Group Blog
All Blog
### กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย ###













กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย

......

กล้วยไม้กลุ่มสกุล Vanda

คนไทยรู้จักนำเอาออกจากป่า

มาปลูกเลี้ยงนานนับร้อยปีแล้ว

 โดยนำมาผูกติดตามต้นไม้ กิ่งไม้

เพียงเท่านั้น จะเจริญเติบโตออก ให้ชื่นชม

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในป่าตอนใต้ของ จีน

อินเดียตะวันออก พม่า และไทย

ในประเทศไทยส่วน ใหญ่ พบในป่าภาคเหนือ

แต่มีพบบ้างในป่าภาคกลาง

ชื่อฟ้ามุ่ย คำว่า. ‘มุ่ย’แปลว่าม่วง

 มีคนพยายามตีความหมายว่า ฟ้าหม่นหมอง

 เนื่องจากความงามจากกลีบดอกสีฟ้าของฟ้ามุ่ย

 ทำให้สีของท้องฟ้าแลดูหม่นหมองไปเลยนั่นเอง

กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย พบได้ตามในป่าดิบ

ของภาคเหนือ อยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล

ตั้งแต่ 1000 เมตรเป็นต้นไป

จังหวัดที่พบว่ามี ฟ้ามุ่ย ขึ้นอยู่นั้นได้แก่

 เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และตาก

ในสมัยหนึ่ง ฟ้ามุ่ย เป็นกล้วยไม้ที่เป็นที่ต้องการ

ของนักเลี้ยงขนาดที่ว่ามีการจ้างวานให้ชาวบ้าน

ที่อาศัยบนภูเขานำ ฟ้ามุ่ย เก็บใส่กระสอบ


ฟ้ามุ่ยเป็นกล้วยไม้ที่นิยมอย่างมากกันมานาน

พบหลักฐาน ปี 2530 ที่ฟ้ามุ่ยต้นแรกๆ

ได้ถูกนำเข้าไปยังทวีปยุโรป

โดยนาย William Grifit ซึ่งต่อมา

ได้มีการเก็บกัน นับเป็นหมื่นต้นจากพม่า

เพื่อส่งไปต่างประเทศ

เมื่อการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ เจริญก้าวหน้าขึ้น

จึงมีการคัดเลือก "ฟ้ามุ่ยป่า "

ที่มีความงามโดดเด่นเป็นพิเศษมาขยายพันธุ์

หรือโดยการเพาะเมล็ด ผสมพันธุ์ให้งดงามยิ่งขึ้น

ฟ้ามุ่ยที่คนไทยปลูกเลี้ยงอยู่ตามบ้าน ทุกวันนี้

ส่วนใหญ่มาจาก การเพาะเลี้ยง

ไม่ได้มาจากป่าโดยตรง เช่นอดีตอีกต่อไปแล้ว

เมื่อฟ้ามุ่ยถูกถอด ออกจากบัญชีหมายเลข 1

 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้า ระหว่างประเทศ

ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( CITES )

ซึ่งพืชและสัตว์ที่อยู่ ในบัญชีหมายเลข 1

ห้ามทำการค้าขาย โดยเด็ดขาด

จึงทำให้สามารถเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย เป็นการค้าได้

โดยเฉพาะการส่งไปขายต่างประเทศ

 เช่นเดียวกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ

ความงามอันโดดเด่นของฟ้ามุ่ย อยู่ที่สีของกลีบดอก

 ซึ่งเป็นสีฟ้า หรือ น้ำเงินอมม่วง

ซึ่งหาได้ยาก ในกล้วยไม้สายพันธุ์อื่น

 สีของดอกฟ้ามุ่ย นี่เองที่การบินไทย นำมาเป็นสีของสัญลักษณ์

 และน้อยนักที่จะพบสีสันอย่างเช่น สีชมพู หรือ สีขาวล้วน

 ซึ่งเป็นสีที่หายากที่สุด

ทั่วกลีบมีลายเส้นร่างแหสีครามเข้ม

นิยมเรียกกันว่า “ลายตาสมุก”

ส่วนกลีบปาก มีสีม่วงน้ำเงินงามยิ่ง

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ของฟ้ามุ่ยก็คือ

 ลายตารางสีเข้ม บนพื้นกลีบดอก

ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ลายตาสมุก" ซึ่งมี 3 รูปแบบคือ

 ลายตารางใหญ่ ลายตารางเล็ก และลายนกเขา

ความงดงามโดดเด่น ของฟ้ามุ่ย

ทำให้ถูกยกย่องว่าเป็นกล้วยไม้ป่า

ที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

นอกจากฟ้ามุ่ยพันธุ์แท้ ที่มีความงามโดดเด่นแล้ว

ฟ้ามุ่ยยังทำให้เกิดลูกผสม ที่มีลักษณะสีดอก

 และลายตาสมุกโดดเด่น อีกมากมาย

อาจกล่าวได้ว่าลูกผสมกล้วยไม้แวนด้าสมัยใหม่

ส่วนใหญ่ จะมีเชื้อพันธุ์จากฟ้ามุ่ยผสมอยู่ด้วยเสมอ

ดอก ช่อดอกตั้งตรงยาวประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร

ออกดอก 5 - 15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนถึงฟ้าแก่

(ฟ้าเกือบขาว ถึงม่วงแดง)

บนกลีบมีลายตาราง สีเข้มกว่าสีพื้น

ปากเล็กหูปากแคบโค้งปลายมน ที่ปลายมี 2 ติ่ง

 เส้าเกสรเบื้องบนสีขาว ขนาดดอก 7-10 เซนติเมตร

บานทน ออกดอกระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม

 ใบ แบนลักษณะใบค่อนข้าง กว้างกว่าแวนด้าชนิดอื่น

ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร

ใบซ้อนเรียงสลับกัน





















ขอขอบคุณสาระดีๆจาก fb. Anna Jill
ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ




Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2558 12:06:10 น.
Counter : 8474 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ