ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 

วิธีทำกระเทียมดำ




กระเทียมดำ Black Garlic Homemade




ที่มา //goo.gl/mHCAXO


กระเทียมดำ Black Garlic
เกรดพิเศษที่คัดแล้วจะเรียกว่า
Black Diamond Garlic

"กระเทียมดำ" หรือ "Black Garlic"
ประมาณ 5 ปีที่แล้ว ประเทศเกาหลีได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูล
สู่วงการอาหารและวงการแพทย์ถึงสิ่งที่เรียกว่า กระเทียมดำ หรือ Black Garlic
โดยกระเทียมดำเกิดจากการผ่านกระบวนการอบบ่ม (Fermentation)
ที่อุณหภูมิสูงในสภาวะที่มีความชื้น เป็นเวลา 50-60 วัน
จนกระเทียมขาวที่มีสีปกติ กลายเป็นสีดำ และพบว่ากระเทียมดำ
มีกรดอะมิโน 18 ชนิด โปรตีน เอนไซม์ SOD และโพลีฟีนอล
ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย
และมีสารที่เป็นประโยชน์มากกว่ากระเทียมขาวปกติ หลายเท่าตัว
ที่มา https://goo.gl/UK43NV (www.nextsteptv.com)

มีความต้องการมากในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
ใช้ในการรับประทาน ทำอาหาร และเครื่องดื่ม
ยังมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูงพอสมควร
เพราะผลผลิตใช้เวลานาน
และมีอัตราสูญเสียค่อนข้างมาก
ในกระบวนการผลิตแต่ละรอบ

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://goo.gl/uUPa1S
//goo.gl/mHCAXO




สำหรับกระบวนการผลิต/วิธีทำกระเทียมดำ
ได้รับการเผยแพร่จากผู้ประกอบการชาวไทย
ที่มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ในเวียตนาม 4 โรงงาน
สอบถามนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในเวียตนาม
จะรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของท่านได้เป็นอย่างดี
ท่านได้ทดลองทำการผลิตแบบลองผิดลองถูกหลายครั้งแล้ว
ตั้งแต่การใช้หม้อนึ่ง ตู้นึ่ง ตู้อบอาหาร หม้อหุงข้าวแบบฝาเปิด
หม้อหุงช้าวแบบอุ่นทิพย์ดิจิตอล หม้อหุงข้าวแบบอุ่นทิพย์ธรรมดา
จนได้วิธีการผลิตกระเทียมดำค่อนข้างนิ่งและลงตัวแล้ว
หรือไม่ค่อยแกว่งแล้วในตอนผลิต
นำมาใช้ภายในครอบครัวของท่าน
และแจกจ่ายเพื่อนพ้องน้องพี่

จากเดิมที่สรุปกระบวนการผลิตดังนี้
ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซนเซียส ใช้เวลาผลิต 3 เดือน
ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซนเซียส ใช้เวลาผลิต 2 เดือน
ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซนเซียส ใช้เวลาผลิต 20 วัน
โดยใช้หม้อหุงข้าวแบบอุ่นทิพย์แบบธรรมดา (มีตัวอย่างภาพด้านล่าง)
ไม่จำเป็นต้องผสมน้ำส้มสายชู หรือแช่เบียร์
ใช้เพียงแต่กระเทียมสดเท่านั้น

ปัจจัยตัวแปรที่สำคัญในกระบวนการผลิตนี้
ความร้อนกับความชื้นสัมพัทธ์ภายในหม้อหุงข้าว

วัตถุดิบกระเทียมดิบต้องเก่าเก็บพอสมควร
ถ้าสดมากเกินไปจะทำให้มีผิวเปลือกด้านนอกสีดำ
เพราะน้ำภายในกระเทียมออกมามากในตอนทำ
ทำให้ด้านในค่อนข้างฉ่ำน้ำ แต่กินได้ ขายไม่ค่อยได้
อุณหภูมิภายนอกที่กระทบเช่น หนาว ร้อน เย็น
และอื่น ๆ เช่น ไฟฟ้าดับ อุปกรณ์สูญเสีย เป็นต้น

ท่านยินดีแนะนำเป็นวิทยาทาน
และให้นำไปใช้โดยไม่สงวนสิทธิ์
พร้อมทั้งยินดีตอบคำถามทาง LINE ID
ที่ปรากฎใน Youtube จากการถ่ายทำแบบบ้าน ๆ
ของมืออาภัพไม่ใช่มืออาชีพในคลิปนี้
ท่านระบุว่าไม่สะดวกในการตอบทางโทรศัพท์
เพราะภาระงานค่อนข้างมาก
กอปรกับในเวียตนามการรับโทรศัพท์
ถ้ามีคนโทรไปจากเมืองไทยจะมีอัตราเรียกเก็บ
คนที่รับสายโทรศัพท์ปลายทางต้องจ่ายนาทีละ 15 บาท


ผลผลิตจากหม้อหุงข้าวแบบอุ่นทิพย์แบบธรรมดา



วิธีทำกระเทียมดำ

1. หากระเทียมโทนเบื้องต้นก่อน เพราะมีขนาดเล็ก
จะมีจำนวนมากและจุในพื่นที่หม้อหุงข้าวได้มากที่สุด
มากกว่ากระเทียมจีนลูกใหญ่ ซึ่งก็ทำได้เหมือนกัน
แต่จะมีจำนวนน้อยกว่าและมีช่องว่างภายในหม้อมาก

2. หากระเทียมที่ค้างเก่า/ค้างเก็บหลายเดือนสักหน่อย
เพราะถ้าสด ๆ มักจะมีน้ำภายในกระเทียมมาก
เวลาผลิตออกมามักจะมีผิวเปลือกสีดำ
เพราะมีน้ำภายในกระเทียมออกมามากกว่าของค้างเก็บ
ถ้าจำเป็นต้องใช้ ต้องหาวิธีการให้ลมโชยกระเทียมมาก ๆ
เพื่อขับไล่ความชื้นภายในกระเทียมออกให้มากที่สุด
ไม่แนะนำให้ไปวางตากกลางแจ้งเพราะจะทำให้กระเทียมเหี่ยว



3. หาเสื้อกล้ามคอกลมผ้าฝ้ายไม่ใช้แล้ว 2 ตัว



4. หาหม้อหุงข้าวแบบอุ่นทิพย์แบบธรรมดา
ไม่แนะนำแบบดิจิตอลเพราะมีปัญหาหยุมหยิมมาก
เพราะต้องอุ่นตลอดเวลา 20 วัน
ให้กดปุ่มแบบอุ่น/warm เท่านั้น
ขนาด 1.8 ลิตร จะใส่กระเทียมสดได้ประมาณ 2 กิโลกรัมเศษ
ขนาด 3.6 ลิตร จะใส่กระเทียมสดได้ประมาณ 5 กิโลกรัมเศษ


ขนาด 1.8 ลิตร ใส่กระเทียมสดได้ประมาณ 2 กิโลกรัมเศษ


ขนาด 3.6 ลิตร ใส่กระเทียมสดได้ประมาณ 5 กิโลกรัมเศษ


5. เอาเสื้อกล้ามด้านคอเสื้อกับแขนเสื้อ
ใส่ลงในหม้อหุงข้าวแล้วคลี่ออก
ตรงกลางจะเป็นหลุมพอดี



6. เทกระเทียมลงไปให้มีขนาดพอปิดฝาหม้อได้



และพับเสื้อกล้ามอีกตัวใส่ไว้ด้านบน หรือ topping
จะช่วยซับไอน้ำ/หยดน้ำจากฝาไว้ก่อนลงไปถูกผิวกระเทียม
แล้วเอาด้านเอวเสื้อปิดทับเสื้อกล้ามที่วางด้านบนกระเทียม





7. ปิดฝาหม้อและกดปุ่มอุ่นอย่างเดียวเท่านั้น
ห้ามกดปุ่มหุงต้มโดยเด็ดขาด
เพราะจะทำให้กระเทียมแฉะ/เสียหายเกินเยียวยาได้
ในวันที่ 2 เอามือจับดู ถ้าเริ่มอุ่น ๆ
ให้หาผ้าขนหนูขนาดพอสมควร 1 ผืน
ปิดทับด้านบนเพื่อรักษาความร้อน
กับกันไม่ให้ไอน้ำไหลออกมามาก




8. วันที่ 3 หรือครบระยะเวลา 72 ชั่วโมงแล้ว จับฝาหม้อจะอุ่น ๆ

9. รีบเปิดฝาหม้อดู จะเห็นหยดน้ำเกาะตรงฝาหม้อสแตนเลสด้านใน
รีบหยิบเสื้อกล้ามคอกลมที่วางข้างบน/topping ออกมาสะบัด ๆ 3-4 ที
แล้ววางกลับเข้าที่เดิมแล้วรีบปิดฝาหม้อทันที

(ส่วนใครจะถนัดท่อง พุธโธ ธัมโม สังโฆ
เพื่อนับในใจ/เพื่อบูชาพุทธคุณ
แล้วแต่เป็นความเชื่อส่วนบุคคล
คัดลอกจากคำบรรยายผู้ทำ)




10. นำเอาผ้าขนหนูปิดไว้ด้านบนฝาหม้อ
เพื่อรักษาอุณหภมิ/ความชื้นไม่ให้แกว่งมากกว่าปกติ

11. วันที่ 4,5,6,7 หรือทุก 24 ชั่วโมง
เช่น เริ่มลงมือทำตอน 9 โมงเช้าวันที่ 1
ก็เปิดฝาหม้อดูตอน 9 โมงเช้าวันที่ 3
หลังจากครบรอบระยะเวลา 72 ชั่วโมงแล้ว
จะเห็นมีหยดน้ำที่ฝาหม้อสแตนเลสด้านใน
นำเสื้อกล้ามตัวบน/topping ออกมาแล้วสะบัด ๆ 3-4 ที
รีบปิดฝาหม้อทันที พร้อมกับวางผ้าขนหนูไว้แบบเดิม
ไฟยังต้องอุ่นที่ตัวอุ่นเหมือนเดิมตลอดเวลา



ภาพกระเทียมดำที่ผลิตขนาด 10 เท่า


12. วันที่ 7 จะมีหยดน้ำเกาะที่ฝาหม้อด้านใน
น้อยมากกว่าวันที่ 3,4,5,6
และจะไม่หยดตอนที่เปิดออกมาดู
ตั้งแต่วันที่ 8-20 ไม่ต้องไปทำอะไร
อย่าไปเปิดฝาหม้อดูภายในแต่อย่างใด
เพราะต้องการความร้อนกับความชื้นสัมพัทธ์
ในการทำกระเทียมดำ
รอจนครบกำหนด 480 ชั่วโมง
บางรุ่นวันที่ 18 ก็กินได้แล้ว
(กำลังจะไปถ่ายเพิ่มชุดที่ทำที่บ้านท่านที่ ห.ใ
ในวันที่ครบกำหนด 20 วัน)

13. เตรียมลังกระดาษขนาดใหญ่ หรือโต๊ะกว้าง ๆ

14. พัดลมสัก 1- 2 ตัว

15. เอาผ้าแห้งจับหม้อด้านใน
ยกออกมาเทกระเทียมลงบนลังกระดาษหรือโต๊ะ
แล้วเกลี่ยให้กระจายออกมากที่สุด อย่าทับซ้อนกัน

16. เอาพัดลมเป่ากระเทียมราว ๆ 10-15 นาที
หรือจนกว่าจะจับกระเทียมได้
นำมาใส่กล่องหรือขวดแก้ว
ไม่ควรนำเข้าตู้เย็นเพราะจะแฉะหรือเปียก




สรุปวิธีทำ

1. กระเทียมที่ผลิตออกมาจะมี 2 แบบ
เปลือกน้ำตาล แกะเปลือกออกมาข้างในสีดำ
จะเห็นเยื่อขาว ๆ บาง ๆ จับไม่ติดมือ
จัดว่าสวยงามตลาดผู้ขาย/ผู้ซื้อนิยมกันมากที่สุด

เปลือกสีดำและแกะข้างในออกมาก็สีดำ
เพราะถูกน้ำหยดใส่ แต่กินได้เหมือนกัน
เพียงแต่ว่าจะนิ่มกว่า/น้ำฉ่ำแบบเปลือกสีน้ำตาล

บางเม็ดที่ผลิตออกมาจะแข็งกว่าปกติ
กินได้เหมือนกันแต่ต้องเคี้ยวมากสักหน่อย

2. รอบการผลิตแบบอุณหภูมิ 60 องศาใช้เวลา 3 เดือน
แบบอุณหภูมิ 70 องศาใช้เวลา 2 เดือน
แบบอุณหภูมิ 80 องศาใช้เวลา 20 วัน
วัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกระเทียมดำ
ผลผลิตที่ออกมาค่อนข้างนิ่งแล้ว/ไม่แกว่งตัวมาก

3. ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำส้มสายชู น้ำผึ้ง เบียร์
มาแช่หรือร่วมในกระบวนการทำกระเทียมดำ
ใช้แต่เพียงกระเทียมสดค้างเก่า/ค้างเก็บเท่านั้น

ขอให้โชคดีมีความสุขกับการทำกระเทียมดำ

หมายเหตุ

พืชผลทางการเกษตรจะควบคุมคุณภาพค่อนข้างยาก
เพราะปัจจัยหลักคือ พันธุ์พืช ดิน น้ำ ลม ไฟ
คุณภาพของดิน น้ำฝน/น้ำรดพืชผล/คุณภาพน้ำที่ใช้
ลมเบา/ลมแรง/อากาศชื้น/หนาว/ร้อน ไฟ/แสงแดด
ปัจจัยอื่น ๆ มีบ้าง เช่น ระยะเวลาจัดเก็บ การขนส่ง คนงาน ฯลฯ
มีผลต่อเนื่องถึงกระบวนการผลิต
ทำให้ผลลัพธ์ออกมา บางครั้งเหนือความคาดหมาย
ได้ตามมาตรฐาน หรือตำ่กว่ามาตรฐาน
ภาษาโรงงานมักเรียกกันว่า มีการแกว่ง
ถ้าได้ตามมาตรฐานก็ ค่อนข้างนิ่ง

ตัวอย่าง พืชผลทางการเกษตร
พริกขี้หนู กระทบแล้ง 7 วันจะเผ็ดมากที่สุด
แต่จะสูญเสียน้ำหนักมากในตอนเก็บ/ขาย
องุ่น ต้องแดดจัด ๆ หลายวันก่อนเก็บ
เวลานำไปทำไวน์จะมีรสชาติดีมาก
แต่ถ้าฝนตกลงมาในช่วงรอแดดจัด ๆ
องุ่นชุดนั้นจะเสื่อมรสชาติลงไปมากเลย
ลองกองหลังออกลูกแล้วจะเป็นสีเขียวก่อนแล้วเป็นสีเหลือง
สลับสีไปมาในช่อลูกลองกองจนครบ 3 ครั้ง
จะมีคุณภาพหวานมากที่สุด/รสเปรี้ยวแทบไม่มีเลย
แต่ระยะเวลาเก็บรักษาจะน้อยวันลง/เสี่ยงต่อศัตรูพืช
เหมือนกับแหล่งที่มาของผลไม้ในเมืองไทย
แต่ละแห่งจะมีรสชาติ/คุณภาพแตกต่างกัน

ดังนั้น กระเทียมโทนในแต่ละรุ่นที่นำมาผลิต
อาจจะมีการแกว่ง (มาก/น้อย สูง/ต่ำ)
ขึ้นกับปัจจัยดังกล่าวด้วย
เมื่อผลลัพธ์ออกมาเป็นกระเทียมดำ

ภาพเพิ่มเติม







ภาพขยายขนาด 10 เท่า 20 เท่า ควรวางบนหนังสือ และจัดแสงก่อนถ่ายภาพ




สรรพคุณรสชาติของกระเทียมดำ
โปรดศึกษาและวินิจฉัยด้วยตนเอง
เพราะแล้วแต่รสนิยมของแต่ละคน
ส่วนสรรพคุณอื่น ๆ ลางเนื้อชอบลางยา
โรคบางโรครักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย
โรคบางโรครักษาก็มตะ ไม่รักษาก็มตะ




 

Create Date : 17 ธันวาคม 2558
1 comments
Last Update : 1 มีนาคม 2559 22:01:18 น.
Counter : 2359 Pageviews.

 

ขอบคุณค่ะคุณ ravio
ได้ความรู้และน่าสนใจมากค่ะ



สุขสันต์วันคริสต์มาสนะคะ

 

โดย: Sweet_pills 25 ธันวาคม 2558 0:33:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.