Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 
29 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

Emergency Economic Stabilization Act of 2008 (link to full and summary in pdf file)

. . .


Here's the final bill section-by-section (6 pages)
//www.house.gov/apps/list/press/financialsvcs_dem/final_bill_section-by-section.pdf


Here's the full text: Emergency Economic Stabilization Act of 2008. (110 pages)
//banking.senate.gov/public/_files/AYO08C04_xml2.pdf


Here's the The Congressional Budget Office (CBO) analysis of the proposal.(7 pages)
//www.cbo.gov/ftpdocs/98xx/doc9829/09-28-HonorableFrank.pdf


Here's the SUMMARY OF THE “EMERGENCY ECONOMIC STABILIZATION ACT OF 2008”(1 page)
//www.house.gov/apps/list/press/financialsvcs_dem/summary_of_the_eesa2.pdf

. . .




 

Create Date : 29 กันยายน 2551
2 comments
Last Update : 29 กันยายน 2551 19:52:02 น.
Counter : 650 Pageviews.

 

. . .

สมาคมธนาคารไทยเผยผลหารือรมว.คลัง ยื่น 5 ข้อเรียกร้อง เน้นป้องกันปัญหาสภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบวิกฤติการเงินโลก

สมาคมธนาคารไทย ได้เสนอ 5 ข้อเรียกร้องต่อนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสที่ได้ร่วมหารือกัน โดยนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯได้มีข้อเสนอ 5 ข้อ ดังนี้

ข้อแรก ขอให้รัฐบาลเร่งโครงการลงทุนภาครัฐโดยเร็ว เพราะเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นความเชื่อมั่นนักลงทุน และจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ต่อเนื่อง

ข้อ 2. การดูแลสภาพคล่องในระบบ โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในไทย เช่น การออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (บาทบอนด์) และต่างชาติจะสว็อบเป็นเงินดอลลาร์นำออกนอกประเทศนั้นไม่ควรให้ทำได้ง่ายเกินไป เนื่องจากขณะนี้สภาพคล่องในตลาดโลกเริ่มหดหาย และแม้ขณะนี้ไทยยังไม่มีปัญหาสภาพคล่อง แต่ไม่ควรทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นในอนาคต

ข้อ 3. ให้ใช้มาตรการยกเว้นภาษี และให้สิทธิประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลเคยออกกฎหมายปรับโครงสร้างหนี้ออกมาในช่วงสั้นใช้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ให้เป็นเรื่องปกติในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้

ข้อ 4. ต้องการให้กระทรวงการคลังช่วยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งเดิมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยสนับสนุนแก่สถาบันการเงินเพื่อปล่อยกู้ในบางอุตสาหกรรม แต่ภายใต้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่นั้น ธปท.ไม่สามารถสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้อีก ขณะที่ยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ต้องการการสนับสนุน เช่น ผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีความยากลำบาก และต้องการเม็ดเงินสนับสนุน

ข้อ 5. ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนกฎหมายหลักประกัน ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการเสนอในหลายรัฐบาลแล้วแต่ยังไม่เคยผ่านการพิจารณา หลักการของกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ภาคธุรกิจนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ เช่น สินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบนำมาใช้เป็นหลักประกันสำหรับการยื่นขอสินเชื่อเพื่อให้ลูกค้าโดยเฉพาะ SMEs สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยนำสินทรัพย์ตามที่มีกฎหมายรองรับมาตีเป็นหลักประกัน

นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินขณะนี้ยังมีอยู่แม้จะปรับลดลงบ้างจากต้นปี แต่ยังไม่ถึงกับตึงตัว แต่ต้องการให้รัฐบาลมองไปข้างหน้าและให้หาวิธีป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐ โดยนำสิ่งที่สมาคมฯ มีความเป็นห่วงไปพิจารณาเพื่อเสนอให้รัฐบาลหาทางป้องกันแก้ไข

"สมาคมฯ กังวลเรื่องปัญหาสภาพคล่อง เพราะบางประเทศ เช่น สหรัฐฯ หรือยุโรป เริ่มมีปัญหาแล้ว และยังมีอีกหลายประเทศตามมา ดังนั้นเมื่อเราไม่ได้อยู่ในประเทศที่มีเงินมาก ตลาดก็ต้องหาสภาพคล่อง หากภาคเอกชนไม่มีเงิน ก็อาจทำให้สภาพคล่องมีปัญหาได้ สิ่งที่เราพูดกัน คือการหาทางป้องกัน"

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังพร้อมรับข้อเสนอของสมาคมธนาคารไทยไปพิจารณา ซึ่งทั้ง 5 ข้อเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับปัญหาสภาพคล่องและวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ส่วนข้อเสนอที่สมาคมฯ ต้องการให้เข้ามาดูแลเรื่องการออกบาทบอนด์ของนักลงทุนต่างชาตินั้น เห็นว่าจะต้องมีการพิจารณาและปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ และเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข ไม่ใช่เรื่องที่กระทรวงการคลังต้องนำมาพิจารณาเพียงฝ่ายเดียว

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง กล่าวว่า การหารือร่วมกันกับสมาคมฯ นั้น ธนาคารทุกแห่งแจ้งให้ทราบว่าจะช่วยดูแลสภาพคล่องในระบบเป็นอย่างดี ส่วนข้อเสนอ 5 ข้อนั้น กระทรวงการคลังพร้อมรับมาไว้พิจารณา แต่จะมีการให้ความเห็นหลังการแถลงนโยบายรัฐบาลในวันที่ 8-9 ต.ค.51

. . .



แบงก์ชาติห่วงแผนกู้วิกฤตสหรัฐฯ 7 แสนล้านดอลลาร์ อาจกระทบอัตราดอกเบี้ยตลาดโลก หวั่นกระทบสภาพคล่องตึงตัวหนักขึ้น

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าราชการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่สภาคองเกรสจะอนุมัติงบประมาณ 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ตลาดการเงินสหรัฐฯ ถือเป็นเรื่องดี ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และตลาดการเงินสหรัฐฯจะมีเสถียรภาพเร็วขึ้น

นายบัณฑิตกล่าวว่าขณะนี้คงต้องจับตาภาวะดอกเบี้ยต่างประเทศที่มีการปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของการลงทุนสูงขึ้น และจะทำให้นักธุรกิจหันมาระดมทุนจากประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้สภาพคล่องเกิดการตึงตัว

ทั้งนี้ นายบัณฑิต ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้แม้จะยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกสภาพคล่องที่ตึงตัวอย่างชัดเจนแต่ธนาคารพาณิชย์ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือไว้แล้ว

. . .



หุ้นไทยร่วง 17 จุด หวั่นวิกฤติสถาบันการเงินลุกลาม

ภาวะตลาดหุ้นไทยวันที่ 29 ก.ย. ดัชนีแกว่งตัวผันผวนลงไปต่ำกว่า 600 จุด หลังนักลงทุนชะลอลงทุนเพื่อรอความชัดเจนการแผนกอบกู้วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ อีกทั้งกังวลว่าจะลุกลามไปยังภูมิภาคต่างๆ หลังสถาบันการเงินยุโรปเริ่มมีปัญหา โดยระหว่างวันดัชนี ลดลงต่ำสุดที่ 598.59 จุด ก่อนมาปิดตลาดที่ 601.29 จุด ลดลง 17.68 จุด หรือ ร้อยละ 2.86 ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 10,050 ล้านบาท

นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 425 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิที่ 878 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 1,304 ล้านบาท

นางสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี มองว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรง หลังเจอปัญหาวิกฤติการเงินในยุโรป ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ จึงฉุดให้ตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลง และทำให้ตลาดหุ้นไทยลดลงตาม ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายซบเซา เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังชะลอการลงทุน เพื่อติดตามประเด็นการขออนุมัติแผนช่วยเหลือสถาบันการเงินของรัฐบาลสหรัฐ ที่ยังคงรอข้อสรุปที่แน่ชัด

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันที่ 30 ก.ย. คาดว่าความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนที่เกิดขึ้นจะทำให้ดัชนีตลาดแกว่งตัวผันผวน โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 590-580 จุด และแนวต้าน 613 จุด ส่วนแผนการกอบกู้วิกฤติสหรัฐ มูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น เป็นการช่วยเฉพาะในสหรัฐฯเพียงอย่างเดียว ขณะที่ปัจจุบันปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินได้ลุกลามไปยังยุโรปแล้ว ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้นักลงทุนเทขาย หรือถือเงินสด เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ

. . .



วิกฤติการเงินสหรัฐฯลุกลามกระทบตลาดเงินยุโรป 2 แบงก์ยักษ์ล้ม "เงินปอนด์" ดิ่งต่ำสุดรอบ 15 ปี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เงินปอนด์ร่วงลงมากที่สุดในรอบ 15 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในการซื้อขายวันที่ 29 ก.ย. ส่วนเงินยูโรอ่อนค่าลง หลังจากที่รัฐบาลในประเทศยุโรปต้องเข้ามาซื้อกิจการ เพื่อช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหา ขณะที่นักลงทุนก็ขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินในภูมิภาค

นอกจากนี้ เงินปอนด์ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากที่ฟอร์ติส สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 1 ของเบลเยี่ยมต้องยอมรับความช่วยเหลือมูลค่า 1.12 แสนล้านยูโรจากรัฐบาลเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ขณะที่แบรดฟอร์ด แอนด์ บิงลีย์ สถาบันปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของอังกฤษ ก็ถูกรัฐบาลเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ

แบรดฟอร์ด แอนด์ บิงเลย์ เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อจำนอง ต้องเข้าแผนการแปรรูปกิจการ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินในประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอังกฤษยังมีแผนให้เงินกู้ 1.8 หมื่นล้านปอนด์ (3.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อซานแทนเดอร์ กลุ่มสถาบันการเงินสเปน ในการซื้อสาขา และธุรกิจธนาคารเพื่อรายย่อยของแบรดฟอร์ดฯ

ขณะที่ เงินดอลลาร์แข็งค่าสุดในรอบ 8 สัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินยูโร หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐและผู้นำในสภาคองเกรสสามารถตกลงกันได้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนการช่วยเหลือสถาบันการเงินสหรัฐมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์

นายพอล โรบินสัน นักยุทธศาสตร์สกุลเงินของบาร์เคลย์ส แคปิตอล และอดีตนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางอังกฤษ กล่าวว่า ตอนนี้ไม่ได้มีแต่ข่าวร้ายของชาวอเมริกันเท่านั้น เงินดอลลาร์กำลังแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และยูโร ขณะที่เศรษฐกิจในแถบยุโรปและอังกฤษก็ได้ส่งสัญญาณของความอ่อนตัวมาเรื่อยๆ

เงินปอนด์ร่วงลงถึง 2.3% แตะ 1.8036 ดอลลาร์ต่อปอนด์ จากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 1.8445 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ซึ่งถือเป็นสถิติที่ร่วงมากที่สุดระหว่างวัน นับตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย. 2536 ส่วนเงินยูโรร่วงลงแตะ 1.4362 ดอลลาร์ต่อยูโร จากระดับ 1.4614 ดอลลาร์ต่อยูโร

รัฐบาลของเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ได้เข้ามาช่วยเหลือ "ฟอร์ติส" เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นในธนาคารหลังมีข่าวว่า ธนาคารประสบปัญหาสภาพคล่อง และหุ้นฟอร์ติสก็ร่วงลงถึง 35% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

นอกจากนี้ ธนาคารไฮโปเรียลเอสเตทโฮลดิ้งเอจี ผู้ให้บริการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์รายใหญ่อันดับ 2 ของเยอรมนี ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินจากธนาคารหลายแห่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย ซึ่งเป็นผลกระทบสืบเนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ

ยิ่งไปกว่านั้นตลาดการเงินโลกกำลังวิตกเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ชนิดประกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือ เครดิต ดีฟอลต์ สว็อป (ซีดีเอส) ที่เป็นการตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับประกันการนัดชำระหนี้จากการปล่อยกู้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ตอนนี้มีมูลค่ารวมมากถึง 62 ล้านล้านดอลลาร์ จะกลายเป็นปัญหาใหม่ที่นำไปสู่การเกิดหนี้เสียในระบบอีกจำนวนมาก

. . .



ธนาคารกลางยุโรป ประกาศใช้มาตรการฉุกเฉิน เพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินยุโรป หลังธนาคารชื่อดังหลายแห่งของอังกฤษ ตกอยู่ในสภาวะล้มละลาย

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยว่า อีซีบีเตรียมประกาศใช้มาตรการรีไฟแนนซ์แบบเงื่อนไขพิเศษ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบการธนาคารในยุโรป หลังธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งในอังกฤษ ประสบปัญหาการล้มละลาย และมีแนวโน้มที่จะลุกลามไปยังอีกหลายแห่ง

อีซีบี ยังระบุว่า มาตรการดังกล่าวจะดำเนินการผ่านขั้นตอนการประมูลวงเงินกู้ตามมาตรฐาน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนปรน และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ก.ย. - 7 พ.ย.นี้

. . .

 

โดย: loykratong 29 กันยายน 2551 19:55:33 น.  

 

. . .

สภาฯคว่ำแผนฟื้นฟูภาคเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์

สมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐไม่ผ่านแผนฟื้นฟูภาคการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สภาคองเกรสสหรัฐมีมติไม่รับแผนฟื้นฟูภาคเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ตามที่รัฐบาลสหรัฐยื่นเสนอ โดยภายสมาชิกสภาคองเกรสพิจารณานานหลายชั่วโมง จึงได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 205 เสียง ไม่รับรองร่างกฎหมายแผนฟื้นฟูภาคการเงิน โดยเฉพาะสมาชิกสภาคองเกรสพรรครีพับลิกันที่ส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่เห็นชอบต่อแผนการดังกล่าว

. . .


เปิดแผนฟื้นฟูการเงินสหรัฐฉบับสภาฯคว่ำ

ผู้นำในรัฐสภาสหรัฐเห็นชอบเบื้องต้นที่จะสนับสนุนข้อตกลงอนุญาตให้กระทรวงการคลังเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่มีปัญหาในวงเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตการณ์ในตลาดสินเชื่อทั่วโลก

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : การบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสาระสำคัญของแผนดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (28 ก.ย.) และเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างจัดทำเนื้อหาในขั้นสุดท้าย ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดลงมติรับรองร่างกฎหมายดังกล่าวในวันจันทร์ (29 ก.ย.) และวุฒิสภามีกำหนดลงมติในวันพุธ (1 ต.ค.) ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดสิ้นสุดในวันที่ 31 ธ.ค. 2552 แต่สามารถขยายเวลาออกไปได้มากสุด 2 ปี หากรัฐบาลร้องขอ

ร่างกฎหมาย ซึ่งใช้ชื่อว่า "กฎหมายแผนสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจฉุกเฉิน 2551" ความยาว 106 หน้า ถูกโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของนางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และเว็บไซต์ของคณะกรรมการด้านการเงิน สภา
ผู้แทนราษฎร อันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยหวังแสดงความโปร่งใสเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้

แผนกู้วิกฤติครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภา จะให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวางในการรับซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงินและธนาคารที่ประสบปัญหา เพื่อป้องกันตลาดเงินขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจของสหรัฐต้องล่มสลาย

เนื้อหาของแผนได้รับการปรับแก้เพื่อให้มีความรัดกุมและตรวจสอบได้ โดยจะอนุมัติเงินก้อนแรกเพียง 250,000
ล้านดอลลาร์ทันที และค่อยพิจารณาอนุมัติเงินส่วนที่เหลือในภายหลัง ผู้บริหารของบริษัทที่รับความช่วยเหลือจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีสูงมากจากเงินเดือนที่ได้รับ

รัฐบาลจะต้องได้เข้าถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้ ผู้เสียภาษีจะได้ส่วนแบ่งกำไรเมื่อสถาบันการเงินฟื้นตัว อีกทั้งรัฐบาลจะต้องเข้าช่วยเหลือผู้จำนองบ้านให้รอดพ้นจากการถูกยึดบ้าน และมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานและความโปร่งใส

ต่อไปนี้เป็นสาระสำคัญของมาตรการความช่วยเหลือ ตามที่มีการชี้แจงจากสมาชิกสภานิติบัญญัติ และระบุในร่างกฎหมายขั้นต้น

- รัฐสภาจะแบ่งเบิกจ่ายงบประมาณในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพวงเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ เป็นงวดๆ โดยจะอนุมัติเงินงวดแรก 250,000 ล้านดอลลาร์เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมาย และจะมีการเบิกงบงวดต่อไปอีก 100,000 ล้านดอลลาร์ หากประธานาธิบดีมองว่าเป็นสิ่งจำเป็น ส่วนงวดสุดท้าย 350,000 ล้านดอลลาร์จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติของรัฐสภา

- รัฐบาลจะเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง เพื่อที่ผู้เสียภาษีจะสามารถได้รับส่วนแบ่งกำไร ถ้าบริษัทเหล่านี้ฟื้นตัวขึ้น โดยมีข้อยกเว้นสำหรับสถาบันการเงินที่มีสินทรัพย์น้อยกว่า 500 ล้านดอลลาร์ หรือถ้ารัฐบาลเข้าซื้อธุรกิจที่มีปัญหาในวงเงินต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์

- หากบริษัทได้รับความช่วยเหลือแต่ล้มละลาย นักลงทุนจะเป็นผู้รับผลขาดทุนเป็นลำดับแรก ส่วนรัฐบาลจะเป็นหนึ่ง
ในนักลงทุนรายสุดท้ายที่รับภาระขาดทุน

- คณะกรรมการรัฐสภาชุดใหม่จะมีอำนาจในการกำกับดูแลโครงการนี้ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะทำ
การรายงานเป็นประจำเพื่อยื่นต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติ

- หากกระทรวงการคลังเข้าถือหุ้นในบริษัทใด ผู้บริหารระดับสูงสุด 5 คน ของบริษัทนั้น จะต้องถูกจำกัดการได้รับ
ผลตอบแทน

- ผู้บริหารที่ถูกจ้างภายหลังจากบริษัทการเงินแห่งใดขายสินทรัพย์เป็นมูลค่ามากกว่า 300 ล้านดอลลาร์ให้รัฐบาล
จะไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ หรือค่าตอบแทนภายใต้ข้อตกลงที่เรียกว่า "โกลเดน พาราชูท" ซึ่งหมายถึงข้อ
ตกลงที่จะจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้แก่พนักงานอาวุโสของบริษัท

- มาตรการนี้จะอนุญาตให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มจ่ายดอกเบี้ยให้กับทุนสำรองของธนาคารพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการลดภาวะตึงตัวของตลาดสินเชื่อ

- ให้มีการดำเนินการศึกษาผลกระทบของมาตรฐานการบัญชีแบบ "มาร์ก-ทู-มาร์เก็ต" หรือ การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยให้สะท้อนราคาตลาดที่เป็นธรรม ซึ่งนักวิจารณ์ระบุว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ลดลงในงบดุลบัญชีของภาคธุรกิจ

- รัฐบาลกลางสหรัฐอาจระงับกระบวนการยึดทรัพย์จำนองสำหรับเงินกู้ซื้อบ้านที่รัฐบาลซื้อมาภายใต้แผนดังกล่าว

- ตามแผนการเข้าซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด กระทรวงการคลังสหรัฐจะพิจารณาจัดทำโครงการประกัน ซึ่งจะค้ำประกันเงินกู้ที่มีปัญหา และจะได้รับการชำระจากบรรดาบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ

- หากรัฐบาลประสบภาวะขาดทุนในช่วง 5 ปีของการเข้าร่วมโครงการ กระทรวงการคลังจะร่างแผนเพื่อเรียกเก็บภาษีจากบริษัทต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อชดเชยการขาดทุนของผู้เสียภาษี


. . .

 

โดย: loykratong 30 กันยายน 2551 15:46:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


loykratong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






ไม่มีอะไรขึ้นตลอด
ไม่มีอะไรลงตลอด
...ไม่มี the end of the world ...

Web Site Hit Counters

ราคาทองคำ
 

ราคาทองคำต่างประเทศ



Friends' blogs
[Add loykratong's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.