Group Blog
All Blog
### เรื่องของความจริงกับความจำ ###









“เรื่องของความจริงกับความจำ”

เรื่องของความจริงกับความจำ

 ธรรมะที่ได้ศึกษาในเบื้องต้นจะเป็นความจำก่อน

 ถ้าไม่เอามาพิจารณาอย่างต่อเนื่องจะเลือนรางไป

 ได้มาฟังเทศน์กันหลายครั้งแล้ว

 พอกลับไปไม่กี่วันก็หายไปหมด

จำไม่ได้เลยว่าพูดอะไรบ้าง ก็ต้องกลับมาฟังใหม่

ฟังแล้วกลับไปก็เหมือนเดิม

อาทิตย์ที่แล้วได้ฟังอะไรไปบ้าง จำได้หรือเปล่า

 นี่ก็กลับมาฟังใหม่อีก ก็ฟังเรื่องเก่าอีก

 เรื่องกิเลสตัณหา เรื่องสติปัญญา ซ้ำแล้วซ้ำอีก

 ก็ยังไม่เข้าไปในใจ ฟังแล้วก็ลืม

ถ้าไม่เอามาคิดอยู่เรื่อยๆก็จะลืม

ถ้าเอามาพิจารณาอย่างต่อเนื่องจะไม่ลืม

เหมือนกับท่องสูตรคูณ หรือพิมพ์ดีดสัมผัส

ถ้าพิมพ์อยู่เรื่อยๆก็จะจำได้

 แต่ถ้าหยุดพิมพ์ไปสักพักหนึ่ง เวลาจะพิมพ์ใหม่

จะไม่มั่นใจว่าจะพิมพ์ได้หรือไม่

 ถ้าไม่ทำอยู่เรื่อยๆ ก็จะลืมได้

จึงต้องนำเอาธรรมที่ได้ยินได้ฟังให้ฝังอยู่ในใจ

ให้เป็นความจริง ด้วยการพิจารณาอย่างต่อเนื่อง

ต้องเห็นทุกข์จริงๆ เช่นเวลาเครียดก็ต้องพิจารณาว่า

 เครียดกับเรื่องอะไร พิจารณาให้เห็นว่า

 ความอยากเป็นเหตุที่ทำให้เครียด

แล้วก็พิจารณาให้เห็นว่า ไม่สามารถสั่ง

ห้สิ่งที่เราอยากได้ เป็นไปตามความอยากเสมอไป

เช่นอยากให้คนนี้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

พิจารณาดูก็จะเห็นว่าเปลี่ยนเขาไม่ได้

ให้เขาเป็นอย่างที่เราต้องการไม่ได้ ทุกข์ไปทำไม

 ถ้าไม่อยากทุกข์ก็หยุดความอยาก ทุกข์ก็จะดับไป

เช่นแฟนอยากจะจากเราไป ก็ให้เขาไป

จะหายเครียดหายทุกข์ ถ้าอยากให้เขาอยู่ ก็จะเครียด

แฟนป่วยเป็นโรคร้ายรักษาไม่หาย แต่อยากให้เขาหาย

อยากจะให้เขาอยู่กับเราต่อไป ก็จะเครียด

พอพิจารณาด้วยปัญญาว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา

 ไม่สามารถห้ามการป่วยการตายของเขาได้

พอยอมรับความจริง หยุดความอยาก

ความเครียดก็จะหายไป ก็จะจำไปฝังใจเลย จะไม่ลืม

เพราะเป็นความจริง

รู้แล้วว่าวิธีดับความเครียด ดับความทุกข์

ก็คือการหยุดความอยาก ร่างกายของคนอื่น

ไม่สำคัญเท่าร่างกายของเรา เวลาเผชิญความตาย

 แล้วหยุดความอยากไม่ตายได้ จะหายทุกข์เลย

 ยอมตายได้เมื่อไหร่จะหายทุกข์ทันที

ใจจะเย็นจะสงบเป็นอุเบกขา จะมีความสุข

ทั้งๆที่จะตายกลับมีความสุข เพราะพิจารณาด้วยปัญญา

 ว่าร่างกายเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราของเรา

เราไปห้ามร่างกายไม่ได้ ร่างกายจะแก่จะเจ็บจะตาย

 ถ้าอยากให้ร่างกายไม่ตาย จะเครียดมากจะทุกข์มาก

 แต่พอยอมรับความจริงว่า ถึงเวลาแล้วที่ร่างกายต้องตาย

 จะตายก็ให้ตายไป พอหยุดความอยากไม่ตายได้

ยอมตายได้ จิตก็จะดิ่งเข้าสู่ความสงบเป็นอุเบกขาทันที

ปล่อยวางร่างกายทันที นี่คือการทำงาน

ของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

จะเห็นอย่างชัดเจนภายในใจ

ถ้าเห็นอย่างนี้แล้วจะไม่มีวันลืม พอไม่กลัวตายแล้ว

ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้ ก็ไม่กลัวตายอยู่เหมือนเดิม

รู้จักวิธีปล่อยร่างกายแล้ว รู้จักวิธีทำให้ใจไม่ทุกข์

กับความตายของร่างกายแล้ว

นี่คือการเห็นอริยสัจ ๔ ที่จะไม่มีวันลืม

 จะอยู่ติดไปกับใจไปตลอดทุกภพทุกชาติ

 ถ้ายังไม่สิ้นสุดเวียนว่ายตายเกิด

 เช่นพระโสดาบัน ท่านจะกลับมาเกิดอีกกี่ชาติ

ท่านก็จะไม่กลัวความแก่ความเจ็บความตาย ท่านปลงได้

พอเห็นคนตายปั๊บ จะพิจารณาร่างกายของท่านทันที

ว่าร่างกายของเราก็ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน

 ไปหยุดร่างกายไม่ได้ พอรู้ว่าหยุดไม่ได้

ก็จะหยุดความอยากไม่ตาย

 พอไม่มีความอยากไม่ตาย ก็จะไม่ทุกข์ใจ

ไม่เครียดกับความตาย

 นี่คือเรื่องของความจริงกับความจำ

ตอนนี้ธรรมของพวกเรายังเป็นความจำอยู่

เพราะยังไม่เจอความทุกข์จริงๆ

ความทุกข์ที่เกิดจากความอยากไม่ตาย

ต้องเผชิญกับความตายจริงๆ ถึงจะรู้ว่า

ทำนิโรธให้แจ้งได้หรือไม่ ปล่อยวางร่างกายได้หรือไม่

 เห็นอนิจจังทุกขังอนัตตาหรือไม่ ถ้าเห็นได้ปล่อยได้

 นิโรธก็จะเกิดขึ้นมา ใจก็จะเย็น มีความสุข

แทนที่จะมีความทุกข์กับความตาย กลับมีความสุข

นี่คือการสร้างกำลังให้แก่ใจ ด้วยการสร้างศรัทธา

 ที่เกิดจากการเข้าหาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

จะจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า หรือจากพระไตรปิฎก

 หรือจากคำสอนของพระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย

ก็เป็นคำสอนอันเดียวกัน สอนเรื่องอริยสัจ ๔

สอนให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

 สอนให้เอาชนะกิเลสตัณหา เหมือนกันหมด

ถ้าได้ยินได้ฟังธรรมที่เป็นสวากขาโต ภควตาธัมโม

 ก็จะเกิดศรัทธา ถ้าฟังธรรมที่ไม่ใช่

สวากขาโต ภควตาธัมโม คือธรรมประยุกต์

 ผู้พูดเอามาประยุกต์ตามความรู้สึกนึก คิดของผู้พูดเอง

 ฟังแล้วก็จะไม่มั่นใจ แต่ถ้าฟังจากผู้ที่รู้จริงเห็นจริง

 เช่นพระพุทธเจ้าหรือพระอริยสงฆ์ สาวกทั้งหลาย

 จะเกิดศรัทธาความเชื่อ เพราะแสดงด้วยเหตุด้วยผล

 ไม่มีอะไรที่จะแย้งได้เลย

 ถ้าพูดจากจินตนาการ ฟังแล้วจะสับสน

 จะแย้งขึ้นมาได้ว่าทำไมเป็นอย่างนี้ๆ

 ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ การฟังธรรมที่เกิดศรัทธา

 ต้องฟังจากผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ที่หลุดพ้นแล้ว

 จะได้ความจริง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.............................

กัณฑ์ที่ ๔๕๗ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖

(จุลธรรมนำใจ ๓๓)

“เติมกำลังใจ”






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 29 กรกฎาคม 2559
Last Update : 29 กรกฎาคม 2559 11:08:44 น.
Counter : 647 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ