Startup เหนือจินตนาการในธุรกิจพลังงาน : โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานกรร



การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน ด้วยการผ่านระบบ smart contracts จะทำให้การผลิต การจัดเก็บ การควบคุม การแจกจ่าย และการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยของการทำธุรกรรมพลังงาน โดยตัวอย่าง startup ที่น่าสนใจที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ด้านพลังงานก็ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว

 

Vattenfall: Powerpeers
บริษัท Vattenfall ได้ประกาศเปิดตัว บริษัท startup “powerpeer” ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2016 เนื่องจากมีลูกค้าของ Vattenfall จำนวนมากต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตพลังงาน โดยภารกิจของบริษัท startup แห่งนี้ คือการสร้างสรรค์แนวคิดในการแบ่งปันพลังงานผ่านเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer ซึ่งผู้ใช้ของ Powerpeer สามารถนำเสนอพลังงานที่ผลิตขึ้นเองสู่ตลาด และสามารถแบ่งปันให้กับผู้อื่น และผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าจากบุคคลอื่นๆได้ด้วย เช่น สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนบ้านสามารถเลือกแหล่งพลังงานจากแหล่งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือไฟฟ้าพลังน้ำ (hydropower) อีกทั้งยังสามารถติดตามดูปริมาณพลังงานได้ทางออนไลน์อีกด้วย ซึ่งโครงการนี้เน้นที่ความคิดในการแบ่งปันพลังงานที่ตัวเองสร้างขึ้นให้กับคนอื่นๆ ผ่านเครือข่ายแบบ peer-to-peer ซึ่งจะมีการนำเอา  Blockchain มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอีกด้วย

RWE and Slock.it: BlockCharge
บริษัท Slock.it และบริษัท RWE ในเยอรมันนีประกาศโครงการสองโครงการ เพื่อลดความยุ่งยากในการชาร์จพลังงานยานพาหนะไฟฟ้า โดยโครงการแรกจะนำเอา Blockchain มาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของระบบ smart contract เพื่อทำให้เกิดการทำธุรกรรมในการชาร์จยานพาหนะไฟฟ้าได้ โดยทั้งสองบริษัทต่างก็ใช้ Ethereum ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลอีกสกุลหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการทำธุรกรรม ซึ่งเทคโนโลยี Blockchain สามารถทำให้ระบบการชำระเงินมีความง่ายและปลอดภัย โดยวิสัยทัศน์ของโครงการนี้ คือยานพาหนะไฟฟ้าจะต้องสามารถโต้ตอบได้โดยอัตโนมัติกับสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อจัดการกระบวนการเรียกเก็บเงิน (billing) ระหว่างการชาร์จไฟฟ้า และในท้ายที่สุดผู้ร่วมโครงการจะต้องให้รถทุกคันติดตั้งชิป cryptocurrency ไว้ ซึ่งจะทำให้ยานพาหนะสามารถจัดการกระบวนการชำระเงินสำหรับการผลิตไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งทั้ง Slock.it และ RWE กำลังทำต้นแบบ (prototype) โดยโครงการดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ

โครงการที่สอง ที่ได้รับการพัฒนาโดย RWE และ Slock.it คือ Blockcharge ที่มุ่งเน้นไปที่การทำให้รถไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟฟ้าได้ โดยใช้ smart plug ที่ชาร์จโดยผ่านแอพพลิเคชั่น Blockcharge smart plugs ซึ่งไม่เพียงแต่จะใช้งานที่สถานีชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังสามารถติดตั้งได้ในทุกที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน โดยผู้บริโภคสามารถควบคุม smart plug ได้โดยใช้แอพพลิเคชั่น และไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางมาเกี่ยวข้อง สำหรับการชาร์จไฟแต่ละครั้งจะสามารถดูได้จากแอพพลิเคชั่น ทำให้ผู้บริโภคสามารถมอนิเตอร์และจัดการกระบวนการได้ต่างๆได้ ซึ่งในการทำธุรกรรมทั้งหมด จะได้รับการจัดการโดย Blockchain โดยจะมีการเก็บข้อมูลการชาร์จไฟฟ้าและการทำรายการทั้งหมดไว้ในระบบ Blockchain ซึ่งจุดมุ่งหมายคือการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง

Oneup: POWR
Oneup บริษัท startup ในเนเธอร์แลนด์ เดิมชื่อ BigDataCompany ได้พัฒนาต้นแบบสำหรับระบบการทำธุรกรรมด้านพลังงานและระบบการจัดส่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ และทดสอบโดยใช้ข้อมูลด้านพลังงานของครัวเรือนจำนวน 10 ครัวเรือน เช่นเดียวกับกรณี Brooklyn ที่ผู้ผลิตและซื้อขายพลังงานอยู่ในละแวกเดียวกัน มีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายศูนย์จากครัวเรือนต่างๆ โดยพลังงานที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังเพื่อนบ้าน และเรียกเก็บเงินโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain บนระบบ smart contracts ซึ่งแต่ละอาคารจะมีเครื่องวัดอัจฉริยะ (smart meter) ที่เชื่อมต่อกับ Raspberry Pi – ซึ่งเป็นมินิคอมพิวเตอร์ที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่าย และ Raspberry Pi จะถูกกำหนดค่าด้วย smart contract ที่ตรวจสอบได้แบบ real time ว่าเงื่อนไขในการทำธุรกรรมถูกต้องหรือไม่ และจะส่งสัญญาณไปยังระบบว่า ครัวเรือนสามารถให้พลังงานได้หรือไม่ หรือมีความต้องการใช้พลังงานหรือไม่ ซึ่งซอฟต์แวร์จะเริ่มต้นการถ่ายโอนพลังงานและการชำระเงินที่เกี่ยวข้องได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้ cryptocurrency ของตัวเอง

LO3 Energy: Exergy
โครงการ Exergy ซึ่งพัฒนาโดย บริษัท LO3 Energy ของสหรัฐอเมริกา เป็นโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายในการให้พลังงานความร้อนแก่บ้านเรือน โดยใช้ความร้อนที่สร้างขึ้นในศูนย์ข้อมูล (Data center) ซึ่งเป็นความร้อนที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ จะถูกนำมาเก็บไว้ โดยใช้วิธีการทางด้านเทคนิคด้านพลังงาน เพื่อนำพลังงานกลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งแนวคิดนี้สร้างขึ้นจากระบบจัดเก็บพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้น และจะส่งมอบความร้อนโดยตรงไปยังระบบทำความร้อนที่มีอยู่ในบ้าน ระบบนี้จะอาศัยระบบ Blockchain ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมใช้ระบบสามารถซื้อขาย หรือเก็บความร้อนไว้ ผ่านทางระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยแบบเข้ารหัส

ตัวอย่างธุรกิจพลังงาน startup ที่กล่าวมาทั้งหมด ดูเหมือนจะเป็นเพียงการทดลองเล็กๆ แต่อย่าลืมว่า ธุรกิจระดับโลก เช่น Apple และ Facebook ก็เกิดขึ้นจากการทดลองในโรงรถและห้องเล็กๆ เท่านั้น... อีก 5 ปีต่อไปจากนี้ เรากลับมาอ่านบทความนี้กันอีก ดีไหม?

Reference
https://Bitcoinblog.de/2016/02/26/rwe-und-slock-it-wollen-ethereum-fuer-elektroautos-nutzen/
//lo3energy.com/projects/
www.powerpeers.nl
www.oneup.company
www.projectexergy.com
------------------
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
30 มีนาคม 2560 
www.เศรษฐพงค์.com
-------------------
หากท่านสนใจความรู้ด้านดิจิทัล
เข้าร่วมกับเราและทักเข้ามาที่
LINE id : @march4g
-------------------

ที่มา thaitribune




Create Date : 12 เมษายน 2560
Last Update : 12 เมษายน 2560 20:05:40 น. 0 comments
Counter : 328 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.