ศิลปะถ้ำปิตาลโขรา( Pitalkhora ) รัฐมหาราษฏระ พุทธศตวรรษที่ 4-5

ถ้ำปิตาลโขรา (Pitalkhora) ตั้งอยู่ในเขตกันนาด (Kannad) ซึ่งห่างจากตัวนครออรังกาบาดออกไป 78 กิโลเมตร และห่างจากกลุ่มถ้ำเอลโลร่า 40 กิโลเมตร เป็นที่สันนิษฐานกันว่าปิตาลโขรา คือ “ปิตังคลัย” (Pitangalya)ในคัมภีร์มหามยุรีของพุทธศาสนาฝ่ายตันตระยาน และตรงกับ “เปตริกาล่า” (Petrigala) ในตำราภูมิศาสตร์ของปโตเลมี โดยข้อมูลทั้งสองแหล่งกล่าวยืนยันตรงกันว่า บริเวณถ้ำปิตาลโขราในปัจจุบันนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เชื่อมระหว่างเมืองสุรปรกะ (Surparaka หรือโซปารา - Sopara – ในหลักฐานกรีก) ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอินเดีย เมืองนาสิกที่อยู่ทางใต้ลงมา และเมืองที่อยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือในรัฐมัธยประเทศในปัจจุบัน
กลุ่มถ้ำนี้ประกอบด้วยถ้ำทั้งหมด 13 ถ้ำ ถ้ำที่ 1 ถึง 5 สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 4 ถ้ำที่ 6 ถึง 9 และถ้ำที่ 12 ถึง 13 สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 5 ส่วนถ้ำที่ 10 และ 11 นั้นสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดเลยก็ว่าในบรรดาถ้ำที่กล่าวมาทั้งหมด ด้วยความเก่าแก่นี้เองทำให้บางถ้ำจุดเด่นของกลุ่มถ้ำปิตาลโขราก็คือรูปสลักที่มีความละเอียดงดงามและมีลวดลายวิจิรบรรจงอย่างมาก ดังจะเห็นจากรูปสลักยักษ์ 2 ตนที่เป็นทวารบาลที่ยืนถือแหลนเฝ้าข้างประตูเข้าอุโบสถของถ้ำที่ 3 ตามส่วนต่างๆของรายยักษ์ดังกล่าวนี้มีการแกะสลักตกแต่งเป็นรูปอัญมณีที่มีความละเอียดสูงมาก มีลวดลายทรงผมและเสื้อผ้าก็ได้รับการแกะสลักอย่างชัดเจน และมีลักษณะท่าทางแสดงออกถึงความขึงขังแต่ในขณะเดียวกันก็มีสีหน้าที่บ่งบอกถึงความเมตตาปราณี ตามจุดต่างๆบนผนังถ้ำ ขอบหน้าต่าง ฐานเสา หน้ากระดานทับหลัง ทับหน้า หรือขอบประตูจะมีลวดลายรูปสัตว์ที่ได้รับมีจำนวนมากและได้รับการเน้นรายละเอียดเป็นพิเศษ รูปสลักคชลักษมี (พระแม่ลักษมีทรงอิริยาบทกับช้าง) รูปสลักรูปนางยักษีกำลังทูนของไว้บนศีรษะซึ่งมีการแกะสลักรอยริ้วของเสื้อผ้าและเครื่องประดับไว้อย่างละเอียดเหมือนกำลังพริ้วไหวได้จริงๆ มีรูปสลักคนคู่ที่แสดงให้เห็นลวดลายของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่ละเอียด และเป็นศิลปะยุคแรกๆก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นรูปหญิงชายเสพสังวาสตามแบบตันตระยานในยุคต่อมา สิ่งที่ทำให้กลุ่มถ้ำนี้เด่นขึ้นมาคือ ภาพจุลประติมากรรมรูปหน้าต่างที่มีลักษณะเหมือนประตูทางเข้าอุโบสถ (Miniature Chaitya windows) นอกจากนี้ก็ยังมีภาพเขียนสีเฟรสโก้ (Fresco) ที่มีสีสรรสดใสมีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทำให้ภาพเขียนดูประหนึ่งว่ามีชีวิตอยู่เสมอ

ขอขอบคุณ //sameaf.mfa.go.th/th/important_place/detail.php?ID=2991

ข้อมูลแสดงถึงการค้าทีนำความมั่งคั่งและศิลปะสู่อินเดียในยุคนั้น

เมืองพรหมบุรีในอินเดียนั้นพบว่า มีร่องรอยของชาวโรมันเข้าไปอยู่หนาแน่นมาก มีการพบประติมากรรมรูปเทพไพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวโรมัน พบภาชนะของชาวโรมันที่สั่งเข้ามาหลายแบบ และพบการเลียนแบบเครื่องสำริดของชาวโรมันด้วย

       การสำรวจได้พบเหรียญของจักรพรรดิติเบอร์ริอุส (พ.ศ. 557-580) ที่เมืองเนวาษะ เหรียญทองของจักรพรรดิ์ฮาเดรียน (พ.ศ.660-681) ที่เมืองนาคารชุนโกณฑะ เมืองอริกเมฑุและเมืองกาเวริปัฎฎินัม ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของอินเดียภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทบาทในการติดต่อค้าขายกับโรมัน พบว่ามีเหรียญโรมันจำนวนมาก แล้วยังมีภาชนะดินที่มีลักษณะเป็นไหแบบกรีก-โรมัน (Amphora) และภาชนะดินผาสีแดงลายประทับ (Arretine)

       สำหรับเมืองอริกเมฑุ (โปดูเก) นั้น เป็นเมืองท่าโบราณในสมัยราชวงศ์ศาตวาหนะที่มีสินค้าแบบโรมันและแบบอินโด-โรมัน (ทำเลียนแบบ) ในพุทธศตวรรษที่ 4-9 จากเมืองท่าแห่งนี้ได้ส่งออกไปขายยังเมืองท่าโบราณที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่นๆ ดังนั้นสินค้าของอาณาจักรโรมันจึงได้เดินทางมาพร้อมกับเรือสินค้าของชาวอินเดียที่มาขึ้นเมืองท่าของดินแดนสุวรรณภูมิ

       นอกจากเส้นทางเรือสินค้าข้ามทะเลแล้ว ยังมีเส้นทางการค้าทางบกจากประเทศตะวันตกไปยังประเทศจีน ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงที่พรมแดนอินโด-ปากีสถาน แหล่งโบราณคดีที่อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณพรมแดนดังกล่าวนั้น ได้สำรวจพบสินค้ามีค่าจากอาณาจักโรมัน ที่เป็นหลักฐานว่า กองคาราวานสินค้าได้ขนส่งสินค้ามีค่าจากโรมันมาแลกซื้อผ้าไหมของจีน โดยมีเส้นทางแพรไหมที่ออกเดินทางจากเมืองอเล็กซานเดรีย เข้ามายังอินเดีย แล้วจึงเดินทางต่อไปยังจีน

       เส้นทางนี้มีเมืองสำคัญที่กองคาราวานเดินทางตามเส้นทางแพรไหมผ่านและแวะพักคือ เมืองตักษิลา ตั้งอยู่ใกล้ราวันปินดี ในปากีสถาน และเมืองเบคราม อยู่ทางเหนือห่างจากเมืองคาบูล 50 ไมล์ในอัฟกานิสถาน

ขอขอบคุณ //www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9480000014340






Create Date : 18 เมษายน 2556
Last Update : 21 เมษายน 2556 11:55:38 น.
Counter : 2702 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
17
19
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog