จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

กฏหมายอาญา 1

ม.1 ในประมวลฯ นี้
(1) "โดยทุจริต" = เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยที่ชอบด้วยกม.สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(2) "ทางสาธารณ" = ทางบกหรือทางน้ำสำหรับ ปชช. ใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทาง รถรางที่มีรถเดิน สำหรับปชช. โดยสารด้วย
(3) "สาธารณสถาน" = สถานที่ใด ๆ ซึ่งปชช. มีความชอบธรรมที่จะเข้า ไปได้
(4) "เคหสถาน" = ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ได้
(5) "อาวุธ" หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ซึ่งได้ ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ
(6) "ใช้กำลังประทุษร้าย" = ทำการประทุษร้ายแก่กาย หรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้ หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่ง บุคคลใดอยู่ใน ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา การสกดจิตหรือ วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน
(7) "เอกสาร" = กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดย วิธีพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
(8) "เอกสารราชการ" = เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำ ขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้า พนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย
(9) "เอกสารสิทธิ" = เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ
(10) "ลายมือชื่อ" หมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมาย ซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตน
(11) "กลางคืน" = เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตก และ อาทิตย์ขึ้น
(12) "คุมขัง" = คุมตัว ควบคุม ขัง กักขังหรือจำคุก
(13) "ค่าไถ่" = ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง
ม.2 บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกม.ที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบญ. เป็นความผิดและกำหนด โทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บญ. ไว้ในกม.
ถ้าตามบทบญ. ของกม.ที่บญ. ในภายหลัง การกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับ โทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง
ม.3 ถ้ากม.ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กม.ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กม.ในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุด แล้วแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และ โทษที่ กำหนด ตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกม. ที่บญ. ในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำ ความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกม.ที่ บญ. ในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตาม กม.ที่บญ. ในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะ กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กม. ที่บญ. ในภายหลัง กำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
(2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตาม กม.ที่บญ. ในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตามกม.ที่บญ. ในภายหลัง
ม.4*** ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษ ตามกม.
การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
ม.5** ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วน1 ส่วนใดได้ กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะ แห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็ง เห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้ กระทำในราชอาณาจักร
ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกม. บญ. เป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือ พยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
ม.6* ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวล กม.นี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็น ตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะ ได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้ กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
ม.7** ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่ บญ. ไว้ใน ม.107 ถึง ม.129
(2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บญ. ไว้ใน ม.240 ถึง ม.249 ม.254 ม.256 ม.257 และ ม.266(3) และ(4)(2ทวิ) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บญ. ไว้ใน ม.282 และ ม.283
(3) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.339 และ ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.340 ซึ่งได้กระทำ ในทะเลหลวง
ม.8*** ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทย เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อปชช. ตามที่ บญ. ไว้ใน ม.217 ม.218 ม.221 ถึง ม.223 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ ม.220 วรรคแรกและ ม.224 ม.226 ม.228 ถึง ม.232 ม.237 และ ม.233 ถึง ม.236 ทั้งนี้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตาม ม.238
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บญ. ไว้ใน ม.264 ม.265 ม.266(1) และ(2) ม.268 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ ม.267 และ ม.269
(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.276 ม.280 และ ม.285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับ ม.276
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บญ. ไว้ใน 288 ถึง ม.290
(5) ความผิดต่อร่างกายตามที่บญ. ไว้ใน ม.295 ถึง ม.298
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บญ. ไว้ใน ม.306 ถึง ม.308
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.309 ม.310 ม.312 ถึง ม.315 และ ม.317 ถึง ม.320
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.334 ถึง ม.336
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ตามที่บญ. ไว้ใน ม.337 ถึง ม.340
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บญ. ไว้ใน ม.341 ถึง ม.344 ม.346 และ ม.347
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บญ. ไว้ใน ม.352 ถึง ม.354
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บญ. ไว้ใน ม.357
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.358 ถึง ม.360
ม.9* เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บญ. ไว้ใน ม.147 ถึง ม.166 และ ม.200 ถึง ม.205 นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร
ม.10*** ผู้ใดกระทำการนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความผิดตาม ม.ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ใน ม.7(2) และ(3) ม.8 และ ม.9 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้น ในราชอาณาจักร เพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในตปท. อันถึงที่สุดให้ปล่อยตัว ผู้นั้นหรือ
(2) ศาลในตปท. พิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้น ตามคำพิพากษา ของศาลในตปท. มาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษ เลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
ม.11* ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำ ความผิดที่ประมวลฯ นี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้า ผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่าง ประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลง โทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิด ที่ประมวลฯ นี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อ ศาลในตปท. โดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นใน ราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในตปท. อันถึงที่สุดให้ปล่อย ตัวผู้นั้นหรือ
(2) ศาลในตปท. พิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว
ม.12 วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะใช้บังคับแก่บุคคลใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบญ. แห่งกม.ให้ใช้บังคับได้เท่านั้น และกม. ที่จะใช้บังคับนั้นให้ใช้กม.ในขณะที่ศาลพิพากษา
ม.13 ถ้าตามบทบญ. ของกม.ที่บญ. ในภายหลัง ได้มีการยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใด และถ้าผู้ใดถูกใช้บังคับ วิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นอยู่ ก็ให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อ ผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการร้องขอ
ม.14 ในกรณีที่มีผู้ถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดอยู่ และได้มีบทบญ. ของกม. ที่บญ. ในภายหลังเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นไปซึ่ง เป็นผลอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนำมาใช้บังคับ ได้แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบญ. ของ กม.ที่บญ. ในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความ ปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาล ของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธี การเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบญ. แห่งกม. นั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร
ม.15 ถ้าตามบทบญ. ของกม.ที่บญ. ในภายหลัง โทษใดได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และได้มี คำพิพากษาลงโทษนั้นแก่บุคคลใดไว้ ก็ให้ถือว่าโทษที่ลงนั้นเป็นวิธี การเพื่อความปลอดภัยด้วย
ในกรณีดังกล่าวในวรรคแรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษผู้นั้นหรือผู้นั้นยัง รับโทษอยู่ ก็ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไป และ ถ้าหากว่าตามบทบญ. ของกม.ที่บญ. ในภายหลังมีเงื่อนไข ที่สั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันไม่อาจนำมาใช้ บังคับแก่กรณีของผู้นั้น หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยตามบทบญ. ของกม.ที่บญ. ในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้ นั้นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการ เพื่อความ ปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบญ. แห่งกม.นั้น แล้วแต่ กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร
ม.16 เมื่อศาลได้พิพากษาให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอด ภัยแก่ผู้ใดแล้ว ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอของผู้นั้น เอง ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม ศาลจะสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอด ภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราว ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ม.17 บทบญ. ในภาค 1 แห่งประมวลฯ นี้ ให้ใช้ ในกรณีแห่งความผิดตามกม.อื่นด้วย เว้นแต่กม.นั้นๆ จะได้บญ. ไว้เป็นอย่างอื่น
ม.18 โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
ม.19 ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย
ม.20 บรรดาความผิดที่กม.กำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุก และปรับด้วยนั้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกก็ได้
ม.21 ในการคำนวณระยะเวลาจำคุก ให้นับวันเริ่มจำคุก รวมคำนวณเข้าด้วย และให้นับเป็น1 วันเต็มโดยไม่ต้องคำนึงถึง จำนวนชั่วโมง
ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับ3 สิบวัน เป็น1 เดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ เมื่อผู้ต้องคำพิพากษาถูกจำคุกครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวใน วันถัดจากวันที่ครบกำหนด
ม.22 โทษจำคุก ให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้อง คำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขัง ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้น จะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่คำพิพากษากล่าวไว้เป็นอย่างอื่น โทษจำคุกตาม คำพิพากษาเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดี เรื่องนั้นเข้าด้วยแล้ว ต้องไม่เกินอัตราโทษขั้นสูงของกม.ที่ กำหนดไว้ สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบ กระเทือนบทบญ. ใน ม.91
ม.23 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกิน3 เดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษ จำคุกมาก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ศาล จะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกิน3 เดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้
ม.24 ผู้ใดต้องโทษกักขัง ให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่ง กำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ
ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังผู้กระทำ ความผิดไว้ในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือสถานที่อื่นที่อาจกักขังได้ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทหรือสภาพ ของผู้ถูกกักขังก็ได้
ม.25 ผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ซึ่งกำหนดจะได้รับการเลี้ยงดู จากสถานที่นั้น แต่ภายใต้ข้อบังคับของสถานที่ ผู้ต้องโทษกักขังมีสิทธิ ที่จะรับอาหารจากภายนอกโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ใช้เสื้อผ้าของ ตนเอง ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง และรับและส่ง จดหมายได้
ผู้ต้องโทษกักขังจะต้องทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับและวินัย ถ้าผู้ต้องโทษกักขังประสงค์จะทำงานอย่างอื่น ก็ให้อนุญาตให้เลือก ทำได้ตามประเภทงานที่ตนสมัคร แต่ต้องไม่ขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ วินัย หรือความปลอดภัยของสถานที่นั้น
ม.26 ถ้าผู้ต้องโทษกักขังถูกกักขังในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ ผู้ต้องโทษกักขังนั้นมีสิทธิที่จะ ดำเนินการในการวิชาชีพหรืออาชีพของตนในสถานที่ดังกล่าวได้ ใน การนี้ศาลจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องโทษกักขังปฏิบัติอย่าง1 อย่างใดหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
ม.27 ถ้าในระหว่างที่ผู้ต้องโทษกักขังได้รับโทษกักขังอยู่ ความปรากฏแก่ศาลเอง หรือปรากฏแก่ศาลตามคำแถลงของ พนักงานอัยการหรือผู้ควบคุมดูแลสถานที่กักขังว่า
(1) ผู้ต้องโทษกักขังฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือวินัยของสถานที่ กักขัง
(2) ผู้ต้องโทษกักขังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หรือ
(3) ผู้ต้องโทษกักขังต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก
ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา ตามที่ ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาของโทษกักขังที่ผู้ต้อง โทษกักขังจะต้องได้รับต่อไป
ม.28 ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
ม.29 ผู้ใดต้องโทษปรับ และไม่ชำระค่าปรับภายใน3 สิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือ มิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัย ว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่ง ให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้
ความในวรรค2 ของ ม.24 มิให้นำมาใช้บังคับแก่การกักขัง แทนค่าปรับ
ม.30 ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราเจ็ดสิบบาทต่อ 1 วันและไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียว หรือหลายกระทงห้าม กักขังเกินกำหนด1 ปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ สี่หมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกิน กว่า1 ปีแต่ไม่เกิน2 ปีก็ได้
ในการคำนวณระยะเวลานั้น ให้นับวันเริ่มกักขังแทนค่าปรับรวม เข้าด้วยและให้นับเป็น1 วันเต็มโดยไม่คำนึงถึงจำนวนชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวน วันที่ถูกคุมขังนั้นออกจากจำนวนเงินค่าปรับ โดยถืออัตราเจ็ดสิบบาท ต่อ1 วันเว้นแต่ผู้นั้นต้องคำพิพากษาให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ในกรณีเช่นว่านี้ถ้าจะต้องหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากเวลา จำคุกตาม ม.22 ก็ให้หักออกเสียก่อนเหลือเท่าใดจึงให้หักออก จากเงินค่าปรับ
เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้ว ให้ ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระครบ แล้ว ให้ปล่อยตัวไปทันที
ม.31 ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิด หลายคน ในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับ เรียงตามรายตัวบุคคล
ม.32 ทรัพย์สินใดที่กม.บญ. ไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และ มีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
ม.33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตาม กม.ที่บญ. ไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้อีกด้วยคือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจ ด้วยในการกระทำความผิด
ม.34 บรรดาทรัพย์สิน
(1) ซึ่งได้ให้ตามความใน ม.143 ม.144 ม.149 ม.150 ม.167 ม.201 หรือ ม.202 หรือ
(2) ซึ่งได้ให้เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัล ในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็น ใจด้วยในการกระทำความผิด
ม.35 ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ศาลจะพิพากษาให้ทำให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้หรือทำลายทรัพย์สิน นั้นเสียก็ได้
ม.36 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตาม ม.33 หรือ ม.34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของ แท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำ ความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ใน ความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้น จะต้องกระทำต่อศาลภายใน1 ปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
ม.37 ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ ศาลกำหนด ให้ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
(2) ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ
(3) ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่ง หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชำระ ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้ นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกิน1 ปีแต่ถ้าภายหลัง ปรากฏแก่ศาลเองหรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่า ผู้นั้นไม่3 ารถส่ง ทรัพย์สินหรือชำระราคาได้ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบ กำหนดก็ได้
ม.38 โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด
ม.39 วิธีการเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้
(1) กักกัน
(2) ห้ามเข้าเขตกำหนด
(3) เรียกประกันทัณฑ์บน
(4) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
(5) ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
ม.40 กักกัน คือการควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัยและ เพื่อฝึกหัดอาชีพ
ม.41 ผู้ใดเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้ว หรือเคยถูก ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งในความผิดดังต่อไปนี้ คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของปชช. ตามที่บญ. ไว้ใน ม.209 ถึง ม.216
(2) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อปชช. ตามที่บญ. ไว้ใน ม.217 ถึง ม.224
(3) ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ตามที่บญ. ไว้ใน ม.24O ถึง ม.246
(4) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.276 ถึง ม.286
(5) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บญ. ไว้ใน ม.288 ถึง ม.290 ม.292 ถึง ม.294
(6) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บญ. ไว้ใน ม.295 ถึง ม.299
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.309 ถึง ม.320
(8) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่บญ. ไว้ใน ม.334 ถึง ม.340 ม.354 และ ม.357
และภายในเวลาสิบปีนับแต่วันที่ผู้นั้นได้พ้นจากการกักกันหรือพ้น โทษแล้วแต่กรณี ผู้นั้นได้กระทำความผิดอย่าง1 อย่างใดในบรรดา ที่ระบุไว้นั้นอีกจนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน สำหรับ การกระทำความผิดนั้นศาลอาจถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดติด นิสัยและจะพิพากษาให้กักกันมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า3 ปี และ ไม่เกินสิบปีก็ได้
ความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุยังไม่เกิน17 ปี นั้น มิให้ถือเป็นความผิดที่จะนำมาพิจารณากักกันตาม มาตรานี้
ม.42 ในการคำนวณระยะเวลากักกัน ให้นับวันที่ศาลพิพากษา เป็นวันเริ่มกักกัน แต่ถ้ายังมีโทษจำคุกหรือกักขังที่ผู้ต้องกักกันนั้นจะ ต้องรับอยู่ก็ให้จำคุก หรือกักขังเสียก่อนและให้นับวันถัดจากวันที่พ้น โทษจำคุกหรือพ้นจากกักขังเป็นวันเริ่มกักกัน
ระยะเวลากักกัน และการปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน ให้นำบทบญ. ม.21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ม.43 การฟ้องขอให้กักกันเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ โดยเฉพาะ และจะขอรวมกันไปในฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้อง ขอให้กักกันหรือจะฟ้องภายหลังก็ได้
ม.44 ห้ามเข้าเขตกำหนด คือการห้ามมิให้เข้าไปในท้องที่ หรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
ม.45 เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด และศาลเห็นสมควร เพื่อความปลอดภัยของปชช. ไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่ ศาลอาจสั่ง ในคำพิพากษาว่าเมื่อผู้นั้นพ้นโทษตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามมิให้ผู้นั้น เข้าเขตกำหนดเป็นเวลาไม่เกินห้าปี
ม.46 ถ้าความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงาน อัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นก็ดี ในการพิจารณาคดีความผิดใด ถ้าศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย ให้เกิดภยันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นก็ดี ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้นให้ ทำทัณฑ์บน โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าพันบาท ว่าผู้นั้นจะ ไม่ก่อเหตุดังกล่าวแล้วตลอดเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่เกิน2 ปี และ จะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ถ้าผู้นั้นไม่ยอมทำทัณฑ์บนหรือหาประกันไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจ สั่งกักขังผู้นั้นจนกว่าจะทำทัณฑ์บนหรือหาประกันได้ แต่ไม่ให้กักขัง เกินกว่าหกเดือน หรือจะสั่งห้ามผู้นั้นเข้าไปในเขตกำหนดตาม ม.45 ก็ได้
การกระทำของเด็กที่มีอายุยังไม่เกิน17 ปี มิให้อยู่ในบังคับแห่ง บทบญ. ตาม มาตรานี้
ม.47 ถ้าผู้ทำทัณฑ์บนตามความใน ม.46 กระทำผิด ทัณฑ์บนให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนด ไว้ในทัณฑ์บน ถ้าผู้นั้นไม่ชำระให้
ม.48 ถ้าศาลเห็นว่า การปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนซึ่งไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษตาม ม.65 จะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ปชช. ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ ในสถานพยาบาลก็ได้ และคำสั่งนี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
ม.49 ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก หรือพิพากษาว่า มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษบุคคลใด ถ้าศาล เห็นว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเสพสุราเป็น อาจิณ หรือการเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ศาลจะกำหนดในคำพิพากษา ว่าบุคคลนั้นจะต้องไม่เสพสุรา ยาเสพติดให้โทษ อย่าง1 อย่างใด หรือทั้ง2 อย่างภายในระยะเวลาไม่เกิน2 ปีนับแต่วันพ้นโทษหรือ วันปล่อยตัวเพราะรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษก็ได้
ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวในวรรคแรก ไม่ปฏิบัติตามที่ศาลกำหนด ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาลเป็นเวลาไม่เกิน2 ปีก็ได้
ม.50 เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด ถ้าศาลเห็นว่าผู้นั้น กระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และเห็นว่าหากผู้นั้น ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจจะกระทำความผิดเช่นนั้น ขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ นั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้
ม.51 ในการเพิ่มโทษ มิให้เพิ่มขึ้นถึงประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี
ม.52 ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลด ม.ส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ลดดังต่อไปนี้
(1) ถ้าจะลด1 ใน3 ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถ้าจะลดกึ่ง1 ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษ จำคุกตั้งแต่20 ห้าปีถึงห้าสิบปี
ม.53 ในการลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลด ม.ส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นโทษจำคุกห้าสิบปี
ม.54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงให้ศาล ตั้งกำหนดที่จะลงแก่จำเลยเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มหรือลดถ้ามีทั้งการเพิ่ม และการลดโทษที่จะลง ให้เพิ่มก่อนแล้วจึงลดจากผลที่เพิ่มแล้วนั้น ถ้าส่วนของการเพิ่มเท่ากับหรือมากกว่าส่วนของการลดและศาล เห็นสมควรจะไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้
ม.55 ถ้าโทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนด เวลาเพียง3 เดือนหรือน้อยกว่า ศาลจะกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลง อีกก็ได้ หรือถ้าโทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลา เพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าและมีโทษปรับด้วย ศาลจะกำหนดโทษ จำคุกให้น้อยลง หรือจะยกโทษจำคุกเสีย คงให้ปรับแต่อย่างเดียวก็ได้
ม.56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกิน2 ปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมา ก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึง ถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการสมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดย จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจ กำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือหรือตักเตือนตาม ที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพหรือจัดให้ กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ตามที่ เจ้า พนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร
(2) ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
(3) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไป สู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก
(4) ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความ บกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด
(5) เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก
เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามความในวรรคก่อนนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอของผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดย ชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้า พนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้ กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจ แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อ1 ข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนด เงื่อนไขข้อใด ตามที่กล่าวในวรรคก่อนที่ศาลยังมิได้กำหนดไว้ เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้
ม.57 เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คำแถลงของพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า ผู้กระทำความผิด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ศาลกำหนดตาม ม.56 ศาลอาจ ตักเตือนผู้กระทำความผิดหรือจะกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้ กำหนดหรือลงโทษซึ่งรอไว้นั้นก็ได้
ม.58 เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตาม 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนด โทษ ที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี
แต่ถ้าภายในเวลาที่ศาลได้กำหนดตาม ม.56 ผู้นั้นมิได้กระ ทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรก ให้ผู้นั้นพ้นจากการที่จะถูก กำหนดโทษหรือถูกลงโทษในคดีนั้น แล้วแต่กรณี
ม.59*** บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กม. บญ. ให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณี ที่กม.บญ. ไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มี เจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะ ถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ นั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัก ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอัน1 อันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
ม.60*** ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการ กระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดย เจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่ กม.บญ. ให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำ กม.นั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
ม.61*** ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัว ว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่
ม.62*** ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็น ความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดหรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษ น้อยลง แล้วแต่กรณี
ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรค3 แห่ง ม.59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วย ความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำ โดยประมาท ในกรณีที่กม.บญ. ไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำ นั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้น จะต้องได้รู้ข้อเท็จนั้น
ม.63 ถ้าผลของการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลของการกระทำความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดา ย่อมเกิดขึ้นได้
ม.64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กม.เพื่อให้พ้นจากความ รับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากม.บญ. ว่าการกระทำนั้นเป็น ความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาล เชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากม.บญ. ไว้เช่นนั้นศาลจะลงโทษน้อย กว่าที่กม.กำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ม.65 ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่3 ารถรู้ผิดชอบ หรือไม่3 ารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือ จิตฟั่นเฟือนผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยัง3 ารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยัง 3 ารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได้
ม.66 ความมึนเมาเพราะเสพย์สุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะ ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตาม ม.65 ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้น จะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดย ถูกขืนใจให้เสพย์และได้กระทำความผิดในขณะไม่3 ารถรู้ผิดชอบ หรือไม่3 ารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยก เว้นโทษสำหรับความผิดนั้นแต่ถ้าผู้นั้นยัง3 ารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยัง3 ารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่ กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ม.66 ความมึนเมาเพราะเสพย์สุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะ ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตาม ม.65 ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้น จะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดย ถูกขืนใจให้เสพย์และได้กระทำความผิดในขณะไม่3 ารถรู้ผิดชอบ หรือไม่3 ารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยก เว้นโทษสำหรับความผิดนั้นแต่ถ้าผู้นั้นยัง3 ารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยัง3 ารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่ กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ม.67*** ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่3 ารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่3 ารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตน มิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแต่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ
ม.68*** ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม.และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควร แก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกม. ผู้นั้น ไม่มีความผิด
ม.69 ในกรณีที่บญ. ไว้ใน ม.67 และ ม.68 นั้น ถ้าผู้กระทำได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่ง ความจำเป็นหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้แต่ถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความ ตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้
ม.70 ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกม. ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่ง ซึ่งมิชอบด้วยกม.
ม.71** ความผิดตามที่บญ. ไว้ใน ม.334 ถึง ม.336 วรรคแรก และ ม.341 ถึง ม.364 นั้นถ้าเป็นการ กระทำที่3 ีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อ3 ี ผู้กระทำไม่ต้อง รับโทษ
ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้ สืบสันดานผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน กระทำต่อกัน แม้กม.มิได้บญ. ให้เป็นความ ผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และนอกจาก นั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้
ม.72*** ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ อันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะ ลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้
ม.73 เด็กอายุยังไม่เกินเจ็ดปี กระทำการอันกม.บญ. เป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
ม.74 เด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีกระทำการอัน กม.บญ. เป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมี อำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็น สมควรจะเรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มา ตักเตือนด้วยก็ได้
(2) ถ้าศาลเห็นว่า บิดามารดาหรือผู้ปกครอง3 ารถดูแลเด็ก นั้นได้ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครอง ไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน3 ปีและกำหนด จำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดามารดาหรือผู้ปกครองจะต้อง ชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ1 พันบาทในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควร จะเรียกบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาวาง ข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นศาลจะเรียกตัวบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มา สอบถามว่า จะยอมรับข้อกำหนดทำนองที่บญ. ไว้สำหรับบิดามารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมาข้างต้น หรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้น อาศัยอยู่ยอมรับข้อกำหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็ก ให้แก่บุคคลผู้นั้นไปโดยวางข้อกำหนดดังกล่าว
(3) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือ บุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ตาม(2) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความ ประพฤติเด็กนั้นเช่นเดียวกับที่บญ. ไว้ใน ม.56 ด้วยก็ได้ ใน กรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใด เพื่อคุมประพฤติเด็กนั้น
(4) ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาล เห็นว่าไม่3 ารถดูแลเด็กนั้นได้หรือถ้าเด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอก จากบิดามารดาหรือผู้ปกครองและบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนด ดังกล่าวใน(2) ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือ องค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอนตามระยะเวลา ที่ศาลกำหนดก็ได้ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอมในกรณีเช่นว่านี้ ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่นผู้ปกครองเฉพาะเพื่อดูแลอบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการกำหนดที่อยู่และการจัดให้เด็กมีงานทำ ตามสมควร หรือ
(5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรมหรือ สถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาล กำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี
คำสั่งของศาลดังกล่าวใน(2)(3)(4) และ(5) นั้น ถ้าใน ขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ความปรากฏแก่ศาลโดย ศาลรู้เอง หรือตามคำเสนอของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือ บุคคลหรือองค์การที่ศาลมอบตัวเด็กเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอนหรือ เจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปก็ให้ ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้น หรือมีคำสั่งใหม่ตามอำนาจ ใน มาตรานี้
ม.75 ผู้ใดอายุกว่าสิบสี่ปี แต่ยังไม่เกิน17 ปี กระทำการอัน กม.บญ. เป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่น ทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น ในอันที่จะควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้ นั้นหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ให้จัดการตาม ม.74 หรือถ้าศาลเห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษก็ให้ลด ม.ส่วนโทษที่ กำหนดไว้ สำหรับความผิดลงกึ่ง1
ม.76 ผู้ใดอายุกว่า17 ปี แต่ยังไม่เกิน20 ปี กระทำการ อันกม.บญ. เป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควร จะลด มาตราส่วน โทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง1 ใน3 หรือกึ่ง1 ก็ได้
ม.77 ในกรณีที่ศาลวางข้อกำหนดให้บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ ระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตามความใน ม.74(2) ถ้าเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้นภายในเวลาในข้อกำหนด ศาลมีอำนาจบังคับบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ ให้ชำระเงินไม่เกินจำนวนในข้อกำหนดนั้นภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควร ถ้าบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ไม่ชำระเงิน ศาลจะสั่งให้ยึดทรัพย์สินของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็ก นั้นอาศัยอยู่ เพื่อใช้เงินที่จะต้องชำระก็ได้
ในกรณีที่ศาลได้บังคับให้บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็ก นั้นอาศัยอยู่ชำระเงินตามข้อกำหนดแล้วนั้น ถ้าศาลมิได้เปลี่ยนแปลง แก้ไขคำสั่งที่ได้วางข้อกำหนดนั้นเป็นอย่างอื่นตามความใน ม.74 วรรคท้าย ก็ให้ข้อกำหนดนั้นคงใช้บังคับได้ต่อไปจนสิ้นเวลาที่ กำหนดไว้ในข้อกำหนดนั้น
ม.78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบญ. แห่งประมวลฯ นี้หรือกม. อื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควร จะลดโทษไม่เกินกึ่ง1 ของโทษ ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบา ปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึก ความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อ เจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นผลประโยชนแก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน
ม.79 ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ถ้าผู้ที่ต้องหาว่ากระทำความผิด นำค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นมาชำระก่อน ที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน ให้คดีนั้นเป็นอันระงับไป
ม.80*** ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายาม กระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษ2 ใน 3 ส่วนของโทษที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ม.81** ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกม.บญ. เป็น ความผิด แต่การกระทำนั้นไม่3 ารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะ เหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ ให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่ง1 ของโทษที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
ม.82** ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอดหรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับ โทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไป แล้วต้องบทกม.ที่บญ. เป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับ ความผิดนั้น ๆ
ม.83** ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่2 คนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษตามที่กม.กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ม.84** ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้บังคับ ขู่เข็ญจ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้ กระทำความผิด
ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียง1 ใน3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ม.85 ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือน ผู้นั้นต้อง ระวางโทษกึ่ง1 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทำความผิดเพราะเหตุที่ได้มีการโฆษณาหรือ ประกาศตามความในวรรคแรก ผู้โฆษณาหรือประกาศต้องรับโทษ เสมือนเป็นตัวการ
ม.86*** ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำ ความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้อง ระวางโทษ2 ใน3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ สนับสนุนนั้น
ม.87 ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเพราะมีผู้ใช้ให้กระทำตาม ม.84 เพราะมีผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้ กระทำความผิดตาม ม.85 หรือโดยมีผู้สนับสนุนตาม ม.86 ถ้าความผิดที่เกิดขึ้นนั้นผู้กระทำได้กระทำไปเกินขอบเขตที่ใช้หรือที่ โฆษณาหรือประกาศ หรือเกินไปจากเจตนาของผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้ กระทำความผิดผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความ ผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณีต้องรับผิดทาง อาญาเพียงสำหรับความผิดเท่าที่อยู่ในขอบเขตที่ใช้หรือที่โฆษณาหรือ ประกาศ หรืออยู่ในขอบเขตแห่งเจตนาของผู้สนับสนุนการกระทำ ความผิดเท่านั้น แต่ถ้าโดยพฤติการณ์อาจเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดการ กระทำความผิดเช่นที่เกิดขึ้นนั้นได้จากการใช้การโฆษณาหรือประกาศ หรือการสนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่ บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดหรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่เกิดขึ้นนั้น
ในกรณีที่ผู้ถูกใช้ ผู้กระทำตามคำโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคล ทั่วไปให้กระทำความผิด หรือตัวการในความผิด จะต้องรับผิด ทางอาญามีกำหนดโทษสูงขึ้นเพราะอาศัยผลที่เกิดจากการกระทำ ความผิดผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป ให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย แต่ถ้า โดยลักษณะของความผิด ผู้กระทำจะต้องรับผิดทางอาญามีกำหนด โทษสูงขึ้นเฉพาะเมื่อผู้กระทำต้องรู้ หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผล เช่นนั้นขึ้น ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคล ทั่วไปให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด จะ ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นก็เฉพาะเมื่อ ตนได้รู้ หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลเช่นที่เกิดขึ้นนั้น
ม.88** ถ้าความผิดที่ได้ใช้ ที่ได้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำ หรือที่ได้สนับสนุนให้กระทำ ได้กระทำถึงขั้นลงมือ กระทำความผิดแต่เนื่องจากการเข้าขัดขวางของผู้ใช้ ผู้โฆษณาหรือ ประกาศหรือผู้สนับสนุนผู้กระทำได้กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไป ตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้ใช้หรือผู้โฆษณาหรือประกาศ คงรับผิดเพียงที่บญ. ไว้ใน ม.84 วรรค2 หรือ ม.85 วรรคแรก แล้วแต่กรณี ส่วนผู้สนับสนุนนั้นไม่ต้องรับโทษ
ม.89 ถ้ามีเหตุส่วนตัวอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่ม โทษแก่ผู้กระทำความผิดคนใด จะนำเหตุนั้นไปใช้แก่ผู้กระทำความผิด คนอื่นในการกระทำความผิดนั้นด้วยไม่ได้ แต่ถ้าเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิด นั้นด้วยกันทุกคน




 

Create Date : 27 สิงหาคม 2549
15 comments
Last Update : 27 สิงหาคม 2549 12:08:14 น.
Counter : 1144 Pageviews.

 

^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

 

โดย: ไร้นาม 27 สิงหาคม 2549 10:48:44 น.  

 

คนหน้าเดิมสอบไปเมื่อ 30 ตค. 49 ที่ผ่านมา

ทำได้ค่อนข้างดี

แต่

แค่ผ่าน

 

โดย: คนหน้าเดิม IP: 202.44.219.99 15 ธันวาคม 2549 16:54:15 น.  

 

เรียนรามเหมือนกัน อยู่คณะนิติฯ ตอนนี้อยู่ปี2 พอดีหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย ก็เลยเข้ามานี่ ขอเมลล์หน่อยสิ เผื่อปรึกษาเรื่องเรียน ถ้าอ่านcomment แล้วช่วยส่งให้หน่อยนะ

www.Ah_Candy_Tuktik@hotmail.com <เมลล์ของtuktikเองเเหละ>

 

โดย: tuktik IP: 124.120.219.41 30 มิถุนายน 2550 11:28:27 น.  

 

+++ คุณคนหน้าเดิม +++

ผ่านก็ดีแล้วค่ะ @^_^@


+++ คุณ tuktik +++

ปรึกษากันบนนี้เลยได้ค่ะ เผื่อมีเพื่อนคนอื่นมาช่วยอีก

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 11:40:21 น.  

 

ขอรายงานตัวร่วมเป็นเด็กนิติ ค่ะ
ขอสอบถามแบบเด็กๆนะคะ
1* 2* 3* คืออะไรคะ
จะได้ร่วมเรียนอย่างเข้าใจและถูกต้องค่ะ
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: เด็กใหม่ IP: 125.24.136.144 5 มกราคม 2551 14:06:37 น.  

 


ขอบคุณนะช่วยตัดได้เยอะเลย จะพยายามทำให้ได้นะ

 

โดย: อิอิ IP: 124.121.33.21 15 กุมภาพันธ์ 2551 13:02:15 น.  

 

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ

พวก * เป็นมาตราเก็งของช่วงปีที่ทำค่ะ

 

โดย: ไร้นาม 5 พฤษภาคม 2551 2:00:25 น.  

 

รายงานตัวเข้าคณะครับ

 

โดย: อัศวิน IP: 125.24.203.179 19 มิถุนายน 2551 10:58:09 น.  

 

ทำไมไม่มีมาตราที่เหลือหล่ะ...ส่วนที่แก้ไขด้วย...ขอหน่อยน่ะ

 

โดย: มิมิ IP: 124.120.164.142 24 กรกฎาคม 2551 10:45:37 น.  

 

อิอิ ปี2แย้วเรา นิติเหมือนกัล

 

โดย: ปืน โรมัน IP: 117.47.71.179 14 สิงหาคม 2551 0:11:39 น.  

 

อยากมีเพื่อนเรียนเหมือนกัน จะได้ช่วยกันติวกฎหมาย เพราะอ่านเองไม่ทันแน่ แอดมาน่ะทุกคน ssb_ds4121@hotmail.com

 

โดย: นาย IP: 124.120.2.20 18 สิงหาคม 2551 15:53:03 น.  

 

นาย ก.มีเจตนาจะฆ่านาย ข. แต่กระสุนพลาดไปถูกนาย ค. จะพิจารณาคดีว่าอย่างไร

 

โดย: เบียร์ IP: 125.26.126.113 8 กันยายน 2551 2:38:26 น.  

 

กฏหมายแพงเข้าใจง่ายแต่อาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง

 

โดย: ออน IP: 125.24.129.213 8 กันยายน 2551 16:05:46 น.  

 

อยากได้ข้อมูลกฎหมายเยอะๆๆ จะดูได้จากไหน (ถ้าไม่มีเวลาไปหาหนังสือ)

 

โดย: sk IP: 115.67.226.219 8 ตุลาคม 2551 20:01:33 น.  

 

หวาดดีค่ะเด็กนิติเช่นกานค่ะขึ้นปีสองแล้วอ่ะนะยังไงก้อฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ แนะนำบ้างก้อดีค่ะ อิอิ เมล์มาก้อได้ค่ะ
noyhitman@hot

 

โดย: อึนโซ IP: 115.67.119.142 2 เมษายน 2552 18:55:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.