ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
17 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 

ชายผู้ทำสงครามกับภูเขา

The Man Who Made War on a Mountain

Manjhi ถูกเยาะเย้ยมาตลอดตั้งแต่ปีคศ.1959 (พศ.2502)
เมื่อเริ่มต้นเจาะทางผ่านภูเขา Gahlaur หนึ่งในเทือกเขา Ghati 
ในเขต Gaya แคว้นมคธ ที่มีระยะทาง 150 กม จาก Patna
เขาต้องใช้เวลาทำงานถึง 22 ปี(เสร็จประมาณปี พศ.2524)
ตั้งแต่ขุด เจาะ ทุบหิน นำทรายและหินไปทิ้งที่อื่น
ก่อนที่จะทำทางผ่าภูเขาสร้างถนนเส้นนี้เสร็จสิ้น
เป็นถนนที่มีความยาวถนน 360ฟุต (120 หลา) ประมาณ108 เมตร
และความกว้างถนน 30 ฟุต(10 หลา)  ประมาณ 9 เมตร

มีเรื่องต้องชวนสงสัยว่า
ทำไมเขาต้องทำงานนี้ตามลำพังเพียงคนเดียว
พร้อมกับเครื่องมือที่มีเพียงแต่ สิ่ว ค้อน และพลั่ว
ถนนเส้นทางเดิมที่เป็นทางล่อแหลม/อันตราย
ตอนนี้เป็นเส้นทางหลักที่สามารถให้
รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ใช้งาน
เพียงพอสำหรับประชากรจำนวนเกือบ 60 หมู่บ้าน
ให้เดินทางไปมาได้อย่างสบาย ๆ

ถนนสายนี้ได้ย่นระยะทางห่างไกล
ระหว่างของเขต Gaya จากหมู่บ้าน Atri ถึง Vazirganj
จากระยะทางเดิม 50 กิโลเมตรเหลือเพียง 10 กิโลเมตร 
นักเรียนจากหมู่บ้านของ Manjhi ที่อยู่หลังเขา Gahlaur 
และหมู่บ้านใกล้เคียงอื่น ๆ ไม่ต้องจำเป็นต้องเดินทาง
ถึงแปดกิโลเมตรในอีกเส้นทางหนึ่งเพื่อไปโรงเรียน
ตอนนี้พวกเขาสามารถจะไปเรียนที่โรงเรียน
ด้วยระยะทางเพียงสามกิโลเมตรเท่านั้น







พวกเราพบ Manjhi ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
ก่อนที่มะเร็งจะจบชีวิตของเขาในวันที่17 สิงหาคม 2007(2550)
ทำให้เขาต้องล้มนอนบนเตียง ด้วยอายุกว่า 73 ปี
ด้วยร่างกายที่อ่อนแอ(เพราะโรคร้าย)
แต่พลังกายพลังใจเขาไม่เคยลดน้อยลงเลย
แม้หลังจากทำทางผ่าข้ามภูเขาเสร็จแล้วก็ตาม

เขาหวนนึกกลับไปเรื่องเดิมและเล่าว่า
" ผมรู้ว่าถ้าผมไม่ได้ทำมันด้วยตนเองแล้ว
ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลหรือชาวบ้านในหมู่บ้าน
จะมีความต้องการหรือมุ่งมั่นจะทำมันหรือไม่ 
เนินเขาแห่งนี้ทำให้พวกเราได้รับความเดือดร้อน
และความเศร้าโศกมานานหลายศตวรรษแล้ว
พวกชาวบ้านได้ขอร้องรัฐบาลหลายรัฐบาล
หลายต่อหลายครั้งจนนับไม่ถ้วนแล้ว
ให้สร้างทางผ่าภูเขาแห่งนี้
แต่ก็ไม่มีใครสนใจหรือตั้งใจจะทำให้อย่างแท้จริง
ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจว่าทำทางผ่าภูเขาด้วยตนเอง. "

ก่อนที่ถนนสายที่ชื่อว่า Manjhi จะแล้วเสร็จ
เนินเขาแห่งนี้เป็นป้อมปราการยักษ์
ที่แยกหมู่บ้านออกจากการติดต่อกับพื้นที่อื่นๆ
ทำให้ชาวบ้านต้องการเดินทางบนเส้นทางอื่น
อย่างยากลำบากและอันตราย
เพียงเพื่อไปตลาดในเมืองที่ใกล้ที่สุด
หรือแม้กระทั่งไปที่ทุ่งนา/สวนของตัวเอง
ในปีคศ.1959(พศ.2502) Manjhi
ได้เล่าย้อนหลังถึงเรื่องราวนี้ให้พวกเราฟังว่า

เนินเขาที่ชั่วร้ายและเลวระยำลูกนี้
สร้างโศกนาฏกรรมให้กับครอบครัวของผม
ภรรยาผม Faguni Devi ได้รับบาดเจ็บสาหัส
ขณะที่เดินข้ามเนินเขาเพื่อเอาน้ำมาให้ผมดื่ม
ตอนที่ผมทำงานในสวนก็ต้องเดินข้ามเขานี้มา
นั่นคือวันที่ผมตัดสินใจที่จะผ่ามันออกมา
เพื่อทำถนนที่เหมาะสม
ในการเดินทางไปมาผ่านเนินเขานี้

ภารกิจดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง
กับตัวเขาเองมากด้วยเช่นกัน
เพราะนั่นหมายความว่าเขาจะต้องว่างงาน
และไม่ได้รับค่าจ้างการทำงานประจำวันอีกเลย
ครอบครัวของเขาต่างได้รับความเดือดร้อน
และกระทั่งตัวเขาเองมักจะไปทำงานในบางครั้ง
โดยไม่มีอาหารติดตัวไปเลย

แต่ภรรยาของเขาไม่ได้ที่จะเห็นดอกผล
ที่สวยงามจากหยาดเหงื่อและแรงงานของเขาเลย
หลังจากนั้นช่วงเวลาไม่นานนัก
เธอล้มป่วยลงและเสียชีวิต
เป็นเพราะไม่สามารถพาเธอไปโรงพยาบาลได้ทันเวลา

" ความรักของผมที่มีต่อภรรยา
คือ ประกายไฟที่เริ่มต้น
จุดประกายไฟในจิตใจผม
ผมปรารถนาที่จะผ่ามันออกมาเป็นถนน 

แต่สิ่งที่ทำให้ผมทำงานโดยไม่กลัว
หรือต้องวิตกกังวลในหลายปีที่ผ่านมา
คือ ความตั้งใจที่จะเห็นชาวบ้านนับพันคน
เดินทางไปมาผ่านเนินเขาได้อย่างง่ายดาย
ในเวลาใดก้ได้ก็ตามที่ต้องการ"

Manjhi กล่าวว่า 
"แม้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะล้อเลียนผมในตอนแรก ๆ
แต่ก็มีคนเพียงไม่กี่คนที่ให้ผมยืมเพื่อหวังจะได้คืนในวันหลัง
ด้วยการให้อาหารและช่วยซื้อเครื่องมือให้ผม "
วันนี้ชาวบ้านต่างไม่มีอะไรจะตอบแทนให้ 
แต่แสดงความกตัญญูให้กับคนผ่าภูเขาของเขต Gaya
ที่ตอนนี้ต่างรู้จักและยกย่องกันทั่วไป
ด้วยการให้สมญานามที่เป็นเกียรติว่า Sadhu jhi สาธุจฮิ



Dashrath Manjhi เป็นคนหนึ่ง
ในกลุ่มชน Musahar ในแคว้นมคธ
กลุ่มชน Musahar เป็นที่รู้จักกันดีและทราบกันว่า
เป็นพวกวรรณะชั้นต่ำที่สุดของแคว้นมคธ
ในขณะที่ชาวบ้านชนชั้นวรรณะอื่น ๆ ในแคว้นมคธ
อย่างน้อยก็มีสิทธิในที่ดินภายใต้ระบบ zamindari
ขณะที่ชาวบ้านในกลุ่มชน Musahar
ต่างไม่เคยได้รับสิทธิดังกล่าวเลย

เกือบร้อยละ 98 ของประชากรกลุ่มชน Musahar
มีจำนวนชาวบ้านประมาณจำนวน 1.3 ล้านคน
ต่างเป็นพวกไร้ที่ดินจนถึงทุกวันนี้ 
มีชาวบ้านในกลุ่มชน Musahar
เพียงร้อยละหนึ่งที่มีการศึกษา
ทำให้กลุ่มชน Musahar นี้
มีอัตราการรู้หนังสือต่ำที่สุดในประเทศอินเดีย

สำหรับชาวบ้านกลุ่มชน Musahar
ส่วนมากแล้วอาหารหลักประจำวันของพวกเขา
ยังคงประกอบด้วย รากไม้ หอยทาก หรือหนู
ชื่อกลุ่มชน Musahar มาจากการตั้งชื่อจากสิ่งเหล่านี้

หลังจากเสร็จสิ้นการผ่าภูเขาสร้างถนนแล้ว
Manjhi เริ่มทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ในการผลักดันเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชน
ด้วยความพยายามด้านอื่น ๆ ของเขา
เขาพยายามเกลี้ยกล่อมให้ครอบครัว
กลุ่มชน Musahar เกือบ 50 ครอบครัว
ในหมู่บ้านของ Manjhi ให้ไปตั้งรกรากใหม่
บนที่ดินที่รัฐบาลมอบสิทธิ์ให้ทำกิน
ถึงแม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่เต็มใจ
ที่จะอพยพออกจากบ้านดั้งเดิมของพวกเขา
แต่เมื่อ Manjhi เริ่มต้นอาศัยอยู่บนที่ดินทำกินที่ได้รับสิทธิ์
ชาวบ้านส่วนที่เหลือจึงค่อย ๆ ทะยอยตาม ๆ กันมาอยู่เพิ่มมากขึ้น
จนการตั้งถิ่นฐานใหม่แห่งนี้เป็นที่รู้จักกัน
ในตอนนี้ว่าเป็นชุมชน Dashrath Nagar

แต่ความพยายามผลักดันด้านอื่น ๆ ของเขา
ในบางเรื่องก็ประสบความสำเร็จน้อยมาก 
แม้ว่าจะมีความสำเร็จของจากกำปั้น
ของเทพเจ้าเฮอร์คิวลิส(การผ่าภูเขา)
แต่สิ่งที่รัฐบาลแคว้นมคธให้เขาก็มีเพียง
แต่คำชื่นชมและความช่วยเหลืออย่างไม่จริงใจ

แม้ว่าตัวเองจะต้องไร้ที่ดิน(เพื่อบริจาคที่ดินให้รัฐ)
เขายื่นคำร้องอีกครั้งสำหรับสถานที่(ที่ดิน)
เพื่อให้รัฐสร้างโรงพยาบาลให้กับชุมชน
แต่นายกรัฐมนตรีแคว้นมคธ
(ลาโล ประสาท ยะดับ Laloo Prasad Yadav)
ได้ระบุว่าต้องมีเนื้อที่ดินอย่างน้อยห้าเอเคอร์ (ประมาณ 12 ไร่ครึ่ง)
ในการสร้างโรงพยาบาลหรือที่เรียกว่า ที่ดิน Karzania

แต่แล้วชาวบ้านในหมู่บ้าน
ต่างไม่ยินยอมบริจาคที่ดินร่วมด้วย
แม้ว่าที่ดินทำกินเหล่านั้นจะเป็นเพียงทุ่งหญ้ารกร้าง
แม้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลแคว้นมคธจะได้ตั้งชื่อถนน Manjhi
ตามรายงานของ The Padma Bhushan
แต่เรื่องนี้ไม่ได้ระบุชื่อนี้เป็นทางการ
หรือเรื่องการไม่ทำตามสัญญาของ Nitish Kumar
ที่รับปากว่าจะสร้างถนนตามคำขอของ Manjhi
ที่ต้องการถนนสายจาก Wazirganj ถึง Gahlaur

หมายเหตุ  หลังการตายของ Manjhi
ทางรัฐการได้สร้างโรงพยาบาลขนาด 6 เตียง
และปรับปรุงเส้นทางตามคำร้องของ Manjhi

แหล่งข่าวจากรัฐบาลอ้างว่า
กรมป่าไม้ปฏิเสธที่จะอนุญาตพื้นที่ให้สร้างถนน
รวมทั้งอ้างว่า Manjhi ทำผิดกฎหมาย
ด้วยการทำลายเนินเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้
The Padma Bhushan ยังรายงานอีกว่า
การปฏิเสธคำร้องของ Manjhi เพราะ
มีการกล่าวหาจากข้ารัฐการ
จำนวนถึงหนึ่งในสี่ของข้ารัฐการแคว้นมคธว่า
เขาไม่ได้ผ่าเนินเขาสร้างถนนเพียงคนเดียวตามลำพัง 
ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากการทำงานของเขา
ต่างไม่พอใจกับรายงาน
ที่เขียนขึ้นจากพวกข้ารัฐการที่ชั่วร้ายเหล่านี้

" สงสัยข้ารัฐการกรมป่าไม้
มัวแต่นอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น
มานานตั้งหลาย ๆ ปี ในตอนที่
Sadhu jhi (Manjhi) ได้ผ่าภูเขาสร้างถนน 
เป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่
ที่ช่วยชาวบ้านที่ยากจนนับพัน ๆ คน
พวกเราต่างเห็นเขาทำงานตั้งแต่วัยเด็ก ๆ ของพวกเรา
ในการเจาะเนินเขาทั้งกลางวันและกลางคืน
ราวกับว่าเขากำลังถูกเจ้าเข้า "
Raj Kumar วัย 30 ปีชาวบ้านดั้งเดิม
ที่เคยอยู่ด้านหลังภูเขา Gahlaur ได้พูดขึ้นมา

แต่ Manjhi กลับไม่รู้สึกสะทกสะท้านกับเรื่องเหล่านี้
เขาบอกกับพวกเราก่อนเดินทางกลับว่า

" สิ่งที่ผมทำเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างรู้เห็น
เมื่อพระเจ้าอยู่เคียงข้างกับคุณ
ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งคุณได้ "

ผมยังจะทำงานเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านนี้
ตราบเท่าที่ผมยังมีลมหายใจอยู่
ผมไม่เคยกลัวการลงโทษใด ๆ จากพวกข้ารัฐการ
สำหรับการทำงานของผม
หรือสนใจในเกียรติยศใด ๆ ที่ได้จากรัฐบาล "

นี่เป็นถ้อยคำที่กล้าหาญมากจากคนจริง

รัฐบาลแคว้นมคธได้พยายาม
ที่ชดเชยความชั่วร้าย/ผิดบาปที่เคยมอบให้กับ Manjhi
ด้วยการจัดรัฐพิธีงานศพให้กับเขาในสัปดาห์สุดท้าย

แต่ตัวเขาเองรู้ตัวเองดีว่า
งานของเขาจะยั่งยืนนานกว่าเกียรติยศที่ได้รับ

ข้อมูลเพิ่มเติมจาำก Wikipedia
ขอบคุณภาพประกอบจาก Internet

เรียบเรียงจาก  facebook  กลุ่ม Interesting Facts





A must read story!
The Man Who Made War on a Mountain


He was ridiculed in 1959 when he started hewing a way through the Gahlaur Ghati hills of Bihar’s Gaya district, some 150 km from Patna. It would take 22 years for Dashrath Manjhi to finish his 360ft-long, 30ft-wide road — little wonder, for he worked alone, his sole tools his chisel,hammer and shovel. What was once a precarious passage just a
foot wide is now an avenue that can accommodate cyclists and motorcyclists and is used by the people of nearly 60 villages with great ease. The road has also reduced the distance between Gaya’s Atri and Vazirganj subdivisions from 50km to just 10km. Children from Manjhi’s own Gahlaur and other nearby villages no longer have to walk eight kilometres one way to attend school — they can now study at a school just three km away.

We met Manjhi a few weeks before the cancer that finally ended his life on August 17 forced him to take to his bed. The 73- year-old was frail, but his energy was undiminished as he relived his work on the road. “I knew if I did not do it myself, neither would the government do it nor would the villagers have the will and determination. This hill had given us trouble and grief for centuries. The people had asked the government many times to make a proper road through the hill, but nobody paid any attention. So I just decided I would do it all by myself.”

Before Manjhi’s road, the hill kept the villages of the region in isolation, forcing the villagers to make an arduous and dangerous trek just to reach the nearest market town, or even their own fields. In 1959, Manjhi recounted, this resulted in a family tragedy on the treacherous slope. “My wife, Faguni Devi, was seriously injured while crossing the hill to bring me water; I worked then on a farm across the hills. That was the day I decided to carve out a proper road through this hill,” he told us. The mission he had set himself meant that he had to drop his wage-earning daily work — his family suffered and he himself often went without food. But his wife was not to see the fruits of his labour — a short while later, she fell ill and died as Manjhi could not get her to the hospital in time. “My love for my wife was the initial spark that ignited in me the desire to carve out a road. But what kept me working without fear or worry all those years was the desire to see thousands of villagers crossing the hill with ease whenever they wanted,” Manjhi said. “Though most villagers taunted me at first, there were quite a few who lent me support later by giving me food and helping me buy my tools.” Today, the villagers have nothing but gratitude for Gaya’s mountain man, known almost universally now as Sadhuji.

Dashrath Manjhi belonged to Bihar’s Musahar community, regarded as the lowest among the state’s Scheduled Castes. While other Dalits in Bihar had at least some land rights under the erstwhile zamindari system, the Musahars never enjoyed any such. Nearly 98 percent of the state’s 1.3 million Musahars are landless today. Not even one percent of them are literate, which makes them the community with the country’s lowest literacy rate. For many of them, the day’s main meal still comprises roots, snails or rats, from which the community’s name is derived.

After Manjhi completed his road, he worked tirelessly for the betterment of his community. Among his other efforts, he managed to persuade nearly 50 Musahar families of his village to settle on government- granted land, although most of them were unwilling to leave their old homes. But when Manjhi started living on the allotted land, the rest followed suit. This new settlement is now known as Dashrath Nagar. Manjhi’s other efforts have been less successful. Despite his herculean feat, the Bihar government has given him only token appreciation and insincere help.

Himself landless, he made a petition once for property on which to build a hospital. Then chief minister Laloo Prasad Yadav allotted him a five-acre plot in a village called Karzania — the people of the village never allowed him to take possession as they were using the land as a grazing ground. More recently, the Bihar government recommended Manjhi’s name for the Padma Bhushan. This never materialised, nor did Nitish Kumar’s promised support for a road Manjhi wanted from Wazirganj to Gahlaur. Government sources say the forest department had refused permission for the road, claiming that Manjhi had violated regulations by cutting away at the hill without the department’s permission. The Padma Bhushan was reportedly denied to Manjhi because of claims made by certain quarters in the bureaucracy that he did not actually carve out the hill road single-handedly. The villagers who benefited from his labour were outraged at these reports.

“Where was the forest department sleeping all these years when Sadhuji was creating history to help thousands of poor villagers? We have seen him from our childhood, hacking at the hill day and night as if he were possessed,” said Raj Kumar, a 30- year-old Gahlaur resident. But Manjhi was unfazed. “What I did is there for everyone to see. When God is with you, nothing can stop you,” he told us as we left. “I will keep working for the development of the villages here so long I am alive. I am neither afraid of any punishment from any government department for my work nor am I interested in any honour from the government.” Brave words, but perhaps only what one would have expected from the man. The government attempted amends by giving him a state funeral last week — but, as he well knew, it is his work that will live on longer than any honour.




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2555
3 comments
Last Update : 27 มกราคม 2557 19:54:29 น.
Counter : 463 Pageviews.

 

จากข้อความที่ว่า
"Dashrath Manjhi เป็นคนหนึ่ง
ในกลุ่มชุน Musahar ในแคว้นมคธ
เป็นกลุ่มชนเป็นที่รู้จักกันดีและทราบกันว่า
เป็นพวกวรรณะชั้นต่ำที่สุดของแคว้นมคธ..."
...........
แม้จะมาจากวรรณะใดก็ตาม แต่การกระทำและผลงาน
ซึ่งมาจากความตั้งใจจริงและการเสียสละเพื่อผู้คนจำนวนมากได้รับประโยชน์นั้น
น่ายกย่องมากค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 18 ตุลาคม 2555 10:28:56 น.  

 

เข้ามาอ่านเนื้อหาดีๆ อีกเรื่องนึงค่ะ

ปล.ขอบคุณสำหรับลิ้งค์เรื่องทุเรียนน้ำที่เอามาแปะไว้ให้นะคะ

 

โดย: คมไผ่ 18 ตุลาคม 2555 16:19:25 น.  

 

ยังมีการกดขี่กันอีกมากมายในโลกนี้

 

โดย: tuk-tuk@korat 18 ตุลาคม 2555 16:56:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.