ลัทธิความอุดมสมบูรณ์กับการบูชาบรรพบุรุษ ณ.ปราสาทหินเขาพระวิหาร

             ดร. ธิดา สาระยา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ  ดังนี้  ในยุคโบราณ ระบบความเชื่อของมนุษย์อาจแยกได้เป็นสองแบบอย่างกว้างๆคือ

1.การนับถือผี การนับถือบรรพบุรุษ คนโบราณเชื่อว่าชีวิตยังคงอยู่หลังความตาย  จึงหาทางเชื่อมโยงติดต่อระหว่างผู้ที่ตายแล้วกับผู้ทียังมีชีวิตอยู่  เพื่อให้พลังอำนาจของผู้ที่ตายไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรพบุรุษมาช่วยเหลือคุ้มครอง

2.ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ  มนุษย์เชื่อว่าสิ่งต่างๆนั้นมีวิญญาณที่เป็นอำนาจเหนือธรรมชาติสามารถดลบรรดาลให้ความช่วยเหลือคุ้มครองมนุษย์ได้  อำนาจเหนือธรรมชาติเหล่านี้มาจากสิ่งทีมีอยู่โดยธรรมชาติและมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ เช่นป่าทึบ  เขาใหญ่  ต้นไม้สูงอายุนาน และสิ่งถูกสร้างขึ้นเป็นสัญญลักษณ์เช่นก้อนหิน เนินดิน

              เป้าหมายของการนับถือสิ่งเหล่านี้คือความต้องการให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้คนดำรงชีวิตอยู่ใด้  ลัทธิที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์จึงมีมาก่อนศาสนาหลัก เช่น ฮินดู และ พุทธศาสนาเข้ามาผสม  ต่อมาเมื่อมีการนับถือพระศิวะในฐานะพระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งสากลจักรวาล  แต่ละท้องถิ่นต่างรับนับถือพระศิวะแตกต่างกันไป  พระศิวะอาจอยู่ในฐานะเจ้าแห่งแผ่นดินและเจ้าแห่งภูเขาตามความเชื่อของคนพื้นเมืองก็ได้  มเหสีของพระองค์คือ อุมาเหมวตี  ธิดาของหิมาลัย  กลายเป็นปารวตีเทพีแห่งขุนเขาและสำหรับบางกลุ่มเธอคือ  เทพีแห่งข้าว  ชนชั้นปกครองได้พัฒนาความเชื่อเหล่านี้ให้เป็นพื้นฐานแห่งอำนาจตน  เมื่อพวกจามนับถือพระศิวะและศิวะลึงค์  กษัตริย์ก็ตั้งตนเป็นผู้รับอำนาจจากพระศิวะผสานกับอำนาจของบรรพบุรุษ เห็นได้จากที่พระราชทานชื่อของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชื่อศิวะลึงค์ที่ทรงสถาปนา เช่น กษัตริย์ภัทรวรรมันสถาปนาศิวลึงค์ชื่อ  ภัทเรศวร  และกษัตริย์อินทรวรรมัน  ทรงโปรดให้สร้างปราสาทพะโค บูชาบรรพบุรุษของพระองค์ตลอดทั้งพระเจ้าชัยวรมันที่2 และ พระมเหสี  ทรงสถาปนาให้บุคคลเหล่านี้เป็นเทวะ ในรูปประติมากรรมขององค์ศิวะและเทวี  นอกจากนั้นทรงโปรดให้สร้างปิรามิดแห่งบากอง  เพื่อประดิษฐานศิวลึงค์ชื่อ  อินทเรศวร เป็นต้น

 

           ความเติบโตของชุมชน รอบเขาพระวิหารเห็นได้ชัดตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 พระองค์โปรดประทานผู้คนให้รับใช้เพาะปลูกทำนาเลี้ยงศาสนสถาน  ผู้คนบางกลุ่มบางส่วนก็โยกย้ายไปอยู่ชุมชนใหม่ใกล้เคียงทำให้เกิดการขยายชุมชนในแถบนี้มาก  การขยายตัวของชุมชนยุคนี้มีเมืองอวัธยปุระเป็นศูนย์กลาง  จารึกได้บอกไว้ว่าข้าราชการแห่งเมืองอวัธปุระเป็นผู้ดูแลสิ่งของสำหรับเทวะแห่งเขาพระวิหาร  ตามพระโองการ  พระกัมรเตงอัญศรีปฤถิวีนทรบัณฑิต  ซึ่งเป็นพระสภาบดีชั้นเอกแห่งเมืองกุติรุง  ได้แจ้งพระบรมราชโองการแก่กำเสตงศรีสมเรนทราบดีวรมันแห่งเมืองอวัธยปุระ  ซึ่งเป็นผู้ตรวจดูแลสิ่งของในกัมรเตงศรีศิขรีศวร   เมืองใหม่ๆทีเติบโตขึ้นพวกขอมเข้าไปอยู่อาศัยมากขึ้น  พลเมืองเดิมต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นตามพระราช

โองการดังเช่น เมืองวิเภทะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกุรุเกษตร ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่1 พระองค์ประทานให้แก่ ศรีสุกรรมมากำสเตงิ ดูแล เดิมอยู่ภายใต้การดูแลของตระกูลพื้นเมืองผู้หนึ่งชือ วาบเมาแห่งเมืองวิเภทะ ซึ่งได้รับโองการให้ย้ายไปอยู่ที่รังโคลแทน  ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ปรากฏในจารึกก็คือ ชุมนุมคนพื้นเมืองเดิมเป็นกลุ่มอำนาจทีสร้างความกังวลแก่พระองค์  ในจารึกเรียกกลุ่มนี้ว่า พวกกบฏดำ  เป็นพวกตระกูล ปาสคะเมา พระกำเสตง ปาสคะเมา เป็นหัวหน้า  พวกนี้ชอบใช้ความรุนแรง  พระองค์มีรับสั่งให้ข้าราชบริพารคอยสอดส่องดูแลขัดขวางไม่ให้พวกปาสคะเมารวมตัวกัน  พงศาวดารเขมรสมัยหลังเรียกบริเวณหนึ่งว่า เมืองที่อยู่แถวเขาพนมดงรัก เมืองทั้งหลายเหล่านี้พากันแข็งข้อ (น่าจะเป็นพวกบฎดำ )ทำไห้พระเจ้าสุริยะวรมันที่1ต้องใช้เวลาปราบอยู่ถึงสามปี

            สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่2 มีชุมชนสำคัญอยู่ไกล้เคียงกับเขาพระวิหารมากมายหลายชุมชน  เห็นได้จากบรรดาปราสาทหินใหญ่น้อยรอบรอบบริเวณ  ซึ่งมีปราสาทพระวิหารเป็นศูนย์กลาง  เฉพาะร่องรอยที่พบได้แก่ ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่  ปราสาทหินสระกำแพงน้อย ปราสาทบ้านปราสาท  ปราสาทปรางค์กู่  ปราสาทสมอ ปราสาทภูฝ้าย ฯล ปราสาทเหล่านี้บ้างก็มีอายุอยู่ในรุ่นหลัง  กระนั้นก็ดีสภาพเช่นนี้ชี้ให้เห็นการขยายตัวของชุมชนบ้านเมือง  มีการรวมตัวของชุมชนสร้างศูนย์กลางความเชื่อขึ้นดังเช่น กัมรเตงชคต ศรีพฤทเธศวร เมืองสดุกอำพิล (จารึกวัดสระกำแพงใหญ่ ) มีข้อความอยู่ในจารึกบางหลักว่าบรรดาขุนนางผู้มีอำนาจรวมทั้งกษัตริย์ได้ถวายหมู่บ้านหลายแห่งแก่ กัมรเตงชคตศรีศิขเรศวร  บ้างก็สร้างหมู่บ้านใหม่และขุดสระน้ำ  บ้างก็ซื้อขายที่ดินเพิ่มเติม  เมืองกว้างใหญ่ขึ้นจนมีการสร้างรูปเคารพประจำเมืองใหม่..ปรากฎว่าหลังจากมีการถวายเมืองพะนุรทะนง ให้เทวะศรีศิขรีศวรแห่งพระวิหาร ผู้ศรัทธาก็ซื้อที่ดินถวายเพิ่ม  จนต้องสร้าง กัมรเตงชคตศิวะลึงค์แห่งพะนุรทะนง  ประจำเมืองอีกรูปหนึ่ง




Create Date : 29 ตุลาคม 2555
Last Update : 29 ตุลาคม 2555 14:11:35 น.
Counter : 2745 Pageviews.

2 comments
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 30 ตุลาคม 2555 เวลา:4:48:44 น.
  
อ่านแล้วก็ต้องรวบรวมความคิดอีกทีค่ะ จะไม่ค่อยได้ อิอิ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 พฤศจิกายน 2555 เวลา:15:23:18 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
30
31
 
 
All Blog