เปิดแผนป้องกันน้ำท่วมกทม. บทพิสูจน์ฝีมือ'ผู้ว่าฯอัศวิน'



สถานการณ์ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในกรุงเทพฯตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นสิ่งท้าทายที่ส่งตรงไปถึงกรุงเทพมหานคร(กทม.)

 

เป็นความท้าทายที่มีพล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. กดดันการแก้ปัญหาในช่วงฤดูฝนเป็นครั้งแรกภายหลังรับตำแหน่ง"พ่อเมือง" ตั้งแต่ปลายปี 2559 โดยเฉพาะเป็นความท้าทายที่มีต่อหน่วยงานที่คนกรุงเทพฯ คาดว่าทุกช่วงฤดูฝน กทม.ต้องรับผิดชอบน้ำที่ท่วมขึ้นมาบนถนนทุกสายให้สำเร็จ

เพราะด้วยวลีจาก "น้ำรอการระบาย" จนถึง "น้ำเร่งระบาย" ซึ่งเป็นศัพย์บัญญัติของกทม.ล่าสุดในยุคผู้ว่าฯอัศวิน แต่เป็นสิ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าจะเป็นคำไหนหรือประโยคใดน้ำก็ท่วมกรุงเทพฯทั้งสิ้น

จากสถิติฝนที่ตกลงมาตั้งแต่วันที่ 16-30 พฤษภาคม 2560 พบว่าในช่วงวันที่ 24-30 พฤษภาคม มีปริมาณฝนสะสมรวมกว่า 400 มิลลิเมตร โดยตลอดเดือนพฤษภาคม สามารถวัดปริมาณน้ำฝนสะสมได้รวม 504มิลลิเมตร ซึ่งเกินกว่าปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ 1 เท่าตัวจากเดิมอยู่ที่ 248 มิลลิเมตร ซึ่งกทม.ระบุว่าปริมาณฝนตกในครั้งนี้ทำลายสถิติปริมาณฝนในรอบ 26 ปี นับตั้งแต่มีการจดบันทึกปริมาณฝนของสำนักการระบายน้ำตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ซึ่งสถานการณ์ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเกิดฝนตกลงมาอย่างหนักถนนสายสำคัญในกรุงเทพฯ อาทิ รัชดา งามวงศ์วาน พหลโยธิน ลาดพร้าว และจุดเสี่ยงต่างๆอยู่ในสภาพน้ำท่วมหนัก กระทบการจราจรตลอดทั้งวัน

แน่นอนว่าคำถามพุ่งตรงไปหากทม.เพื่อแสดงความรับผิดชอบ เพราะไม่ว่าฝนตกลงมากี่ครั้งน้ำจะท่วมในกรุงเทพฯ แทบจะทันที หลายฝ่ายก็วิพากษ์ถึงสาเหตุของน้ำท่วม ซึ่งส่วนหนึ่งตามภาพถ่ายในสังคมออนไลน์ พบว่าปัญหา"ขยะ" เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ขวางทางระบายน้ำ ซึ่งกทม.ได้ให้ 50 สำนักงานเขตจัดกิจกรรมเก็บขยะชิ้นใหญ่ ทุกสัปดาห์ โดยแจ้งประชาชนในชุมชนและหมู่บ้านรับทราบ เพื่อจะได้นำขยะชิ้นใหญ่มาทิ้งให้ถูกที่และดำเนินการจัดเก็บ ป้องกันการลักลอบทิ้งขยะ

ที่สำคัญกทม.เตรียมออกมาตรการจับ-ปรับผู้กระทำผิดทิ้งขยะลงคูคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดถึง 5,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ..2535 ขณะเดียวกันจะออกระเบียบการให้รางวัลคนชี้เบาะแสผู้กระทำผิดทิ้งขยะลงในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะครึ่งหนึ่ง เพื่อ"ดึงแนวร่วม" เฝ้าระวังและรักษาความสะอาดคูคลอง ไปถึงแหล่งน้ำสาธารณะ

ขณะที่มาตรการรับมือฝนตก เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง กทม.ได้พร่องน้ำในคลองสายต่างๆ ต่ำกว่า 1เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำฝน แต่ในคลอง"เปรมประชากร-คลองลาดพร้าว" เป็นคลองที่มักจะมีระดับน้ำสูง เพราะเป็นคลองที่มีระยะทางไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การลดระดับน้ำทำได้ช้า ซึ่งกทม.ได้เตรียม"แผนสำรอง" ในการระบายน้ำในคลอง 2 เส้นนี้ โดยนำเครื่องสูบน้ำและเรือผลักดันน้ำนำไปติดตั้งให้ระบายเร็วขึ้น โดยจากนี้กทม.จะเร่งสร้าง"อุโมงค์ระบายน้ำ" คลองเปรมประชากร เพื่อช่วยดึงน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านทางสะพานพระราม

ส่วนปัญหาที่"คลองลาดพร้าว" กทท.จะเร่งระบายน้ำโดยใช้อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว (อุโมงค์พระราม 9) ช่วยระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อรวมกับ"อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ" แล้วเสร็จจะทำให้เพิ่มกลไกการดึงน้ำจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกายได้เร็วขึ้น ซึ่งอุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ จะทดลองระบบในเดือนสิงหาคมนี้

ทว่าในพื้นที่ถนนสายหลัก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนเดือดร้อนภาวะน้ำท่วมมากที่สุด กทม.แก้ปัญหาโดยสร้างท่อขนส่งน้ำด้วยวิธีดันท่อ (pipe jacking) เพื่อให้สามารถรับน้ำฝนได้เพิ่มเติมในปริมาณ 80มิลลิเมตร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะที่ 1 ในพื้นที่ลุ่มต่ำและเป็นจุดเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯชั้นใน รวม 11 จุด ส่วนที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ เป็นแอ่งกระทะ กทม.จะติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละสถานการณ์

จากนี้จะเป็นบทพิสูจน์แผนป้องกันน้ำท่วมกทม. โดยเฉพาะผู้นำในยุคพล...อัศวิน ต้องแก้ปัญหาน้ำท่วมเร่งด่วน อย่างน้อยประโยคที่ว่า"ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที" จะผูกติดไปกับผู้ว่าฯอัศวิน ว่าจะทำตามได้ที่ประกาศไว้หรือไม่ ซึ่งในช่วงฤดูฝน 3 เดือนจากนี้จะเป็นโอกาสเดียวที่จะพิสูจน์ศักยภาพของกทม.ตามที่คนกรุงเทพฯคาดหวัง.


ที่มา thaitribune




Create Date : 10 มิถุนายน 2560
Last Update : 10 มิถุนายน 2560 11:59:38 น. 0 comments
Counter : 295 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.