พุทธศาสนามหายาน ในอินเดีย พ.ศ.1100 (ตอน2)
 

...ในวันที่ยี่สิบก็ออกเดินทางไปยังที่ให้ทานใหญ่ในประเทศปรยาค แม่น้ำคงคาอยู่ทางเหนือ ส่วนยมนาอยู่ทางใต้แม่น้ำทั้งคู่ใหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือตรงไปทางทิศตะวันออกและพบกันในประเทศนี้ ทางทิศตะวันตกของที่รวมกันของสองแม่น้ำนี้เป็นที่ราบสูงวัดโดยรอบได้ประมาณสิบสี่หรือสิบห้าลี้ และมีสภาพแบนเหมือนกระจกเงากษัตริย์ในอดีตต่างก็เสด็จมาให้ทาน ณ ที่ตรงนี้ทุกองค์ดังนั้นจึงเรียกว่าที่ให้ทาน เล่าเป็นประเพณีมาว่า บุญแห่งการให้ทาน ณที่ตรงนี้หนึ่งเหรียญมากกว่าบุญที่ให้ทานร้อยๆ หรือพันๆ เหรียญ ณ ที่อื่นๆดังนั้นประชาชนจึงถือคุณค่าตรงนี้มาแต่สมัยโบราณแล้ว

พระราชาทรงรับสั่งให้สร้างที่ประชุมทาน ณ. ที่ราบสูงนี้ล้อมรั้วอ้อมยาวด้านละหนึ่งพันก้าวภายในรั้วสร้างโรงมุงแฝกหลายสิบหลังเพื่อเก็บของมีค่าชนิดต่างๆ เช่นทองคำ เงินไข่มุก โมราแดง มรกต เพทาย ฯลฯ เป็นต้นข้างๆโรงมีห้องแถวหลายร้อยห้องเก็บผ้าที่ทำด้วยใหมและสักหลาดเงิน เหรียญทองคำและเหรียญเงินฯลฯ เป็นต้น ข้างนอกรั้วแยกที่ต่างหากสำหรับทำครัวข้างหน้าคลังสมบัติสร้างบ้านเป็นแถว คล้ายกับร้านขายของในเมืองหลวงของเราและแถวหนึ่งๆของบ้านเหล่านั้นสามารถให้คนนั่งได้มากกว่าหนึ่งพันคน

พระเจ้าศีลาทิตย์พระราชาทรงออกคำสั่งล่วงหน้าให้นิมนต์สงฆ์เชิญเดียรถีย์นิครนถ์ คนจนและ คนไร้ญาติในประเทศอินเดียทั้งห้าให้มาชุมมุมณ ที่ให้ทานเพื่อรับประทานส่วนพวกคนที่มาร่วมประชุมการอภิปรายของท่านอาจารย์ที่กันยากุปชบางคนก็ไม่กลับบ้านตรงไปที่ให้ทานเลยทีเดียวกษัตริย์ทั้งหลายทั้งสิบแปดประเทศก็ทรงตามเสด็จพระเจ้าศีลาทิตย์ไปยังที่นั่นเลยเมื่อถึงที่ประชุมแล้วมีคนกว่าห้าแสนคน รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ฆราวาสอยู่กันพร้อมเพรียงพระเจ้าศีลาทิตย์ทรงตั้งค่ายลงบนฝั่งเหนือของแม่น้ำคงคาพระเจ้าธรุวภฏแห่งประเทศอินเดียใต้ ทรงตั้งค่ายลงทางตะวันตกที่สายน้ำร่วมกันส่วนพระเจ้ากุมารทรงตั้งที่ไกล้กับที่ป่าดอกไม้บนฝั่งใต้ของแม่น้ำยมนา และพวกแจกทานตั้งทางฝั่งตะวันตกของค่ายพระเจ้าธรุวภฏ

เช้าวันรุ่งขึ้นพระเจ้าศีลาทิตย์และพระเจ้ากุมารทรงเสด็จโดยเรือรบพระเจ้าธรุวภฏตามเสด็จด้วยกองทัพช้างของพระองค์เสด็จไปยังที่ให้ทานทุกคนมีองครักษ์เฝ้ารักษาเป็นอย่างดีกษัตย์ทั้งสิบแปดประเทศและพวกชั้นรองๆลงมาก็ตามเสด็จ

วันแรก ทรงตั้งตั้งพระพุทธรูปในโรงมุงแฝกณ ที่ที่ให้ทานต่างก็ถวายของมีค่าที่ดีที่สุด ผ้าไตรจีวรและอาหารที่มีค่าเล่นดนตรี โปรยดอกไม้จนกระทั่งเย็นจึงพากันกลับไปยังค่ายของตน (บูชาพระพุทธเจ้า)

วันที่สอง ตั้งรูปพระสุริยต่างก็ถวายของมีค่าครึ่งจำนวนของที่ถวายพระพุทะรูปในวันแรก(บูชาสุริยะเทพหรือบูชาพระอาทิตย์)

วันที่สาม ตั้งรูปพระอิศวรเทว และถวายเท่ากับจำนวนที่ถวายพระสุริย (บูชาพระอิศวร)

                  วันที่สี่ ถวายทานพระภิกษุสงฆ์กว่าหนึ่งหมื่นองค์ที่นั่งเป็นแถวร้อยแถวและแต่ละองค์ได้รับถวายเงินเหรียญทององค์ละร้อยเหรียญ ไข่มุกหนึ่งเม็ด ผ้าไตรจีวรสักหลาดหนึ่งไตรรวมอาหารเครื่องดื่ม ธูปและดอกไม้ เมื่อได้รับไทยทานแล้วต่างก็ออกจากที่ไป...

หมู่ที่ห้าคือพวกพราหมณ์ใช้เวลาให้ทานอยู่ยี่สิบวันจึงหมด พวกเดียรถีย์เป็นหมู่ที่หก ใช้เวลาให้ทานสิบวันหมด หมู่ที่เจ็ดประกอบด้วยเหล่าประชาชนที่มาจากดินแดนอันห่างไกลใช้เวลาสิบวันจึงแจกทานหมด คนจนและคนไร้ญาติเป็นหมู่ที่แปดการแจกจ่ายให้ทานนี้ใช้เวลาหนึ่งเดือน

ดังนั้นพระราชาจึงจ่ายสมบัติในท้องพระคลังที่ได้สะสมมาห้าปีหมดสิ้นนอกจากช้างม้าอาวุธของพระองค์ซึ่งทรงเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามพวกขบถ และป้องกันราชบัลลังก์ของพระองค์ ของมีค่าอื่นๆทั้งหลายรวมทั้งเครื่องทรงของพระองค์ไข่มุก ต่างหู กำไล เพชรพลอย สร้อยคอและไข่มุก ยังมีค่าประดับเศียรของพระองค์ทรงให้ทานแก่ประชาชนหมดโดยไม่มีเหลือแม้แต่สิ่งเดียว

เมื่อพระองค์ให้ทานสมบัติของพระองค์หมดแล้วพระองค์ทรงขอเครื่องทรงหยาบๆจากพระราชภคินีของพระองค์มาทรงและพระองค์ทรงกราบพระพุทธเจ้าทั้งสิบทิศด้วยจิตเป็นสุขทรงประนมพระหัตถ์ของพระองค์และทรงรับสั่งว่า “นับตั้งแต่เก็บสะสมทรัพย์สมบัติเหล่านี้ข้าฯกลัวอยู่เสมอว่าจะไม่เก็บไว้ในคลังอันแข็งแรงบัดนี้ข้าฯได้เก็บไว้ในนาบุญหมดแล้ว และเก็บไว้ในที่เหมาะสมจริงๆข้าฯปรารถนาว่าขอให้สามารถเป็นเจ้าของได้ทั้งสมบัติทางโลกและพุทธธรรมในชีวิตอนาคตของข้าฯทั้งหมดเพื่อข้าฯจะได้ให้ทานแก่สรรพสัตว์เพื่อสำเร็จทศอิสระภาว(๑)และชัยชนะ(๒) สองอย่าง”

เมื่อการประชุมสิ้นสุดลงพระราชาแห่งประเทศต่างๆก็เอาของมีค่าต่างๆและเงินให้แก่ประชาชนเพื่อเป็นค่าไถ่พระเจ้าศีลาทิตย์และซื้อของกลับคืนได้แก่ไข่มุก เพรชพลอยแต่งพระเศียร และฉลองพระองค์ ดังนั้นภายหลังอีกสองสามวัน ต่อมาพระราชาก็ทรงฉลองพระองค์และเครื่องประดับอันดีที่สุดของพระองค์เช่นเคย

(๑)ทศอิสระภาว คือ ๑. อิสระในชีวิต ๒. อิสระแห่งจิต ๓. อิสระแห่งชีวิตตามความต้องการ ๔. อิสระแห่งกาม ๕. อิสระแห่งการเวียนตายเวียนเกิด๖. อิสระแห่งความเข้าใจ ๗. อิสระแห่งความตั้งใจ ๘.อิสระแห่งอำนาจวิเศษ ๙. อิสระแห่งธรรม  ๑๐. อิสระแห่งปัญญา.

(๒) 1.ชัยชนะแห่งปัญญาและ 2.ชัยชนะแห่งศีลธรรมอันน่าประเสริฐ.

 

อ่านเพิ่มเติม -  พุทธศาสนา ยุค พ.ศ. ๑๑๐๐-๑๓๐๐ (Buddhism in B.E.1100-1300) //suvarnbhumi.blogspot.com/2009/02/buddhism-in-be1100-1300_25.html






Create Date : 23 มกราคม 2556
Last Update : 24 มกราคม 2556 10:31:49 น.
Counter : 4262 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มกราคม 2556

 
 
1
2
4
5
6
7
9
10
11
12
14
19
22
26
27
29
 
 
All Blog