จารึกศิวะศักติ-อาศรมความรู้ และตระกูลชุมชนสำคัญรอบปราสาทพระวิหาร พ.ศ.1345-1693
 
ยุคพระเจ้าชัยวรมันที่2---จารึกศิวะศิวะศักติคือจารึกที่พบ .ปราสาทเขาพระวิหาร แปลโดย เอ็ม เอเบล เบอแกง กล่าวถึงคนพื้นเมืองรอบเขาพระวิหารว่าคนพื้นเมืองแถบนี้มีหัวหน้าปกครอง ผู้คนเหล่านี้นับถือพระนารายณ์  จนกระทั่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 .. 1345 เมื่อกลับจากชวาใด้ประกาศอิสระภาพจากชวาและรวบรวมแผ่นดินเจนละบกและน้ำเข้าด้วยกัน เผยแพร่การนับถือพระศิวะ ผู้คนก็พากันยกย่องดุจพระนารายณ์ จารึกเริ่มต้นกล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงทำให้ราชาองค์อื่นต้องเชื่อฟังกระแสรับสั่งของพระองค์ พระองค์ทรงนาม ศรีชัยวรมัน ความรุ่งเรืองของพระองค์เกิดขึ้นด้วยชัยชนะ  พระองค์เปรียบเสมือนเทพเจ้า 4 กร ประทับอยู่บนพื้นพิภพ สตรีผู้หนึ่งชื่อว่า ปราณ ได้รับพระนาม กัมพูชาลักษมี คือมเหสีของพระองค์ เธอเปรียบเสมือนธรณีและศรีผู้เป็นราชินีแห่งสวามีของพระนางลักษมี  สตรีแห่งคุณความดี ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของเพศหญิงจึงให้กำเนิดโอรสชื่อ ศรีธรรมวัฒนะ คือผู้ปฏิบัติธรรมะ  เมือการนับถือพระศิวะเข้ามานั้นคนพื้นเมืองหลายกลุ่มได้รับคติความเชื่อนี้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆในวรรณคดีสันสกฤต  ปรากฏปราชญ์ผู้รู้ในยุคนี้หลายตระกูลด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่อญู่ในฐานะหัวหน้าผู้นำ คือเป็นชนชั้นปกครอง   บางคนตั้งอาศรมศึกษาเผยแพร่ความรู้ เช่น อัธยาปก หรือ ราเชนทรบัณฑิต ตั้งรุทราศรม หลายคนมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในจารึกขอมสมัยหลังบ้างเป็นพราหมณ์แห่งราชสำนัก บ้างเป็นพระญาติวงศ์ของกษัตริย์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ได้ย้ายราชธานีลงมาทางตอนใต้และได้สถาปนาเมืองอีศานปุระขึ้นเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 ในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 กองทัพอาณาจักรศรีวิชัยเข้าโจมตีและมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเจนละอาณาจักรได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 แคว้นใหญ่ และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน คือ เจนละบก กินอาณาบริเวณอยู่ทางตอนเหนือที่เป็นภูเขาและที่ราบสูงในภาคอีสานหรือที่ราบสูงโคราช กับ เจนละน้ำ กินอาณาบริเวณทางตอนใต้ของโตนเลสาบ เป็นที่ราบลุ่มจนจดชายฝั่งทะเล ในยุคนั้นเชื่อว่ากองทัพชวาและพันธมิตรจามปาเข้าโจมตีอาณาจักรขอมจนได้รับชัยชนะ กองทัพชวาใด้นำเจ้าชาย วรมันที่2 ไปเป็นตัวประกันและให้การศึกษาทีชวา  
ตระกูลสำคัญและบุคคลที่จารึกกล่าวถึง อาทิ นางประภาวดี เป็นภรรยาของเกศะวะภัตตะ ปุโรหิต เธอมีบุตรชื่อ อัธยาปก ปราชญ์ผู้โดดเด่นภายหลังได้นามว่า ราเชนทรบัณฑิต บุตรชายเป็นนักปราชญ์เช่นเดียวกันชื่อ นาคปาละ  ตระกูลสำคัญอีกตระกูลหนึ่ง สมาชิกหลายคนมีคำนำหน้าขึ้นต้นชื่อว่า ฮยาง เช่น ฮยาง จันทรา มีสามีเป็นผู้นำกองทัพตำแหน่งเป็น ศรีนฤเปนทราปฤธิวินาเรนตรา ลูกชายชื่อ ปถมถะศิวะ เป็นที่โปรดปรานกษัตริย์จึงให้ชื่อว่า ปฤถิวิทราปักกาลปะ ท่านผู้นี้เป็นพี่ของ รุทธานี สามเวท และ ปวน น้องสาวของ ปวน ชื่อ อุมา เป็นแม่ของศิวะ ศักติ ผู้เขียนจารึกนี้  หลุยส์ ฟีโนต์ อ่านจารึกปราสาทตาแก้วเที่ยบเคียงจนสามารถให้รายละเอียดเครือญาติระหว่างวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่2 และพระนางกัมพูชาลักษมี...



Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2556 13:50:07 น.
Counter : 2203 Pageviews.

1 comments
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:7:40:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
4
6
7
8
9
10
15
16
17
21
25
27
28
 
 
All Blog