ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย
กฏหมาย คือ กฏเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และมนุษย์กับองค์กรที่มนุษย์สังกัดอยู่ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของรัฐกับรัฐ
กฏหมายต้องมีลักษณะ 5 ประการ 1) ต้องมาจากรัฐาธิปัตย์/องค์อธิปัตย์ (Sovereign) 2) ต้องเป็นคำสั่ง คำบังคับบัญชาทั่วไป 3) ใช้ได้เป็นการตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก 4) ประชาชนจำต้องปฏิบัติตาม 5) มีบทบังคับ (Sanction)
- กฏหมายจารีตประเพณี (customary law): ไม่มีบทบังคับบอกเล่าต่อๆ มาจากรุ่งหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง - กฏหมายลายลักษณ์อักษร (written law): ประมวลที่เก่าแก่ที่สุดคือ ประมวลกฏหมายพระเจ้าฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) แห่งอาณาจักรบาบิโลน โดยหลักกฏหมายคือตาต่อตา ฟันต่อฟัน
ประวัติศาสตร์กฏหมาย คือวิวัฒนาการของแนวความคิด หลักเกณฑ์ความประพฤติ และกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่มนุษย์ก่อตั้งขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แหล่งข้อมูลที่ศึกษาประวัติศาสตร์กฏหมาย คือ ศิลาจารึก, ตัวบทกฏหมายในอดีต และ หนังสือที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกฏหมาย
กฏหมายสมัยสุโขทัย
1) กฏหมายพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ 1) - ภาษี: ไม่มีจกอบ (จังกอบ) - ซื้อขาย: มีการค้าขาย - ลักษณะมรดก: ลูกรับมรดก - วิธีพิจารณาความ: เสมอภาพ/สอบสวน/ซื้อสัตย์ - ร้องทุกข์: สั่นกระดิ่ง - ที่ดิน: สิทธิครอบครอง - มนุษยธรรม: ไม่ให้ทำร้าย หรือ ฆ่าเชลยศึกทิ้ง - ผู้ลี้ภัย: ช่วยเหลือ
2) กฏหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัย (ศิลาจารึกหลักที่ 38)* มีลักษณะเป็นกฏหมายอาญา - รัฐมุ่งที่จะให้ประชาชนพยายามนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ - เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเป็นพลเมืองดี
บทบัญญัติ 2.1) การเอาคนรับใช้หรือภรรยาผู้อื่นหนีมาแล้วไม่ส่งคืนเจ้าของภายในสามวันต้องถูกปรับตามขนาดที่กำหนดไว้ในพระราชศาสตร์และพระธรรมศาสตร์ (ในกรณีเมือง) 2.2) กรณีนอกเมืองเจ้าของบ้านต้องนำผู้ที่หนีมาสู่ตนไปคืนเจ้าของ ถ้าปล่อยให้อยู่เกินสามวันต้องถูกปรับไหมวันละ 11,000 เบี้ย ถ้าเกินห้าวัน วันละ 55,000 เบี้ย ถ้าเกิน 8 วันให้ปรับเท่ากับลักพาคนไป 2.3) ให้รางวัลแก่ผู้จับขโมยหรือนำของถูกขโมยไปคืนเจ้าของ 2.4) การไม่ช่วยจับโจรมีความผิดเสมือนลักทรัพย์ผู้อื่น 2.5) การฆ่าวัว ฆ่าควายเพื่อใช้เป็นอาหารต้องไปแสดงให้คนทั้งหลายรู้ก่อนจึงฆ่าได้
3) มังรายศาสตร์* - เป็นการนำเอาคำพิพากษาในคดีต่างๆ มารวบรวมเรียบเรียงใหม่ - มีการนำเอามูลคดีวิวาทในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาเป็นหลักในการบัญญัติ กฏหมาย 16 ประการ [1] กู้ของท่าน [2] ยืมของท่าน [3] รวมทุนกับทำการค้าหากำไร [4] รับจ้างของไม่สำเร็จละทิ้งงานเสีย [5] ให้ของแล้วจะขอคืน [6] ปลอมของซึ่งไม่มีวิญญาณ [7] ต่อยกัน [8] ผัวเมียจะหย่ากัน [9] รักเมียท่านจับมือถือนม [10] แย่งทรัพย์และแย่งมรดก [11] ฝากของกันไว้ [12] ของสูญเสียไป [13] ได้คืนไม่ครบถ้วน [14] ของน้อยอ้างว่าของมาก [15] เล่นการพนัน [16] เหตุระหว่างคนเลวคนดี
3.1. การกระทำความผิด 3.1.1) คิดที่จะกระทำความผิด 3.1.2) ตกลงใจที่จะกระทำความผิด 3.1.3) ตระเตรียมการที่จะกระทำความผิด 3.1.4) ลงมือกระทำความผิด 3.1.5) กระทำความผิดสำเร็จ
3.2) ลักษณะทรัพย์ 3.2.1) ทรัพยมีวิญญาณ 3.2.2) ทรัพย์ไม่มีวิญญาณ
3.3) การพบขุมทรัพย์ ถ้าแจ้งได้ครึ่งนึง ถ้าไม่แจ้งเข้าพระคลังทั้งหมด
3.4) ของตกของหาย ได้หนึ่งในสามของทรัพย์ที่ได้
3.5) ความรับผิดชอบต่อผู้เสพสุราด้วยกัน ส่งถึงบ้าน
3.6) ครอบครัว กฏหมายให้ไหมค่าขันหมากเป็นเงิน 11,000 เบี้ย (สมรส, แบ่งสินสมรส)
3.7) มรดก 3.7.1) ลูกคนไหนถือบิดามารดาเป็นศัตรูหรือไม่ 3.7.2) พ่อแม่ขายลูกคนไหนไปหรือยังไม่ได้ขาย 3.7.3) ลูกคนไหนยากจนหรือไม่ 3.7.4) ลูกคนไหนทำคุณแก่บิดามารดา
3.8) หนี้ ไม่มีการทำเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องมีพยาน
3.9) ความรับผิดชอบผู้คำประกัน เฉพาะเงินต้นไม่รวมดอกเบี้ย
3.10) อาญา 3.10.1) ประหาร 3.10.2) ตัดตีนตัดมือ 3.10.3) เนรเทศ
Note: การกระทำความผิด +1+ คิดจะกระทำความผิด +2+ ตัดสินใจกระทำความผิด +3+ ตระเตรียมเพื่อกระทำความผิด +4+ ลงมือกระทำความผิด +5+ กระทำความผิดสำเร็จ
ประเภททรัพย์ =1= ทรัพย์มีวิญญาณ (ถ้าเก็บได้ไม่บอกเพื่อนบ้านถูกข้อหาลักทรัพย์ บอกเพื่อนบ้านแต่เเผลอฆ่ากินชดใช้ทรัพย์ บอกเพื่อนบ้านแล้วเลี้ยงดูได้ค่าไถ่) =2= ทรัพย์ไม่มีวิญญาณ (ถ้าขุดพบแล้วแจ้งได้ 1/2, ถ้าเก็บของตกได้ประกาศ 3 ครั้ง และบอกเพื่อนบ้านได้ 1/2)
กฏหมายตราสามดวง ตราขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แต่ว่าจริงๆ คือกฏหมายของกรุงศรีอยุธยาชำระใหม่ เพราะพระอัยการต่างๆ บัญญัติด้วยกษัตริย์อยุทธา และศักราชที่ปรากฏในพระอัยการเป็นสมัยอยุธยา
ตราสามดวงคือ (1) ตราพระราชสีห์ - สมุหนายก (2) ตราพระคชสีห์ - สมุหพระกลาโหม (3) ตราบัวแก้ว - เจ้าพระยาพระคลัง
อาศัยคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ มี 29 ลักษณะคือ: 1 - พระธรรมศาสตร์ 2 - หลักอินทภาษ: ตุลาการต้องไม่มีอคติ 4 ประการ - ฉันทาคติ (รัก), โทษาคดิ (โกรธ), ภยาคติ (กลัว) และ โมหาคติ (หลง) 3 - กฏมณเฑียรบาล 4 - พระธรรมนูญ 5 - พระอัยการกรมศักดิ์ 6 - พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน 7 - พระอัยการตำแหน่งนาหัวเมือง 8 - พระอัยการบานแผนก 9 - พระอัยการลักษณะฟ้อง 10 - พระอัยการลักษณะพยาน 11 - ลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง 12 - พระอัยการลักษณะตระลาการ 13 - พระอัยการลักษณะอุทธรณ์ 14 - พระอัยการลักษณะผัวเมีย: ชายมีภรรยาได้หลายคน (เมียกลางเมือง เมียกลางนอก เมียกลางทาษี) การสมรส ชายต้องไม่เป็นภิกษุ ต้องไม่เป็นญาติ หญิงหม้ายต้องเผาศพสามีเดิม บิดามารดาหรือผู้เป็นอิสระแก่ฝ่ายหญิงยินยอมยกหญิงให้เป็นภรรยาโดยหญิงนั้นยินยอมด้วย และ ชายหญิงทั้สองฝ่ายได้กินอยู่หลับนอนโดยมีเจตนาเป็นสามีภรรยากัน แล้วอำนาจอิสระ (อำนาจปกครอง) ก็จะโอนไปสู่สามี การหย่ากันเป็นไปได้ด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าชายทิ้งร้างไปตามเวลากำหนด/ล่วงเกินพ่อตาแม่ยาย/คบหาโจรผู้ร้าย/ทำผิดทัณฑ์บน แล้วหญิงคืนสินสอดทองหมั้น ขันหมาก ทุนทรัพย์ถือว่าขาด หรือถ้าชายโกรธหญิงเก็บสินเดิมและสิ่งของลงจากเรือนฟันเสาเรือนหญิงจากไปเพียงหนึ่งวันถือว่าขาด ถ้าชายเอาใจออกหากยักย้านสินเดิม สินสมรสไปให้ส่งทรัพย์สินคืนและแบ่งปันตามกฏหมายแล้วก็ขาดจากการเป็นสามีภรรยา ถ้าชายไปบวชทรัพย์เป็นของหญิง 15 - พระอัยการลักษณะทาษ 16 - พระอัยการลักษณะลักพา 17 - พระอัยการลักษณะมรดก: สำหรับชายหรือหญิงโสดให้แบ่งเป็น ภาคหลวง (ถ้ามีศักดิ์นามากกว่า 400 ไร่และไม่เป็นพราหมณ์ หรือมีบำเน็จ) ภาคบิดามารดา ภาคภรรยา (เฉพาะฝ่ายชายและยังมีภรรยาอีก 2 ชั้นคือภรรยาอันทรงพระกรุณาพระราชทานให้ และ ภรรยาอันทูลขอพระราชทานให้) และ ภาคญาติ; สำหรับหญิงมีสามีส่วนใหญ่ยกสินเดิมให้ญาติพี่น้อง ยกเว้นสินสมรสแล้วแต่กำหนด 18 - พระอัยการลักษณะกู้หนี้: ห้ามมิให้บุตรฟ้องบิดามารดาเรียกคืนหนี้อันเกิดจากการกู้ยืม บุตรเขยหรือสะไพ้ (เขียนแบบโบราณ) จะฟ้องก็ได้แต่ถือเป็นคนอุทลุม (ไม่รู้คุณคน) ก็ให้ฟ้องได้แต่เงินต้นเท่านั้น 19 - พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ 20 - พระอัยการลักษณะวิวาทด่าตีกัน: กำหนดโทษตามความร้ายแรงของสิ่งที่ใช้และส่วนของร่างกาย รวมถึงการดูหมิ่น ยกเว้นโทษการทำร้ายร่างกายมิถึงสาหัสระหว่างเครือญาติ เด็กอายุ 7 ขวบคนชราอายุ 70 ปี และคนวิกลจริต 21 - พระอัยการลักษณะโจร: องค์โจร (กระทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ สั่งสอนให้ลัก) และ สมโจร (ผู้ให้ที่อยู่โจร ผู้เป็นเพื่อนโจร ผู้สมรู้ร่วมคิด ผู้ป้องกันกำบัง ผู้กินอยู่สมเลกับโจร - รับโทษกึ่งหนึ่งขององค์โจร) แบ่งความผิดเป็น 16 ฐาน (ปล้น ย่องสดมภ์ ภัย ตีชิง ฉกฉวย ซุ่มซ่อน ล้วงลัก ลักเลียม สาธารณโจร นิลัมภรโจร วิสาสคาหโจร สรรพโจร ปัฐทูสะกะโจร ทามริกโจร สารโจร และ ดัสกรโจร) 22 - พระอัยการลักษณะอาญาหลวง: กำหนดโทษ 10 สถาน (ฟันคอ ตัดมือตัดเท้า ทวนด้วยลวดหนังหรือไม้หวาย ปรับไหม 4 เท่าแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ให้ไหมตรีคุณแล้วเอาตัวออกจากราชการ ให้ไหมลาหนึ่งแล้วให้ใช้ของๆ เขา ให้ตัดปากแหวะปากเอามะพร้าวห้าวยัดปาก ให้ภาคทัณฑ์บน และ กดอุเบกขาเรียกประกันทัณฑ์บน); ห้ามหญิงไทยสมรสกับคนต่างด้าว; ห้ามค้ากำไรเกินควร และ ไม่มีผลย้อนหลัง 23 - พระอัยการลักษณะอาญาราษฏร์ 24 - พระอัยการลักษณะขบถศึก 25 - กฏพระสงฆ์ 26 - กฏ 36 ข้อ 27 - พระราชบัญญัติ 28 - พระราชกำหนดเก่า 29 - พระราชกำหนดใหม่
Create Date : 19 กันยายน 2548 |
|
56 comments |
Last Update : 20 กันยายน 2548 8:24:07 น. |
Counter : 7865 Pageviews. |
|
 |
|