ปราสาทวัดภู-เทวาลัยเก่าแก่ที่สุดในอุษาคเนย์

ภูเกล้าหรือ "ลิงคบรรพต"

ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนเศรษฐปุระหรือเจนละบก มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5



ปราสาหิน เทวาลัย บนยอดเขาในยุคแรก ๆส่วนใหญ่จะเป็นปราสาทอิฐหลังเดี่ยว (Brick Tower) ใช้หินทราย(Sandstone) ซึ่งเป็นหินที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นคานรับน้ำหนักไม่มีอาคารมณฑป (Mandapa) อยู่ด้านหน้า ปราสาทบนยอดเขาที่อาจจะ เก่าแก่ ที่สุดของวัฒนธรรมเขมรอาจเป็นซากอาคารอิฐขนาดใหญ่ของ ปราสาทวัดภู (Wat PhouPr.) บนยอดเขา ภูควาย แขวงจำปาศักดิ์ศูนย์กลางแห่งเจนละบกในยุคก่อนเมืองพระนครเป็นปราสาทอิฐที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 11 12 (ซึ่งต่อมาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 และ พุทธศตวรรษที่ 17จึงมีการสร้างมหามณฑป (Mandapa) ด้วยหินทรายเชื่อมต่อที่ด้านหน้าของเรือนธาตุปราสาทอีกทีหนึ่ง

พระเจ้ายโสวรมันที่ 1” (Yasovarman I) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษ ที่15 ได้มีการดัดแปลงภูเขา พนมบาแค็ง วนำ กันดาล”(Phnom BakhengVnam KantalMountain)ให้กลายเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักร ในชื่อของ ศรียโสธรคีรี”(Sri Yasodharagiri) ประดิษฐานรูปศิวลึงค์ ยโศธเรศวร ขนาดใหญ่แทนความหมายขององค์พระศิวะ มีการสร้างพีระมิดขั้นบันไดแผนผังจักรวาล 4 เหลี่ยมจำนวน 5 ชั้นตามแผนผังแบบ วงล้อมรอบจุดศูนย์กลาง” (Plan Centre) ขึ้นโดยการใช้หินส่วนยอดของภูเขาธรรมชาติเป็นแกนด้านในและสร้างปราสาทวิมานขนาดเล็กที่ประทับแห่งทวยเทพตามลำดับชั้นบนสรวงสวรรค์รายล้อมจำนวน 108 องค์ ซึ่งเป็นการจำลองภาพของระบบจักรวาลตามแบบ ดาราศาสตร์ผสมผสานคติความเชื่อ ของลัทธิฮินดูที่มีเขาพระสุเมรุเป็นจุดศูนย์กลางหรือ แก่นจักรวาล”(Cosmic Axis) มีปราสาทเทวาลัยขนาดใหญ่เป็นประธานในความหมายของวิมานที่ประทับขององค์พระศิวะบนเขาไกรลาสที่จะตั้งอยู่สูงขึ้นไปจากเขาพระสุเมรุอีกทีหนึ่ง


   “คติความเชื่อใน คัมภีร์ปุราณะทั้งเรื่องของลำดับขั้นของสวรรค์ ที่ตั้งของวิมานเทพเจ้า ทิศของสวรรค์และยังเกี่ยวเนื่อง เกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติในรูปของ โหราศาสตร์ (Astrology)ที่จะมีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบในด้าน ความเชื่อ ต่อ ดวงพื้นฐานการเกิดเดือนเกิด ปีเกิด และการดับสูญ ที่ต้องวาง ยันตรมณฑล (Yantra Mandala)ของกษัตริย์เทวราชผู้สถาปนาและพระญาติพระวงศ์ ผู้ร่วมในพิธีกรรม หรือผู้ทรงอำนาจให้ ถูกโฉลก และต้องนำมาซึ่ง ความสุขความเจริญ อำนาจ เงินตรา ไพร่ทาสและความเป็นนิจนิรันดร์ แห่งปรมาตมัน อีกด้วย




ศิวลึงค์ (ShivaLingam)เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะ ซึ่งจะประดิษฐานอยู่ในห้องครรภคฤหะ (Garbhagrha)เพื่อเป็นประธานในเทวาลัย ซึ่งเปรียบความหมายของ การปฏิสนธิที่จะนำสู่การกำเนิดและความเจริญรุ่งเรือง ห้องครรภคฤหะจะเปรียบเสมือน มดลูก ของเทพสตรีในขณะที่ศิวลึงค์ ที่ตั้งตรงอยู่ จะแทนความหมายของ อวัยวะเพศชาย (ขององค์พระศิวะ)ที่ได้กำลังสอดใส่เข้ามาห้องหรือภายในมดลูกซึ่งเมื่อมีการกระทำบูชาในพีกรรมของไศวนิกาย ปศุปตะ ขั้นตอนสำคัญตอนหนึ่งก็คือก็นำน้ำศักดิ์สิทธิ์หรือน้ำนมเนยจากวัวศักดิ์สิทธิ์มาเทลงบนยอดโค้งมนของ ศิวลึงค์ซึ่งนั่นก็หมายความถึง จุดสุดยอดของการปฏิสนธิ ที่จะเกิดการหลั่งน้ำออกจากยอดไหลลงมาสู่ฐานโยนีที่รองรับอยู่ด้านล่าง ผ่านทางช่องน้ำไหลลงไปทางด้านทิศเหนือและจะไหลออกจากคูหาครรภคฤหะทาง ช่องรางโสมสูตร ไปสู่ภายนอกน้ำที่ไหลผ่านรูปศิวลึงค์นี้จึงถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่จะนำพามาซึ่งความมงคลของการกำเนิด(ผู้คนพืชพรรณธัญญาหาร) การเติบโต และความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตผู้คนบ้านเมืองและอาณาจักร

//www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/02/entry-1






Create Date : 01 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2555 22:46:16 น.
Counter : 3110 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
4
5
6
9
12
13
14
16
17
18
19
22
23
24
25
26
29
30
 
 
All Blog