ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา

ด้วยใกล้ครบรอบวาระ 170 ปีศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา
ซึ่งก่อสร้างด้วย พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา)
สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

ส่วนพงศาวดารเมืองสงขลาจะหาอ่านได้จาก link ย่อ

//goo.gl/24Tpd

หรือจะไป download ไฟล์ต้นฉบับที่ได้รับมาจาก CVT บ้านโป่ง
มาแปลงไฟล์เป็นสกุล PDF ตาม link ย่อ

//goo.gl/NBToi

เพิ่มเติมอีกฉบับ พงษาวดารฉบับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา)
ตาม link ย่อ


//goo.gl/GNntB


ส่วนภาพต่อไปจะเป็นการนำชมศาลเจ้า
รบกวนผู้รู้ภาษาจีนช่วยแปลป้ายอักษรจีน
เพื่อความสะดวกกับผู้เข้าเยี่ยมชมศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา
จะเป็นคุณูปการและเป็นประโยชน์เพื่อการศึกษาระยะยาว
ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
ป้ายของเทศบาลสงขลาเชิญเที่ยวงานสมโภช 170 ปี




ทางเข้าศาลเจ้ามีรถเทศบาลบังอยู่



ก้วยเตี๋ยวใต้ถุนโรงงิ้ว(สงขลา)

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ravio&month=06-2012&date=20&group=1&gblog=280




ป้ายอักษรจีนหน้าศาลเจ้า



เข้าไปข้างหน้าศาลเจ้า



เสาหลักเมืองด้านฐานราก (ต้องทะยอยถ่ายภาพเพราะมุมแคบมาก)



ด้านช่วงบน



ช่วงกลางของเสาหลักเมือง


ช่วงยอดของเสาหลักเมือง


ธงทิวรายรอบเสาหลักเมือง



องค์เทพเจ้าประธานหลังเสาหลักเมืองสงขลา



ด้านล่างของเทพประธาน (ขวามือของเทพ)



ด้านล่างของเทพประธาน (ซ้ายมือเทพ)



องค์เทพด้านขวามือเทพประธานของเสาหลักเมืองสงขลา



ด้านข้างของเทพเจ้า



เทพเจ้าด้านซ้ายมือของเทพประธาน



ด้านข้างขององค์เทพ



ภาพพระปิยะมหาราช เสด็จเมืองสงขลา



เซี่ยวกาง (ด้านขวามือ) องค์เทพเจ้าประธาน



เซี่ยวกาง (ด้านซ้ายมือ) องค์เทพเจ้าประธาน


ป้ายภาษาจีนภายในศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนภายในศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนภายในศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนภายในศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนภายในศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนภายในศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนด้านนอกศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ป้ายภาษาจีนด้านนอกศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา


ประตูเล็กทางเข้าไปไหว้ เจ้าแม่กวนอิม รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 5
และ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง)


ศาลเจ้าแม่กวนอิม



พระยาสงขลา (เถี้ยนเซ่ง ณ สงขลา)


รัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 5


ด้านนอกศาลเจ้า ที่อยู่ภายในโรงเรียนสงขลาวิทยานุสรณ์
ช่วงนักเรียนยืนรอก่อนเข้าชั้นเรียน



รอบนอกทางเข้าศาลเจ้าหลักเมืองสงขลา



อีกภาพถ่ายทางไปศาลเจ้า



ภาพถ่ายหันหลังให้ทางเข้าศาลเจ้า
ค่อนข้างเงียบเหงาเพราะถ่ายช่วงบ่ายโมงเศษ
แต่ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์จะเป็นถนนคนเดิน



ข้อมูลเพิ่มเติมจาก คุณ V_Mee
เจ้าพระยาวิเชียรคิรี (บุญสังข์  ณ สงขลา)  ได้บันทึกไว้ใน พงษาวดารเมืองสงขลา, ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๕๓, หน้า ๑๕ ว่า

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงนำทัพลงไปขับไล่พม่าที่เมืองไชยา
ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ นั้น  ประจวบกับเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่เมืองสงขลา 
จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ เสด็จไปจัดราชการที่เมืองสงขลา 
แล้วได้โปรด  “...ให้ปักหลักเมืองสงขลาที่บ้านบ่อยางลงไว้...”  ก่อนที่จะ
เสด็จกลับกรุงเทพฯ  

ใน พ.ศ. ๒๓๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ
ทรงนำทัพขึ้นไปขับไล่พม่าที่เมืองเชียงใหม่ 
ก่อนเสด็จกลับก็ทรงปักเสาหลักเมืองไว้ใน
บริเวณหอพระแก้วร้างเมืองเชียงใหม่เหมือนกัน


เรื่องหลักเมืองสงขลาก็เพื่อจะเทียบกับหลักเมืองเชียงใหม่ 
ซึ่งหลักเมืองเชียงใหม่ถ้าไม่ได้แผนที่เมืองนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๓๖
มาประกอบก็คงจะเข้ารกเข้าพงตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ไปด้วย

หลักเมืองเชียงใหม่หรือที่เรียกกันว่าเสาอินทขีลนั้น  สอบทานจากเอกสาร
หลักฐานหลายฉบับพอจะได้เค้าว่า  เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงปัก
หลักเมืองเชียงใหม่นั้น  ทรงปักไว้ในบริเวณที่เป็นหอพระแก้วร้าง 
ซึ่งเดิมเคยเป็นมหาวิหารที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต  ก่อนที่พระไชยเชษฐา
จะย้ายครัวเรือนไปครองราชย์ที่เวียงจันทร์

แต่เมื่อตอนที่สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงปักหลักเมืองเชียงใหม่นั้น 
เชียงใหม่ยังเป็นเมืองร้างเพราะพระเจ้ากาวิละมีไพร่พลน้อย
ไม่พอที่จะรักษาเมืองจึงต้องไปตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซางเมืองลำพูน 
หลักจากนั้นอีกเกือบ ๑๐ ปี จึงเริ่มเข้ามาหักล้างถางพงแล้ว
จึงอพยพผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ 
ต่อมาภายหลังสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ เสด็จทิวงคตแล้ว 
พระเจ้ากาวิละจึงย้ายเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมืองไปปักไว้ในบริเวณ
วัดเจดีย์หลวง  ส่วนบริเวณที่ปักเสาหลักเมืองเดิมได้สร้างวัดชื่อ วัดอินทขีล
ขึ้นแทน  ในแผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ยังปรากฏชื่อวัดนี้อยู่  แต่ต่อมามีการตัดถนน
ข้างศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ผ่านแนววัดนี้ไป  ไม่ทราบว่าตอนที่ตัดถนนนั้น
วัดนี้เป็นวัดร้างไปแล้วหรือยัง  จึงเหลือแต่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งตากแดดตากฝนอยู่ริมถนน  เพิ่งจะมีการฟื้นฟูสร้างวิหารขึ้นครอบองค์พระนั้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้

เรื่องราวของหลักเมืองสงขลาหากสืบสาวลึกลงไป
อาจจะได้ความอะไรเหมือนหลักเมืองเชียงใหม่ก็ได้ 
เพราะผู้ที่บันทึกเรื่องหลักเมืองสงขลาไว้ก็เป็นเจ้าเมืองสงขลาเดิม

การฝังหลักเมืองในรัชกาลที่ ๓ จึงน่าจะเป็นการฝังหลักเมืองแทนเสาเดิม
ที่อาจชำรุดผุผังไป  เพราะเดิมเสาหลักเมืองเชียงใหม่  และลำปางนั้น
มีหลักฐานตรงกันว่า เป็นเสาที่ปักลงไว้ในดินปล่อยให้ตากแดดตากฝน
โดยไม่มีศาลาหรือหลังคาปกคลุม 
และโดยที่เมืองสงขลานั้นเป็นเมืองริมทะเล 
อาจจะเป็นได้ว่าเสาหลักเมืองที่เป็นไม้
เมื่อตากแดดตากฝนไว้นานวันย่อมจะถูกไแน้ำเค็มกัดกร่อนให้ผุพังลงได้ 
หรือมิฉะนั้นไม้ที่ใช้ทำเสาหลักเมืองอาจเป็นไม้ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ไม้เนื้อแข็ง
ที่สามารถทนสภาพดินฟ้าอากาศได้


ตอบจากผู้เขียนคือ

ก่อนหน้าที่ต้นสกุล ณ สงขลาจะมาครองเมืองสงขลา
พื้นที่นี้เดิมเป็นของสกุล สุลต่านสุไลมาน ต้นสกุล ณ พัทลุง
ท่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ตามคำบอกเล่าเดิม
แต่ช่วงหลังมักจะมีลางท่านกล่าวว่าท่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
สมัยท่านสร้างป้อมปราการเมืองสงขลาที่สร้างโดยพวกดัชท์ หรือวิลันดา
มีปรากฎในแผนที่ของฝรั่งเศสเรียกว่าเมือง singora
ปากทางเข้าเมืองสงขลา เสมือนมีสิงห์สองตัวเฝ้าอยู่
คือ เกาะหนู เกาะแมว ในปัจจุบัน



ต่อมาในภายหลังลูกหลานท่านสุลต่านสุไลมาน
แพ้สงครามกับกองทัพอยุธยา
ทำให้ป้อมปราการจึงถูกรื้อถอนทำลายไปมาก
ดังนั้น หลักเมืองไม่น่าจะมีมาแต่สมัยนั้น
อาจจะมีที่สทิงพระ ที่เคยเป็นเมืองเจริญมาก่อน
แต่ตามประวัติศาสตร์ถูกพวกโจฬะใจทมิฬ
บุกรุกปล้นทำลายหลายครั้งหลายคราแล้ว
รวมทั้งวัดพะโคะในสมัยก่อนด้วยเช่นกัน

ต่อมาต้นสกุล ณ สงขลา มารักษาเมืองและผูกส่วยสาอากร
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช
แทนอำนาจเดิมของสกุลสุไลมาน ที่ลดน้อยถอยลง
การตั้งศาลหลักเมืองก็ยังไม่มี
ประเด็นที่มีการตั้งสมัยรัชกาลที่ 1
เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะ ไม่ชัดเจนว่า
การตั้งครั้งนั้น ได้ตั้งตรงจุดไหนของบ้านบ่อยาง
เพราะไม่เคยได้ยินหรือฟังตำนานเล่าขานเรื่องนี้
เลยขอตราไว้ก่อนว่่า (สันนิษฐานว่า)
น่าจะมีการตั้งเสาหลักเมืองเดิมตรงจุดปัจจุบันนี้
ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนเสาใหม่สมัยรัชกาลที่ 3
เพราะช่วงสงครามคงจะไม่มีเวลาเลือกไม้ทำเสาหลักเมือง
หรือทำพิธีกรรมอะไรมากมายนัก
บ้านเมืองวุ่นวายต้องรบกับหลายเมืองไปจนถึงมาเลย์
พอช่วงรัชกาลที่ 3 ปัญหาศึกสงครามภายนอกน้อยลง
การทำนุบำรุงศาสนาและพิธีกรรมจึงทำได้เต็มที่


บ้านบ่อยาง คือ ตำบลบ่อยาง ในปัจจุบัน

อยู่ในเขตพื้นที่ในตัวเมืองของสงขลา
หรือเป็นตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา
อยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ในปัจจุบัน
ส่วนในปี 2328 ที่มีการปักหลักเมืองสงขลา
เท่าที่ทราบไม่เคยพบเห็นหรือทราบเกี่ยวกับเสาีสมัยรัชกาลที่ 1
ว่ามีการปักเสาหลักเมืองไว้แถวไหนของสงขลา
อาจจะเป็นการปักเขตหลักบริเวณของตัวเมืองก็ได้ (สันนิษฐานเอา)
เพราะถ้าเป็นเสาหลักเมือง  คงจะต้องมีการบูชาและทะนุบำรุงสืบมา

หรืออาจจะมีการเปลี่ยนเสาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นได้
โดยเปลี่ยนเสาใหม่แทนที่ในพื้นที่เดิมแล้ว
จัดทำศาลเจ้าแบบจีนตามคตินิยมของตระกูล ณ สงขลา
ที่บรรพบุรุษเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเล
เพราะเท่าที่ทราบก็ทราบว่ามี เสาหลักเมืองสงขลา
ที่ไหว้ ๆ สืบต่อกันมาก็เสาต้นนี้ครับ

ที่ตั้งศาลเจ้ายังตั้งอยู่ในตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา
ประมาณว่า ห่างจากทะเลสาบสงขลา ด้านหน้าเกาะยอ
ที่จะเป็นน้ำกร่อย ถึงน้ำเึึึค็ม เวลาน้ำทะเลหนุนเต็มที่
ไม่น่าจะเกิน 100 เมตร ตามที่กะประมาณเอาครับ

สมัยโบราณน่าจะเป็นที่โล่งเห็นทะเล
และรับสายลม แสงแดด และไอน้ำเต็ม ๆ
ไม่มีบ้านเรือนปิดบังเหมือนปัจจุบัน

อาจเป็นเหตุให้เสาไม้ชำรุดทรุดโทรมได้
ไม่ต่างกับไม้หมอนรถไฟที่เป็นไม้เนื้อแข็ง
ยังผุพังหมดสภาพการใช้งานได้เลย
เพราะถูกแดดถูกฝนและความร้อนตลอดเวลา



Create Date : 07 กรกฎาคม 2555
Last Update : 6 กันยายน 2555 22:43:10 น. 7 comments
Counter : 4549 Pageviews.

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ ตามไปเที่ยวสงขลาด้วยคน

วันนี้ขอให้มีความสุขในการทำงานนะคะ


โดย: คมไผ่ วันที่: 9 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:18:26 น.  

 
ตอนไปไม่ได้ผ่านถนนเส้นนี้เลยค่ะ มัวแต่หลงแถวเขาตังกวน


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 กรกฎาคม 2555 เวลา:15:12:08 น.  

 
ผ้าปักลายที่ตกแต่งเสาหลักเมือง สวยมากค่ะ
ภายในก็ดูศักดิ์สิทธิ์
ต๋าไม่ได้ไปสงขลาหลายสิบปีแล้วค่ะ ขอบคุณที่พาเที่ยวนะคะ

สุข สดชื่นในวันนี้ค่ะ




โดย: Sweet_pills วันที่: 10 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:37:08 น.  

 
สวัสดีค่ะ
เป็นที่ ที่หน้าไปจังเลยนะค่ะ


โดย: หนูซายูริ วันที่: 10 กรกฎาคม 2555 เวลา:12:37:35 น.  

 
สวัสดีค่ะ


โดย: หนูซายูริ วันที่: 12 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:42:28 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะคุณ ravio

สุขสันต์วันศุกร์นะคะ ขอให้มีความสุขกับการทำงานในวันนี้
และมีความสุขกับทุกกิจกรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 13 กรกฎาคม 2555 เวลา:7:41:33 น.  

 
สุขสันต์วันเสาร์ค่ะคุณ ravio

พักผ่อนอย่างมีความสุขในวันนี้นะคะ




โดย: Sweet_pills วันที่: 14 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:04:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.