายุความนั้นเสียก็ได้ แต่การสละประโยชน์เช่นว่านี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกหรือผู้ค้ำประกัน
มาตรา 193/25 เมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว ให้มีผลย้อนหลัง ขึ้นไปถึงวันที่เริ่มนับอายุความ
มาตรา 193/26 เมื่อสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานขาด อายุความให้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นขาดอายุความด้วย แม้ว่าอายุความของสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นจะยังไม่ครบ กำหนดก็ตาม
มาตรา 193/27** ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือ ผู้ทรงบุริมะสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมี สิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไป ไม่ได้
มาตรา 193/28** การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความ แล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะ ไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความ รับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วย แต่จะ อ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้
มาตรา 193/29 เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะ อ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้

หมวด 2 กำหนดอายุความ
มาตรา 193/30** อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี
มาตรา 193/31 สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากร ให้มีกำหนดอายุความสิบปี ส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอา หนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้
มาตรา 193/32 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาล ที่ถึงที่สุดหรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุ ความสิบปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด
มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
(1) ดอกเบี้ยค้างชำระ
(2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
(3) ค่าเช่าทรัพย์สินค้าชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตาม มาตรา 193/34 (6)
(4) เงินค้างจ่ายคือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
(5) สิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 193/34 (1)(2) และ (5) ที่ไม่อยู่ ในบังคับอายุความสองปี
มาตรา 193/34* สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความ สองปี
(1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(2) ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าของที่ได้ ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทางเกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้าน เรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(3) ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียก เอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป
(4) ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตาม กฎหมายว่าด้วยสถานบริการเรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้ง เงินที่ได้ออกทดรองไป
(5) ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ
(6) ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
(7) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(8) ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสิน จ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือ นายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(9) ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้าง รายวัน รวมทั้งผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค้าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่น ว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(10) ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ตามที่ได้ตกลงกันไว้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่า ธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หรือค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(12) ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่า การงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(13) ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(14) ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
(15) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(16) ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้ง พยานผู้เชี่ยวชาญ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่าย ล่วงหน้าไป
(17) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวม ทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานดังกล่าว เรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
มาตรา 193/35 ภายใต้บังคับ มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องที่ เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือโดยการให้ประกันตาม มาตรา 193/28 วรรคสอง ให้มีกำหนด อายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน

บรรพ 2 หนี้

ลักษณะ 2 สัญญา
หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา
มาตรา 354*คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง นั้นท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้
มาตรา 355** บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะ ทางและมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสีย ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่าน ว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
มาตรา 356* คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่ง ระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้น เสนอ ณ ที่ใดเวลาใดก็ย่อมจะสนองรับ ได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคล คนหนึ่งทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย
มาตรา 357** คำเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้ สนองรับภายในเวลากำหนดดังกล่าวมาใน มาตรา ทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คำเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป
มาตรา 358** ถ้าคำบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลาแต่เป็นที่เห็น ประจักษ์ว่าคำบอกกล่าวนั้นได้ส่งโดยทางการ ซึ่งตามปกติควรจะมา ถึงภายในกำหนดไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยพลันว่าคำสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้น ก่อนแล้ว
ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดั่งว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่า คำบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา
มาตรา 359** ถ้าคำสนองมาถึงล่วงเวลา ท่านให้ถือว่าคำสนองนั้น กลายเป็นคำเสนอขึ้นใหม่
คำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่น ประกอบด้วยนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคำเสนอ ขึ้นใหม่ด้วยในตัว
มาตรา 360* บทบัญญัติแห่ง มาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ ใช้บังคับถ้าหากว่าขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อน จะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตก เป็นผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 361 อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ
ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปกติประเพณีไม่จำเป็น จะต้องมีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้น ในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการ แสดงเจตนาสนองรับ
มาตรา 362 บุคคลออกโฆษณาให้คำมั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่ง กระทำการอันใด ท่านว่าจำต้องให้รางวัลแก่บุคคลใด ๆ ผู้ได้กระทำการ อันนั้น ถึงแม้มิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทำเพราะเห็นแก่รางวัล
มาตรา 363 ในกรณีที่กล่าวมาใน มาตรา ก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใคร ทำการสำเร็จดั่งบ่งไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คำมั่นจะถอนคำมั่นของตน เสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณา นั้นว่าจะไม่ถอน
ถ้าคำมั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดั่งกล่าวมาก่อน จะถอนโดยวิธี อื่นก็ได้แต่ถ้าเช่นนั้นการถอนจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่อ บุคคลที่รู้
ถ้าผู้ให้คำมั่นได้กำหนดระยะเวลาให้ด้วยเพื่อทำการอันบ่งนั้นไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ให้คำมั่นได้สละสิทธิที่จะถอนคำมั่นนั้น เสียแล้ว
มาตรา 364 ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันบ่งไว้ในโฆษณาท่านว่า เฉพาะแต่คนที่ทำได้ก่อนใครหมดเท่านั้น มีสิทธิจะได้รับรางวัล
ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันนั้นได้พร้อมกัน ท่านว่าแต่ละคน มีสิทธิจะได้รับรางวัลเป็นส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน แต่ถ้ารางวัลนั้นมีสภาพ แบ่งไม่ได้ก็ดี หรือถ้าตามข้อความแห่งคำมั่นนั้น บุคคลแต่คนเดียว จะพึงรับรางวัลก็ดี ท่านให้วินิจฉัยด้วยวิธีจับสลาก
บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคทั้งสองข้างต้นนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าในโฆษณานั้นแสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 365 คำมั่นจะให้รางวัลอันมีความประสงค์เป็นการ ประกวดชิงรางวัลนั้น จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้กำหนดระยะเวลาไว้ใน คำโฆษณาด้วย
การที่จะตัดสินว่าผู้ประกวดคนไหนได้การทำสำเร็จตามเงื่อนไข ในคำมั่นภายในเวลากำหนดหรือไม่ก็ดี หรือตัดสินในระหว่างผู้ ประกวดหลายคนนั้นว่าคนไหนดีกว่ากันอย่างไรก็ดี ให้ผู้ชี้ขาดซึ่ง ได้ระบุชื่อไว้ในโฆษณานั้นเป็นผู้ตัดสิน หรือถ้ามิได้ระบุชื่อผู้ชี้ขาด ไว้ก็ให้ผู้ให้คำมั่นเป็นผู้ตัดสินคำตัดสินอันนี้ย่อมผูกพันผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยทุกฝ่าย
ถ้าได้คะแนนทำดีเสมอกัน ท่านให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 364 วรรค 2 มาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ทำขึ้นประกวดนั้น ผู้ให้คำมั่นจะ เรียกให้โอนแก่ตนได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้ในโฆษณาว่าจะพึงโอนเช่นนั้น
มาตรา 366 ข้อความใด ๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่าย เดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด เมื่อกรณีเป็น ที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน การที่ได้ทำความเข้าใจกัน ไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง ถึงแม้ว่าจะได้จดลงไว้ก็หาเป็นการผูกพันไม่
ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ ทำขึ้นเป็นหนังสือ
มาตรา 367 สัญญาใดคู่สัญญาได้ถือว่าเป็นอันได้ทำกันขึ้นแล้วแต่ แท้จริงยังมิได้ตกลงกันในข้อหนึ่งข้อใด อันจะต้องทำความตกลงให้ สำเร็จ ถ้าจะพึงอนุมานได้ว่า ถึงหากจะไม่ทำความตกลงกันในข้อนี้ ได้สัญญานั้นก็จะได้ทำขึ้นไซร้ ท่านว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้ว ก็ย่อมเป็นอันสมบูรณ์
มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทาง สุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

หมวด 2 ผลแห่งสัญญา
มาตรา 369* ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระ หนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่าย หนึ่งยังไม่ถึงกำหนด
มาตรา 370** ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อ ให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือ เสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
ถ้าไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านให้ใช้บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรค ก่อนนี้บังคับแต่เวลาที่ทรัพย์นั้น กลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตามบท บัญญัติแห่ง มาตรา 195 วรรค 2 นั้นไป
มาตรา 371* บทบัญญัติที่กล่าวมาใน มาตรา ก่อนนั้น ท่านมิให้ใช้ บังคับถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนมีเงื่อนไขบังคับก่อน และทรัพย์ อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยัง ไม่สำเร็จ
ถ้าทรัพย์นั้นเสียหายเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษ เจ้าหนี้มิได้และเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ โดยลดส่วนอันตนจะต้องชำระหนี้ตอบแทนนั้นลงหรือเลิกสัญญานั้น เสียก็ได้ แล้วแต่จะเลือก แต่ในกรณีที่ต้นเหตุเสียหายเกิดเพราะฝ่าย ลูกหนี้นั้น ท่านว่าหากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกค่า สินไหมทดแทนไม่
มาตรา 372 นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในสอง มาตรา ก่อน ถ้าการ ชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่
ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะ โทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้ก็หาเสียสิทธิที่จะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ แต่ว่าลูกหนี้ได้อะไรไว้เพราะการปลดหนี้ก็ดี หรือใช้คุณวุฒิความ สามารถของตนเป็นประการอื่นเป็นเหตุให้ได้อะไรมา หรือแกล้งละเลย เสียไม่ขวนขวายเอาอะไรที่สามารถจะทำได้ก็ดี มากน้อยเท่าไร จะ ต้องเอามาหักกับจำนวนอันตนจะได้รับชำระหนี้ตอบแทน วิธีเดียวกัน นี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่การชำระหนี้อันฝ่ายหนึ่งยังค้างชำระอยู่ นั้นตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นมิต้อง รับผิดชอบ ในเวลาเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่รับชำระหนี้
มาตรา 373 ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ
มาตรา 374 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้ จากลูกหนี้โดยตรงได้
ในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อม เกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์ จากสัญญานั้น
มาตรา 375 เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามบทบัญญัติ แห่ง มาตรา ก่อนแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้น ในภายหลังได้ไม่
มาตรา 376 ข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาดั่งกล่าวมาใน มาตรา 374 นั้นลูกหนี้อาจจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้จะได้รับประโยชน์จาก สัญญานั้นได้

หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ
มาตรา 377 เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำท่านให้ ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกัน ขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย
มาตรา 378 มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็น ไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้
(2) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
(3) ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ
มาตรา 379 ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ถ้าการชำระหนี้อันจะพึงทำนั้น ได้แก่งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง หากทำการอันนั้นฝ่าฝืนมูลหนี้เมื่อใด ก็ให้ริบเบี้ยปรับเมื่อนั้น
มาตรา 380** ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ ชำระหนี้เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นแทนการชำระหนี้ ก็ได้ แต่ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับฉะนั้นแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป
ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่ง ค่าเสียหายก็ได้ การพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นท่านก็อนุญาตให้ พิสูจน์ได้
มาตรา 381** ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ให้ถูกต้องสมควร เช่นว่าไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้เป็นต้น นอก จากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้
ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 380 วรรค 2
ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอก สงวน สิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้
มาตรา 382* ถ้าสัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นให้เป็นเบี้ยปรับ ไม่ ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 379 ถึง 381 มา ใช้บังคับ แต่ถ้าเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็ เป็นอันขาดไป
มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทาง ได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียใน เชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอัน ขาดไป
นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ใน มาตรา 379 และ 382 ท่านให้ใช้วิธีเดียวกัน นี้บังคับ ในเมื่อบุคคลสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนกระทำหรืองดเว้นกระทำ การอันหนึ่งอันใดนั้นด้วย
มาตรา 384 ถ้าการชำระหนี้ตามที่สัญญาไว้นั้นไม่สมบูรณ์การที่ตกลงกัน ด้วยข้อเบี้ยปรับในการไม่ปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ย่อมไม่สมบูรณ์ดุจกัน แม้ถึง คู่กรณีจะได้รู้ว่าข้อสัญญานั้นไม่สมบูรณ์
มาตรา 385 ถ้าลูกหนี้โต้แย้งการริบเบี้ยปรับโดยอ้างเหตุว่าตนได้ชำระ หนี้แล้วไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องพิสูจน์การชำระหนี้ เว้นแต่การชำระหนี้ อันตนจะต้องทำนั้นเป็นการให้งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2549
12 comments
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2549 23:28:56 น.
Counter : 1703 Pageviews.

 

^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ

 

โดย: ไร้นาม 16 กุมภาพันธ์ 2549 23:33:58 น.  

 

แหะๆ เพิ่งสอบผ่านไปเร็วๆนี้เอง ทุกมาตรายังจำฝังใจอยู่เลยครับ

 

โดย: เจไอ 22 มีนาคม 2549 1:44:03 น.  

 

--- คุณเจไอ ---

เก่งจังเลยค่ะ สอบเสร็จแล้วยังจำฝังใจได้อยู่

 

โดย: ไร้นาม 9 สิงหาคม 2549 23:36:33 น.  

 

เก่งจังเลยนะครับพี่ไร้นาม เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ผมเรียนอย่างเดียวยังได้Gในปี1แค่7ตัวเองง่า

 

โดย: poompoom_3@hotmail.com IP: 125.27.23.72 2 พฤษภาคม 2550 9:33:22 น.  

 

+++ คุณ poompoom_3@hotmail.com +++

เจ๋งแล้วค่ะ

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 11:54:19 น.  

 

หวัดดีค่ะ เพิ่งจะเคยเข้ามาครั้งแรก ประมาณว่าหลงเข้ามา แฮๆล้อเล่นน่า พี่อ่านแค่นี้หรอค่ะ( มากจังเลย).............. โอ้ยหนูจะอ่านทันไหมล่ะเนียยยยยยยย ??????
--------เซ็งคนเรียนเก่งและขยัน
........................................คนขี้เกียดขอ บาย ก่อนแล้วกันน่า........................หวัดดีคราบบบบบ

 

โดย: น.ศ.โคราช IP: 203.113.56.8 11 กันยายน 2550 19:25:20 น.  

 

ผมจาสอบปลายเดือนนี้อ่ะ นิติกรรมสัญญา ลักษณะหนี้ ทรัพย์และที่ดิน อาญา 1 จาอ้วก อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องอ่ะ ต้องให้พ่อสอน อิอิ มีนักกฎหมายส่วนตัวอยู่ที่บ้าน

 

โดย: นิติ ราชภัฎนครสวรรค์ ปี 1 IP: 118.172.158.239 3 กุมภาพันธ์ 2551 12:05:38 น.  

 

สวัสดีค๊า เพ่ ไร้นาม

เพ่ เก่งจังเลย

พี่ค๊า ว่างๆ ช่วย จัดตารางเรียน ให้นู่หน่อย จิ

จัดเอง ไม่ถูกแล้วง่าส์ อยาก ได้ ที่ปรึกษา

ได้ ไหม ค่ะ นะนะนะ เพ่ คนสวยย

แถมเรียนเก่งอีก ^^

นิติกรรม ลง ซัมเมอร์ นี้ จะรอดไหมหว่า มิมีเวลา อ่าน

>.<

 

โดย: nhunew IP: 222.123.153.29 6 เมษายน 2551 9:04:03 น.  

 

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ

เรื่องตารางเรียน ถ้าเป็นราม ลงให้เต็มหน่วยกิต
แล้วอย่าให้วันสอบจริง & สอบซ่อมชนกันค่ะ อิอิ

 

โดย: ไร้นาม 5 พฤษภาคม 2551 2:02:22 น.  

 

เรียนกฎหมายหรอ ยากไมคนไร้นาม

 

โดย: คนไม่มีนาม IP: 118.175.185.243 19 สิงหาคม 2551 12:18:43 น.  

 

มาตรา 193/34* สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความ สองปี
(1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
เรียน คุณไร้นาม
ผมเปิดร้านขายถุงพลาสติกโดยสั่งซื้อจากโรงงานเพื่อขายให้ลูกค้าอีกทีต่อมากิจการไม่ดีโดนลูกค้าไม่จ่ายสตางค์โรงงานก็ฟ้องผม ผมอยากทราบว่าอายุความกรนี้กี่ปีครับ เพราะใบส่งสินค้าเกิน 2 ปี เขาจะมีสิทธิฟ้องผมหรือไม่ครับ
กรุณาตอบผมด่วนได้ไหมครับ เดือดร้อนจริงๆ
tepkongchai@gmail.com

 

โดย: เทพก้องชัย IP: 118.172.152.57 29 กันยายน 2552 19:59:14 น.  

 

ไม่มีครับถ้าอ้างเหตุผลดี

 

โดย: kriangkri IP: 113.53.207.200 16 ตุลาคม 2552 7:58:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.