<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 พฤษภาคม 2556
 

อาทิตย์อุทัยดั่งสายฟ้า...เสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำแคว

เพราะละครเรื่อง "บุญผ่อง" แท้ๆ ทำให้เราเกิดนึกอยากอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมา
สมัยเรียนหนังสือก็เคยเรียนเรื่องนี้อยู่นะ แต่น้ำหนักและรายละเอียดของเรื่องราวไปตกอยู่กับ "ฮิตเลอร์และยิว" 
เรื่องฝั่งไทยก็ได้รู้ถึงเหตุการณ์ความเกี่ยว ความรักชาติ เสรีไทย คู่กรรม และ "สะพานมรณะ"
นึกขึ้นได้ว่า ตัวเองเก็บดองหนังสือเล่มนี้ไว้อยู่นานพอสมควรแล้ว 
จึงไปหยิบลงมาอ่านให้รู้เรื่องกันไปซะที 

อาทิตย์อุทัยดั่งสายฟ้า 
AND THE DAWN CAME UP LIKE THUNDER



เขียนโดย : ลีโอ รอว์ลิ่งส์
แปลโดย : ปาริฉัตร เสมอแข
สำนักพิมพ์ผีเสื้อ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปกอ่อน)  มกราคม 2552
จำนวน 408 หน้า / ราคา 297 บาท
ซื้อเมื่อ : 18 เมษายน2552 


:: โปรยหน้ารองปก :: 

จากฅนนับพันๆ ซึ่งเดิน ทำงาน และรอดชีวิต
ในหุบเขาแห่งเงามฤตยู
ยังมีฅนผู้หนึ่งซึ่งเดิน ทำงาน และรอดชีวิตดุจกัน
ได้บันทึกความของตน ความทรมารที่ได้เห็น
วีรกรรม -- ความจริงอันเหลือเชื่อ
เพื่อที่ฅนอื่นจักพึงเข้าใจ
และจดจำผู้สละชีวิตแทนพวกเขาได้ 

:: คำอธิบายถึงหนังสือจากเวปไซค์สำนักพิมพ์ผีเสื้อ :: 

สงครามโลกครั้งที่สอง ณ บริเวณซึ่งอาจเรียกได้ว่า "สมรภูมิ" จังหวัดกาญจนบุรี ของประเทศไทย
ที่ซึ่งทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล้มตายไปจำนวนมาก อันเนื่องมาแต่การสร้างทางรถไฟสายสยาม-พม่า
ซึ่งต้องผ่านป่าเขาและหุบเหว ตามคำบงการของกองทัพญี่ปุ่น
เหตุการณ์ในประเทศไทยครั้งนั้น ได้เกิดวีรบุรุษขึ้นมา
และคนหนึ่งคือ ลีโอ รอว์ลิ่งส์ ผู้หาญกล้าวาดรูปใส่กระดษาเท่าที่พอหาได้
ด้วยสีธรรมชาติจำนวนนับร้อยภาพ แอบซ่อนไว้แม้ยามระหกระเหิน กระทั่งสิ้นสุดสงคราม



ผู้เขียนเป็นหนุ่มวัยเพียงยี่สิบต้นที่ถูกเกณฑ์เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 
นายทหารชั้นผู้น้อยนี้ หวังจะเป็น "นักวาดภาพสงคราม" จากการเข้าร่วมสงคราม 
จากทหาร เขากลายสภาพเป็น "เชลยศึก" เมื่ออังกฤษไม่สามารถต้านทานการรุกที่แขงแกร่งจากญี่ปุ่นได้ 
เกาะสิงคโปร์ถูกตีแตก  เชลยถูกเกณฑ์ขึ้นเหนือ เพื่อช่วยกันสร้าง "ทางรถไฟสายย่างกุ้ง-บางกอก" 

ความโหดร้าย ความทรมาน ความทุกข์ยาก ที่ตัวเขาและเพื่อนร่วมชะตากรรมได้ประสบ
ถูกบันทึกออกมาเป็นภาพ และเก็บซ่อนไว้เรื่อยๆ จนกระทั่งสงครามสงบ และฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะ

สงครามจบ เชลยเป็นอิสระ แต่ความทรงจำไม่เลือนหาย และไม่สามารถเลือนหายไปได้เลย
ผู้เขียนตั้งใจถ่ายทอดความรู้สึกด้วยตัวอักษร เพื่ออธิบายเพิ่มเติมจากบันทึกภาพวาดนั้น 
โดยไม่ผ่านระบบบรรณาธิการ เนื่องจากไม่ต้องการให้หนังสือของตัวเองเป็น "วรรณกรรม" 
แต่นี่คือ "บันทึกความเป็นจริงของเชลยศึก" 


มาย้อนคิดดูแล้ว  ประเทศไทยก็ต้องขอบคุณเชลยศึกและทหารญี่ปุ่น
ที่สร้างสรรค์ผลงาน "ทางรถไฟสายมรณะ" เส้นนี้ได้สำเร็จ 
ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่วิศวกรชาวญีปุ่นจะจินตนานไปถึง ทางรถไฟเลียบเขา ริมแม่น้ำแควได้อย่างนี้
และไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน ที่ทหารญี่ปุ่นต้องเคี่ยวเข็ญและบังคับให้เชลยศึกทั้งหลาย สร้างทางรถไฟให้เสร็จทันกำหนด
นั่นทำให้ "ความโหดร้ายทารุญ" ถูกทหารญี่ปุ่นดึงออกมาบังคับ ขู่เข็ญ ลงโทษแก่เชลยศึกเหล่านั้น 

ป่าเมืองร้อน บ้านเมืองที่ไม่คุ้นเคย อาหารไม่เพียงพอ โรคระบาด และโรคแปลก รวมทั้งไม่มี "ยา"  
ทำให้เชลยศึกชาวตะวันตกล้มตายลงไปเรื่อยๆ  คนที่อยู่อ่อนแอเจ็บไข้ปางตายก็ต้องออกไปทำงาน 
หากตายลง ศพก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัสดุสร้างทางนั่นแหละ  

เราอ่านหนังสือ ดูภาพที่ตีพิมพ์ประกอบไว้ ด้วยความหดหู่
ละคร ถ่ายทอดภาพในจินตนาการให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น 

สงคราม โหดร้ายเสมอ....แต่มนุษยโลกในปัจจุบัน ก็กำลังแสวงหาสงครามอยู่เรื่อยไป 


ปล. 

อ่านคำอธิบายถึงหนังสือ โดย สำนักพิมพ์  >>  ที่นี่
ผลงานภาพเขียนของลีโอ รอว์ลิ่งส์ >>  ที่นี่  และ >>  ที่นี่




Create Date : 19 พฤษภาคม 2556
Last Update : 19 พฤษภาคม 2556 20:45:29 น. 2 comments
Counter : 3813 Pageviews.  
 
 
 
 
ชื่อหนังสือกับหน้าปก
แทบจะไม่บอกให้รู้เลยนะคะว่าเรื่องราวในเล่มเกิดขึ้นที่บ้านเรา

 
 

โดย: เหมือนพระจันทร์ วันที่: 21 พฤษภาคม 2556 เวลา:19:32:31 น.  

 
 
 
คุณตูน >> เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจค่ะ
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 8 มิถุนายน 2556 เวลา:7:33:23 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com