Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
12 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
ผู้บริโภคร้องเรียนร้านค้ากักตุนบุหรี่กว่า 200 ราย

. . .

ผู้บริโภคร้องเรียนร้านค้ากักตุนบุหรี่กว่า 200 ราย

นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ขณะนี้มีประชาชนหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ร้องเรียนผ่านสายด่วนผู้บริโภค 1569 กว่า 200 ราย ว่า ร้านค้าบุหรี่ ไม่ยอมจำหน่ายบุหรี่ ส่วนสุราพบการร้องเรียนไม่มากนัก แต่สำหรับบุหรี่นั้น ร้านค้าตั้งแต่เอเย่นต์ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว และร้านค้าปลีก มีการคาดเดาและมองว่า รัฐบาลจะปรับภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า รวมทั้งชาและกาแฟ มีโอกาสจะปรับภาษีด้วย จึงงดการจำหน่ายและกักตุนสินค้าไว้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมการค้าภายในได้ส่งทีมออกตรวจสอบตามข้อร้องเรียนแล้ว จึงขอเตือนร้านค้าทั่วประเทศที่ยังกักตุน ปฏิเสธการจำหน่ายสินค้าว่า ถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายทำผิดกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ และกรมการค้าภายในยังต้องการข้อมูลต่าง ๆ จึงขอความร่วมมือประชาชน หากพบพฤติกรรมดังกล่าว ขอให้ร้องเรียนได้ทาง 1569
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ หากมีการปรับขึ้นราคาจะถือว่าผิดกฎหมาย เนื่องจาก ต้องรอให้พระราชกำหนดขยายเพดานจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ มีผลบังคับใช้ก่อน เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต สามารถดำเนินการจับกุมได้ทันที ซึ่งจะมีโทษทั้งจำและปรับ แต่เท่าที่ได้รับรายงานจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีร้านสะดวกซื้อรายใด ลักลอบปรับขึ้นราคาล่วงหน้า
ส่วนกรณีปัญหาการกักตุนบุหรี่นั้น เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ในการที่จะตรวจสอบดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป

. . .



ภาษีสรรพสามิตส่งผลให้ราคาเหล้าเบียร์เพิ่มขึ้นขวดละ 4-5 บาท ส่วนภาษีบุหรี่ทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้นซองละ 11-16 บาท


หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ และบรั่นดี ส่งผลให้ราคาขายปลีกเบียร์ปรับเพิ่มขึ้น 4-5 บาท/ขวด, เหล้าขาวปรับขึ้น 1.75-2.00 บาท/ขวด, เหล้าผสมปรับขึ้น 4-5 บาท/ขวด และบรั่นดีเพิ่มขึ้น 19 บาท/ขวด
ราคาเหล้า-เบียร์
ประเภท ราคาเพิ่มขึ้น (บาท/ขวด)
เบียร์ 4-5 บาท
เหล้าขาว 1.75-2.00 บาท
เหล้าผสม 4-5 บาท
บรั่นดี 19 บาท

สำหรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่นั้น ปัจจุบันได้จัดเก็บเต็มเพดานแล้วที่ร้อยละ 80 จึงต้องออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนดขยายเพดานจัดเก็บจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 90 แต่ในเบื้องต้นคาดว่าอัตราภาษีใหม่จะจัดเก็บอยู่ที่ร้อยละ 85 โดยต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาบุหรี่ต่อซองปรับเพิ่มประมาณ 11-16 บาท
สำหรับบุหรี่ไทย เช่น สายฝน กรองทิพย์ กรุงทอง ปรับเพิ่มขึ้นซองละ 11 บาท จากราคาปัจจุบันจำหน่ายซองละ 45 บาท เสียภาษี 23.92 บาท/ซอง ส่วนอัตราใหม่จะเสียภาษีซองละ 34.92 บาท ราคาจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ซองละ 56 บาท
ส่วนบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น แอลแอนด์เอ็ม จะปรับเพิ่มซองละ 12 บาท จาก 49 บาทเป็น 61 บาท และมาร์ลโบโรจะปรับเพิ่มซองละ 16 บาท จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ซองละ 65 บาท เสียภาษีที่ซองละ 32.68 บาท อัตราใหม่จะทำให้เสียภาษีเพิ่มเป็นซองละ 48.60 บาท ราคาขายปลีกจะเพิ่มเป็นซองละ 81 บาท
ราคาบุหรี่
ยี่ห้อ ราคาเดิม (บาท) ราคาใหม่ (บาท)
สายฝน, กรองทิพย์, กรุงทอง 45 56
L&M 49 61
Marlboro 65 81


. . .



ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดจีดีพีไตรมาส 1 อาจติดลบรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวม โดยคาดว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 1/2552 ที่ปรับฤดูกาลแล้ว อาจลดลงประมาณร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นอัตราการติดลบที่ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่ 4/2552 ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลกระทบจากเหตุการณ์ปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่า จีดีพีในไตรมาสที่ 1/2552 อาจหดตัวร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นอัตราติดลบที่สูงขึ้นกว่าในไตรมาสที่ 4/2551 ที่จีดีพีหดตัวร้อยละ 4.3 และเป็นการหดตัวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี

คาดการณ์การขยายตัวของ GDP ไตรมาส 1-2/2552
การขยายตัวของ GDP เทียบกับไตรมาสก่อน เทียบกับปีก่อน
ไตรมาส 1/2552 -1.5% -6.5%
ไตรมาส 1/2552 -0.2% ถึง +1.4% -5.6% ถึง -7.0%

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 2/2552 แม้ว่าในกรณีพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2552 มีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้นกว่าในไตรมาสแรกเล็กน้อย โดยมีปัจจัยบวกจากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก
แต่เศรษฐกิจจะยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากหลายด้าน ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ Influenza A (H1N1) ประกอบกับปัจจัยภายในประเทศยังมีผลกระทบที่ตามมาจากเหตุการณ์จลาจลเมื่อเดือน เม.ย. ซึ่งสร้างความสูญเสียให้แก่ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะมีผลตัดลดจีดีพีในไตรมาสที่ 2/2552 ลงอย่างมาก
โดยรวมแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดการณ์อัตราการเติบโตของจีดีพีของไตรมาสที่ 2/2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อยู่ในช่วงลดลงร้อยละ 0.2 ถึงขยายตัวร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้นหรือค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2552 อาจยังคงหดตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง อยู่ในกรอบประมาณติดลบร้อยละ 5.6-7.0
โดยในกรณีกรอบบนของประมาณการ (GDP ติดลบ 5.6%) ที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นกว่าในไตรมาสแรกนั้น อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและสัญญาณของเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น จะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน
ส่วนในกรณีกรอบล่างของประมาณการ (GDP ติดลบ 7.0%) ที่เศรษฐกิจอาจจะหดตัวสูงขึ้นกว่าในไตรมาสแรกนั้น อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่คาดว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2/2552 ยังหดตัวในอัตราที่สูง ขณะที่การนำเข้าอาจหดตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากระดับสต๊อกสินค้าที่ลดลง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับผลกระทบจากรายได้การท่องเที่ยวที่หายไปหลังเหตุการณ์จลาจลเมื่อเดือน เม.ย. จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก
ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจภายในประเทศยังคงมีความเสี่ยงทั้งจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ ผลกระทบของสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่หดตัวสูงกว่าที่คาด ปัญหาการว่างงาน และข้อจำกัดด้านสถานะการคลังของรัฐบาล ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ อาจจะกดดันให้การบริโภคของภาคเอกชนยังหดตัวสูงขึ้นกว่าในไตรมาสแรก แม้มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ตาม
อย่างไรก็ดี แม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2552 อาจยังไม่ฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนนัก แต่คาดว่าแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราการขยายตัวของจีดีพีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า น่าจะมีทิศทางที่เป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 3/2552 แม้ว่าตัวเลขจีดีพีที่เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจจะยังคงหดตัวก็ตาม แต่ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งทิศทางราคาน้ำมันซึ่งหากปรับตัวสูงขึ้นรวดเร็วเกินไปก็อาจส่งผลกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อและอำนาจซื้อของประชาชน
สำหรับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลนั้น น่าจะตัวแปรสำคัญที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าอยู่ในขณะนี้ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น แต่ผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การหมุนเวียนของการใช้จ่ายและการผลิตในรอบต่อๆ ไปนั้น ยังคงขึ้นอยู่กับปัจจัยความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่รัฐบาลต้องเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอยู่บนปัจจัยพื้นฐานของความสงบเรียบร้อยทางการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสำคัญ

. . .


Create Date : 12 พฤษภาคม 2552
Last Update : 12 พฤษภาคม 2552 19:36:17 น. 0 comments
Counter : 789 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

loykratong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






ไม่มีอะไรขึ้นตลอด
ไม่มีอะไรลงตลอด
...ไม่มี the end of the world ...

Web Site Hit Counters

ราคาทองคำ
 

ราคาทองคำต่างประเทศ



Friends' blogs
[Add loykratong's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.