* * * * เพลงไตเติ้ลละคร * * * * บล็อกที่ 795












* เพลงไตเติ้ลละคร *




2





3





4





5





6





7






บล็อกวันนี้ เป็นบล็อกเพลงต่อเนื่องจากบล็อกที่แล้ว ขอนำเสนออีก 15 เพลง ..ขอเชิญเลือกฟัง






1


จำเลยรัก เป็นนวนิยายจากบทประพันธ์ของ ‘ชูวงศ์ ฉายะจินดา’ เป็นเรื่องราวความแค้นของ หฤษฎิ์ พี่ชายที่ต้องสูญเสียน้องชายของตนเอง แล้วเข้าใจผิดไปโกรธแค้นหญิงสาวผิดคนถึงกับจับตัวหญิงสาวคนนั้น (โศรยา) ไปกักขังไว้บนเกาะเพื่อให้หายแค้น แต่แล้วความรักก็ก่อตัวขึ้นจนถึงขั้นแต่งงานกัน สุดท้ายหฤษฎิ์ยอมรับทุกคำบัญชาของโศรยานับจากนั้นตราบชั่วชีวิต




‘จำเลยรัก’ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์จนถึงปัจจุบัน แล้ว 5 ครั้ง และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง .. โดยเมื่อปี พ.ศ. 2517 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรก ทางช่อง 9 นำแสดงโดย สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, กนกวรรณ ด่านอุดม, นงลักษณ์ โรจนพรรณ .. เมื่อปี พ.ศ. 2523 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ครั้งที่สอง ทางช่อง 5 นำแสดงโดย วิทูรย์ กรุณา, ปนัดดา โกมารทัต, อัญชลี ชัยศิริ, เอกลักษณ์ ยลระบิล




เมื่อปี พ.ศ. 2531 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ครั้งที่สาม ทางช่อง 7 สร้างโดย ดาราวิดีโอ บทโทรทัศน์โดย ศัลยา, กำกับการแสดงโดย มานพ สัมมาบัติ, นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล, สาวิตรี สามิภักดิ์, ชไมพร จตุรภุช, ยอดมนู ภมรมนตรี, ชนาภา นุตาคม, ไพโรจน์ ใจสิงห์ .. เพลงนำละครคือเพลง ‘จำเลยรัก’ ขับร้องโดย วัชราภรณ์ สุขสวัสดิ์




เมื่อปี พ.ศ. 2540-41 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ครั้งที่สี่ ทางช่อง 7 สร้างโดย ดาราวิดีโอ อีกครั้ง นำแสดงโดย จอห์น รัตนเวโรจน์, กุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา, มยุริญ ผ่องผุดพันธ์, โชคชัย เจริญสุข .. และเมื่อปี พ.ศ. 2551 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ครั้งที่ห้า ทางช่อง 3 สร้างโดย เมคเกอร์ วาย นำแสดงโดย อธิชาติ ชุมนานนท์, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, รินลณี ศรีเพ็ญ, ชาติโยดม หิรัณยัญฐิติ





มีใครระลึกถึง ‘จำเลยรัก’ ครั้งไหนได้บ้าง? ลองสังเกตนะครับ ‘จำเลยรัก’ ถูกออกอากาศมาแล้วแทบจะทุกช่องโทรทัศน์ ทั้งช่อง 9, 5, 7, 7, 3 แสดงว่าแต่ละช่อง รู้ ถึง ความนิยมของผู้ชมที่มีต่อละครเรื่องนี้




‘จำเลยรัก’ ที่ถูกนำมาสร้างเป็นครั้งที่สาม ทางช่อง 7 คว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 4 (2532) สาขาดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น - ชไมพร จตุรภุช เพียงสาขาเดียว .. ในปี พ.ศ. 2532 ปีนั้น สงสัยจะแพ้ทางละครโทรทัศน์ เรื่อง ‘สุดแต่ใจจะไขว่คว้า’ ช่อง 3 ซึ่งคว้าได้ทั้งในสาขาผู้กำกับการแสดงดีเด่น – นพพล โกมารชุน, ดารานำชายดีเด่น - เสกสรร ชัยเจริญ, ดาราสนับสนุนชายดีเด่น - สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์, และ เพลงนำละครดีเด่น - เทียรี่ เมฆวัฒนา





จำเลยรัก (2532) ความยาว 2.59 นาที










2


คู่กรรม เป็นนวนิยายที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์จนถึงปัจจุบันนี้ รวมแล้ว 5 ครั้ง ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ถูกนำไปสร้างเป็นละครเวที 1 ครั้ง




ครั้งแรกที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม นำแสดงโดย มีชัย วีระไวทยะ รับบท โกโบริ, บุศรา นฤมิตร รับบท อังศุมาลิน .. ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2515 ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม อีกครั้ง นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล รับบท โกโบริ, ผาณิต กันตามระ รับบท อังศุมาลิน .. ครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ. 2521 ออกอากาศทาง ช่อง 9 (หรือ ช่อง 4 บางขุนพรหมเดิม) นำแสดงโดย นิรุตต์ ศิริจรรยา รับบท โกโบริ, ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ รับท อังศุมาลิน




ครั้งที่สี่ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ‘คู่กรรม’ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ที่โด่งดัง ออกอากาศทาง ช่อง 7 สร้างโดย ดาราวีดีโอ บทโทรทัศน์โดย ศัลยา, กำกับการแสดงโดย ไพรัช สังวริบุตร, เพลงนำละคร คำร้อง ทำนองโดย ชมพู ฟรุตตี้ – สุทธิพงษ์ วัฒนจัง, ขับร้องโดย ศาสสัณฑ์ บุญญาลัย และ กมลชนก โกมลฐิติ, นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์ รับบท โกโบริ, กมลชนก โกมลฐิติ รับบท อังศุมาลิน, และมี ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, ดวงดาว จารุจินดา, มานพ อัศวเทพ, บรรเจิดศรี ยมาภัย, ปัญญา นิรันดร์กุล, พูลสวัสดิ์ ธีมากร, ชลิต เฟื่องอารมย์ ร่วมแสดงด้วย




และครั้งที่ห้า ถูกนำมาสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2547 ออกอากาศทาง ช่อง 3 สร้างโดย เรด ดราม่า นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์ รับบท โกโบริ, พรชิตา ณ สงขลา รับบท อังศุมาลิน





‘คู่กรรม’ (Sunset at Chaophraya) เป็นนวนิยายรักแนวโศกนาฏกรรม ที่มีฉากหลังเป็นประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประพันธ์โดย ‘ทมยันตี’ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารศรีสยาม (ในเครือนิตยสารขวัญเรือน) และได้รวมเล่มเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2512 รวมทั้งต่อมา มีภาคต่อ คือ คู่กรรม 2 อีกด้วย




ละครโทรทัศน์ ‘คู่กรรม’ ครั้งที่สี่ ออกอากาศทางช่อง 7 ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 9 มิถุนายน 2533 คว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 5 (2533) สาขาผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น - ไพรัช สังวริบุตร, สาขาบทละครดีเด่น – ศัลยา, สาขาดารานำชายดีเด่น - ธงไชย แมคอินไตย์, สาขาดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น - ดวงดาว จารุจินดา, และ สาขาฉากละครดีเด่น - ธีระศักดิ์, เสนาะ, มนัส และ วารินทร์





คู่กรรม (2533) ความยาว 3.53 นาที










3


‘สุสานคนเป็น’ เป็นละครโทรทัศน์ แนวแฟนตาซี-สยองขวัญ ออกอากาศทาง ช่อง 7 สร้างโดย กันตนา ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 เมษายน - 18 กรกฎาคม พ.ศ.2534 บทประพันธ์โดย ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก, บทโทรทัศน์โดย วิลาสิณี, นำแสดงโดย อภิรดี ภวภูตานนท์, ภาณุเดช วัฒนสุชาติ, ชไมพร จตุรภุช, สมฤทัย กล่อมน้อย .. ‘สุสานคนเป็น’ สามารถคว้ารางวัลเมขลา ครั้งที่ 11 ปี พ.ศ. 2534 ในสาขาผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น - สมฤทัย กล่อมน้อย





สุสานคนเป็น (2534) ความยาว 3.41 นาที










4


ตะวันชิงพลบ เป็นนวนิยายแนวสะท้อนชีวิต-สร้างสรรค์สังคม ประพันธ์โดย ‘โบตั๋น’ .. ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง ครั้งแรกสร้างโดย ดาราวิดีโอ เมื่อปี พ.ศ. 2534 เขียนบทโทรทัศน์โดย ศัลยา ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย ศตวรรษ ดุลยวิจิตร เป็น ภูริภพ, ธนาภรณ์ รัตนเสน เป็น มุกระวี, อรพรรณ พานทอง เป็น จินดาหรา, ปัญญา นิรันดร์กุล เป็น คุณพ่อของมุกระวี, เดือนเต็ม สาลิตุล เป็นคุณแม่ของมุกระวี, ประพันธ์เพลงนำละคร และขับร้องโดย พงษ์สิทธิ์ คำภีร์




ส่วน ‘ตะวันชิงพลบ’ ในครั้งที่สอง สร้างโดย กันตนา ออกอากาศทาง ช่อง 7 เช่นเดิม ผู้กำกับการแสดงคือ อนุวัฒน์ ถนอมรอด มี เขตต์ ฐานทัพ เป็น ภูริภพ, อุษามณี ไวทยานนท์ เป็น มุกระวี, ปาลิตา โกศลศักดิ์ เป็น จินดาหรา, วันชัย เผ่าวิบูลย์ เป็น คุณพ่อของมุกระวี, อรัญญา นามวงศ์ เป็น คุณแม่ของมุกระวี .. โดยใช้เพลงนำละครเพลงเดิม แต่ให้ เขตต์ ฐานทัพ เป็นผู้ขับร้องเพลงแทน พงษ์สิทธิ์ คำภีร์




ละครโทรทัศน์ ‘ตะวันชิงพลบ’ ที่สร้างขึ้นในครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2534 สามารถคว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2534 สาขาดาราสนับสนุนชายดีเด่น - ปัญญา นิรันดร์กุล, และเพลงนำละครดีเด่น - พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ สำหรับรางวัลเมขลา ก็คว้ามาได้เช่นเดียวกัน ทั้งในสาขาดาราสนับสนุนชายดีเด่น - ปัญญา นิรันดร์กุล, และเพลงนำละครดีเด่น - พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์





ตะวันชิงพลบ (2534) ความยาว 3.00 นาที










5


สี่แผ่นดิน (Four Reigns) เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 8 ประพันธ์โดย 'พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช' อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย เป็นเรื่องราวของพลอย (ในหนังสือเรียกว่า แม่พลอย) ซึ่งมีชีวิตในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 8 ผู้ประพันธ์เขียนเรื่องราวขึ้นทีละตอน ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยมิได้สร้างโครงเรื่องขึ้นมาก่อน เพียงทบทวนความเดิมจากตอนที่แล้ว แล้วก็เขียนต่อได้ทันที ผู้ประพันธ์เคยให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า เมื่อได้ให้ชีวิตกับตัวละครในเรื่องที่เขียนไปแล้ว ตัวละครแต่ละตัวก็เหมือนมีชีวิตเป็นของตัวเอง ผู้ประพันธ์เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของตัวละครเหล่านั้นออกมา




บทประพันธ์ ‘สี่แผ่นดิน’ ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างกว่างขวาง คราวที่แม่พลอยตั้งครรภ์แพ้ท้อง ก็ถึงกับมีคนส่งมะม่วงไปให้ถึงโรงพิมพ์สยามรัฐ นักวิจารณ์หลายท่าน เช่น ทมยันตี ชมเชยแกมเหน็บแนมว่า “ผู้ประพันธ์เข้าใจในหัวใจของสตรีเพศที่เป็นตัวเอกของเรื่องได้เป็นอย่างดี ขนาดที่นักเขียนที่เป็นผู้หญิงเองหลายคน ก็ยังไม่อาจเทียบได้”




‘สี่แผ่นดิน’ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง .. เมื่อปี พ.ศ. 2504 ออกอากาศเป็นครั้งแรก ทางช่อง 4 บางขุนพรหม นำแสดงโดย สุพรรณ บูรณพิมพ์, อาคม มกรานนท์, สุธัญญา ศิลปเวทิน, และ ชูศรี มีสมมนต์ .. ออกอากาศเป็นครั้งที่สอง ทางช่อง 5 เมื่อปี พ.ศ. 2515 - 2516 นำแสดงโดย สุพรรณ บูรณพิมพ์, ประพาศ ศกุนตนาค, สุมาลี ชาญภูมิดล, และ รจิต ภิญโญวนิชย์




ออกอากาศเป็นครั้งที่สาม ทางช่อง 5 อีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2525 นำแสดงโดย นันทวัน เมฆใหญ่, ภิญโญ ทองเจือ, นันทพร อัมผลิน, นพพล โกมารชุน, อุทุมพร ศิลาพันธ์, วิฑูรย์ กรุณา, ฤทัยรัตน์ อมตะวณิชย์




ในการออกอากาศครั้งที่ 4 นับเป็นพลุดอกใหญ่มาก เพราะเป็นละครโทรทัศน์ที่ถูกสร้างโดยสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ออกอากาศทาง ช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2534 กำกับการแสดงโดย สุประวัติ ปัทมสูต, บทโทรทัศน์โดย นลินี สีตสุวรรณ – นริทธิ์ สีตสุวรรณ, นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, จินตหรา สุขพัฒน์, เพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร, ธิติมา สังขพิทักษ์, ธัญญา โสภณ, อานนท์ สุวรรณเครือ, ตฤณ เศรษฐโชค, สถาพร นาควิลัย, รอน บรรจงสร้าง, พลรัตน์ รอดรักษา, ตรีรัก รักการดี, พาเมล่า บาวเด้น, ศานติ สันติเวชชกุล, กษมา นิสสัยพันธ์, สมมาตร ไพรหิรัญ, สมภพ เบญจาธิกุล, นันทวัน เมฆใหญ่, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, พิราวรรณ ประสพศาสตร์, เฉลา ประสพศาสตร์, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, สุเชาว์ พงษ์วิไล, ณัฐนี สิทธิสมาน เป็นต้น




และ ในครั้งที่ 5 เป็นละครโทรทัศน์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 ออกอากาศทางช่อง 9 สร้างโดย บริษัท ทูแฮนส์ จำกัด กล่าวกันว่าใช้ทุนในการสร้าง เสื้อผ้า และฉาก สูงมาก กำกับการแสดงโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล นำแสดงโดย สิริยากร พุกกะเวส, ธีรภัทร์ สัจจกุล, หม่อมหลวงสราลี กิติยากร, ชาคริต แย้มนาม, เกริกพล มัสยวานิช, เพ็ญเพชร เพ็ญกุล, นินนาท สินไชย, สุจิรา อรุณพิพัฒน์, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ, ชลิดา เถาว์ชาลี, ชุดาภา จันทเขตต์, พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร, ดารณีนุช โพธิปิติ, ธัญญา โสภณ, ศักราช ฤกษ์ธำรง, วรวุฒิ นิยมทรัพย์, มยุรี อิสระเสนา ณ อยุธยา, ตฤณ เศรษฐโชค เป็นต้น




นอกจากนั้น ‘สี่แผ่นดิน’ ยังมีกำหนดจะขึ้นแสดงบนเวทีใหญ่เป็นครั้งแรก เพื่อฉลอง 100 ปีชาตกาล พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ผู้ประพันธ์ โดยมี ถกลเกียรติ วีรวรรณ เป็นผู้กำกับการแสดง นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช, อาณัตพล ศิริชุมแสง, นภัทร อินทร์ใจเอื้อ, สิงหรัตน์ จันทร์ภักดี, ยุทธนา เปื้องกลาง เป็นต้น กำหนดแสดงที่โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2554




สำหรับ ‘สี่แผ่นดิน’ เวอร์ชั่นละครโทรทัศน์ ครั้งที่ 4 เมื่อปีพ.ศ. 2534 ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม - 9 ธันวาคม 2534 .. สามารถคว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2534 ในสาขาผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น - สุประวัติ ปัทมสูต, สาขาบทละครดีเด่น - นลินี สีตสุวรรณ, สาขาฉากละครดีเด่น - ฝ่ายศิลปกรรม ช่อง 3, และ ในสาขาดารานำหญิงดีเด่น - จินตหรา สุขพัฒน์





สี่แผ่นดิน (2534) ความยาว 3.51 นาที











8





9





10





11





12





13






6


รักในรอยแค้น ออกอากาศทางช่อง 5 เมื่อวันที่ 3 มกราคม - 25 เมษายน พ.ศ. 2535 เป็นละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด เขียนเค้าโครงเรื่องโดย วาณิช จรุงกิจอนันต์, บทโทรทัศน์โดย ทองขาว ทวีปรังษีนุกุล, กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, เพลงนำละคร ‘รักเธอมากกว่า’ ประพันธ์คำร้องและขับร้องโดย เต๋อ - เรวัต พุทธินันทน์




‘รักในรอยแค้น’ เป็นเรื่องความรักของหนุ่มสาว ที่อยู่ตรงกลางระหว่างความแค้นของ 2 ตระกูล และมีฉากจบที่ถูกพูดถึงมากที่สุดจนถึงทุกวันนี้ เป็นละครยาวเรื่องแรกของ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และเป็นการเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงของ นุสบา วานิชอังกูร .. ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง รับบท พัดยศ, นุสบา วานิชอังกูร รับบท องค์อร, รุจน์ รณภพ รับบท บำรุง (พ่อขององค์อร), มานพ อัศวเทพ รับบท วัชระ (พ่อของพัดยศ) นอกจากนั้นยังมี ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, เดือนเต็ม สาลิตุล, ไกรวิทย์ พุ่มสุโข, และทัตพงศ์ พงศทัต





รักในรอยแค้น (2535) ความยาว 2.52 นาที










7


ลอดลายมังกร เป็นนิยายที่ประพันธ์โดย 'ประภัสสร เสวิกุล' ว่าด้วยเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย สร้างเนื้อสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบจนกลายเป็นมหาเศรษฐี




‘ลอดลายมังกร’ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง ได้รับความนิยมทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกออกอากาศทาง ช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2535 สร้างโดย กันตนา, บทโทรทัศน์โดย วิลาสิณี, กำกับการแสดงโดย ธีระศักดิ์ พรหมเงิน, นำแสดงโดย นพพล โกมารชุน รับบท อาเหลียง, ปรียานุช ปานประดับ รับบท เนียม, อภิรดี ภวภูตานนท์ รับบท เหมยหลิง, ปัญญา นิรันดร์กุล รับบท อาจั๊ว, เด่น ดอกประดู่ รับบท หลงจู๊บุ๋น, ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท อาเทียน, ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท แอนดี้, สัญญา คุณากร รับบท ชาญชัย, คุณากร เกิดพันธ์ รับบท ระวี .. เพลงนำละคร มีสองแบบ ขับร้องโดย ประวิทย์ เปรื่องอักษร (เหลียงในวัยหนุ่ม-วัยกลางคน) กับ เทียรี่ เมฆวัฒนา (เหลียงในวัยชรา-บั้นปลายชีวิต)




ส่วนครั้งที่สอง ออกอากาศทาง ช่อง 5 เมื่อวันที่ 9 มกราคม - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สร้างโดยบริษัทเอ็กแซ็กท์ จำกัด กำกับการแสดงโดย ผอูน จันทรศิริ นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบท อาเหลียง, บุษกร พรวรรณะศิริเวช รับบท เนียม, ธัญญา วชิรบรรจง รับบท เหมยหลิง, ดี๋ ดอกสะเดา รับบท อาจั๊ว, ณพสิทธิ์ เที่ยงธรรม รับบท อาเทียน, พล ตัณฑเสถียร รับบท แอนดี้, รัฐศาสตร์ กรสูต รับบท ชาญชัย, ตรีพล พรหมสุวรรณ รับบท ระวี .. เพลงนำละคร ใช้เพลง ยืนหยัด-ยืนยง ขับร้องโดย อัสนี-วสันต์




‘ลอดลายมังกร’ ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ในครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2535 สามารถคว้ารางวัลเมขลา ครั้งที่ 12 ปี พศ. 2535 ในสาขาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น - อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และ ในสาขาผู้แสดงประกอบชายดีเด่น - เด่น ดอกประดู่





ลอดลายมังกร (2535) ความยาว 3.22 นาที










8


‘ในฝัน’ เป็นนวนิยายรักพาฝันแบบจินตนิยาย ประพันธ์โดย ‘โรสลาเรน’ ซึ่งเป็นนามปากกาแรกของคุณหญิงวิมล เจียมเจริญ (ชื่อเดิม วิมล ศิริไพบูลย์) ในขณะที่ท่านมีอายุเพียง 19 ปี ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ คุณหญิงวิมลเขียนนวนิยายไว้จำนวนมาก ใน 5 นามปากกา




‘โรสลาเรน’ เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "กุหลาบราชินี" ใช้เขียนเรื่องรักพาฝัน หรือจินตนิยาย ตัวอย่างเช่นเรื่อง ในฝัน, ค่าของคน, เมฆขาว, โสมส่องแสง, รอยอินทร์, สิ้นสวาท, ตราบแผ่นดินกลบหน้า, บัลลังก์เงา




‘ลักษณวดี’ เป็นนามปากกาใช้เขียนเรื่องรัก ส่วนใหญ่เป็นแนวเจ้าหญิงเจ้าชาย ตัวอย่างเช่น เลือดขัตติยา, ดั่งดวงหฤทัย, รัศมีจันทร์, เจ้าแห่งรัตติกาล, สายใจ, หนี้รัก, จักรพรรดินี, มงกุฎที่ไร้บัลลังก์, บาดาล-เทวปักษี




‘กนกเรขา’ เป็นนามปากกาใช้เขียนเรื่องตลกเบาสมอง ตัวอย่างเช่น พ่อปลาไหล, พ่อครัวหัวป่าก์, พ่อม่ายทีเด็ด, แต่งกับงาน, อุบัติเหตุ, ไอ้คุณผี,




‘ทมยันตี’ เป็นนามปากกาใช้เขียนเรื่องสะท้อนชีวิตและสังคม รวมทั้งเรื่องแนวจิตวิญญาณ ตัวอย่างเช่น คู่กรรม, กษัตริยา, ร่มฉัตร, ทวิภพ, เถ้ากุหลาบ, เมียน้อย, คุณหญิงนอกทำเนียบ, คำมั่นสัญญา, พี่เลี้ยง, กฤตยา, รักที่ต้องมนตรา, แก้วกลางดง, มงกุฎหนาม, ใยเสน่หา, รอยลิขิต, เวียงกุมกาม, ยอดอนงค์, รักลวง, สองชีวิต, สายรุ้ง, สุริยวรรมัน, รอยมลทิน, คู่กรรมภาคสอง




และ ‘มายาวดี’ เป็นนามปากกาใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะหรือเรื่องเล่าจากตำนาน




คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภาณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย, ตริตาภรณ์ช้างเผือก, และทุติยาภรณ์มงกุฎไทย, ต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุตถจุลจอมเกล้า เป็น “คุณหญิง” เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 .. ในขณะนี้คุณหญิงวิมลได้เริ่มลงมือเขียนเรื่อง 'จอมศาสดา' ซึ่งจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่คุณหญิงวิมลจะเขียน จากนั้นจะหันหน้าเข้าสู่ความสงบใต้ร่มพระพุทธศาสนา




‘ในฝัน’ เป็นละครโทรทัศน์ของ ไก่ - วรายุฑ มิลินทจินดา ในนาม Remind Production ออกอากาศทาง ช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2535 บทโทรทัศน์โดย นลินี สีตะสุวรรณ, กำกับการแสดงโดย สุประวัติ ปัทมสูต นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, สินจัย หงษ์ไทย, วรุฒ วรธรรม, ลลิตา ปัญโญภาส, สถาพร นาควิลัย, ทิพย์ ธัมมะสิริ, ศานติ สันติเวชชกุล, ปริศนา กล่ำพินิจ .. เพลงนำละคร ‘ในฝัน’ คำร้องโดย โรสลาเรน, ขับร้องโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช




จากละครโทรทัศน์เรื่องนี้ วรุฒ วรธรรม สามารถคว้ารางวัล ดารานำชายดีเด่น รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 7 ปีพ.ศ. 2535 และนลินี สีตสุวรรณ คว้ารางวัล บทละครดีเด่น ด้วย (นลินี สีตสุวรรณ เพิ่งคว้ารางวัล บทละครดีเด่น จาก ‘สี่แผ่นดิน’ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2534)





ในฝัน (2535) ความยาว 3.57 นาที










9


‘วังน้ำวน’ อำนวยการสร้างโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ ในนามบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ออกอากาศทาง ช่อง 5 วันที่ 1 พฤษภาคม – 5 กันยายน พ.ศ. 2535 เรื่องและบทโทรทัศน์โดย 'วาณิช จรุงกิจอนันต์' กำกับการแสดงโดย ยุทธนา มุกดาสนิท, เพลงนำละคร ‘วังน้ำวน’ เขียนคำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน ขับร้องโดย ใหม่ เจริญปุระ, นำแสดงโดย ใหม่ เจริญปุระ, มาช่า วัฒนพานิช, ณหทัย พิจิตรา, รอน บรรจงสร้าง, พิทยา ณ ระนอง, และ ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย





วังน้ำวน (2535) ความยาว 3.56 นาที










10


น้ำเซาะทราย เป็นนวนิยายที่ประพันธ์โดย 'กฤษณา อโศกสิน' นักเขียนรางวัลซีไรท์ ปี พ.ศ. 2528 และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2531 เธอเป็นเจ้าของบทประพันธ์ชื่อดัง เช่น สวรรค์เบี่ยง, ดวงตาสวรรค์, เมียหลวง อันเป็นนวนิยายที่สะท้อนปัญหาครอบครัวและการต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อเรียกร้องสิทธิความชอบธรรม และทำให้เห็นภาพชัดเจนของคนที่ผิดศีลที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสามีคนอื่น




‘น้ำเซาะทราย’ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ รวม 5 ครั้ง ครั้งแรก ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. 2506 นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ, อารีย์ นักดนตรี, สุพรรณ บูรณะพิมพ์ .. ครั้งที่สอง ออกอากาศทาง ช่อง 5 เมื่อปี พ.ศ. 2522 นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล, วงเดือน อินทราวุธ, กนกวรรณ ด่านอุดม, และ ประจวบ ฤกษ์ยามดี




ครั้งที่สาม ออกอากาศทาง ช่อง 7 เมื่อวันที่ 7 เมษายน - 16 มิถุนายม 2536 เมื่อปี พ.ศ. 2536 ผลิตโดย กันตนา, บทโทรทัศน์โดย วิลาสิณี, กำกับการแสดงโดย ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์, นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, สินจัย เปล่งพานิช, ปรียานุช ปานประดับ, และ ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี .. เพลงนำละครโทรทัศน์ (รวมทั้งเพลงนำภาพยนตร์) คือ เพลง ’น้ำเซาะทราย’ คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย จำรัส เศวตาภรณ์ ขับร้องโดย จำรัส เศวตาภรณ์ เพลงนี้มักจะเล่นดนตรีหลักด้วยเปียโน แต่เพลงไตเติ้ลละครโทรทัศน์ เป็นคนละเพลงกัน คำร้อง-ทำนองโดย เทพพนม สุวรรณะบุณย์ ขับร้องโดย พีระพงษ์ พลชนะ




ครั้งที่สี่ ออกอากาศทาง ช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2544 ผลิตโดย ทีวีซีน กำกับการแสดงโดย ชนะ คราประยูร บทโทรทัศน์โดย เอกลิขิต นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, จริยา แอนโฟเน่, จันทร์จิรา จูแจ้ง, และ ยุทธพิชัย ชาญเลขา .. และในครั้งที่ห้า จะออกอากาศทาง ช่อง 7 ในปีนี้ ปี พ.ศ. 2554 ผลิตโดย ดาราวีดีโอ นำแสดงโดย วรนุช ภิรมย์ภักดี รับบท พุดกรอง, จีรนันท์ มะโนแจ่ม รับบท วรรณนรี ขณะนี้กำลังวางตัวละครอื่นๆ และรอเปิดกล้องอยู่




สำหรับการสร้างเป็นภาพยนตร์ มี 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย นาท ภูวนัย, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, วันดี ศรีตรัง, และ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ .. กับเมื่อปี พ.ศ. 2529 นำแสดงโดย อภิชาติ หาลำเจียก, นาถยา แดงบุหงา, สินจัย หงส์ไทย, และ ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง






น้ำเซาะทราย (2536) ความยาว 4.01 นาที











14





15





16





17





18





19







11


‘วันนี้ที่รอคอย’ เป็นละครโทรทัศน์ของ ดาราวีดิโอ ออกอากาศทาง ช่อง 7 เมื่อวันที่ 3 กันยายน - 5 ธันวาคม 2536 บทประพันธ์โดย วราภา, บทโทรทัศน์โดย ปราณประมูล, กำกับการแสดงโดย สยาม สังวริบุตร, นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์, สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์, จักรพรรณ์ อาบครบุรี, รุ้งทอง ร่วมทอง, ธานินทร์ ทัพมงคล, และ พงศ์นภา ดัสกร




‘วันนี้ที่รอคอย’ เบิร์ด – ธงไชย ขับร้องเพลงนำละคร และรับบทเป็นตัวละคร 2 ตัว คือ เจ้าชายน่านปิงนรเทพ (จ้าวซัน) กับ เจ้าชายศิขรนโรดม โดย เบิร์ด สามารถคว้ารางวัลดารานำชายดีเด่น รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2536 , สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ สามารถคว้ารางวัลดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2536 และ ก๊อต - จักรพรรณ์ อาบครบุรี ก็สามารถคว้ารางวัลเมขลา สาขาดาวรุ่งชาย





วันนี้ที่รอคอย (2536) ความยาว 3.37 นาที










12


‘ดาวพระศุกร์’ เป็นละครโทรทัศน์ ผลิตโดย ดาราวีดิโอ ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำคู่พระคู่นางที่โด่งดังมากจากละครเรื่อง ‘ผยอง’ เมื่อปี พ.ศ. 2536 มาประชันซ้ำอีกครั้งในปีถัดมา คือเมื่อปี พ.ศ. 2537 และผลก็เป็นที่น่าพอใจ มีผู้ติดตามตั้งตารอชมละครโทรทัศน์ เรื่อง ‘ดาวพระศุกร์’ กันมากแทบจะทั่วฟ้าเมืองไทย คู่พระคู่นางคู่นี้ คือ ศรราม เทพพิทักษ์ และ สุวนันท์ ปุณณกันต์ (คงยิ่ง) โดยมี ปรียานุช ปานประดับ, ไพโรจน์ สังวริบุตร, พลรัตน์ รอดรักษา, นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร, และ สุวัจนี ไชยมุสิก ร่วมแสดงด้วย




‘ดาวพระศุกร์’ บทประพันธ์โดย 'อักษราพันธุ์', บทโทรทัศน์โดย ภาวิต – ลุลินารถ, กำกับการแสดงโดย สยาม สังวริบุตร, เพลงนำละคร ‘ดาวพระศุกร์’ ทำนองและคำร้องโดย มนัส ปิติสานต์ ขับร้องโดย ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์





ดาวพระศุกร์ (2537) ความยาว 3.40 นาที










13


ทวิภพ เป็นนวนิยายจากบทประพันธ์ของ 'ทมยันตี' นำเสนอเรื่องราวความรักต่างภพระหว่างอดีตกับปัจจุบันที่มาบรรจบกัน โดยมีเรื่องของประวัติศาสตร์เมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 5 มาเกี่ยวข้อง กล่าวกันว่าบทประพันธ์ชิ้นนี้ คุณทมยันตี ได้ใส่รายละเอียดของความเป็นอยู่ของบุคคลในสมัยก่อนได้อย่างแนบเนียน




‘ทวิภพ’ โด่งดังขึ้นมาอีกรอบ เมื่อ เชิด ทรงศรี นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ โดย เชิดไชย ภาพยนตร์ จัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2533 มี ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบท คุณหลวงอัครเทพวรากร และ จันทร์จิรา จูแจ้ง รับบท ‘เมณี่’ และแล้วในปี พ.ศ. 2547 ก็ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ขึ้นมาอีกครั้ง โดย ฟิล์มบางกอก กำกับการแสดงโดย สุรพงษ์ พินิจค้า นำแสดงโดย รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง รับบท คุณหลวงอัครเทพวรากร และ ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์ รับบทเป็น ‘เมณี่’




ทางด้านละครโทรทัศน์ ดาราวิดีโอ เป็นผู้สร้าง และออกอากาศทาง ช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2537 กำกับการแสดงโดย จรูญ ธรรมศิลป์, บทโทรทัศน์โดย จิตราภา, นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบท คุณหลวงอัครเทพวรากร, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ รับบท มณีจันทร์ และมี ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, รุ้งทอง ร่วมทอง, กลศ อัทธเสรี, อรัญญา นามวงศ์, ดวงใจ หทัยกาญจน์, เมตตา รุ่งรัตน์, สักกะ จารุจินดา, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ร่วมแสดงด้วย .. เพลงนำละคร ขับร้องโดย บิลลี่ โอแกน




ยิ่งกว่านั้น ค่ายละครเวที ซีเนริโอ ของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ ก็ได้นำมา ‘ทวิภพ’ มาสร้างเป็นละครเวทีถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีพระนางร่วมแสดง 2 คู่ คู่แรก นำแสดงโดย ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี รับบท คุณหลวงอัครเทพวรากร และ ปนัดดา เรืองวุฒิ รับบท ‘มณีจันทร์’ ส่วนคู่ที่สอง นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ รับบท คุณหลวงอัครเทพวรากร และ สุธาสินี พุทธินันท์ รับบท ‘มณีจันทร์’ ส่วนครั้งที่สอง เปิดการแสดงในปี พ.ศ.2554 ในขณะนี้ นำแสดงโดย โดม - ปกรณ์ ลัม รับบท คุณหลวงอัครเทพวรากร และ นัท - มีเรีย เบนเนเดดตี้ รับบท ‘มณีจันทร์’




ละครโทรทัศน์ ‘ทวิภพ’ เมื่อปีพ.ศ. 2537 ออกอากาศ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 24 พฤษภาคม 2537 สามารถคว้ารางวัลเมขลา ครั้งที่ 14 เมื่อปี พ.ศ. 2537 สาขาละครชีวิตดีเด่น, สาขาผู้กำกับการแสดงดีเด่น - จรูญ ธรรมศิลป์, สาขาผู้แสดงนำชายดีเด่น - ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, สาขาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น - สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์, สาขาผู้เขียนบทละครดีเด่น - จิตราภา, และ สาขาเพลงนำละครดีเด่น - บิลลี่ โอแกน





ทวิภพ (2537) ความยาว 2.42 นาที










14


คือหัตถาครองพิภพ เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เล็กน้อย โดยเหตุการณ์ในเรื่องเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2462 ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพันธ์โดย อิราวดี นวมานนท์ นามปากกา ‘น้ำอบ’ มี 38 ตอน พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536




เนื้อเรื่องของ ‘คือหัตถาครองพิภพ’ เป็นเรื่องราวความรักของแม่ที่ทำให้เลือดในอกเป็นได้ ทั้งพระอรหันต์ คนดี คนชั่ว คนบาป สองมือของแม่สามารถเสกสรรปั้นทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อลูก แม้จะแลกมาด้วยการกระทำผิดที่ร้ายแรง ถ้าหากลูกรักเป็นสุขสวัสดี ตัวของแม่ก็ยินยอมได้




ละครโทรทัศน์ ‘คือหัตถาครองพิภพ’ ผลิตโดย ดาราวิดีโอ ออกอากาศ ทางช่อง 7 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2538 .. กำกับการแสดงโดย สยาม สังวริบุตร บทโทรทัศน์โดย ศัลยา นำแสดงโดย จารุณี สุขสวัสดิ์, ปรียานุช ปานประดับ, ธรรมชาติ ฟาร์เน็ตต์, อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, นัท มีเรีย เบนเนเดดตี้, คลาวเดีย จักรพันธุ์, ชาช่า อัลเทอร์เมท, ธรรม์ โทณะวณิก (แต่ต่อมาเสียชีวิต ทำให้ต้องมอบบทนี้ให้กับ อัษฎา พานิชกุล), และ สวิช เพชรวิเศษศิริ .. เพลงนำละคร ‘คือหัตถาครองพิภพ’ ขับร้องโดย ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์, เพลง ‘ด้วยมือของเธอ’ ขับร้องโดย นัท มีเรีย เบนเนเดดตี้




‘คือหัตถาครองพิภพ’ สามารถคว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 10 ปี พ.ศ. 2538 สาขาดารานำหญิงดีเด่น - จารุณี สุขสวัสดิ์ จากบท ‘คุณหญิงศรี’ และสามารถคว้ารางวัลเมขลา ครั้งที่ 15 ปี พศ. 2538 สาขาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น - ปรียานุช ปานประดับ จากบท ‘สะบันงา’ .. ขณะนี้ ช่อง 3 และ ช่อง 7 ต่างมีความคิดคล้ายๆ กัน ต้องการจะนำนิยายภาคต่อของ ‘คือหัตถาครองพิภพ’ ซึ่งมี 29 ตอน ภาคจบสมบูรณ์ คือเรื่อง ‘คือหัตถาครองพิภพจบสากล’ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรุ่นลูกของ ‘สะบันงา’ นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ในเร็ว ๆนี้





คือหัตถาครองพิภพ (2538) ความยาว 3.56 นาที










15


‘สายโลหิต’ เป็นนวนิยายจากบทประพันธ์ของ 'โสภาค สุวรรณ' หรือ รำไพพรรณ ศรีโสภาค (นามสกุลเดิม สุวรรณสาร) ซึ่งเป็นนักเขียนนวนิยายดังๆ หลายเรื่อง เช่น ฟ้าจรดทราย, ชิงช้าชาลี, ญาติกา, ดาวหลงฟ้า, ดวงยิหวา, ตะวันลับฟ้า, ทับตะวัน, หนังหน้าไฟ (รางวัลนวนิยาย ปี 2526), น้ำคำ (รางวัลนวนิยาย ปี 2530), บุษย์น้ำทอง, ปุลากง, และ สายโลหิต




ดาราวีดิโอ นำ ‘สายโลหิต’ มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทาง ช่อง 7 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 - 7 มกราคม 2539 กำกับการแสดงโดย สยาม สังวริบุตร บทโทรทัศน์โดย ศัลยา นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์, ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, สุวนันท์ คงยิ่ง, สรพงษ์ ชาตรี, เอกพัน บันลือฤทธิ์, อุษณัย์ รักกสิกรณ์, กชกร นิมากร, ทองขาว ภัทรโชคชัย, ปนัดดา โกมารทัต, ธัญญรัตน์ โลหะนันนท์, บรรเจิดศรี ยมาภัย, และ เมตตา รุ่งรัตน์ .. เพลงนำละคร ประพันธ์และขับร้องโดย ชมพู ฟรุตตี้ - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง





สายโลหิต(2538) ความยาว 3.45 นาที











20





21





22




ขอขอบคุณที่ติดตาม


ขอขอบคุณมากๆ นะครับ ที่มีผู้กรุณาโหวตให้ ในสาขา Topical Blog ของบล็อกแก๊งค์



จาก สิน yyswim






Create Date : 10 สิงหาคม 2554
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 1:18:57 น. 10 comments
Counter : 7383 Pageviews.

 



Thailandblogawards - yyswim


//www.thailandblogawards.com/blogs/show/348


ต้อง sign up ครั้งแรกเสียก่อนครับแล้วรอกดยืนยันในอีเมล์ที่จะส่งไปหา

เมื่อเข้ามา log in จะได้รับคะแนนโหวตคนละ 15 คะแนน (ขอเพิ่มไม่ได้)

โหวตได้ทุกวันวันละ 1 คะแนน มอบให้กับ เจ้าของบล็อก ที่ชอบ

มอบให้กับ เจ้าของบล็อก เดิมซ้ำได้ (ไม่ใช่มอบให้กับแต่ละเรื่อง)

เมื่อเคย sign up แล้ว ต่อไปเพียงแต่ log in

ณ วันนี้ เหลือวันโหวตได้ ประมาณ 20 วัน


โปรดโหวตให้กับผู้ที่เหมาะสม เพราะผู้ที่เข้ารอบจะต้องไปประกวดในรอบชิงโดยกรรมการตัดสินอีกครั้ง







โดย: yyswim วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:0:27:07 น.  

 



สวัสดีรอบดึกครับผม


โดย: อสูรกายไทฟอน วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:1:10:13 น.  

 
ภาพสวยค่ะลุงสินหนูแวะมาโหวต topical ให้ค่ะ
ก่อนหนูไปโรงเรียนค่ะ


โดย: เจ้าการะเกด วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:6:34:37 น.  

 
แหล่มค่ะพี่สิน


โดย: อุ้มสี วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:10:00:34 น.  

 
ตกแต่งบลอกหวานจังค่ะพี่สิน เพลงไตเติ้ลละครนั้น เมื่อก่อนช่อง 7 สีเด่นมาก แต่ตอนนี้ดูเหือนจะแข่งกันทุกช่องเลย

มีให้โหลดเพลงริงโทนด้วย กำไรอยู่ที่คนจัดทำทั้งขึ้นทั้งล่อง


โดย: Love At First Click วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:13:50:08 น.  

 
พี่สินเขียนบล๊อกนี้ หนูก็ระลึกชาติได้ว่า มีละครดัง ๆ สมัยนั้นหลายเรื่องที่ไม่ได้ดู เช่นเรื่องสายโลหิต จำเหตุผลไม่ได้ว่า ทำไมถึงพลาดละครเรื่องนี้ คงต้องรอให้กลับมาสร้างใหม่ล่ะค่ะ เพราะคงหาของเก่าย้อนดูไม่ได้

วันแม่ปีนี้ มีโครงการพาคุณยายไปเที่ยวที่ไหนคะ


โดย: kimmy (kimmybangkok ) วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:14:43:28 น.  

 

สว้สดีค่ะ คุณสิน

ชอบละครหลายเรื่องค่ะ
จำเลยรัก
คู่กรรม
ลอดลายมังกร

ดูละครพวกนี้ตั้งแต่เป็นเทปวีซีอาร์ ที่ร้านไทยมีให้เช่าเป็นเรื่องๆ เทปละเหรียญ เทปหนี่งตั้งสี่ ถึงหกช้่วโมง เรื่องหนื่งๆมี สิบกว่าเทป พวกเราจะเช่าแล้วแบ่งกันดู เรืองจำเลยรัก ดูจนสว่างคาตา เช้าไปทำงานไม่ได้ ก็เลยโทรป่วยไม่ไปทำงาน พวกเราติดละครกันมาก เรียกว่าว้นหนีงๆ ไม่ทำไร ทำอาหารแล้วก็นั่งดูนอนดู จบเป็นเรื่องๆ บางที่ไม่หลับไม่นอน


โดย: newyorknurse (newyorknurse ) วันที่: 11 สิงหาคม 2554 เวลา:6:10:35 น.  

 
บล็อกเช็คอายุชัด ๆ มีละครหลายเรื่องที่ชอบมากเลยค่ะ อย่าง ในฝัน สี่แผ่นดิน คู่กรรม โดยเฉพาะคู่กรรม อยากดูเวอร์ชั่นแรกมาก ๆ ได้ยินมาว่าคุณเทิ่งทำได้ดีมาก ๆ

เอ เรื่องสายโลหิตมีเวอร์ชั่นของช่องสามด้วยนะคะ คุณฉัตรชัยเล่นคู่กับคุณอาภาพร กรทิพย์ คุณนพพลเล่นเป็นหมี่นทิพย์ คุณสุพรรณเป็นผกก. แต่กำกับไม่จบเรื่อง ท่านเสียชีวิตไปซะก่อน เป็นละครที่ชอบสุดเรื่องนึงเลยค่ะ

ขอบพระคุณพี่สินมากที่ส่งรูปและลิงค์กระทู้ดี ๆ ไปให้นะคะ โหวตTBAให้พี่สินเรียบร้อยแล้ว ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ


โดย: haiku วันที่: 11 สิงหาคม 2554 เวลา:15:09:45 น.  

 
สวัสดียามดึก ค่ะ




ชอบละครสี่แผ่นดิน อยากเป็นแม่พลอย..ดูเท่าไหร่ไม่เคยเบื่อเลย....ชอบละครทวิภพ..อยากกลับไปในอดีตตามหาขุนหลวง...ชอบสายโลหิต..อยากมีคนข้างๆเป็นแบบตัวพระเอกในเรื่องนี้ คะ


ราตรีสวัสดิ์ คะ



โดย: ปรียนิตย์ วันที่: 11 สิงหาคม 2554 เวลา:22:35:50 น.  

 
ดูแล้วนึกว่าดาราแก่ไปแล้วหลายคนแล้วอ่ะนะ


โดย: พาฝัน IP: 101.109.97.24 วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:20:22:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.