Digital disruption เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น : โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธ



ในปัจจุบัน "Digital disruption" หรือ "การพลิกผันทางดิจิทัล" กลายเป็นหัวใจสำคัญของ CEO ของทุกบริษัท ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย ทั้งนี้เนื่องจากมันได้แสดงให้เห็นว่าจะมีภัยคุกคามและโอกาสที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องเผชิญในอุตสาหกรรมขอพวกเขา

 

เมื่อประเมินถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ลองพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลภายใต้ปรากฎการณ์ digital disruption ที่กำลังเกิดขึ้นนั้น อาจเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้รายชื่อบริษัทใน Fortune 500 มากกว่าครึ่งหนึ่งหายไปตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ World Economic Forum เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือที่เราเรียกว่า "Industrial 4.0" ซึ่งไม่เพียงแต่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กันอย่างแพร่หลายเท่านั้น แต่ยังเป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในทุกๆด้าน ตั้งแต่ในอุตสาหกรรมพลังงานจนถึงชีววิทยาศาสตร์ (Bioscience)

ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ มีความแพร่หลายและมีผลกระทบมากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้น เราควรจะต้องตระหนักว่า การพลิกผันทางดิจิทัล จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขึ้นด้วย เช่นเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในครั้งก่อนๆ ที่เป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยไอน้ำ, ถ่านหิน, ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลในการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจโลกอย่างสิ้นเชิง

ในขณะนี้เราคงจะได้เห็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผู้บริโภคในแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นผู้ชื่นชอบประสบการณ์แบบอินเทอร์แอ็คทีพ และเป็นส่วนตัวมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social media), การเคลื่อนที่ (Mobility), การวิเคราะห์ (Analytic) และคลาวด์ (Cloud) หรือย่อว่า "SMAC" ทำให้องค์กรดิจิทัลจะต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องลดต้นทุนการดำเนินงานขององค์กร และปฏิรูปความร่วมมือขององค์กร เพื่อเพิ่มผลผลิต และการเกิดคลื่นลูกใหม่ในการดำเนินงานแบบดิจิทัล ซึ่งในบริษัทต่างๆกำลังปฏิวัติธุรกิจ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์, หุ่นยนต์, ระบบคอมพิวเตอร์เสมือนมนุษย์ และ Internet of Thing (IoT) ในอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง (radical change) ซึ่งบริษัทในรูปแบบดิจิทัลสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ได้อย่างทันทีและมีต้นทุนน้อยมาก และองค์กรสามารถแข่งขันในภาคธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำได้มาก่อนในอดีต โดยอาศัยความร่วมมือกับพันธมิตรและคู่แข่ง จนสามารถปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก ด้วยการหลอมรวมทางเทคโนโลยีและแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Accenture และ Airbus ที่กำลังทดลองใช้แว่นตาอัจฉริยะ ที่รวบรวมข้อมูลจากระบบคลาวด์, เทคโนโลยี AR และเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณภาพ ผลผลิต และความปลอดภัยของพนักงานในโรงงาน

ในปัจจุบัน ผู้นำทางธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม มีความต้องการขับเคลื่อนมูลค่าจากข้อมูลด้วยวิธีการใหม่ๆ และจะต้องมีการทดลองโครงการต่างๆอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งและจะช่วยให้สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรควรระมัดระวังในเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์บ่อยๆ ซึ่งอาจไม่ได้ทำให้เกิดความสำเร็จ แต่ความคล่องตัวในการดำเนินงานที่สามารถนำกลยุทธ์ที่หลากหลายมาใช้ควบคู่กันไปต่างหากที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จได้มากกว่า และความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องอาศัย CEO ที่มีวิสัยทัศน์และขีดความสามารถในการเป็นผู้นำที่เข้ากับยุค digital disruption มีทักษะด้านเทคโนโลยี และมีเคมีที่ตรงกับวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปทางดิจิทัลให้สำเร็จ อีกด้วย

ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะส่งผลกระทบในวงกว้างทางสังคม ตั้งแต่การสร้างงาน ไปจนถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยจะมีความท้าทายซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการจ้างงาน และปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่ควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาทักษะของบุคคลากรและการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรอย่างมาก

ผลกระทบของ digital disruption ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มันไม่ใช่แค่ความท้าทายของผู้บริหารระดับสูงด้านดิจิทัล (Chief Digital Officer; CDO) เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นมากกว่าโอกาสทางการค้า โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั้น มีความจำเป็นที่ CEO ต้องเข้ามารับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจมากขึ้น และผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้ จะส่งผลต่อสังคมในวงกว้างอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในอดีตเลย

ที่มา thaitribune




Create Date : 19 มิถุนายน 2560
Last Update : 19 มิถุนายน 2560 22:33:20 น. 0 comments
Counter : 296 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.