การยกเลิกสมาชิกภาพในสหภาพยุโรป โดย ดร. เชิดชัย ขันธ์นะภา



ใช่แล้วครับ  คราวนี้จะกล่าวถึง BREXIT หรือการถอนตัวของประเทศสหราชอาณาจักรออกจากการรวมตัว ทางการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ปรากฏการณ์นี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ สำหรับ ทั้งอังกฤษเอง และสำหรับโลก  ดังนั้นจึงสมควรพิจารณาอย่างถ่องแท้ และอาจมีการกล่าวพาดพิงขยายกรอบ บ้าง

BREXIT ถูกมองว่าเป็นข่าวในการสร้างกระแสโลกในช่วงนี้ (ค.ศ. 2016-2017) เกี่ยวกับปฏิกิริยาในสังคม ต่อ แนวโน้มและกระบวนการโลกาภิวัตน์ เพราะBREXIT คือการหันหลังให้กับกระแสรวมตัวและโลกาภิวัตน์ เป็นการยืนยันว่า หน่วยที่เรียกว่ารัฐ หรือ ประเทศ จะยังเป็นหน่วยหลักของโครงสร้างทางการเมืองของโลก ไม่ใช่กลุ่มประเทศ และไม่ใช่สมาคมประเทศ หรือหน่วยประกอบอื่นใดที่จะสามารถถือได้ว่าเป็นฐานหลักบน หน่วยที่มีสถานะเป็นรัฐ

แต่ในการเข้าร่วมในสหภาพยุโรป ผู้เข้าต้องปรับบทบาทของตนเกี่ยวกับความเป็นอิสระและการดำเนินตนเอง ซึ่งต้องประสานสัมพันธ์และอยู่ภายใต้การชี้นำและการกำกับของ"สหภาพ"  จึงมีประเด็นของความเป็นอิสระและ อธิปไตยของประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง  หลายประเทศเห็นว่าการเข้ามารวมตัวกันแบบ EU นั้นสร้างความเข้มแข็ง ให้ทางเศรษฐกิจ เพราะเกิดพลังจาก"ความประหยัดของขนาด (economy of scale)" ซึ่งสร้างความเขัมแข็งให้ กับการผลิตทางเศรษฐกิจ เพราะสามารถทำการลงทุนแบบมีต้นทุนต่ำได้ (อาศัยว่ามีขนาดของตลาดที่กว้าง ใหญ่ก่อน) ความสามารถนี้จะทำให้ GDP ของ EU มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก เท่าเทียม GDP ของสหรัฐอเมริกาได้ (สหรัฐฯเป็นประเทศเดี่ยว จึงง่ายที่จะวางกฎเกณฑ์ให้เกิดการประสานงานระหว่างมลรัฐได้ง่ายกว่าจับประเทศ อิสระสมาชิกของ EU มาประสานงานกัน)  ดังนั้น ประเด็นของขนาดของตลาด (ซึ่งอาจวัดได้หยาบๆโดย พิจารณาจำนวนประชากร โครงสร้างอายุของประชากรทั้งหมด และ กำลังซื้อของคน) จึงเป็นข้อพิจารณาเบื้อง ต้นเกี่ยวกับการเข้ารวมกับกลุ่มประเทศเพื่อความเข้มแข็ง ซึ่งประเทศอาเซียนก็ใช้ตรรกะนี้เช่นกัน ในการวาง นโยบายแห่งการเข้ามาจับมือกันในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นขนาดของตลาดที่ใหญ่ที่จะเป็น ปัจจัยดึงดูดสำหรับนักลงทุนจากเศรษฐกิจใหญ่ๆ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศจากยุโรปตะวันตก ฯลฯ

ในประเด็นถัดไป การสร้างพลังทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มกันนั้น ต้องมีการป้องกันการเอาเปรียบกันเอง โดยต้องคำนืงถึงกำแพงภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าและบริการจากภายนอก จะต้องเป็นอัตราเดียวกันเพื่อปิด ทางเลือกจากประเทศข้างนอกกลุ่มเจาะตลาดของกลุ่มโดยบำเข้าณจุดที่ระดับภาษีศุลกากรตำ่ที่สุด  ปัญหานี้ เป็นปัญหาใหญ่ ก็คิดดู ในกลุ่มอาเซียน ประเทศอินโดนีเซียยังพึ่งภาษีศุลกากรในระดับที่ไม่ต่ำเพื่อการบริหาร ประเทศ แต่สิงคโปร์ไม่เก็บภาษีศุลกากร เพราะตนเองผลิตสินค้าบริการแบบอินโดนีเซียไม่ได้  แต่ต้องบริโภค สินค้าบริการเหล่านั้น (เช่น สินค้าเกษตร และ อุตสาหกรรมอาหาร)  กำแพงภาษืร่วมกันของกลุ่มอาเซียนจะ เจรจาได้ยากมาก เพราะผลประโยชน์ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

กรณีBREXIT ก็มีปัญหาการที่อังกฤษต้องร่วมอุดหนุนสินค้าเกษตรที่ฝรั่งเศษ สเปญ อิตาลี   และสมาชิกอื่น ผลิต มากมาย และเขาต้องดูแลเกษตรกรของเขา แต่สินค้าเกษตรพวกนี้ อังกฤษผลิตน้อยและเกษตรกรอังกฤษไม่ พึ่งพาการอุดหนุนจากรัฐมาก  นี่ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การรวมกลุ่มเป็นสมาคมหรือสหภาพมีข้อต่อรองที่ ต้องเจรจากันตลอดเวลา ซึ่งสรุปได้ว่า ชาวนาฝรั่งเศษรำ่รวยโดยมีเงินอุดหนุนมาจากผู้ประกอบการอังกฤษ เท่า นี้ก็เป็นปมทางการเมืองที่ ทำให้มีความระหองระแหงกันได้ทุกขณะ

ญี่ปุ่นก็อุดหนุนชาวนาของเขาจนรำ่รวยเหมือนกัน  แต่ที่ญี่ปุ่นทำ ทำโดยไม่ได้ใช้กลไก"สหภาพ"/"สมาคม"ร่วม กับประเทศอื่น ญี่ปุ่นใช้รายได้จากฟากอุตสาหกรรมมาอุดหนุนรายได้ให้เกษตรของตน ซึ่งไต้หวันและเกาหลีใต้ ก็ใช้"โมเดล"นี้ดูแลความเป็นอยู่ของเกษตรกรของตนเช่นกัน

ส่วนกลุ่มอาเซียน ยังไม่มีอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง จึงมองหาช่องทางที่จะดึงผู้ลงทุนมาจากประเทศที่ใหญ่โตมาส ร้างอุตสาหกรรมให้ตน  และอ้างว่าถ้าสร้างภาพว่าตลาดอาเซียนโดยรวมมีขนาดใหญ่ "ผู้ลงทุน"เหล่านั้นก็อาจจะมาสร้างอุตสาหกรรมในอาเซียน เป็นความสำเร็จได้ แต่คิดหรือว่า"ผู้ลงทุน"เหล่านั้นจะเซื่องต่ออาเซียนสถาน เดียว "ผู้ลงทุน"เหล่านั้นก็มีแผนซ้อนแผนได้ เช่น อาศัยการเปิดประตูให้เป็นการเจาะตลาดๆนั้นไปเลย (ทำนอง ยกม้าTROJANให้อาเซียน)  เพราะฉะนั้น รถยนต์ญี่ปุ่นที่ผลิตในอาเซียนก็คือการเจาะตลาดอาเซียน อย่าไป ภูมิใจว่าอาเซียนผลิตรถยนต์ได้มากมาย ถ้าญี่ปุ่นบีบรัดกระแสเทคโนโลยีที่ไหลมา อุตสาหกรรมรถยนต์ใน อาเซียนก็เหี่ยวลงอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น สินค้า"อาเซียน" ดูในสถิติ เหมือนกับเข้าตีตลาดยุโรปและสหรัฐฯ แต่ถ้าดูให้ดีๆโดยไม่หลอกตัวเอง สินค้าที่ตีตลาดยุโรปและสหรัฐฯคือสินค้าญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ที่ อาเซียนได้จากสินค้าพวกนั้นมีแต่ค่าแรงงาน กับค่าเช่าที่ดิน แม้แต่กำไรส่วนทุนก็ตกเป็นของ"ผู้ลงทุน"ไป

ในกรณีBREXIT ในกรอบของสหภาพยุโรป  อุตสาหกรรมของเยอรมันีเข้มแข็งที่สุด สกุลเงินอังกฤษ ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของความเป็นไทของอังกฤษ ก็กำลังถูกดูดเข้าไปอยู่ใต้เงินยูโร ซึ่ง  ทุกคนก็เห็นแล้วว่าอยู่ภายใต้การบริหารและชี้นำของเยอรมันีมากขึ้นๆ

แต่ ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้อังกฤษไม่ยอมร่วมหัวจมท้ายกับEU ต่อไป ก็คือการผสมเผ่าพันธ์ อย่างเสรี ภายใต้การต้องยินยอมให้แรงงานเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี  ผนวกกับการสำแดงอิทธิฤทธิ์ของนัก ปกครองจากBRUSSELS"เมืองหลวงของสหภาพยุโรป"

แล้วในอาเซียน มีสถานการณ์แบบนั้นไหม ขณะนี้ในอาเซียนยังไม่เกิดปรากฏการณ์ที่ชัดเจนเช่นนั้น แต่มีการปู ทางเอาไว้แล้วบ้าง กล่าวคือ "นักปกครอง"เชื้ออาเซียนก็คงจะอยู่แถวๆ ASEAN Secretariat ซึ่งเป็นกลุ่มมือ อาชีพที่จะอ้างว่าบริหารงานในนาม"อาเซียน" ซึ่งรัฐบาลที่กรุงเทพฯอยู่ภายใต้พันธะ(?)ที่ต้องฟังและปฏิบัติตาม กติกา

กรณีBREXITได้สร้างแรงกระเพื่อมว่าอาจมีประเทศสมาชิกอื่นของEUดำเนินการถอนตัวแบบสหราชอาณาจักร เพราะฉะนั้นจากบทเรียนนี้ ก็อาจถามได้ว่า การรวมตัวของกลุ่มอาเซียน โดยเห็นได้ว่าถอดแบบมาจากEU ดัง นั้น ถ้าวันใดในอนาคต บางประเทศอาเซียนรู้สึกรับไม่ได้แบบอังกฤษและถอนตัว  อาเซียนจะเดินต่อไปอย่างไร   อย่าลืมว่าลมกระแสโลกาภิวัตน์ที่พัดไป ก่อแล้ว ลมแอนตี้-โลกาภิวัตน์ ซึ่งเห็นได้กรณีทรัมพ์-จอมโดดเดี่ยวเดียว ดาย และ BREXIT (รวมทั้งกระบวนการเอียงขวาต่างๆที่แพร่กระจายอยู่ทั่วยุโรป)

เราเตรียมปรับตัวแล้วหรือยัง อย่ามัวแต่วนอยู่กับ ไทย 4.0 v. ไทย 0.4  ลมแอนตี้-โลกาภิวัตน์กำลังโหมมา ไทย ลนด์น่าจะหันไปทางขวาหน่อย (ไม่ใช่ใส่เครื่องแบบ) แต่ ควรMAKE THAILAND GREAT AGAIN  ใช่แล้ว ครับ ทำประเทศไทยให้ปรากฏอยู่ท่ามกลางจอเรดาห์โลกให้ชัดเจน

ที่มา thaitribune




Create Date : 08 พฤษภาคม 2560
Last Update : 8 พฤษภาคม 2560 0:23:36 น. 0 comments
Counter : 280 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.