Group Blog
All Blog
### การใช้วิปัสนาเพื่อรักษาความสงบของใจ ###














“การใช้วิปัสสนาเพื่อรักษาความสงบของใจ”

เราต้องใช้วิปัสสนาเพื่อที่จะรักษาความเย็นความสงบของใจ

 แต่ถ้าเราไม่มีความเย็น ความสงบของใจ เราก็จะไม่รู้ว่า

 เราจะใช้วิปัสสนามารักษาความเย็นของใจได้อย่างไร

 ในเมื่อเราไม่เคยมีมัน เราก็จะไม่เห็นคุณค่า

 เห็นคุณประโยชน์ของการรักษาใจให้เย็น

เราก็จะไปรักษาของที่เราคิดว่าทำให้เรามีความสุข

ก็คือไปรักษาร่างกายของเรา ไปรักษาทรัพย์สมบัติ

ข้าวของเงินทองของเรา พอรักษาไว้ไม่ได้

 ก็จะร้อนใจจะทุกข์ใจขึ้นมา

นี่คือทำไมเราจึงต้องมีสมถภาวนาก่อน มีความสงบก่อน

เพื่อเราจะให้เห็นคุณค่าของความเย็นใจ

ของความสงบใจว่ามีคุณค่ากว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งหมด

ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ

 ไม่ว่าจะเป็นร่างกายของเราหรือร่างกายของคนที่เรารัก

 ของเหล่านี้มันไม่คุณค่าเท่ากับความสงบของใจ

 เพราะของต่างๆ เหล่านี้มันไม่สามารถทำให้ใจของเรา

สงบและเย็นได้ แต่กลับจะทำให้ใจของเราทุกข์

 ทำให้ใจของเราร้อน เพราะความรักความหวงนั่นเอง

 ความเสียดายไม่อยากให้มันจากเราไป

ถ้าเราไม่มีความสงบ เราก็อยากจะรักษาทรัพย์สมบัติ

ข้าวของเงินทอง รักษาร่างกายของเรา

รักษาอย่างไรก็รักษาไม่ได้ ยิ่งอยากจะรักษา

ก็ยิ่งทุกข์มากขึ้นไปเท่านั้น

การใช้ปัญญาจะใช้ปัญญาได้ก็ต้องมีสิ่งที่ปัญญารักษาได้

 สิ่งที่ปัญญาจะรักษาให้อยู่กับเราได้ก็คือความเย็น

 ความสงบของใจนี้ ซึ่งเราจะต้องสร้างขึ้นมาก่อน

 สร้างขึ้นมาให้เกิดขึ้นภายในใจของเรา

 ให้เรามีความสงบ มีความเย็นใจ แล้วพอใจของเรา

ร้อนขึ้นมาเมื่อไหร่ เราก็จะได้ใช้ปัญญานี้

มาดับความร้อนของใจได้

เพื่อให้ใจกลับไปเย็นเหมือนเดิมได้

แต่ถ้าใจไม่เย็น ปัญญาจะใช้อย่างไร

มันก็ไม่สามารถทำให้ใจเย็นได้ ใจมันก็จะร้อนไปเรื่อยๆ

 เพราะสิ่งที่มันอยากได้ ไม่ใช่ความเย็นของใจ

มันอยากจะได้ทรัพย์สมบัติ ข้าวของเงินทอง

อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้บุคคลนั้นบุคคลนี้

หรือร่างกายของคนของคนนี้ หรือร่างกายของเรา

มันจะไม่ได้อยากได้ความเย็นของใจ

 แต่ของเหล่านี้ต่อให้อยากมากน้อยเท่าไหร่ก็ตาม

ก็จะไม่มีวันที่จะได้มา ถ้าถึงเวลาที่จะต้องสูญเสียสิ่งต่างๆ ไป

 สูญเสียร่างกายไป

นี่คือเรื่องของการรักษาใจให้เย็นให้สงบด้วยวิปัสสนา

 ก่อนที่เราจะรักษามันให้เย็นให้สงบได้

 เราต้องมีความเย็น ความสงบก่อน

ก่อนที่เราจะไปจ้างรปภ.

มารักษาทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง

เราต้องมีทรัพย์สมบัติ ข้าวของเงินทองก่อน

ถ้าเราเป็นขอทานนี้เราคงไม่ไปจ้างรปภ. มารักษา

 เพราะเราไม่มีอะไร จะรักษา ขอทานมีแต่กะลาใบเดียว

 ซึ่งไม่มีใครอยากจะได้ ไม่ต้องไปเสียเงินเสียทอง

ไปจ้างรปภ.มารักษา แต่ถ้าพอถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่ ๑ แล้ว

นี้ขอทานอาจจะต้องไปจ้างรปภ.มารักษา

ไปซื้อบ้านอยู่ในบ้านจัดสรร อยู่ในคอนโดที่มียาม

 มีรปภ.คอยรักษาไม่ให้คนเข้ามาลักทรัพย์ต่างๆไป

ดังนั้นการปฏิบัติในเบื้องต้น ก็คือ

ต้องสร้างความเย็นความสงบของใจให้ขึ้นมาก่อน

พอใจเราเย็นแล้ว เราก็จะไม่เดือดร้อน

 ไม่วุ่นวายไปกับความวุ่นวายทางร่างกาย

แต่ถ้าใจเราร้อนขึ้นมาเราก็ต้องใช้ปัญญามาแก้

 เพราะว่าความเย็นใจ ที่เราสร้างขึ้นมาด้วยสตินี้

ยังไม่ได้ไปทำลายตัวที่จะมาสร้างความวุ่นวายใจ

ให้กับใจของเราก็คือความอยากต่างๆ

 ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ความอยากมีอยากเป็น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น

มันยังไม่ได้หายไปจากการทำใจให้สงบมันหายไปชั่วคราว

เวลาที่ใจเข้าไปสู่ความสงบ หยุดคิดปรุงเเต่ง

ใจก็จะนิ่งเป็นอุเบกขา

 ตอนนั้นความรักความชังความกลัวความหลง

ความอยากต่างๆ มันจะสงบตัว

ไปพร้อมๆ กับความสงบของใจ

 แต่พอใจออกจากความสงบมาแล้ว

 พอมันไปเห็นอะไร ไปได้ยินอะไรนี้ มันจะไม่สักแต่ว่าเห็น

มันจะไม่สักแต่ว่ารู้ มันจะมีความรักมีความชัง

ที่ยังไม่ได้รับการกำจัดยังไม่ได้ถูกกำจัด ออกไปจากใจ

 มันก็จะรักเหมือนเดิมจะชังเหมือนเดิม

 เห็นอะไรก็จะรักจะชังเหมือนเดิม

เห็นอะไรก็จะกลัวเหมือนเดิม กลัวจิ้งจก กลัวตุ๊กแก

กลัวแมงมุม กลัวแมงสาบ เวลาอยู่ในสมาธิไม่กลัวหายไป

เวลาออกจากสมาธิมานี้พอเจอมันก็จะกลัวมันขึ้นมาใหม่

ถ้าจะกำจัดความกลัวให้หายไปก็ต้องใช้ปัญญา

เวลาเจอของที่เรากลัวเราก็พิจารณาว่ามันเป็นไตรลักษณ์ไป

 มันเป็นอนิจจัง คือว่าเดี๋ยวมันก็ตายมันเกิดมาแล้ว

เดี๋ยวมันก็ตายมันมาแล้วเดี๋ยวมันก็ไป

อนัตตา เราไปสั่งมันไม่ได้ห้ามมันไม่ได้

เวลาจะต้องเจอมันก็ต้องเจอมัน

แต่ถ้าเราไม่ไปอยากให้มันหายไป

ถ้าเราไม่อยากให้มันมาทำอะไรเรา เราก็จะไม่ทุกข์กับมัน

 อย่างมากมันจะทำอะไรได้กับเรา มันก็ฆ่าเราเท่านั้นแหละ

ถ้ามันจะทำ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณาว่า

 ร่างกายของเราในที่สุดมันก็ต้องตาย เหมือนกัน

 มันก็เป็นอนิจจังเหมือนกัน เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นอนัตตา

 เราห้ามมันไม่ได้ถึงเวลาจะถูกงูกัด มันก็ต้องกัด

 มันก็ต้องตายก็ห้ามมันไม่ได้

แต่เราห้ามใจของเราไม่ให้ไปทุกข์ ไปกลัวกับมันได้

อันนี้ต้องใช้วิปัสสนา

หลังจากที่ได้สมถะแล้วได้ความสงบแล้ว

 เพราะเราต้องการที่จะรักษาความสงบของใจ

เพราะความสงบของใจนี้จะทำให้เราไม่ทุกข์

กับการตายของเรา หรือกับการที่เราจะต้องเจอ

สิ่งที่เราไม่รัก เราไม่ชอบ เจอสิ่งที่เรากลัว

 ถ้าเรามีปัญญาแล้วใจของเราสงบตั้งมั่น จริงๆแล้ว

เราจะไม่กลัวอะไร ถ้าเรายอมเผชิญกับทุกสิ่งทุกอย่าง

อันนี้ต้องใช้ปัญญาสอนใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เราจะต้องเผชิญนี้

เราหนีมันไม่พ้น เวลาจะต้องเผชิญก็ต้องเผชิญกับมัน

แต่เราจะเผชิญกับมันได้อย่างสบาย ถ้าเราปล่อยวาง

ถ้าเราทำใจให้นิ่งให้สงบละตัณหาความอยากให้ได้

 อย่าไปอยากให้สิ่งที่เราต้องเผชิญนั้นหายไป

หรืออย่าไปอยากไม่เผชิญกับสิ่งเหล่านั้น

เมื่อมันจะต้องเจออะไร ก็เจอมันไป เจอด้วยใจที่นิ่งเฉย

แล้วจะไม่เป็นปัญหาอะไร เจอด้วยใจที่ยอมเจอมัน

 มันอยากจะมาทำอะไรเรา ก็ปล่อยให้มันทำไป

ถ้าเราหลบไม่ได้หลีกหนีไม่ได้ก็ปล่อยให้มันทำไป

 ความตายนี้ยังไงๆก็หนีไม่ได้

 ถ้าหนีได้วันนี้เดี๋ยวพรุ่งนี้มันก็ต้องตายอยู่ดี

ฉะนั้นอย่าไปหนีให้มันเหนื่อยเลย ยอมตายเสียดีกว่า

 ถ้ายอมตายแล้วก็จะหายกลัว คือพิจารณาไตรลักษณ์

พิจารณาไตรลักษณ์ในตัวเรานี้ ในร่างกายของเรา

 ว่าร่างกายของเราในที่สุดมันก็ต้องตายไป

มันจะตายด้วยงูจะตายด้วยตุ๊กแก หรือจะตายด้วยอะไร

 ก็เมื่อถึงเวลามันก็ต้องตาย ห้ามมันไม่ได้

แต่ใจของเรานี้จะไม่ทุกข์ไม่วุ่นวายใจถ้าเรายอมตาย

แต่ถ้าเราไม่ยอมตาย เราก็จะทุกข์กับมันไปเรื่อยๆ

ไม่มีวันสิ้นสุดไม่มีวันจบ ใจของเราก็จะไม่สงบ

ใจของเราก็จะไม่เย็น ใจของเราก็จะร้อนขึ้นมา

เราจึงต้องมาเจริญวิปัสสนาหลังจากที่เราได้สมถะ

 ได้ความสงบแล้ว เพื่อที่เราจะได้ใช้ปัญญานี้มาแก้ปัญหา

เวลาที่ใจสร้างความทุกข์ขึ้นมา ด้วยความอยากของตนเอง

 อยากได้สิ่งนั้นอยากมีสิ่งนี้หรืออยากให้สิ่งนั้นหายไป

อยากให้สิ่งนี้หายไป

 อยากให้เหตุการณ์เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

 ถ้ามันไม่เป็นก็จะทุกข์จะเครียดขึ้นมา

 ถ้ารู้ว่าทุกข์รู้ว่าเครียด ก็ควรที่จะปรับใจแล้ว

 ควรจะเปลี่ยนใจแล้วว่า เมื่อมันไม่ได้ดังใจ

ก็อย่าไปอยากมันเสียก็แล้วกัน ได้อะไรมาก็ต้องเอา

 ยินดีกับสิ่งที่ได้รับ พอใจกับสิ่งที่มีอยู่

ถ้ามีสันโดษมันก็จะไม่ทุกข์.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...........................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙

“เครื่องปรับใจยี่ห้อสมถะ-วิปัสสนา”








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 03 พฤษภาคม 2559
Last Update : 3 พฤษภาคม 2559 10:17:59 น.
Counter : 675 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ