กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธรรมะที่ถาม,ถกเถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ชีวิตคืออะไร ๑
ชีวิตคืออะไร ๒
ชีวิตเป็นอย่างไร
ปฏิจจสมุปบาท
ชีวิตเป็นไปอย่างไร.กรรม
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้ พิ พ า ก ษ า ตั้ ง ตุ ลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ค ว า ม จ น เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ชีวิตเป็นไปอย่างไร ๔
ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ๒
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ๓
ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ๔
ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
ปรโตโฆสะที่ดี
ความนำโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ ๑๐ วิธี
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,ปัญญา
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,ศีล
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,สมาธิ
อริยสัจ
วิถีชีวิตของคนมีอารยธรรม
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
วันแห่งความรัก.
ความสุข: ฉบับแบบแผน
ความสุข: ฉบับประมวลความ
<<
พฤษภาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
12 พฤษภาคม 2564
อริยบุคคล ๘
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกทิ้งเมีย
ปริศนาธรรมจากงานสวดศพ
ปัญหาสังคม
โลกธรรม ๘ ประการ
พิธีกรรม
วินัย
คติธรรมจากสนิม
ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ
กระแสสังคม
อีกหน่อยก็ลืมเชื่อเหอะ
ความคิดชีวิตแต่ละวัย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ชาวพุทธคิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธแล้ว
ศาสนาอิสลามสามารถเปลี่ยนศาสนาได้ไหม ?
ศาสนิกอื่น สรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ
ทำไมคนพุทธต้องใส่บาตรพระสงฆ์
ทดสอบโรคซึมเศร้าฟรี จากแพทย์ศาสตร์ มหิดล
ตั้งคำถามน่าคิด
เงิน เงิน เงิน
ใครเป็นผู้ให้บาป ใครเป็นผู้ให้บุญ
รู้เรา รู้เขา
พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก
คู่บุญคู่บารมี
พระพุทธศาสนาจริงๆแล้วสอนอะไร
ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม
คนต่างศาสนิกถาม
อรหันต์
คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น
พระพุทธศาสนาบอกความจริง
การให้ผลของกรรมในระดับต่างๆ
ธรรมะจัดสรรค์ กับ คนจัดสรรค์
สันโดษ ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษ เอ๊ะยังไง
ตำนาน พระปริตร
อานิสงส์ พระปริตร
ก้าวหน้าไปในบุญ
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
มงคล ๓๘ ประการ
สุญตา ๔ ความหมาย
มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึกตน
ธุดงค์ ๑๓
พระพุทธเจ้ากับเพลง
วาสนา
เรียกเราว่าเป็น พุทธะ เถิดนะพราหมณ์
พรหมวิหาร ๔
เจริญวิปัสสนากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่างกันไหม
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รู้ได้อย่างไร
ความหมาย ปฏิบัติธรรม
ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
อาสภิวาจา
บุคคลแรกที่พูดได้เดินได้ทันทีที่เกิด
แก้ปัญหาแบบพุทธ
รู้ธรรมคือรู้เรื่องธรรมดา
คนธรรมต้องคู่กับรู้ธรรม
ข้อดี ข้อเสียของศรัทธา
ปฏิบัติก้าวหน้าไป ธรรมกายเจริญเอง
หลักผู้ปกครองบ้านเมือง ๔ อย่าง
อัตถะ,อรรถ
ภวังคจิต
บนบานศาลกล่าว กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
อริยบุคคล ๘
อริยบุคคล ๗
พุทธปณิธาน
กามโภคี ๑๐ ประเภท
ทุกขอริยสัจ
สิกขา,ไตรสิกขา = ศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธธรรมสรุปได้ ๒ อย่าง
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
แยก สมมุติ กับ สภาวะให้ชัด
ปัญญา ๓
ปัญญา ๓ ระดับ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
อริยบุคคล ๘
แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘
เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้ก่อน
สังโยชน์
แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง คือ
(สํ.ม.19/349/90 ฯลฯ
พึงสังเกตว่า ในบาลีทั่วไป สังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ เป็น กามฉันทะ และพยาบาท เฉพาะที่
องฺ.ติก.20/534/312
เป็น อภิชฌาน และพยาบาท แต่ที่เรียกกันมาเป็น กามราคะ และปฏิฆะนั้น ก็เพราะถือตามคัมภีร์ชั้นรอง เช่น
ขุ.ปฏิ.31/535/436)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ)
๕ อย่าง คือ
๑ .
สักกายทิฏฐิ
ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง *
๒.
วิจิกิจฉา
ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา
๓.
สีลัพพตปรามาส
ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค
๔.
กามราคะ
ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ
๕.
ปฏิฆะ
ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง หรือขั้นละเอียด)
๕ อย่าง คือ
๖.
รูปราคะ
ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น
๗.
อรูปราคะ
ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น
๘.
มานะ
ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น
๙.
อุทธัจจะ
ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป
๑๐.
อวิชชา
ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้
อริยสัจ
ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘ นั้น ว่าโดยระดับ หรือขั้นใหญ่แล้ว ก็มีเพียง ๔ และสัมพันธ์กับการละสังโยชน์ ด้งนี้
ก. พระเสขะ
(ผู้ยังต้องศึกษา)
หรือ สอุปาทิเสสบุคคล
(ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่)
คือ
๑. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริง เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
๒. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ ต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงไปอีก ต่อจากขั้นของพระโสดาบัน
๓. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก ๒ ข้อ คือ กามราคะ และปฏิฆะ
(รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ครบ ๕ ข้อ)
ข. พระอเสขะ
(ผู้ไม่ต้องศึกษา)
หรือ อนุปาทิเสสบุคคล
(ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่)
คือ
๔. พระอรหันต์ ผู้ควร
(แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ)
หรือผู้หักกรรมแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีกทั้ง ๕ ข้อ
(รวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐)
พระเสขะ
แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา คือยังมีกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนที่จะต้องทำต่อไปอีก จึงได้แก่ ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติในสิกขา เพื่อละสังโยชน์ และบรรลุธรรมสูงขึ้นต่อไป จนถึงเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระอเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา คือทำกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุประโยชน์แล้ว ไม่ต้องปฏิบัติในสิกขาต่อไป ไม่มีกิเลสที่ต้องพยายามละต่อไป และไม่มีภูมิธรรมสูงกว่านั้นที่จะต้องขวนขวายบรรลุอีก จึงได้แก่พระอรหันต์
สอุปาทิเสสบุคคล
คือผู้ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ คือยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ซึ่งก็หมายถึงยังมีกิเลสเหลืออยู่บ้างนั่นเอง จึงได้แก่ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น
ส่วน
อนุปาทิเสสบุคคล
คือผู้ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ คือไม่มีอุปาทานเหลือ ซึ่งก็หมายถึงว่าไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลยนั่นเอง จึงได้แก่พระอรหันต์
พึงสังเกตว่า ในที่นี้ แปลคำอุปาทิ ว่าอุปาทาน คือความยึดมั่นที่เป็นตัวกิเลสเอง ให้ต่างจากอุปาทิในสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งแปลว่าสิ่งที่ถูกยึดมั่น อันหมายถึงเบญขันธ์ ความจึงไม่ขัดแย้งกัน
ในพระสูตรที่แสดงข้อปฏิบัติสำคัญๆ เช่น สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ เป็นต้น ในตอนท้ายมักมีพุทธพจน์ที่ตรัสทำนองสรุปแบบส่งเสริมกำลังใจผู้ปฏิบัติ ว่า เมื่อได้บำเพ็ญข้อปฏิบัตินั้นๆ แล้ว พึงหวังผลอย่างในอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ อย่างนี้ได้ คือ "ทิฏฺเฐว ธมฺเม อญฺเญ สติ วา อุปาทิเสเส อนาคามิตา"
(อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็เป็นอนาคามี)
ซึ่งเห็นได้ชัดว่า คำว่า อุปาทิ ในกรณีเช่นนี้ หมายถึงอุปาทาน หรือพูดอย่างกว้างๆว่า กิเลสนั่นเอง
ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘ ก็คือ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ใน ๔ ระดับข้างต้นนั้นเอง ที่แบ่งซอยออกไประดับละคู่ ดังนี้
๑. โสดาบัน
(ท่านผู้ำทำให้แจ้ง คือบรรลุโสดาปัตติผลแ้ล้ว)
๒. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. สกทาคามี
(ท่านผู้ทำให้แจ้งสกทาคามิผลแล้ว)
๔. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. อนาคามี
(ท่านผู้ทำให้แจ้งอนาคามิผลแล้ว)
๖. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. อรหันต์
(ท่านผู้ทำให้แจ้งอรหัตผลแล้ว)
๘. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตผล
ทักขิไณยบุคคล ๘ จัดเป็น ๔ คู่ ชุดนี้แล ที่ท่านหมายถึงว่าเป็น สาวกสงฆ์ หรือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ที่เป็นอย่างหนึ่งในพระรัตนตรัย หรือเป็นชุมชนในอุดมคติของพระพุทธศาสนา ดังคำในบทสวดสังฆคุณว่า "ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคล เอส ภควาโต สาวกสงฺโฆ"
(ได้แก่คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้...)
และสาวกสงฆ์นี้แล ที่ต่อมานิยมเรียกกันว่า อริยสงฆ์ ในชั้นพระไตรปิฎก พอใช้คำว่า " อริยสงฆ์" แห่งเดียว ในข้อความที่เป็นคาถาในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต คือใ้ช้อริยสงฆ์ เป็นไวพจน์ของสาวกสงฆ์
ในคัมภีร์รุนอรรถกถาจึงใช้คำว่า อริยสงฆ์ กันดื่นขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดเจนในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เมื่อนิยมเรียกสาวกสงฆ์ เป็นอริยสงฆ์แล้ว ก็เรียก ภิกษุสงฆ์ เป็นสมมติสงฆ์
(สงฆ์โดยสมมติ คือ โดยการตกลงหรือยอมรับร่วมกัน ได้แก่ ชุมนุมพระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ไม่เจาะจงรูปใดๆ)
เป็นอันเข้าคู่กัน
(สาวกสงฆ์ คู่กับภิกษุสงฆ์ อริยสงฆ์ คู่กับสมมติสงฆ์)
อย่างไรก็ดี การเรียกว่า อริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์นี้ นับว่าเป็นการเรียกที่มีหลัก และเป็นการเน้นความหมายที่มีประโยชน์อีกด้านหนึ่งของคำว่าสงฆ์ที่ใช้กัน อย่างแพร่หลาย
Create Date : 12 พฤษภาคม 2564
Last Update : 12 พฤษภาคม 2564 9:31:25 น.
0 comments
Counter : 479 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com