Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กรกฏาคม 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
22 กรกฏาคม 2564

เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (3)


จารึกบ่ออีกา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

ศรีจานาศะ เป็นอาณาจักรลึกลับที่เราพบจารึกที่กล่าวถึงการมีอยู่เพียง 2 ที่เท่านั้น
จารึกบ่ออีกา (K.400) พบที่เมืองเสมา ทำให้เชื่อว่าอาณาจักรศรีจานาศะนั้นอยู่ที่นี่
มีการกล่าวถึงการพบโดย ศ. เซเดส ที่ด้านทิศใต้ของเมืองนครราชสีมาเก่า
โดยไม่ปรากฏปีที่ค้นพบ ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
 
ด้านที่ 1 ไม่มีศักราช กล่าวถึงพระราชาแห่งศรีจนาศะได้ถวายสัตว์เลี้ยงและข้าทาสไว้
แด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อทรงมุ่งหวังพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ด้านที่ 2 กำหนดศักราช พ.ศ. 1411 ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 3
ผู้เป็นโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ที่เมืองหริหราลัย กล่าวถึงบุคคลชื่อ อังศเทพ
ผู้ได้รับดินแดนอันถูกทอดทิ้งนอกกัมพุชเทศ และเรื่องการสร้างศิวลึงค์ทองคำ
 
จารึกนี้ให้เบาะแสว่า ศรีจานาศะเป็นเมืองที่มีการนับถือทั้งพุทธและพราหมณ์
และเมืองนี้ถือว่าไม่อยู่ในขอบเขตของอำนาจของเมืองพระนครหรือกัมพุช

จารึกหลักที่ 2 พบเมื่อ พ.ศ. 2482 ในสถานที่ที่ไม่น่าเป็นไปได้ นั่นคือ สะพานป่าถ่าน 
พระนครศรีอยุธยา โดยมีเรื่องเล่าว่า มีนักขุดสมบัติจากเมืองเสมาได้พระพุทธรูปและเทวรูป
ไปขายที่นั่น แต่ไม่มีใครสนใจจะซื้อจารึกหินที่ไร้ค่า โจรจึงนำไปทิ้งไว้ใกล้กับโบราณสถาน
จารึกหลักที่ 117 ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
 

จารึกศรีจานาศะ  
https://board.postjung.com/1133643

จารึกศรีจานาศะ อักษรเขมร กำหนดศักราช พ.ศ. 1480 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
ที่เมืองเกาะแกร์ กล่าวถึง การสร้างประติมาที่เป็นเทวี เพื่อเป็นตัวแทนพระราชชนนี
โดยมงคลวรมัน น้องชายของศรีนรปติสิงหวรมัน ผู้เป็นอธิบดีแห่งศรีจานาศะ
 
มีจารึกอีกหนึ่งหลักที่ไม่ได้กล่าวถึง ศรีจานาศะ แต่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นี้คือ
จารึกเมืองเสมา เป็นจารึกที่มีความยาว และกล่าวเป็นบทกวีอันสวยงาม
 
ด้านที่ 1 กล่าวถึงการสรรเสริญ ประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
ด้านที่ 2 กล่าวถึงพราหมณ์ยัชวราหะ ได้สั่งให้คนไปสร้างรูปพระศิวะ พระพรหมและพระวิษณุ 
และกล่าวย้อนไปปี พ.ศ. 1468 ตรงกับสมัยพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2
โอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ผู้สร้างเมืองพระนคร โดยกล่าวถึงพราหมณ์ชื่อ
ศิขรสวามี ได้สร้างประติมาพระศิวะ พระเทวี และพระพุทธรูปในที่ที่แห่งนั้น 
 
พ.ศ. 1484 ตรงกับปลายรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ต่อกับต้นรัชกาลของ
พระเจ้าหรรษาวรมันที่ 4 แห่งเกาะแกร์ ศิวะสวามี ได้สร้างศิวลึงค์ขนาดใหญ่
พ.ศ. 1514 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 สเตงอัญพระครูได้ให้โขลญวิสัยหรือเจ้าเมือง
ชื่อศรีทฤฒภักดีสิงหวรมัน ทำพิธีเบิกเนตร พระกมรเตงอัญปรเมศวร ผู้เป็นราชา (เทวรูป) 
 
เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า เรื่องพราหมณ์ที่มีชื่อก่อนหน้าได้สร้างเทวรูปเพื่อบูชานั้น
เป็นช่วงเวลาที่เมืองเสมาเป็นอิสระหรือไม่ จารึกนี้บอกได้เพียงว่า
จารึกหลักนี้ต้องเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 และเวลานั้นมีเจ้าเมืองปกครอง
ที่ยอมรับอำนาจในพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 และพราหมณ์ยัชวราหะ จากเมืองพระนคร  
 


จารึกศาลสูง ภาษาเขมร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 ครองราชย์สั้นๆ เพียง 1 ปี ระหว่าง พ.ศ. 1544-1545  
เป็นไปได้มากว่าพระองค์ถูกรัฐประหาร พระเจ้าชัยวีรวรมันได้ครองราชย์ที่เมืองพระนคร
พระองค์มีจารึก 12 ที่กระจายอยู่ทั่วกัมพูชา และมีเพียงหนึ่งหลักที่พบนอกเมืองพระนคร
 
หลักที่สำคัญคือ จารึก K. 598 พบที่เมืองพระตะบอง
กล่าวถึงการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ในปี พ.ศ. 1545
ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับ จารึกกรอบประตูพระราชวังหลวงที่กล่าวย้อนว่า
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้ทำพิธีราชาภิเษกเช่นเดียวกัน
 
จารึก K.989 พบที่เมืองพระตะบอง ด้านที่ 1 กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าชัยวีรรมัน
ด้านที่ 2 ระบุปี พ.ศ. 1551 กล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แสดงว่าจารึกหลักนี้
แต่ละด้านเขียนต่างช่วงเวลากัน และปี พ.ศ. 1551 นั้นพระเจ้าชัยวีรวรมันสิ้นอำนาจ
จากเขตเมืองพระนครมาอยู่ที่ภาคอีสาน และสั่งให้จารึกเรื่องถวายที่ดินปราสาทพิมาย

แต่ต้องถึง พ.ศ. 1553 ที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จะได้รับชัยชนะเด็ดขาด 

มีบางคนให้ความเห็นว่า พระเจ้าชัยวีรวรมันอาจจะมาจากกลุ่มอำนาจมหิธรปุระ
เพราะการขาดหลักฐาน ทำให้ต้องมีการคาดเดา แต่ผมคิดว่าไม่ ด้วยหลายเหตุผลว่า
 
พ.ศ. 1560 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 สร้างปราสาทเขาพระวิหาร 
จารึกปราสาทเขาพระวิหารกล่าวถึงความซื่อสัตย์ของขุนนางผู้ดูแลกุรุเกษตร
ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปราสาทสระกำแพงใหญ่ แสดงให้เห็นว่า
กลุ่มอำนาจในอีสานใต้ น่าจะเป็นคนที่ช่วยเหลือพระองค์มากกว่าผู้ต่อต้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางในกลุ่มมหิธรปุระที่ครองอำนาจแถบเขาพนมรุ้ง
 


ปราสาทพนมรุ้ง 

คนกลุ่มนี้อาจจะเริ่มมีบทบาท เริ่มจากในรัชกาลนี้ก็ได้ เห็นได้จากการสร้าง
ปราสาทพนมรุ้งบนยอดเขาสูงซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์สร้างมากกว่า
การที่มอบสิทธิ์นี้ให้ขุนนางแสดงถึงการให้รางวัลที่ยิ่งใหญ่รวมถึงปราสาทเมืองต่ำ
ทั้งสองแห่งนั้นล้วนมีทับหลังที่สอดคล้องกับรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
 
ถ้ากลุ่มอำนาจนี้ไม่ได้รับอำนาจตอบแทนเป็นรางวัล ในอีกร้อยปีต่อมานั้น
คงยากที่จะเข้าไปช่วงชิงอำนาจในเมืองพระนครในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ได้
ในทางตรงข้ามจารึกกล่าวถึงเมืองละโว้ว่า ถูกทำลายล้างอย่างหนัก
จนสัตว์ป่าเสือช้างมาเดินเล่นอยู่ในเมือง แสดงถึงบทลงโทษในฐานะผู้แพ้
 
และที่สำคัญคือเรื่องของการนับถือศาสนาที่เป็นชนวนนำไปสู่การล้มราชบัลลังก์
 จารึกกรอบประตูปราสาทโดนตวล ระบุ พ.ศ. 1445 หรือปีแรกในรัชกาลของ
พระเจ้าชัยวีรวรมัน เนื้อความประกาศให้จับทาสนั้น ใช้คำว่าประกาศของบรมบพิตร
ในขณะที่จารึกตวลปราสาท (K.158) พบที่กำปงธม กล่าวถึงการตัดสินคดีพิพาท
ในที่ดินของสวาหะเทวะ ก็ได้กล่าวถึง คำประกาศของพระบรมบพิตร เช่นกัน   
 
เมื่อสิ่งที่เคยเชื่อกันว่า กำตวน ในพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 หมายถึงมาจากมลายู
เชื่อมโยงว่าพระองค์นับถือพุทธมหายาน และได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักฝ่ายสตรี
ที่เริ่มฝักใฝ่ในพุทธมหายานตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 นำไปสู่การโค่นราชบัลลังค์ได้นั้น
ที่จริงแล้วแล้วเกิดจากการศึกษาจารึกช่วงแรกนั้น ข้อมูลที่ได้มีน้อยจนเกิดความสับสน


 
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ปราสาทโดนตวล

โดยคิดว่าพระเจ้าชัยวีรวรมันคือบุคคลเดียวกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ที่เข้ามาชิงอำนาจ
โดยเฉพาะจารึกหลักสด๊อกกอกธม ที่ถือว่ามีรายนามพระมหากษัตริย์ที่น่าเชื่อถือที่สุด
ในการศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์เมืองพระนครที่ย้อนไปได้ถึงช่วงการก่อตั้งก็ไม่ปรากฏพระนาม
ของพระเจ้าชัยวีรวรมัน ซึ่งก็รับฟังได้เพราะผู้จารึกนี้คือโอรสของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1

ดังนั้นที่เคยคาดกันว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นับถือพุทธมหายานนั้นอาจเป็นสิ่งตรงข้าม
เพราะไม่ปรากฏว่า พระองค์สร้างปราสาทในศาสนาพุทธเลย มีแต่การบูชาพระศิวลึงค์
กษัตริย์ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานนั้นหมายถึง พระเจ้าชัยวีรวรมัน นั่นเอง

เมืองที่เป็นพุทธมหายานที่อยู่ใต้สุดของภาคอีสานในตอนนั้นคือเมืองฝ้าย บุรีรัมย์
ซึ่งมีการพบพระพุทธรูปและเทวรูปพระโพธิสัตว์ที่คล้ายกับกลุ่มศิลปะประโคนชัย
ที่เทวรูปกลุ่มนี้นั้น ต่อมาจะถูกนำไปฝังที่ปราสาทปลายบัตไว้อย่างมิดชิด
 
ซึ่งเมื่อมีการตีพิมพ์ภาพเทวรูปกลุ่มประโคนชัยนี้ใน พ.ศ. 2508
ศ. ฌอง บัวเซอลีเยร์ ได้เขียนบทความใน พ.ศ. 2510 โดยกล่าวถึงว่า
เทวรูปกลุ่มนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับเมืองศรีจานาศะในจารึกก็เป็นไปได้

หากพระเจ้าชัยวีรวรมันเป็นพุทธมหายาน และมีกำลังพอจะเข้ายึดอำนาจได้ก็คงต้องมีกำลังจากเมืองใหญ่
คือ ละโว้ เสมา และศรีเทพ ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐเครือญาติทีมีชื่อในจารึกว่า ศรีจานาศะหรือไม่
แม้เมืองเสมาจะถูกรุกรานในสมัยชัยวรมันที่ 5 แต่ก็ยังมีเมืองละโว้และศรีเทพที่ยังคงอยู่
และอาจจะกลับมาผนึกกำลังกันอีกครั้ง เพื่อชิงอำนาจจากกษัตริย์เมืองพระนคร


แต่ๆๆๆ หลักฐานเดียวที่ยังเหนี่ยวรั้งเรื่องนี้ไว้ได้ ก็คือพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
หลังการเสด็จสวรรคตซึ่งจะเกี่ยวพันกับความเชื่อของกษัตริย์พระองค์นั้น มีว่า 
นิวฺวานบท 
แปลว่า ผู้ถึงแล้วซึ่งนิพพาน เป็นคำที่ไม่น่าสัมพันธ์กับศาสนาพราหมณ์เท่าไหร่ แม้นิพพานเอง
จะมาจากแนวคิดเรื่องโมกษะในศาสนาพราหมณ์ แต่ก็เป็นเป็นแนวคิดของทางพุทธมากกว่า


พระโพธิสัตว์ 4 กร พบที่ บ้านฝ้าย จ. บุรัรัมย์ 

เพราะที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์เมืองพระนคร ก็
ต้องการกลับไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระศิวะทั้งนั้น
จารึกโอเสม็ด Ka. 18 ปี พ.ศ. 1557 กล่าวถึงแม่ทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้รุกราน
ชาวมอญที่เมืองละโว้ ทำลายพระพุทธรูปจนหมดสิ้น แล้วสถาปนาศิวลึงค์ทองคำ 

ไม่กี่ปีหลังจากนั้นจารึกศาลสูง พ.ศ. 1565 กล่าวถึงคำสั่งของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ว่า
ไม่ให้คนทั่วไปรบกวนการทำตบะของภิกษุมหายานก็ดี สถวีระก็ดี
และให้นักบวชเหล่านั้นถวายตบะแก่พระองค์ 
โดยไม่มีการกล่าวถึงพวกพราหมณ์ที่พระองค์ควรจะทำนุบำรุงเป็นศาสนาหลัก

แม้โดยรอบปราสาทพิมาย จะมีทับหลังสลักเรื่องราวเกี่ยวกับรามายาณะ
แต่ทับหลังด้านในปราสาทประธานก็มีแต่เรื่องราวในพุทธศาสนาทั้งสิ้น 
ดังปรากฏในจารึกปราสาทพิมาย 2 (K.953)
 
ด้านที่ 1 กำหนดศักราช พ.ศ. 1579 เนื้อความถึงการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
ด้านที่ 2 กำหนดศักราช พ.ศ. 1589  กล่าวถึงพระนาม ศรีสุริยวรมัน 
แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แม้จะทรงนับถือพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย
แต่ก็ทรงยอมรับปราสาทพิมายให้เป็นศูนย์กลางพุทธสถานในแถบพื้นที่นี้
 
หรือว่าในช่วงปลายรัชกาล พระองค์จะมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เรายังไม่มีคำตอบเรื่องนี้



Create Date : 22 กรกฎาคม 2564
Last Update : 21 ธันวาคม 2566 12:43:45 น. 4 comments
Counter : 1561 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณหอมกร, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณKavanich96, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณ**mp5**


 
เห็นหลักศิลาตจารึกแล้วนึกถึงละครอมฤตาลัยเลยครับ ไม่รู้ทำไม อิอิอิ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 22 กรกฎาคม 2564 เวลา:11:49:19 น.  

 
ศรีจานาศะ ชื่แปลกดีเพิ่งเคยได้ยินจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 22 กรกฎาคม 2564 เวลา:13:44:33 น.  

 
สวัสดีครับ

รายละเอียดประวัติศาสตร์เยอะมากๆ เลย

จารึก หลักที่2 ที่ จขบ. บรรยายไว้
ที่รอดสายตาโจรมาได้
คงเพราะของต้องการผู้ที่เก็บรักษาอย่างที่แท้จริงนะครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจด้วยนะครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 24 กรกฎาคม 2564 เวลา:19:18:15 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 26 กรกฎาคม 2564 เวลา:20:54:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]