Group Blog
 
 
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
6 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
...Value Averaging...

Value Averaging เฉลี่ยต้นทุนให้เหนือชั้น


เราอาจไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆกัน ทุกๆงวด เพื่อเฉลี่ยต้นทุนตามวิธี Dollar Cost Averaging ก็สามารถถัวเฉลี่ยต้นทุนได้เช่นกัน และถ้าได้ทดลองดูแล้วจะเห็นว่าวิธี Value Averaging ทำให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่าวิธีแรก

น่าสนใจแล้วใช่ไหม

การลงทุนถัวเฉลี่ย ทั้งวิธี Dollar Cost Averaging และ Value Averaging ใช้เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนการลงทุนในตราสารที่มีความผันผวนของราคาสูง เช่น หุ้น, หน่วยลงทุนของกองทุนหุ้น (Equity Fund), หน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ( Long Term Equity Fund ) หรือ LTF, หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ลงทุนในหุ้นทุน ( Retirement Fund) หรือ RMF, รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดัชนีตลาดหุ้น (SET Index Fund)

การลงทุนวิธี Dollar Cost Averaging เป็นการลงทุนสม่ำเสมอเป็นงวดๆ ด้วยเงินลงทุนจำนวนเท่าๆกันทุกงวด แต่การทยอยลงทุนด้วยวิธี Value Averaging นั้น นักลงทุนจะต้องเพิ่มเงินลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ราคาของหุ้น หรือราคาของหน่วยลงทุนลดต่ำลง และจะใช้เงินลงทุนลดน้อยลง หากราคาหุ้น หรือราคาหน่วยลงทุนเพิ่มสูงขึ้น และในบางงวดลงทุน เราอาจต้องขายหุ้น หรือขายหน่วยลงทุนออกด้วย

แนวคิดของการลงทุนแบบนี้ ก็คือ มองว่าถ้าตลาดตก หุ้นมีราคาตลาดถูกลง แทนที่จะใช้เงินจำนวนเท่าเดิมทุกๆงวดในการซื้อหุ้น เราก็เพิ่มเงินลงทุนเข้าไปเพื่อให้ได้จำนวนหุ้นหรือจำนวนหน่วยลงทุนในตอนที่ราคาต่ำๆ ให้มากขึ้น และหากราคาหุ้นหรือราคาหน่วยลงทุนเพิ่มสูงขึ้น เราก็ไม่ได้ซื้อหุ้นแพงมาเฉลี่ยต้นทุนมากนัก

ในบางกรณีถ้าตลาดขึ้นแรงมากๆ แสดงว่าความเสี่ยงเริ่มเพิ่มสูงขึ้น เราก็อาจไม่ต้องเพิ่มเงินลงทุน หรือขายหุ้นบางส่วนออกมาเพื่อนำเงินไปลงทุนในตลาดอื่นหรือตราสารประเภทอื่นที่ความเสี่ยงต่ำกว่าหรือมีราคาถูกกว่าก็ได้

วิธีทำ Value Averaging ก็ไม่ยาก นักลงทุนต้องกำหนดเป้าหมายการลงทุนว่า มูลค่าพอร์ทลงทุนจะต้องเพิ่มเป็นมูลค่าเท่าๆกันทุกงวดการลงทุน เช่น งวดแรกตั้งเป้าหมายพอร์ทลงทุนไว้ 10,000 บาท งวดถัดไปต้องลงทุนให้มูลค่าพอร์ทลงทุนเพิ่มเป็น 20,000 บาท งวดที่สามต้องเพิ่มเป็น 30,000 บาท มูลค่าพอร์ทลงทุนต้องเพิ่มเป็นจำนวนเท่าๆกันทุกงวดดังนี้

แล้วทำไมเราถึงใช้เงินลงทุนแต่ละงวดไม่เท่ากัน?

ก็เพราะว่าราคาหุ้น หรือราคาหน่วยลงทุนมีขึ้นมีลง ในงวดแรกสมมติว่าราคาหุ้น หรือราคาหน่วยลงทุนเริ่มต้นที่ 10.00 บาท เราใช้เงินลงทุน 10,000 บาท ก็จะได้มา 1,000 หุ้น หรือ 1,000 หน่วยลงทุน (ดูตารางด้านล่างประกอบ) ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายว่าเราจะลงทุนด้วยจำนวนเงินในแต่ละเดือนที่ทำให้มูลค่าพอร์ตของเราทวีขึ้น เดือนละ 10,000 บาท

พอถึงกำหนดต้องลงทุนในงวดที่สอง ราคาหุ้นหรือราคาหน่วยลงทุนลดลงมาเหลือ 8.00 บาท มูลค่าพอร์ทลงทุนของเราก็ลดลงมาเหลือ 8,000 บาท เราต้องลงทุนในงวดที่สอง อีก 12,000 บาท เพื่อให้มูลค่ารวมของพอร์ทลงทุนของเราเพิ่มเป็น 20,000 บาท ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เราจะได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนเพิ่มมาที่ต้นทุน 8.00 บาท อีก 1,500 หุ้น หรือ 1,500 หน่วยลงทุน

พอถึงงวดที่สามมูลค่าพอร์ทลงทุนที่ตั้งไว้ต้องเป็น 30,000 บาท ปรากฏว่าราคาหุ้น หรือราคาหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นไปเป็น 12.50 บาท ทำให้มูลค่าพอร์ทของเราเพิ่มขึ้นมาเป็น 31,250 บาท งวดนี้นอกจากไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มแล้ว เราจะขายออกไป 1,250 บาท เพื่อให้ได้มูลค่าพอร์ทตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้


ตารางที่ 1 ตัวอย่างการลงทุนด้วยวิธี Value Averaging
งวดลงทุน มูลค่าพอร์ทลงทุนตามเป้าหมาย(บาท) ราคาหุ้น หรือราคาหน่วยลงทุน(บาท) จำนวนหุ้น หรือจำนวนหน่วยลงทุนในพอร์ท(หน่วย) จำนวนหุ้น หรือหน่วยลงทุนที่ซื้อเพิ่ม หรือ(ขายออก) จำนวนเงินลงทุน(บาท)
งวดที่ 1 10,000 10.00 1,000 1,000 10,000
งวดที่ 2 20,000 8.00 2,500 1,500 12,000
งวดที่ 3 30,000 12.50 2,400 (100) (1,250)


ถ้างวดใดมูลค่าพอร์ทเพิ่มมากขึ้นจนเราต้องขายหุ้น หรือขายหน่วยลงทุนออกไป แสดงว่าตลาดขึ้นมาแรง ความเสี่ยงเริ่มสูง การไม่ลงทุนเพิ่ม และขายออกมาบางส่วน ทำให้เราสามารถจัดสรรเงินลงทุนไปในตลาดอื่นๆ หรือตราสารประเภทอื่นๆได้

การลงทุนวิธีนี้จะได้ต้นทุนเฉลี่ย 8.65 บาทต่อหน่วย ใช้เงินลงทุน 20,750 บาท ได้หุ้นมา 2,400 หุ้น

ถ้าลองเทียบกับวิธี Dollar Cost Averaging ตามตารางที่ 2 ใช้เงินลงทุนรวม 30,000 บาท ได้หุ้นมา 3,050 หุ้น ต้นทุนเฉลี่ย 9.84 บาท

ตารางที่ 2 ตัวอย่างการลงทุนด้วยวิธี Dollar Cost Averaging
งวดลงทุน จำนวนเงินลงทุนงวดละ(บาท) ราคาหุ้น หรือราคาหน่วยลงทุน(บาท) จำนวนหุ้น หรือหน่วยลงทุนที่ซื้อเพิ่ม จำนวนหุ้น หรือจำนวนหน่วยลงทุนในพอร์ท(หน่วย) มูลค่าพอร์ทลงทุน(บาท)
งวดที่ 1 10,000 10.00 1,000 1,000 10,000
งวดที่ 2 10,000 8.00 1,250 2,250 18,000
งวดที่ 3 10,000 12.50 800 3,050 38,125

อย่างไรก็ตาม การลงทุนด้วยวิธี Dollar Cost Averaging จะเป็นการสะสมการลงทุนต่อเนื่องเป็นงวดๆ ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง จำนวนหุ้น หรือจำนวนหน่วยลงทุนในพอร์ทจะเพิ่มขึ้นทุกๆงวด จะรับรู้กำไรจากลงทุนวิธีนี้ต้องเลือกจังหวะเวลาในการขายออกเมื่อเราพอใจในกำไรที่ได้

ขณะที่วิธี Value Averaging จะมีทั้งการซื้อเพิ่มและขายออกในบางงวด จำนวนหุ้น หรือจำนวนหน่วยลงทุนในพอร์ทจึงมีเพิ่มมีลดตามภาวะตลาด มีการรับรู้กำไรโดยอัตโนมัติ แต่ในระยะยาวมูลค่าพอร์ทก็จะเพิ่มขึ้นเท่าๆกันทุกงวดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้



Create Date : 06 มกราคม 2550
Last Update : 6 มกราคม 2550 2:48:54 น. 1 comments
Counter : 1180 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ

เรื่องยากกว่าคือ เลือก
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

loykratong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






ไม่มีอะไรขึ้นตลอด
ไม่มีอะไรลงตลอด
...ไม่มี the end of the world ...

Web Site Hit Counters

ราคาทองคำ
 

ราคาทองคำต่างประเทศ



Friends' blogs
[Add loykratong's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.