โฮมสเตย์







โฮมสเตย์




บล็อกเรื่อง ‘โฮมสเตย์’ เขียนขึ้นครั้งแรกเมื่อ 14 ธันวาคม 2550 แต่เนื่องจากเว็บต่างๆที่ผมทำลิ๊งก์เอาไว้ภายในบล็อก มีการเปลี่ยนแปลง และในการเขียนครั้งแรกใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ผมจึงต้องการปรับปรุงข้อมูลทั้งหมดในบล็อก


แต่การปรับปรุงข้อมูลยาวๆในกลุ่มเรื่องนี้ ทางบล็อกแก๊งค์ไม่อนุญาต บอกให้เปลี่ยนกลุ่มเรื่อง ผมจึงจำเป็นขอนำบล็อกเรื่องนี้มาใส่ในกลุ่มเรื่อง ‘สรรสาระ’





# 01 ความเป็นมา


โฮมสเตย์ (Home Stay) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะพักรวมในบ้านเจ้าของบ้าน และศึกษาวิถีชีวิตไทย หรือศึกษาวัฒนธรรม หรือศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าของบ้านจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกให้พอสมควร แล้วคิดเงินจากนักท่องเที่ยว



ทั้งนี้ เจ้าของบ้านจะต้องรวมกลุ่มขอความเต็มใจสมัครใจ ความเห็นชอบจากชุมชนเสียก่อน และกลุ่มจะต้องมีการจดทะเบียนกับ สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว (Bureau of Tourism Service Development) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสียก่อน



สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ที่ สนามกีฬาแห่งชาติ ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร.0 – 2219 - 4010 - 17, แฟกซ์ 0 – 2216 - 6906



จากการศึกษาพบว่า โฮมสเตย์ในไทย(แบบไม่เป็นระบบ)เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่รูปแบบและกิจกรรมอาจจะแตกต่างกันหลากหลาย คือ.....



ยุคเริ่มต้น ( ปี 2503-2525 ) …..ความสนใจมีอยู่ในกลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มค่ายอาสาพัฒนาชนบท ที่ต้องการจะเรียนรู้วิถีชีวิต รับทราบปัญหาในชนบท เพื่อจะนำมาพัฒนาสังคมตามอุดมคติของตน จึงขอเข้าไปพักค้างแรมในวัด หรือในบ้านของผู้ใหญ่บ้าน ตอนนั้นยังไม่ต้องจ่ายเงินค่าพักค้างแรม



กับยุคนั้น อยู่ในกลุ่มของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่นิยมทัวร์ป่า โดยเฉพาะในแถบป่าภาคเหนือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จะขอพักตามบ้านชาวเขา โดยจุดพักนั้นจะขึ้นอยู่กับเส้นทางการเดินป่าของเขา ค่าใช้จ่ายค่าพักแรมอาจจะยังไม่ต้องจ่ายเงิน หรืออาจจะจ่ายเงินเป็นสินน้ำใจเพียงเล็กน้อย โดยเจ้าของบ้านไม่ได้ร้องขอ



ยุคกลาง ( ปี 2526-2536 ) ……กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่นิยมทัวร์ป่า เริ่มจะนิยม มีจำนวนมากขึ้น(อาจจะเป็นเพราะมีการไปบอกปากต่อปาก) ชาวเขาเริ่มจับทางถูก จึงเริ่มจะให้บริการที่หลากหลาย เช่น มีบริการอาหาร มีบริการนำเที่ยว แล้วคิดเงินจากนักท่องเที่ยว ...มีการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมไปยังหมู่บ้านชาวเขาอื่นๆกว้างขวางขึ้น แต่ก็เริ่มสร้างปัญหาให้กับสังคมเช่นกัน เช่น มีปัญหายาเสพติด มีปัญหาโสเภณี มีปัญหาการขโมยและฆ่าชิงทรัพย์ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนโฮมสเตย์ ยังไม่มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานโฮมสเตย์ และชาวบ้านยังไม่ได้ขอความเห็นชอบเต็มใจจากชุมชนของตนเสียก่อน



ยุคตั้งแต่ปี 2537 - ปัจจุบัน ……ยุคนี้เน้นกระแสการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น กล่าวคือ ….



ในระยะประมาณปี 2537-2539 กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย เริ่มจะท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ โดยกลุ่มนำร่องคือกลุ่มนักกิจกรรมสังคมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ....ทราบว่า..พื้นที่ดำเนินการเรื่องโฮมสเตย์ เป็นพื้นที่ที่องค์กรพัฒนาเอกชนไทยเข้าไปดำเนินการ เช่น เกาะยาว จ.พังงา ( กลุ่มประมงชายผั่ง / อวนลาก อวนลุน), หมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช, บ้านแม่ทา จ.เชียงใหม่ (กลุ่มเกษตรทางเลือก), บ้านผู้ใหญ่วิบูลย์ เชยเฉลิม (เกษตรยั่งยืน) เป็นต้น



นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ได้มีการเคลื่อนไหวขึ้นในกลุ่มนักธุรกิจ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว โดยนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวผสมผสาน ระหว่าง Adventure, Ecotourism, และ Home Stay …..จากการที่รัฐบาลประกาศให้ปี 2541-2542 เป็นปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand) ทุกหน่วยงานของภาครัฐ มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวในแหล่งต่างๆ และขยายกิจกรรมโฮมสเตย์เพิ่มมากขึ้น เช่น หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทย บ้านโคกโก่ง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์, บ้านทรงไทยปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม รวมทั้งพื้นที่หมู่บ้านชาวเขา ก็มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์ บนดอยด้วย



ปัจจุบัน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ แถมบางครั้งไปร่วมมือกันปลูกป่า ...มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบ เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และหัตถกรรมของท้องถิ่น แถมบางครั้ง มีไปแจกผ้าห่มกันหนาว มีไปแจกอุปกรณ์การเรียนให้เด็กๆด้วย ทั้งนี้โดยมีกิจกรรมโฮมสเตย์ จัดการเรื่องที่พักให้ ทำให้นักท่องเที่ยวได้ไปพักค้างคืน รับประทานอาหารท้องถิ่นกับชาวบ้าน ซึ่งมีการจดทะเบียนโฮมสเตย์ อย่างถูกต้อง ...เป็นความสะดวก ความปลอดภัย แปลกตา แถมได้ทำสังคมสงเคราะห์ของนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร





มอบตราสัญลักษณ์มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย











# 02 มาตรฐานคุณภาพของโฮมสเตย์


มาตรฐานคุณภาพของโฮมสเตย์ มี 8 ด้านด้วยกัน มีการประกาศ “ กำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ไทย พ.ศ.2548 ” 8 ด้าน ไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 25 ง หน้า 37- 40




มาตรฐานที่ 1 ด้านที่พัก


1.1 โครงสร้างบ้านพัก มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ชำรุด และไม่เสี่ยงอันตรายจากการใช้สอย วัสดุที่ใช้ก่อสร้างบ้าน ไม่ควรใช้ไม้ไผ่ หรือฝาขัดแตะ หรือใบไม้ เว้นแต่จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น แต่จะต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรง



1.2 บ้านพัก มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างส่องเข้าไปถึง ไม่มีกลิ่นอับ และมีหลังคาที่สามารถกันน้ำฝนได้



บ้านนายถนัด ศรีสมุทร






บ้านนายถนัด ศรีสมุทร






บ้านนายสกล มุกดา






บ้านนายสกล มุกดา






บ้านนายสมพงษ์ หนูนวล






บ้านนายสมพงษ์ หนูนวล







1.3 มีที่นอน อาจจะเป็นฟูกและเตียง หรือฟูกอย่างเดียว ที่สบายตามสภาพชุมชน และมีเครื่องนอน คือ ผ้าปู หมอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ที่สะอาด อาจจะมีโต๊ะ เครื่องแป้ง กระจก ควรจะมีม่านหน้าต่างทุกบาน และควรจะมีพัดลมด้วย



1.4 มีห้องอาบน้ำและส้วม ที่สะอาด มีสบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว สำรองไว้ในห้องน้ำ และควรจะมีที่แขวนหรือราวในห้องน้ำ ประตูห้องน้ำมีล็อคและการปิดเปิด อยู่ในสภาพดี ปลอดภัย ไม่มีรูหรือช่อง ที่มองเห็นได้จากภายนอก มีไฟฟ้า หรือที่จุดไฟให้ความสว่าง



1.5 มีการเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม เมื่อมีนักท่องเที่ยวใหม่เข้าไปพัก ถ้าผ้าห่มเป็นผ้านวม ควรมีการซักปลอกผ้านวมด้วย แต่ในระหว่างที่แขกกำลังพัก อาจจะไม่ต้องเปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนทุกวัน เว้นแต่มีความจำเป็นหรือแขกต้องการ




1.6 มีการกำจัดแมลงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น แมลงสาป หนู ยุง มด โดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นและเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น สมุนไพร หรือเครื่องดักสัตว์



1.7 มีการดูแลสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน เช่น สวนหย่อม สวนครัว ต้นไม้ ร่องน้ำ ควรมีการปลูกต้นไม้ เช่นไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล เพิ่ม หากมีที่เพียงพอ อาจมีที่นั่งเล่นบริเวณลานบ้าน และควรจะทำความสะอาดสิ่งที่อยู่บริเวณบ้านเสมอ ไม่ควรให้น้ำขังเป็นแหล่งเพาะยุง หากมีตุ่มน้ำฝนควรจะมีฝาปิด




ชั้นบน บ้านเรือนเพ็ญ โฮมสเตย์ จ.สมุทรสงคราม






อาหารเย็นบ้านเรือนเพ็ญ โฮมสเตย์







มาตรฐานที่ 2 ด้านอาหารและโภชนาการ


2.1 มีอาหารที่ปรุงมาอย่างดี หมายถึง ชนิดของอาหาร เครื่องปรุง รสชาติของอาหาร และขั้นตอนการปรุงอาหาร จะต้องพิถีพิถัน สะอาด และถูกหลักโภชนาการ


ชนิดของอาหาร ควรเป็นอาหารพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น แกงเหลืองของภาคใต้ แกงอ่อมของภาคอีสาน แกงฮังเลของภาคเหนือ


เครื่องปรุง ควรเป็นสิ่งที่หาได้ในพื้นที่ ใช้พืชผักสวนครัวเป็นหลัก โดยเน้นความสด สะอาด และควรเป็นพืชผักปลอดสารพิษ


รสชาติของอาหาร ควรเป็นรสชาติที่ไม่จัดเกินไป นักท่องเที่ยวต่างชาติพอจะรับประทานได้ หากเป็นนักท่องเที่ยวไทย อาจจะสอบถามความชอบก่อนจะปรุง ทั้งนี้การปรุงทุกขั้นตอน ต้องเน้นเรื่องความสะอาด




2.2 ภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร และจาน ถ้วย ชาม ต้องสะอาดและปลอดภัย และต้องมีช้อนกลาง


ภาชนะที่ใช้ปรุงอาหาร และใช้รับประทานอาหาร จะต้องทำความสะอาด ล้างด้วยน้ำสะอาด โดยการใช้น้ำยาล้างจาน ห้ามใช้ผงซักฟอก ล้างโดยเด็ดขาด และหลังจากล้าง ควรจะคว่ำไว้ให้แห้งก่อนเก็บ สำหรับแก้วน้ำดื่ม จะต้องใส สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็นคาว และควรแยกล้างต่างหาก



2.3 ครัวอยู่ในสภาพที่สะอาด ไม่มีกลิ่น อาจจะอยู่ในตัวบ้านหรือแยกจากตัวบ้านก็ได้ แต่ควรหมั่นทำความสะอาดหลังการปรุงอาหารทุกครั้ง



2.4 อุปกรณ์ที่ใช้ในครัว


ตู้กับข้าว ควรมีฝาปิดเปิดได้สะดวก สะอาด กันแมลงได้ มีรูระบายอากาศถ่ายเทได้,


เตา อาจเป็นเตาแก๊สหรือเตาถ่าน ต้องอยู่ในสภาพสะอาด ปลอดภัย หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ของเตา ไม่ให้เกิดอันตรายในขณะปรุงอาหาร


อุปกรณ์เครื่องปรุง เช่น พริก กระเทียม กะปิ น้ำปลา ปลาร้า เกลือ ฯลฯ ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บให้มิดชิด มีฝาปิด กันแมลงได้


หากมีตู้เย็น จะต้องดูแลความสะอาด ใช้เก็บอาหารและเครื่องดื่มอย่างเหมาะสม โดยอาหารที่มีกลิ่น ให้ใส่ในถุงพลาสติกหรือในกล่องที่ปิดมิดชิด อุณหภูมิในตู้เย็นควรจะอยู่ที่ 5 องศาเซลเซียสหรือน้อยกว่านั้น และเมื่อสังเกตว่ามีน้ำแข็งเกาะมาก ควรกดปุ่มละลายน้ำแข็ง



2.5 มีน้ำดื่มและน้ำใช้ที่สะอาด


น้ำดื่ม หมายถึง น้ำที่จะนำมาใช้ดื่ม ต้องเป็นน้ำสะอาด หากเป็นน้ำประปา ถ้าไม่แน่ใจ ควรต้มในภาชนะที่สะอาดก่อนจะบรรจุขวดหรือภาชนะอื่นๆ และหากเป็นน้ำฝนที่รองไว้ในตุ่ม ต้องแน่ใจว่าหลังคาบ้านสะอาดจริง สังกะสีไม่เป็นสนิม ไม่มีฝุ่นละอองเกาะ และเก็บไว้ในตุ่มที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด


น้ำใช้ หมายถึง น้ำที่ใช้อาบและซักล้าง หากไม่ใช่น้ำประปา จะต้องผ่านการทำน้ำให้สะอาด เช่น ใช้สารส้ม หรือกรอง โดยดูแลภาชนะทุกชนิดที่บรรจุ ต้องสะอาด ไม่มีลูกน้ำ สัตว์น้ำ หรือตะไคร่น้ำ เกาะติดภาชนะนั้น



2.6 มีร้านอาหารในชุมชน

การบริการอาหารของเจ้าของบ้าน อาจจะมีเพียงอาหารเช้าหรือในบางมื้อ ก็ได้ จึงควรมีร้านอาหารในชุมชน คอยให้บริการนักท่องเที่ยว เช่น ร้านอาหารตามสั่ง หรือร้านข้าวแกง ...ร้านอาหารดังกล่าว ควรเป็นเครือข่ายในชุมชนที่ร่วมมือกันต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยต้องร่วมมือในเรื่องของความสะอาดของอาหาร ของร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ...และที่สำคัญ คือ ควรจะขายในราคาปกติ ไม่แพงเกินไป นอกจากนี้ยังควรที่จะบริการด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส วาจาสุภาพ




มาตรฐานที่ 3 ด้านความปลอดภัย


3.1 มีการจัดเวรยาม ดูแลความปลอดภัย

ควรจัดให้มีเวรยาม เฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว โดยมีตารางเวรยามที่ชัดเจน อาจมีหัวหน้าซึ่งเป็นผู้นำในชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบ มีการอบรม และฝึกปฏิบัติให้กับเวรยาม เมื่อมีเหตุร้าย ...และขอความร่วมมือให้ทุกคนในชุมชน ช่วยสอดส่องดูแลคนแปลกหน้า และหากเกิดเหตุร้ายให้รีบแจ้งเวรยามทันที



3.2 มีเครื่องมือ และรู้วิธีการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุร้าย หรือกรณีนักท่องเที่ยวเจ็บป่วย



3.3 มีการเตรียมความพร้อมเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนนำส่งสถานพยาบาล เช่น การห้ามเลือด การปั๊มหัวใจ การประคบ การทำแผล ....ควรมียาสามัญประจำบ้าน และที่เก็บยาอย่างเหมาะสมและหาง่าย



3.4 มีการตักเตือนนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์สิน และเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับยา ในกรณีที่นักท่องเที่ยวมีโรคประจำตัว




มาตรฐานที่ 4 ด้านการจัดการ


4.1 มีการรวมกลุ่มของชาวบ้าน จัดการในรูปของชมรม หรือสหกรณ์ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากที่สุด และต้องมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ....สำหรับการดำเนินการโดยองค์กร หรือ บุคคลอื่นนอกพื้นที่ อาจเข้ามาสนับสนุนชุมชน แต่ไม่ควรดำเนินการในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง



4.2 มีคณะกรรมการบริหารโครงการ…. เมื่อชุมชนสามารถ รวมกลุ่มทำโฮมสเตย์ได้แล้ว ควรจัดให้มี คณะกรรมการบริหารโครงการ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ กรรมการดังกล่าว จะมีบทบาทและหน้าที่ชัดเจน ในการดำเนินการโฮมสเตย์ ของชุมชน



4.3 มีการกำหนดข้อปฏิบัติของนักท่อง เที่ยว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งต่อวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และความเชื่อของชุมชน และจะต้องแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบล่วงหน้า ...โดยกำหนดให้ชัดเจนในสิ่งที่นักท่องเที่ยวทำไม่ได้ เช่น การแต่งกายที่ไม่สุภาพ ณ ที่ใด การแสดงออกของชายและหญิงในลักษณะชู้สาว การใช้ยาเสพติดในโฮมสเตย์ เป็นต้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวยอมรับ และเข้าใจก่อนจะเดินทาง



4.4 มีระบบการจองล่วงหน้า อาจจะจองโดยใช้โทรศัพท์ หรือแฟกซ์ หรืออินเทอร์เนต หรือไปรษณีย์ จองโดยตรงกับกรรมการของโฮมสเตย์ หรืออาจจะจองผ่านบริษัทนำเที่ยว ...การจองล่วงหน้าดังกล่าว ควรจะมีการตอบรับ โดยแจ้งกลับให้นักท่องเที่ยวทราบ และทราบข้อปฏิบัติล่วงหน้าด้วย ...และมีการลงทะเบียนเพื่อทำหลักฐานการเข้าพักที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ทราบถึงข้อมูลของนักท่องเที่ยว



4.5 มีรายละเอียด เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวทราบอย่างชัดเจน ในข้อมูลการประชาสัมพันธ์ เช่น ค่าที่พัก / คน / คืน, ค่าอาหาร / คน / มื้อ, ค่านำเที่ยว / คน หรือต่อกลุ่ม ฯลฯ



4.6 มีข้อมูลกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างละเอียด และมีข้อเลือกให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสเลือก



4.7 ชุมชนไม่หวังจะสร้างรายได้ จากโฮมสเตย์ เพียงอย่างเดียว ควรจะมุ่งผลต้องไม่กระทบต่ออาชีพดั้งเดิมของชุมชน ….ต้องตระหนักว่า โฮมสเตย์ เป็นเพียงอาชีพเสริม ทั้งนี้สมาชิกของชุมชน หน่วยงานภายนอกที่สนับสนุน และบริษัททัวร์ต้องเข้าใจตรงกัน




มาตรฐานที่ 5 ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว


5.1 มีกิจกรรมท่องเที่ยว ตามสภาพพื้นที่ และภูมิประเทศ เช่น เดินป่า ตกปลา ขี่ม้า ปีนเขา ขี่จักรยาน ฯลฯ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้น และกำหนดไว้ชัดเจน ...ทั้งนี้ต้องมีผู้นำเที่ยว มีความปลอดภัย และต้องเตรียมอุปกรณ์ของกิจกรรมนั้นๆไว้ให้พร้อม เช่น เตรียมจักรยาน มีเส้นทางชี้ให้ขี่ไปทางทิศไหน จุดไหนห้ามเข้า หรือจะมีใครนำเที่ยว เป็นต้น



ทำบุญตักบาตรตอนเช้า






เล่นน้ำในคลอง ..หน้าโฮมสเตย์










เดินเที่ยวในสวนผลไม้






ไปดูเขากรีดยาง







5.2 มีกิจกรรมฝึกหัดศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ทอผ้า จักสาน ทำขนม ฯลฯ ชาวบ้านซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านอยู่แล้ว จึงควรจัดให้มีกิจกรรมนี้ ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกด้วย



5.3 มีกิจกรรมต้อนรับตามประเพณีท้องถิ่น เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ ฯลฯ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงชุมชน ควรจัดกิจกรรมต้อนรับ โดยอาศัยวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เคยปฏิบัติอยู่แล้ว หรือร่วมกันต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และให้เกียรติ



5.4 มีกิจกรรมบันเทิงของชุมชน เช่น ดนตรี การเต้นรำ การแสดงพื้นบ้าน ฯลฯ



5.5 กิจรรมทุกชนิด ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ทิ้งขยะ ไม่ขีดเขียนบนแผ่นหิน ไม่ส่งเสียงดังเกินไป เป็นต้น



5.6 มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างกันของนักท่องเที่ยวกับเจ้าของบ้าน เช่น การประกอบอาชีพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ





มาตรฐานที่ 6 ด้านสภาพแวดล้อม


6.1 มีแหล่งท่องเที่ยวประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว เช่น

1) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้ แก่ ภูเขา ทะเล น้ำตก น้ำพุร้อน ฯลฯ

2) แหล่งโบราณสถาน เช่น วัด เจดีย์ วัตถุโบราณ ฯลฯ

3) แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอาชีพของชุมชน เช่น สวนผลไม้ แปลงผัก บ่อปลา การทำนา ฯลฯ



6.2 มีการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ให้เป็นธรรมชาติ และรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้ โดยทุกคนร่วมมือกัน



6.3 มีสถานพยาบาล ไปรษณีย์ ธนาคาร อยู่ไม่ไกลจากโฮมสเตย์ หรือมีบริการความสะดวกให้นักท่องเที่ยว




มาตรฐานที่ 7 ด้านมูลค่าเพิ่ม


7.1 มีร้านขายของที่ระลึกของชุมชน



7.2 มีผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน และใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นผลิต



7.3 มีโอกาสได้เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของชุมชน



7.4 มีโอกาสพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆให้กับบุคลากรของชุมชน





มาตรฐานที่ 8 ด้านการส่งเสริมการตลาด


8.1 มีคู่มือหรือแผ่นพับเอกสารเผยแพร่การท่องเที่ยว ที่เป็นของตนเอง เป็นข้อมูลจริง ชัดเจน และครบถ้วน ทั้งรายการกิจกรรม แหล่งท่องเที่ยว ข้อควรปฏิบัติ รายละเอียดค่าใช้จ่าย การจองที่พัก และแผนที่การเดินทาง



8.2 มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์….ชุมชนอาจจะมีโฮมเพจของตนเอง ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ซึ่งหากมีปัญหาเรื่องเทคนิควิธีและสถานที่รับฝากเว็บ อาจจะขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการ เช่นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา



8.3 มีรายชื่อโฮมสเตย์ ของตน อยู่ในเว็บ Homestay Thailand




# 03 จำนวนของโฮมสเตย์


โฮมสเตย์ ในเมืองไทย บางที่เป็นโฮมสเตย์ สัมผัสธรรมชาติ บางที่เป็นโฮมสเตย์ สัมผัสวิถีชีวิต และวัฒนธรรม และบางที่เป็นโฮมสเตย์ สัมผัสการเกษตร(ซึ่งมีอยู่ที่จ. จันทบุรี เพียงแห่งเดียว)




จำนวนโฮมสเตย์ที่จดทะเบียนกับ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีจำนวนทั้งสิ้น 80 โฮมสเตย์ ขอเชิญเปิดอ่าน รายละเอียดได้ที่นี่









# 04 โฮมสเตย์ตัวอย่าง



ผมขอยกโฮมสเตย์ตัวอย่าง มาให้เพื่อนๆรู้จัก ...เป็นโฮมสเตย์ ที่ จ.พังงา ชื่อ “ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชนเกาะยาวน้อย”


ประเภทของโฮมสเตย์ เป็นประเภท นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรม และธรรมชาติ …โอ ได้ครบถ้วนทุกอย่างตามที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการเลย



จุดเด่น ชุมชนแห่งนี้มีประสบการณ์การต่อสู้เพื่อปกป้องพันธุ์สัตว์น้ำในท้องทะเลแล้วประสบความสำเร็จ และที่เกาะยาวน้อยซึ่งอยู่กลางอ่าวพังงา มีธรรมชาติที่งดงาม มีอาหารทะเลที่อุดมสมบูรณ์



พระเทพฯเสด็จเกาะยาวน้อย
















คุณภาพมาตราฐาน คือ ได้รับคุณภาพมาตรฐาน จาก สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี พ.ศ. 2548 และในปี พ.ศ. 2550 จำนวน 4 ปีต่อเนื่อง (มีการประเมินทุก 2 ปี) และสำหรับในปี 2550 ทางชุมชนฯ ได้รับคะแนนสูงสุด จากการประเมินของคณะกรรมการฯ จาก 36 โฮมสเตย์ทั่วประเทศที่สมัครเข้ารับการประเมิน คือ ได้คะแนนถึง 95%



รางวัลที่ได้รับ ในปี 2545 โฮมสเตย์แห่งนี้ได้รับรางวัล “พิทักษ์มรดกโลก สาขาการท่องเที่ยวที่รักษาสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม” จากนิตยสาร เนชันแนลจีโอกราฟฟิก ของประเทศสหรัฐอเมริกา….และในปี 2545 กับปี 2547 ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภท องค์กรส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย



ประวัติความเป็นมา ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชนเกาะยาวน้อย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2537 เนื่องจากทรัพยากรสัตว์น้ำถูกทำลายจากเครื่องมือการประมงที่ผิดกฎหมาย ทำให้สัตว์น้ำ มีจำนวนลดลงมาก ชาวบ้านเกาะยาวน้อยจำนวนหนึ่ง จึงรวมตัวกัน เพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำให้มีชีวิตรอด ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวดูวิธีการปฏิบัติ ....ชมรมจึงรวมตัวจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ ขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพัก และได้สัมผัสเรียนรู้กิจกรรมของชุมชนฯ และเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง



กิจกรรมที่จัดให้นักท่องเที่ยว


1. ศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ของชุมชนบนเกาะยาว

2. ดูถ้ำ ดูป่าชายเลน เล่นน้ำชายหาด ดูการทำนา ทำสวน

3. กิจกรรมออกทะเล

4. กิจกรรมปลูกป่า

5. ชมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน

6. ชมการกรีดยาง

7. กิจกรรมพายเรือแคนนู ในป่าชายเลน

8. ดูวิถีชีวิต ชาวประมงพื้นบ้าน

9. นั่งรถเที่ยวรอบเกาะ

10. ดำน้ำดูปะการัง

11. ออกหาปลากับชาวบ้าน




กุ้งมังกร










ปลากะเบน







สินค้าเด่นของชุมชน คือ ผ้าบาติก และผ้ามัดย้อม, ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าว เช่น ทำเป็นดอกไม้ ทำเป็นแจกัน, มีกุ้งทะเลแปรรูป เป็นกุ้งย่าง และกุ้งอบ



จำนวนโฮมสเตย์ มีบ้านพักให้นักท่องเที่ยวเลือก 20 หลัง รับนักท่องเที่ยวได้ 80 คน




ข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยว

ห้ามแต่งกายไม่สุภาพในเขตขุมชน

ห้ามดื่มสุราและสิ่งเสพติด

ห้ามทิ้งขยะ

ห้ามเก็บเปลือกหอยและปะการัง




ติดต่อ : นายสำเริง ราเขต (บังหมี) ฝ่ายติดต่อประสานงาน

ที่อยู่ : 38/21 ม.1 หมู่บ้าน ท่าค่าย ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา 83000 โทรศัพท์ : 076 – 597244, 081- 9680877

เว็บไซต์ : //www.kohyao-cbt.com/





ตัวอย่างโปรแกรมเที่ยวเกาะยาวน้อย




โปรแกรมที่ 1 เที่ยวเกาะยาวน้อย พักโฮมสเตย์ ชมวิถีชีวิตชาวประมง (CBT001)

วันที่ 1

09.00 น. เดินทางจากท่าเรือบางโรง จังหวัดภูเก็ต

10.30 น. ถึงเกาะยาวน้อย ฟังบรรยายสรุปโดยชุมชนเกาะยาวน้อย และชมนิทรรศการข้อมูล ที่สำนักงานชมรมการท่องท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

11.30 น. เข้าที่พัก รับประทานอาหารเที่ยง กับครอบครัวโฮมสเตย์

14.30 น. เที่ยวชมเกาะยาวน้อย โดยรถยนต์ ทั่วทั้ง 7 หมู่บ้าน ชมวิถีชีวิตของชาวเกาะยาวน้อย ชมการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ชมการทำผ้าบาติก ชมการทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จากกะลามะพร้าว ชมทุ่งนา ควาย ป่าชายเลน บ่อน้ำจืดในทะเล และชมพระอาทิตย์ตกดิน








19.00 น. เข้าที่พักรับประทานอาหารค่ำ กับครอบครัวโฮมสเตย์ / พักผ่อน




วันที่ 2

07.00 น. รับประทานอาหารเช้ากับครอบครัวโฮมสเตย์

08.00 น. ลงเรือกับครอบครัว ชมวิถีชีวิตการวางอวน การกู้อวน ชมการเลี้ยงกุ้งมังกร ปลาช่อนทะเล ปลาฉลามเสือ และปลากะพง

10.00 น. ชมระบบนิเวศน์ทางทะเล แวะพักเกาะห้อง เพื่อดำน้ำดูปะการัง นั่งเรือชมเกาะห้อง ในตำนาน และชมเกาะลาดิง เพื่อดูการเก็บรังนกนางแอ่น

12.00 น. พักประทานอาหารเที่ยง ที่เกาะลาดิง

13.00 น. ชมเกาะเหลาฮันตู เพื่อดูโครงกระดูกของชาวมอแกน ที่มีอายุถึง 1000 ปี และดำน้ำดูปะการัง 7 สี และกัลปังหา

15.00 น. กลับที่พัก / พักผ่อน

19.30 น. รับประทานอาหารค่ำ ปาร์ตี้ร่วมกัน(กรณีมาเป็นกลุ่มใหญ่)

21.00 น. พักผ่อน หรือชมตลาดเกาะยาวตอนกลางคืน แวะชิมโรตีชาวเกาะ




วันที่ 3

08.00 น รับประทานอาหารเช้า / เก็บสัมภาระ

09.00 อำลาครอบครัวโฮมสเตย์ เดินทางกลับท่าเรือบางโรง จังหวัดภูเก็ต




ค่าบริการ

1 คืน 2 วัน จำนวน 1-2 คน คนละ 2,500 บาท

1 คืน 2 วัน จำนวน 3 คนขึ้นไป คนละ 2,000 บาท

2 คืน 3 วัน จำนวน 1-2 คน คนละ 3,000 บาท

2 คืน 3 วัน จำนวน 3 คนขึ้นไป คนละ 2,500 บาท



หมายเหตุ 1 : ระหว่างน้ำ 14 - 6 ค่ำ สามารถเก็บหอยชักตีน ดูหญ้าทะเล ชมทุ่งปะการังสีฟ้า ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย และชมบ่อน้ำจืดในทะเล




หมายเหตุ 2 : ที่โฮมสเตย์เกาะยาวน้อย มีผู้จัดการออนไลน์ เคยเขียนถึง เชิญเปิดอ่านเพิ่มเติม



yyswim





Create Date : 28 พฤษภาคม 2552
Last Update : 28 พฤษภาคม 2552 9:01:19 น. 4 comments
Counter : 7704 Pageviews.

 
หวัดดีค่ะพี่สิน สบายดีไหมคะ
อยากไปพักแบบนั้นมั่งจังเลยค่ะ
ส่วนมากไปต่างจังหวัดจะไปพักบ้านญาติหรือคนรู้จัก
แต่เขาไม่ได้ทำเป็นโฮมสเตย์ให้คนอื่นพัก เอ อย่างนี้
เขาเรียกโฮมสเตย์ป่าวคะ แต่แบบกินฟรีอยู่ฟรี อิๆ


โดย: kai (aitai ) วันที่: 28 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:49:18 น.  

 


โดย: กระจ้อน วันที่: 28 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:19:07 น.  

 
ไม้เค็ดโฮมสเตย์ที่ปราจีนบุรี ลุงป้าใจดี น่ารัก ไปแล้วชอบการพักแบบนี้เลย


โดย: แม่ดอกทองหลาง IP: 172.16.190.221, 202.6.107.51 วันที่: 29 พฤษภาคม 2552 เวลา:2:01:45 น.  

 
กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ ทีมงานพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกของกรุงสยาม "พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ" จัดกิจกรรม 90 ปี พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ ต้อนรับเหมันตฤดู วันออกพรรษา 2553 "เชียงคานยังหวานอยู่" ณ บ้านครูแดงโฮมสเตย์ อ.เชียงคาน จ.เลย วันที่ 23-25 ต.ค. 2553 มีโปรแกรมกิจกรรมที่น่าสนใจดังนี้
วันที่ 23 ตุลาคม 2553
06.00 - 12.00 น. เดินทางสู่จังหวัดเลย,รับประทานอาหาเที่ยงตามอัธยาศัย
13.00 น. ถึงจึงหวัดเลย พบกันที่ร้าน แชมป์โปรเจค (ตรงข้ามโรงพยาบาลเมืองเลยราม
13.30 - 14.30 น. ขบวน Rally รถยนต์ 5.63 และเครือข่าย เดินทางสู่อำเภอเชียงคาน
14.30 - 15.00 น. เข้าที่พัก ผักผ่อนตามอัธยาศัย
15.00 - 15.30 น. ชมทัศนียภาพแก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน
15.30 - 17.30 น. Walk rally หรรษา 5.63 พาสนุก
17.30 - 18.30 น. ปั่นจักรยาน เที่ยวถนนชายโขง เมืองเชียงคาน

วันที่ 23 ตุลาคม 2553
06.00 - 12.00 น. เดินทางสู่จังหวัดเลย,รับประทานอาหาเที่ยงตามอัธยาศัย
13.00 น. ถึงจึงหวัดเลย พบกันที่ร้าน แชมป์โปรเจค (ตรงข้ามโรงพยาบาลเมืองเลยราม
13.30 - 14.30 น. ขบวน Rally รถยนต์ 5.63 และเครือข่าย เดินทางสู่อำเภอเชียงคาน
14.30 - 15.00 น. เข้าที่พัก ผักผ่อนตามอัธยาศัย
15.00 - 15.30 น. ชมทัศนียภาพแก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน
15.30 - 17.30 น. Walk rally หรรษา 5.63 พาสนุก
17.30 - 18.30 น. ปั่นจักรยาน เที่ยวถนนชายโขง เมืองเชียงคาน

24 ตุลาคม 2553
05.00 - 06.30 น. รับอรุณยามเช้าที่ภูทอก
06.30 - 07.30 น. ชาว 5.63และเครือข่าย บำเพ็ญกุศล ไหว้พระ ทำบุญตักบาตร ยามเช้าที่เชียงคาน
07.30 - 08.30 น. รับประทานอาหารเช้า และแลกเปลี่ยนสนทนาเวลาเช้าที่เชียงคาน
อาหารเช้า
- กาแฟเลิศรส และขนมไทย ๆ
- ขนมจีนน้ำแจ่ว
- ข้าวต้มทรงเครื่อง
08.30 -09.30 น. ชาว 5.63 และเครือข่าย บำเพ็ญประโยขน์ บริจาคเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม สมุดเครื่องเขียน ฯลฯ ให้เด็กนักเรียนด้อยโอกาส ณ โรงเรียนมูลมัง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดท่าแขก อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
09.30 - 10.30 น. นัดดวลกอล์ฟ สำหรับคนรักกอล์ฟ ที่สนามกอล์ฟ อาทิตย์ กำลังเอก ค่ายศรีสองรัก จ.เลย
- เดินทางท่องเที่ยวตามอัธยาศัย
1. ไหว้พระธาตศรีสองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย
2. ไหว้พระที่วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย
3. เที่ยวสะพานไทย -ลาว อ.ท่าลี่ จ.เลย
4. เที่ยวท่าสด็จ จ.หนองคาย
เดินทางท่องเที่ยว ค้างคืนตามอัธยาศัย
25 ตุลาคม 2553 เดินทางกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ
Rally รถยนต์ 5.63 และเครือข่าย เดินทางสู่อำเภอเชียงคาน
14.30 - 15.00 น. เข้าที่พัก ผักผ่อนตามอัธยาศัย
15.00 - 15.30 น. ชมทัศนียภาพแก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน
15.30 - 17.30 น. Walk rally หรรษา 5.63 พาสนุก
17.30 - 18.30 น. ปั่นจักรยาน เที่ยวถนนชายโขง เมืองเชียงคาน
ยินดีต้อนรับสู่เชียงคาน
ด้วยสัจจะและไมตรีจาก
พ.ต.ท.เสฏฐวุฒิ รอดจันทร์ รอง ผกก. สภอ.ภูกระดึง จ.เลย และคณะ
นางกมนวรรณษ์ วัฒนศรีทานัง
นายวิชรัตน์ บุปผาพันธ์ และ
นายเรืองวิทย์ ล้อศิริรัตน์


โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 อ.ต. IP: 210.246.186.9 วันที่: 2 ตุลาคม 2553 เวลา:11:04:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.