<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 มีนาคม 2556
 

Young = ยัง = เฟื้อ หริพิทักษ์

สืบเนื่องจากกิจกรรม Blind Date with a Book โดย The Reading Room
ซึ่งเราได้ "คู่เดต" กลับมานั่งอ่าน นอนอ่าน พกไปอ่าน ก็คือ 

ยังเฟื้อ = Young Fua  : นรา



สำนักพิมพ์ openbooks พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2554 
จำนวน 296 หน้า / ราคา 265  บาท

:: โปรยปกหลัง :: 
อาจารย์เฟื้อได้รับเกียรติยศยิ่งใหญ่ในชีวิตสมถะเท่าที่พึงรับได้ คือได้รางวัลแมกไซไซ
ได้รางวัลศิลปินแห่งชาติ ได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ผมมีความรู้สึกว่ารางวัลต่างๆ ที่อาจารย์ได้รับในชีวิตนั้น ไม่มีรางวัลไหนยิ่งใหญ่กว่าอาจารย์เฟื้อ
ความยิ่งใหญ่ของอาจารย์เฟื้อนั้นมีอยู่สามประการ เป็นความยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้
อย่างแรกคือ อาจารย์เฟื้อเป็นครูศิลปะยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการศิลปะสมัยใหม่ในเมืองไทย
อย่างที่สองคือ อาจารย์เฟื้อเป็นนักอนุรักษ์งานจิตรกรรมฝาผนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
อย่างที่สามคือ อาจารย์เฟื้อเป็นอิมเพรสชั่นนิสต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย 

วาณิช จรุงกิจอนันต์ 

นับแต่แรกเห็นหนังสือเล่มนี้ เราก็รู้สึกแล้วว่า "น่าสนใจ" แต่เราก็ไม่ได้ซื้อมาอ่านซะที 
ดังนั้ พอเปิดห่อกระดาษออกมาเจอปกนี้ เราก็เลย "ถูกใจ" และแอบชมตัวเองที่อ่านคำใบ้
แล้ว "เดา" ไว้ในใจว่าน่าจะเป็นเล่มนี้แหละ  หนังสือที่กำลังอยากอ่าน 

พออ่านจบ ก็ต้องกระตุ้นตัวเองว่า ไม่ต้องรีรอไปหาในร้าน 50% หรือราคาพิเศษมากๆ หรอก  ...ซื้อซะ
เพราะนอกจากจะได้อ่านเรื่องแล้ว ....ภาพประกอบเป็นภาพผลงานของอาจารย์เฟื้อมากมายหลายภาพ  ก็คุ้มค่าแล้ว

หนังสือเล่มนี้เป็นการนำบทความที่เผยแพร่ใน //www.manageronline.com  ทุกวันจันทร์
ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน  25552 - 25 กุมภาพันธ์ 2553  จากนั้นจึงนำต้นฉบับมาขัดเกลา เพื่อตีพิมพ์เป็นเล่ม 
เป็นงานเขียนที่ผู้เขียนเล่าว่า 
"...เริ่มต้นจากความว่างเปล่า ไม่ได้ตระเตรียมข้อมูลใดๆ ล่วงหน้ามาก่อน...
การทำงานจึงเริ่มต้นแบบคู่ขนาน ด้านหนึ่งก็ลงมือเขียน
อีกด้านหนึ่งก็เข้าห้องสมุดค้นหาข้อมูลไปด้วยพร้อมๆ กัน..." 

เป็นวิธีการเขียนแบบที่เราถนัดเลยนะเนี่ย นึกอยากเขียนก็ลงมือเขียนพร้อมๆ กับ search ข้อมูลประกอบไปด้วย 

ผู้เขียนแบ่งเรื่องราวชีวิตของบรมครู ออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาคต้น เขียนถึงวัยเด็ก เล่าเรียนหนังสือ เรียนการเขียนภาพแบบสมัยใหม่ 
ไปเรียนถึงอินเดีย แต่ต้องไปอยู่ค่ายกักกันเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 
กลับมาพบรัก เลิกรัก และมีรักใหม่ ไปเรียนที่อิตาลี 
ช่วงแรกเป็นชีวิตในการแวดวงของศิลปะสมัยใหม่ทั้งสิ้น 
ภาคจบ เขียนถึงเรื่องงาน "อนุรักษ์และฟื้นฟูจิตรกรรมฝาผนัง" ที่อาจารย์เฟื้อได้ทำไว้
ชีวิตช่วงนี้ เป็นภาคของการทำงานอุทิศชีวิตเพื่อศิลปะไทยโดยแท้
บรมครูบุกปั่น ค้นคว้า และดั้นด้นไปค้นหาภาพจิตรกรรมฝีมือช่างโบราณในวัดต่างๆ 
มีการคัดลอกภาพออก ทำให้เราได้เห็นงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนปลาย เรื่อยมาถึงรัตนโกสินทร์
และภาพในบ้างวัด ก็สูญสลายผุพังไปตามกาลเวลา คงเหลือแต่ภาพคัดลอกผลงานของท่านอาจารย์
ที่เรายังสามารถไปดูได้ที่ "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์" 

"ในส่วนการบูรณะหรืออนุรักษ์งานที่มีคุณค่าศิลปะนั้นมีหลายขั้นตอน
ที่สำคัญเราต้องรู้คุณค่างานศิลปวัตถุนั้นก่อน  ว่ามีคุณค่าแค่ไหน
บางอันมีคุณค่าสูงสุด ถือกันว่าเป็นงานฝีมือขั้นปรมาจารย์ กระทบไม่ได้เลย
โดยเฉพาะถ้าเราไปเสริมก็เหมือนกับไปเพิ่มเติม" 

ผลงานอนุรักษ์งานจิตรกรรมของอาจารย์เฟื้อในวัดต่างๆ นั้นมีบอกเล่าไว้ทั้งหมดแล้วในหนังสือเล่มนี้
ต่อไปเวลาเราไป "เที่ยววัด" เราก็จะมีจุดมุ่งหมายอีกประการคือ 
ดูภาพด้วยความเคารพผู้สร้างสรรค์ และผู้อนุรักษ์ไว้ 
แม้ว่าเราจะไม่ลึกซึ้งขนาดบอกว่า ลายเส้นอ่อนช้อย ใช้สีสุดยอด ลงสีเรียบเนียน 
แต่เราก็จะดูงานศิลปะด้วยความรักและเคารพยิ่งขึ้น 
ศิลปะ ไม่ต้องเข้าใจเนื้อหามากก็ได้ เพียงดูด้วยตา สัมผัสด้วยใจ
สมองอ่ะ คิดทีหลังก็ได้นะ 


แม้ว่าผู้เขียนจะเล่าเรื่องด้วยสำนวนของตนบ้าง ด้วยการยกคำกล่าวของท่านอาจารย์ที่เคยให้สัมภาษณ์
ในบทความต่างๆ หรือจากรายงานค้นคว้าวิจัยมาบ้าง 
แต่ก็ได้ไล่เรียงลำดับเรื่องราวไปตามช่วงชีวิตของท่าน 
หนังสือเล่มนี้ จึงทำให้ภาพเลือนลางของ "อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์" ในมโนภาพของเรา 
ชัดเจน แจ่มแจ้ง เหมือนเคยรู้จัก เหมือนว่าเราเป็น "ศิษย์" ของท่านคนนึง

เอาเป็นว่า หากอยากรู้จักอาจารย์เฟื้อ ก็อ่านเล่มนี้ 
อยากรู้การบูรณะและอนุรักษ์งานจิตรกรรมฝาผนัง ก็อ่านเล่มนี้ 
อ่านจบแล้ว เชื่อว่าคุณจะรักงานจิตรกรรมไทยขึ้นอีกเยอะเลย

สุดท้ายแล้ว แถมภาพจิตรกรรมฝาผนังบนหอไตร วัดระฆังโฆษิตาราม
ที่อาจารย์เฟื้อใช้เวลาเกือบ 20 ปีให้การบรูณะ ฟื้นฟู และอนุรักษ์ไว้ทั้งน้ำตา
กราบขอบพระคุณศิลปินใหญ่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ที่ยืนยัดรักษาผลงานช่างโบราณไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชมและศึกษา


หอไตร บริเวณข้างวิหาร


ผนังหลังภาพพระบรมสาทิศลักษณ์มีภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์


บานหน้าต่างที่อาจารย์เฟื้อนำกลับไปขัดจนกระทั่งมองเห็นลายปรากฎขึ้นมา เป็นภาพเทวดถือพระขรรค์


ภาพช้างตระกูลต่างๆ บนผนังด้านหนึ่งภายในหอไตร


ภาพเทพชุมนุม



ข้อมูลประวัติ อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ >> คลิก 




Create Date : 06 มีนาคม 2556
Last Update : 20 มีนาคม 2556 22:51:49 น. 2 comments
Counter : 2737 Pageviews.  
 
 
 
 
เห็นด้วยเลยค่าคุณนัทธ์

ศิลปะมีหลายขั้นตอนและคุณค่า
ก่อนจะเลือกบูรณะอะไรให้ศึกษาให้ดีดีก่อน

บางทีรินเห็นเค้าบูรณะ กลายพันธุ์ไปเลยก็มีค่า
ไม่เหลือเค้าให้เห็นความโบราณเลย
ศิลปะหายไปหมดจริงๆ





 
 

โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 6 มีนาคม 2556 เวลา:14:27:06 น.  

 
 
 


ขอบคุณที่ไปบอกเล่าเก้าสิบบล็อกเล่าเรื่องล้อคอินไว้
ของแต่ละคนน่าสนใจถึงที่ไปที่มาจริงๆค่า
ของคุณนัทธ์ เรียกว่าความผูกพัน ตรงตัวใช่เลยค่า ^^



ชายทะเล ชายหาด ปราณบุรี
และรีสอร์ทที่หลายคนกำลังจับตามองในขณะนี้
ปราณบุรี คาบาน่า รีสอร์ท




กับนักรีวิวภูธร RinSa YoyoLive เจ้าเดิม อิอิ


 
 

โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 6 มีนาคม 2556 เวลา:14:27:38 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com