IoT จะขับเคลื่อนการให้บริการด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ : โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. แ



ผลการสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ โดย the U.S. Census ระบุว่าในช่วงปี 2012 ถึง 2050 ประชากรจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยกลุ่มคนในยุค Baby boomer แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรดังกล่าวอย่างชัดเจน และยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทายของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ

 

ซึ่งจะแตกต่างจากเดิม โดยกลุ่มคนยุค Baby Boomers จะมีความต้องการสถานที่ดูแลหรือสถานพยาบาลในยามชรา (Age in place) และคาดว่าจะสามารถจัดการความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงและเรื้อรังได้ ด้วยการเข้าถึงผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแบบเสมือนจริง ได้เหมือนกับการดูแลรักษาสุขภาพแบบดั้งเดิม

ผลการสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ยังคาดว่า ในปี 2050 ประชากรสหรัฐอเมริกาที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 84 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการประมาณการในปี 2012 ถึงสองเท่าตัว และไม่เพียงแต่คนในยุค Baby Boomers เท่านั้นที่คาดหวังว่าจะสามารถจัดการกับความเจ็บป่วยได้จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในบ้านของพวกเขาได้ แต่ความต้องการของผู้บริโภคในการเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพแบบทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านการดูแลสุขภาพได้เลย และเทคโนโลยีการตรวจสอบติดตามและวินิจฉัยโรค มีความท้าทายมากขึ้นที่จะต้องพัฒนาให้ทันต่อความเสี่ยงด้านประชากรศาสตร์ดังที่กล่าวมา

การกำกับดูแลด้านการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการดูแลรักษานอกพื้นที่โรงพยาบาลและคลินิก โดยอาศัยการเข้าถึงเทคโนโลยี ข้อมูล และความเชี่ยวชาญที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้สามารถให้การดูแลได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม

ในสหรัฐอเมริกา สิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการบูรณาการในเทคโนโลยีนี้ ก็คือความปลอดภัยของข้อมูล ที่ตรงตามข้อกำหนดในการรักษาความปลอดภัยของ HIPAA หรือ Health Insurance Portability and Accountability Act of 1996 ซึ่งเป็นกฏหมายที่คุ้มครองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโดยการพูด เขียน หรือการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

Tom Rose ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ด้าน IoT Solutions ของ KORE เชื่อว่าเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) จะทำให้เกิดเทคโนโลยีอัจฉริยะ ในด้านการดูแลสุขภาพในศตวรรษที่ 21 โดยโซลูชั่นของ IoT จะสนับสนุนวิธีการที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer-centric) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและสามารถปรับรูปแบบได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการให้บริการของ Help Desk หรือการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ (เช่น อุปกรณ์ตรวจสอบอินซูลิน) โดยโซลูชั่นต่างๆ ของ KORE จะสามารถสนับสนุนการดูแลสุขภาพได้อย่างอย่างชาญฉลาด

การเชื่อมต่อของเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพในอนาคต จะเป็นไปแบบองค์รวม มีการบูรณาการ และมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการวาง Tablet ไว้ในมือของผู้ป่วย หรือการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หรือการติดตาม (tracking) ผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนะหลังผ่าตัด ซึ่ง IoT จะทำให้สามารถตอบสนองตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการเชื่อมต่อได้

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT สำหรับการเชื่อมต่อด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการหาวิธีและกลยุทธ์ในการเชื่อมต่อกับบวัตกรรมด้านพลังงาน วิธีการบริหารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ระบบคลาวด์และระบบขององค์กร เพื่อให้ระบบการดูแลรักษาสุขภาพในอนาคตมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยราคาถูกที่สุด

ที่มา thaitribune




Create Date : 03 พฤษภาคม 2560
Last Update : 3 พฤษภาคม 2560 23:09:32 น. 0 comments
Counter : 335 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.