|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
3 กันยายน 2564
|
|
|
|
นิทรรศการอารยธรรมวิวัฒน์ : ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร

ในภาพยนตร์สุริโยไท จะได้ยินตัวละครในเรื่องกล่าวถึงชื่อเมืองว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร ในขณะที่ปัจจุบันเราเรียกว่า พระนครศรีอยุธยา คำถามคือว่า สองคำนี้ต่างกันอย่างไร คำว่า อโยธยานั้นเป็นการเรียกชื่อเมืองก่อนสงครามเสียกรุงครั้งที่ 1 หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็น อยุธยา ที่ความหมายนั้นยังคงเดิม เมืองที่ยากจะต่อรบด้วยได้ เป็นการเปลี่ยนเพื่อที่จะล้างอดีตการสูญเสียเอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง แต่ที่เรายังไม่ทราบคือ ในสมัยอยุธยาตอนต้นร่วมสมัยกับในภาพยนต์ เรียกเมืองนี้ว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร จริงหรือไม่ หรือจะเรียกสั้นเพียงว่า อโยธยา กันแน่ เราจะมาตามหาเรื่องนี้กันในนิทรรศการ ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย. 2564 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร คำว่า ศรีรามเทพนคร ปรากฏเพียงในจารึกสุโขทัย 2 หลัก เท่านั้น คือหลักที่ 2 วัดศรีชุมและจารึกหลักที่ 11 วัดเขากบ จ. นครสวรรค์ แต่ทั้งสองหลักนั้นเขียนแตกต่างกัน ทำให้เกิดการตีความที่แตกต่างกัน
จารึกวัดเขากบโดยจารึกหลักที่ 2 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 57 กล่าวว่าฉลักประดิษฐานไว้ในศรีรามเทพนครเบื้องใต้เมืองสุโขทัยจารึกวัดเขากบ ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 21-23 กล่าวว่าส อโยธยาศรีรามเทพนครที่ศรพิรุณาสตรงบาดาลพระ เด็จท่านก่อที่นั่น ผสมแต่ก่อนพระเจดีย์พระศรีรัตนธาตุได้พัน ร้อยห้าสิบเจ็ดรัตนกูดานครไทว่ากำพงคลอง
จะเห็นว่า จารึกหลักที่ 2 ของพระมหาเถรศรีศรัทธา กล่าวไว้เพียงว่า เมืองศรีรามเทพนคร มีพระ.. ซึ่งคงจะเป็นพระบาทประดิษฐานไว้ที่เมืองนี้ เมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของสุโขทัย ส่วนจารึกเขากบกล่าวถึงชื่อเมืองนี้ว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร โดยเนื่องจากการเขียนสมัยสุโขทัย เราไม่มีการเว้นวรรค คำถามสำคัญคือ อโยธยาศรีรามเทพนคร คือชื่อของ 1 หรือ 2 เมือง
แล้วหลักฐานอื่นในช่วงอยุธยาตอนต้นล่ะ กล่าวถึงชื่อเมืองอยุธยาไว้ว่าอย่างไร ตัวอย่างคือ ลิลิตยวนพ่ายที่แต่งในสมัยพระบรมไตรโลกนารถ ใช้คำว่า ศรีอโยธยา และจารึกพระธาตุศรีสองรัก ที่เป็นการทำสัตย์สาบานระหว่างพระไชยเชษฐา กับพระมหาจักรพรรดิ ใช้คำว่า พระนครศรีอโยธยามหาดิลกภพนพรัตน์ เมื่อใช้หลักฐานนี้ อโยธยาและศรีรามเทพนครจึงเป็นคนละเมืองกัน แต่คงอยู่ใกล้ๆ กัน แล้วเช่นนั้นเมืองนี้ตั้งอยู่ที่ไหน เพราะที่กล่าวชื่อเมืองไว้ปรากฏแต่ในจารึกสมัยสุโขทัยเท่านั้น จารึกวัดส่องคบ 1 เป็นจารึกสมัยอยุธยาพบที่เมืองชัยนาท กำหนดศักราช พ.ศ. 1951
ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 6 กล่าวว่า แต่ ธ เจ้าเมืองกระทำกุศลมาแต่ครั้งกระโน้นในสุพรรณภูมิ ธ ให้ทานเมือง ธ ให้กระทำกุฏีพิหารในศรีอโยธยา ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 2-3 กล่าวว่า ชีอ้ายผ้าขาวคนหนึ่งท่านให้บำเรอแต่พระศรีรัตนธาตุแห่งนครพระรามโสต

จารึกวัดส่องคบ แสดงว่ามีเมืองสำคัญ คือ สุพรรณภูมิ อโยธยา และนครพระรามที่มีเจดีย์ศรีมหาธาตุ ในช่วงเวลานั้นทุกเมืองจะมีเจดีย์ที่เป็นมหาธาตุประจำเมือง แต่เมืองที่น่าจะมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุด ก็ควรเป็น ละโว้ลพบุรีที่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของเมืองพระนคร มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และปรากฏชื่อเมืองหนึ่งที่เรายังไม่เคยได้ยิน เมืองพระราม
เมื่อเชื่อมโยงกลับไปที่จารึกวัดเขากบ เมืองศรีรามเทพนครที่คำขยายว่ามีศรพิรุณนาส หรือศรแห่งพระราม นั้นก็ตรงกับตำนานเมืองลพบุรีที่กล่าวว่าหลังจากเสร็จศึกลงกา พระรามได้ปูนบำเหน็จแก่หนุมาน โดยได้แผลงศรไปในอากาศแล้วหากตกลงที่ใด ก็ให้หนุมานสร้างเมืองแล้วปกครองที่นั่น ศรนั้นมาตกในทะเลทำให้น้ำนั้นเหือดแห้ง
ดินสุกเป็นสีขาว หนุมานจึงแปลงกายให้ใหญ่ตัวแล้วให้หางกวาดดินไปกองเป็นภูเขา เมืองลพบุรีจึงมีภูเขามาก และมีดินขาวที่ใช้ทำดินสอพองมาจนถึงปัจจุบัน สัมพันธ์กับเอกสารพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ กำหนดว่า ออกพระนครพระราม เป็นเจ้าเมืองลพบุรี นา 500 ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
นครพระรามในจารึกวัดส่องคบจึงสามารถเชื่อมโยงกับศรีรามเทพนครในจารึกสมัยสุโขทัย และสามารถเชื่อมโยงกับเมืองลพบุรีที่ตั้งชื่อตามพระลพ โอรสแห่งพระรามนั่นเอง และตามหลักการของการใช้คำว่าศรีที่แปลว่าดีนั้น เป็นคำที่ต้องใส่นำหน้า ดังนั้นคำว่าศรีอโยธยา และศรีรามเทพนคร จึงต้องต้องเป็นชื่อเมืองคนละเมืองกัน แต่การเรียกชื่ออโยธยาศรีรามเทพนครนั้นอาจจะเป็นการเรียกชื่อเมืองคู่ที่มีความสัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับการที่เรียกว่าเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
ดังนั้น อโยธยาก็ควรมีความสัมพันธ์กับศรีรามเทพนครเช่นเดียวกัน ซึ่งเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยานั้น ก็คือเมืองลพบุรีนั่นเอง
 จารึกวัดศรีชุม ที่ไม่ได้นำมาจัดแสดงในงาน ขอนำภาพมาจาก internet
ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการครั้งนี้ว่า ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้ จัดแสดงสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน เช่น จารึกต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น สิ่งของในสมัยทวารวดี วัสดุสำริด เพราะว่าเมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทองแดงที่สำคัญ และสุดท้ายก็คือวัฒนธรรมเมืองพระนคร ที่แผ่เข้ามาในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 โดยสิ่งที่เป็น highlight ของนิทรรศการนี้ ที่มีการจำลองชิ้นส่วนของเทวรูปประโคนชัย จากเดิมที่ได้มาเป็นชิ้นส่วน มาสร้างส่วนประกอบอื่นๆ ด้วยอีพอกซี่จนได้แบบจำลอง ของเทวรูปที่คาดว่า จะมีลักษณะดั้งเดิมออกมาให้เราเห็นได้ ทำให้สามารถจินตนาการถึงว่า หากเราเป็นชาวบ้านที่เมืองโตนด ได้เดินเข้ามาบูชาเทวรูปนี้ในสมัยนั้น จะยิ่งใหญ่เพียงใด แต่ถ้าคุณไม่ได้อ่านสิ่งที่ผมเขียนมาข้างต้นนี้ อาจจะงงๆ หน่อยว่า เค้าจัดแสดงเรื่องอะไร ผมว่าการเล่าเรื่องในนิทรรศการครั้งนี้ไม่ผ่าน เพราะเนื้อเรื่องอาจจะกว้างเกินไป กลายเป็นเหมือนเอาสิ่งของมาวางๆ ตามช่วงเวลาสมัย แต่ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับหัวข้อ แตกต่างจากนิทรรศการก่อนหน้านี้ที่มีธีมชัดเจน มีการยืมสิ่งของจัดแสดงมาจาก พิพิธภัณฑ์สถานแห่งอื่นมาประกอบ เพื่อให้เรื่องราวนั้นสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น ครั้งนี้อาจจะอยู่ในช่วงการระบาดโรคโควิดด้วยมั้ง ก็เลยดูเหมือนทำให้มันมีได้แค่นี้
Create Date : 03 กันยายน 2564 |
|
3 comments |
Last Update : 9 กันยายน 2564 10:06:51 น. |
Counter : 1313 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: หอมกร 3 กันยายน 2564 15:55:24 น. |
|
|
|
| |
โดย: ทนายอ้วน 3 กันยายน 2564 17:47:10 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|