Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
30 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
. . . สรุปผลการสัมมนาทางวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 5/2551 . . .

. . .

สรุปผลการสัมมนาทางวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 5
ประจำปี 2551 (วันพุธที่ 30 กรกฏาคม 2551)


นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้สรุปผลการสัมมนาวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 ในวันนี้ (30 กรกฎาคม 2551) ดังนี้

1. การสัมมนาครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งจากภาครัฐบาล เอกชน สถาบันการศึกษา เป็นจำนวนมาก โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาในช่วงภาคเช้าเป็นจำนวนกว่า 800 คน

2. สำหรับการสัมมนาในช่วงเช้า แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานสัมมนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษและช่วงที่ 2 เป็นการเสวนาในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ทางเศรษฐกิจ”

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ สรุปได้ดังนี้

• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการจัดสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีความเห็นว่าความรู้นับวันจะทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ขณะเดียวกันทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลง โดยภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการที่ประเทศมหาอำนาจขนาดใหญ่เป็นผู้กำหนดทิศทางมาเป็นเศรษฐกิจโลกแบบพหุภาคีที่ประเทศจำนวนมากร่วมกันกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก ทำให้การบริหารเศรษฐกิจไทยมีความท้าทาย

• ฉะนั้น การเตรียมพร้อมและการวางแผนการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างที่สำคัญมี 3 เรื่อง คือ

3.1 การเปลี่ยนแปลงกระแสโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุน (Financial Globalization)

• การเปลี่ยนแปลงด้านโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุน ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยง การแข่งขันทางการค้า การส่งเสริมการลงทุน การเปิดเสรีทางเงินทุน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในภูมิภาค

• ทั้งนี้รัฐบาลไทยต้องมีการบริหารจัดการและป้องกันความเสี่ยงการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเป็นระบบภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด โดยการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารเงินออมและทรัพยสินของประเทศโดยรวมทั้งการบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสร้างความโปร่งใส ธรรมมาภิบาลและความสอดคล้องกับการรักษาความสมดุลด้านเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund

3.2 การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากร

• โครงสร้างประชากรอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะเข้าสู่ Old Aging Society ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณที่ลดลงของแรงงานวัยทำงานในประเทศ ทำให้อาจจะต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าว (ที่ไม่มีฝีมือ) มากยิ่งขึ้น ซึ่งในแง่ของภาคการคลังนั้น อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการคลัง และเป็นภาระต่อการจัดสรรงบประมาณ ดังนั้นรัฐจำเป็นต้องต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้เร็วและสอดคล้องกับความท้าทายด้านโครงสร้างประชากรดังกล่าว

• ดังนั้น ภาคการคลังต้องสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้สูงอายุ ผ่านการบริหารเงินออม โดยการจัดตั้งกองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และเศรษฐกิจ ดังกล่าว


3.3 การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม (สภาวะโลกร้อน)

• นโยบายสิ่งแวดล้อมต้องได้รับความร่วมมือในวงกว้างรวมถึงจากผู้กำหนดนโยบายด้านการคลังด้วย

• เน้นการมีนโยบายด้านการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว ผ่านการเก็บภาษีเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการผลิตไปสู่การใช้พลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพ และการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบการขนส่งขนาดใหญ่


4. ต่อจากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ทางเศรษฐกิจ” ซึ่งสรุปได้ดังนี้
นางพรรณี สถาวโรดม
• ผลกระทบต่อภูมิทัศน์เศรษฐกิจไทยสามารถแบ่งได้เป็น

• ปัจจัยภายนอกประเทศ 4 ด้าน
o ปัจจัยด้านการค้าและการลงทุน มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การค้าในภูมิภาคมากขึ้น ทำให้ไทยยังสามารถส่งออกได้ดี นอกจากนั้นการพัฒนาการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ ($100,000 ล้าน) ที่ควรต้องมีการบริหารผ่าน Sovereign Wealth Fund
o ปัจจัยด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุน มีการเพิ่มขึ้นสูงประมาณ 1 เท่าทุก 5 ปี-แต่การขยายตัวทางการค้ามีอัตราต่ำกว่ามาก
o เทคโนโลยี ความสามารถในการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประเทศไทยมีการซึมซับได้น้อย
o การพัฒนาคน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

• ปัจจัยจากภายในประเทศ
o ปัจจัยด้านอาหารพลังงาน น้ำมันมีความผันผวนสูงอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากการตึงตัวด้านอุปทานของน้ำมัน และจากการเก็งกำไรในตลาดรอง ในระยะยาวราคาน้ำมันคงผันผวนอยู่ในระดับสูง ดังนั้นรัฐควรมุ่งหาพลังงานทดแทนที่สะอาดและปลอดภัย ควบคู่ไปกับการประหยัดการใช้พลังงาน ส่วนปัจจัยด้านอาหารนั้น ปัจจุบันอาหารมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณการผลิตมีแนวโน้มลดลง เหตุจากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการใช้พื้นที่เพาะปลูกที่ขยายตัวจาก sector พลังงาน ซึ่งผลของราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาวะเงินเฟ้อของรัฐด้วยอีกทางหนึ่ง
o ความท้าทายด้านโครงสร้างประชากร Old Aging Society ที่มีจำนวนวัยชรามากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาระทางการคลังของรัฐและปัญหาการขยายตัวของชุมชนเมืองเนื่องจากมีการย้ายแรงงานเข้าสู่เมือง จึงก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้น
• ทั้งนี้ สศค ยังคงคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังของปี 2551 เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 5.5 ซึ่งทั้งปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ
ร้อยละ 5.6

. . .


ดร. วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


• การบริหารด้านเศรษฐกิจมหภาค
o การส่งออกของประเทศไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งปริมาณการส่งออกมิได้เพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นของราคา โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตามควรตระหนักถึงวัฏจักรราคาของสินค้าเกษตร ประกอบกับรายจ่ายจากการนำเข้าด้านสินค้าพลังงานมีสูงขึ้น ซึ่งกระทบไปถึงความผันผวนด้านการเงิน อัตราดอกเบี้ย ต้นทุนราคาสินค้า และอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งผลสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ
o เห็นด้วยกับมาตรการ 6 มาตรการของกระทรวงการคลังในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ มิใช่การขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากรัฐยังมีศักยภาพจากเงินทุนสำรองที่สถานะดี วินัยการคลังดี ทำให้รัฐสามารถทำงบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
o เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย นำเสนอแนวคิดนอกกรอบจากทฤษฎีที่ปฏิบัติอยู่ โดยต้องมีการวิเคราะห์สถาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงว่าเงินเฟ้อมีสาเหตุจากอะไร
o การมองฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ และดุลบัญชีเดินสะพัดมีความสำคัญ แต่ต้องคำนึงถึงสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย โดยเน้นการไม่แทรกแซงด้านอุปสงค์โดยเฉพาะการส่งออกที่กำลังขยายตัว และการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม

• เนื่องจากประเทศไทยต้องพึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งดังกล่าว ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีแผนพลังงานระยะปานกลางและระยะยาว อย่างชัดเจนและเร่งด่วน

. . .


นายนิพัทธ พุกกะณะสุต


• ปัญหาหลักของการบริหารเศรษฐกิจไทย ยังคงมุ่งการเติบโตที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม แต่ปัญหาต่อมาคือ จะบริหารเศรษฐกิจไทยต่อไปอย่างไร โดยควรปรับโครงสร้างการบริหารเศรษฐกิจของประเทศใน 3 ด้าน คือ

o ต้องมีการปรับ Mind Set ของผู้บริหารประเทศ และประชาชน ในการเข้าใจสภาพปัญหาของประเทศ อย่างแท้จริง
o การขาดเอกภาพและความชัดเจนในการมองเศรษฐกิจของประเทศของประเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้การกำหนดนโยบายการเงิน และการคลังของประเทศ ขาดความสอดคล้องกัน
o การไหลเข้าและออกของเงินทุน Capital Flow ที่รวดเร็ว ทำให้การพึ่งพาเงินกู้จาก IMF และ World Bank เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องให้ความสำคัญแก่ Hedge Funds และ Multi national ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม พร้อมทั้งต้องรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท ดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับสมดุล หากต้องมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต้องไม่เกินร้อยละ 2.5 ต่อ GDP นอกจากนั้นต้องมีการวางกรอบกฏกติกา ที่มีความชัดเจนและสอดคล้องระหว่างภาคส่วนต่างๆ

• สิ่งที่ควรทำในอนาคต คือ ต้องมีการบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และเสนอให้มีองค์กร (Financial Service Authority) เพื่อประสานนโยบายด้านการเงินการคลังของประเทศที่สอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• เสนอให้มีการจัดทำแผนการระดมเงินของประเทศ (National Plan) ในเรื่องบทบาทการลงทุนของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ Mega Project
• ปัญหาหลักด้าน Aging Society ที่ทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยงการสร้างบุคคลากรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากประชากรที่จะเข้าสู่วัยชรามาสู่ประชากรวัยทำงาน ของหน่วยงานต่างๆ ที่ชัดเจน หรือการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาบริหารในกรณีที่ไม่มีองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างเพียงพอ

. . .


นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์

• ประเทศไทยมีการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมากทำให้เกิดความเสี่ยงสูง ขณะเดียวกันการอุดหนุนแทรกแซงราคาพลังงานประเภทต่างๆ ทำได้ยากในระยะยาว
• ทางออกของวิกฤติพลังงานต้องพึ่ง Demand Side คือการลดการใช้ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการตึงตัวด้านอุปทานน้ำมันดิบสำรอง
• ความต่อเนื่องของการปฏิบัติ/สนับสนุนด้านพลังงานของประเทศ ยังขาดความต่อเนื่อง โดยควรต้องเน้นประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงควบคู่กับความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยปรับจากการใช้ถ่านหินไปสู่การใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม การปรับปรุงด้านภาคขนส่งโดยเน้น Mass Transit เป็นหลัก และที่สำคัญต้องเน้นการใช้ LPG ในด้านอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าการใช้ในรถยนต์ โดยแหล่งพลังงานในรถยนต์ต้องหันมาใช้ E 10 E 20 และการใช้ CNG ควบคู่กันไป

. . .


Mr Richard Pyvis

• ผลกระทบต่อประเทศไทยมีหลายด้านจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังชลอตัวและอัตราเงินเฟ้อสูง จากการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน และผลกระทบของ FDI จากญี่ปุ่น
• ต้องสร้างประสิทธิภาพแก่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งด้านการสร้างประสิทธิภาพแก่โครงสร้างพื้นฐาน การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคชนบทของประเทศต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในด้านการลงทุนโดยทำให้มีส่วนร่วมใน Formal Economy มากขึ้น และที่สำคัญคือต้องสร้างระบบการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจ
• ในด้าน Comparative Advantage ประเทศต้องปรับปรุง ด้านที่ประเทศมีความได้เปรียบอยู่แล้ว เช่น ภาคบริการ และภาคการผลิตเชิงบูรณาการ (OTOP) เพื่อเสริมความเข้มแข็งของภาคท้องถิ่น โดยต้องสนับสนุนการเข้าถึงตลาด เช่น การขยายตลาดสู่จีนที่มีกำลังซื้อสูง การพัฒนาระบบรางต้องทำอย่างเร่งด่วน
• ต้องดึงดูด Capital ผ่านการดูแลความสามารถในการทำกำไรของผู้ลงทุน ผ่านการสร้างตลาดทุนที่มีความเสรีมากขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการระดมทุน เนื่องจากเป็น Driving Force ที่สำคัญ นอกจากนั้นรัฐต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการเก็บ Foreign Capital ให้อยู่ในประเทศให้นานขึ้นผ่านการมีกฏระเบียบที่ชัดเจน และตรวจสอบได้


. . .


Create Date : 30 กรกฎาคม 2551
Last Update : 30 กรกฎาคม 2551 17:47:00 น. 1 comments
Counter : 451 Pageviews.

 

ขอบคุณข่าวเศรษฐกิจดีๆ ค่ะ

ยอดตกแล้วตกอีกค่ะ ผจก. เปรยๆ เลยบอกว่าก็บอกผู้ใหญ่ไปสิช่วงนี้เศรษฐกิจขาลงน่าจะเข้าใจ อิอิอิ ผจก. เลยบอกว่างั้นคราวหน้าเข้าประชุมแทนด้วยนะ .....55555.....




โดย: ทิวาจรดราตรี วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:09:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

loykratong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






ไม่มีอะไรขึ้นตลอด
ไม่มีอะไรลงตลอด
...ไม่มี the end of the world ...

Web Site Hit Counters

ราคาทองคำ
 

ราคาทองคำต่างประเทศ



Friends' blogs
[Add loykratong's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.