|
 |
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
 |
19 ธันวาคม 2566
|
|
|
|
The golden boy : รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ?
ภาพพจาก https://www.thaipbsworld.com/us-museum-agrees-to-return-golden-boy-statue-to-thailand/ปรกติผมไม่ชอบเขียนอะไรด่วนๆ ต้องดองให้เข้าที่ ในกรณีนี้ที่มีข่าวว่า พิพิธภัณฑ์ MET จะส่งคืนรูปสำริด ที่ฝรั่งตั้งชื่อว่า Golden boy ให้กับประเทศไทย ซึ่ง ณ วันที่เขียนนี้คือวันที่ 19 ธ.ค. 66 ผมควรจะรอให้มาจัดแสดงที่ พช. พระนคร แล้วค่อยเขียน แต่มีอะไรบางอย่าง ที่คงอดไม่ได้ที่จะเขียนตั้งแต่วันนี้ เพราะมันแปลกประหลาดที่จะมีคนบอกว่ารูปปั้นดังกล่าว คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 แล้วก็เอาประวัติของพระองค์ โน่นนี่นั่นมาเล่า เข้าใจว่า เพื่อที่จะเชื่อมโยงให้เห็นว่าเป็นของไทย ซึ่งผมมองว่ามันไม่จำเป็น เพราะหลักฐานรูปถ่าย และบุคคลที่ร่วมสมัยตอนที่ขโมยไปก็ยังอยู่ แล้วทำไมเราต้องเชื่อมโยง แล้วอะไรคือหลักฐาน ? เพราะโดยความสามัญของคนที่เห็นรูปปั้นสำริด จะพยายามมองหาว่าเป็นรูปของเทพองค์ใด เพราะสมัยนั้นไม่มีคติการทำรูปปั้นตนเองตั้งโชว์ อันนั้นมันเป็นวัฒนธรรมกรีก-โรมันของตะวันตก แปลว่าเราต้องตามหา ว่ารูปปั้นสำริดองค์นี้เป็นเทพองค์ใด ทาง MET ให้ข้อมูลใต้รูปว่า น่าจะเป็นพระศิวะ? เพราะเค้าก็ไม่มั่นใจ เพราะแม้ส่วนใหญ่แถบถิ่นนี้จะบูชาพระศิวะ แต่ว่าเทวรูปองค์นี้ก็ไม่มีดวงตาที่สามที่จะใช้บ่งชี้
 เทวรูป golden boy น่าสนใจ ที่ยังคงมีพระวรกายสมบูรณ์ ทำให้เราเห็นลักษณะการนุ่งผ้า ซึ่งผมเองไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญ แต่มองครั้งแรก จะนึกถึงลักษณะการห้อยผ้าแบบชายแครง อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ. 1656-1688) แต่ลักษณะการเว้าผ้านุ่งเหนือพระนาภี น่าจะเก่าย้อนไปบาปวน ซึ่งนักวิชาการบางคนสรุปสองสิ่งนี้ว่าคือ ศิลปะแบบพิมาย และเชื่อมโยงกับสถานที่ค้นพบคือ ปราสาทบ้านยาง บุรีรัมย์ กับปราสาทพิมายที่เชื่อกันว่าสร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ทำให้มีการสรุปว่าคือรูปปั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623-1650) กลับไปตอนเริ่มต้นที่บอกว่า ไม่มีกษัตริย์องค์ใดทำรูปเหมือน ดังนั้นสิ่งนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่จะเป็นเทวรูปองค์ใด ให้ดูที่การเกล้าพระเกศา ซึ่งจะมีการสวมเครื่องรัดเอาไว้ เหมือนเป็นชฎามงกุฎ นี่เองอาจทำให้ MET เข้าใจว่าเป็นพระศิวะ แต่รูปนั้นยังไม่ชัดมากพอที่จะสรุปได้ แต่ขอเดาว่าที่รัดพระเกศา ที่เห็นเป็นลักษณะรูปสามเหลี่ยมประดับ น่าจะเป็นรูปของเจดีย์ ซึ่งสิ่งนี้สื่อถึง พระโพธิสัตว์เมตไตรยะของพุทธศาสนามหายาน ที่นิยมกันมากในอีสานใต้ เช่น กลุ่มเทวรูปกลุ่มประโคนชัย และนี่ทำให้ผมย้อนกลับไปดูรูปเทวรูปของปราสาทสระกำแพงใหญ่ ที่ให้ข้อสันนิษฐานว่าคือ นนทิเกศวรนั้น ยังจะถูกต้องหรือเปล่า เพราะเห็นร่องรอยเหมือนรอยหักเหลือเเป็นเพียงตุ่มเล็กๆ หรือว่าจะเป็นร่องรอยของการเกล้าพระเกศาที่หักหายไป
หรืออาจจะเป็นการหล่อเครื่องประดับแยกเพื่อมาสวมทับศีรษะอีกที ซึ่งน่าจะต้องรอไปดูเทวรูป golden boy เพื่อเปรียบเทียบ ว่าส่วนนี้เป็นชิ้นเดียวกันหรือไม่
 เพราะคำถามสำคัญคือ การหล่อสำริดขนาดใหญ่ ใช้ทรัพยากรมาก จะมีใครอยากหล่อเพียงแค่ผู้รับใช้ของพระศิวะเพื่อไว้ประดับทางเข้า ในขนาดความสูง 2 เมตร มากกว่า golden boy ที่ 1.1 เมตรเสียอีก
สิ่งเดียวที่ผมยังไขไม่ออกคือ พระหัตถ์ จะเห็นได้ว่าเทวรูปจากปราสาทสระกำแพงใหญ่นั้นท้าวแขนข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้นึกถึงทวารบาล น่าเสียดายที่เราไม่ได้เห็นการแสดงพระหัตถ์อีกข้าง ทำให้ไม่รู้ว่าแสดงปางอะไร แต่มีอีกสิ่งที่เห็นได้ คือร่องรอยของการทำกะไหล่ทองเช่นกัน
แต่ golden boy นั้นมีการแสดงมุทราที่เห็นได้ว่าคือ กฏกหสฺต ซึ่งเป็นท่าที่ทำไว้สำหรับให้ผู้บูชา นำดอกไม้มาเสียบถวายได้ เห็นได้มากจากชุดเทวรูปสำริดจากเทวสถานเมืองสุโขทัย
ถ้าเชื่อตามชาวบ้านว่าที่ปราสาทบ้านยางยังมีฐานหินอยู่ 2 ชิ้น และมีการสืบได้ว่ารูปสตรียกมือไหว้เหนือศีรษะเคยอยู่ในสถานที่เดียวกัน เราก็อาจจะเห็นภาพว่าเมื่อเดินเข้าไปในปราสาทเห็นพระเมตไตรยะยืนอยู่ตรงกลาง ในพระหัตถ์มีดอกไม้สวยงามสอดอยู่ ตรงหน้าเรามีรูปสตรีกำลังนั่งยกมือพนมไหว้
คำถามคือ ทำไมฝีมือช่างถึงได้สืบต่อมาได้ในระยะเวลาที่ห่างกันหลายร้อยปี จากยุคบาปวน-นครวัด ถึงศิลปะสุโขทัย อะไรคือความเชื่อมโยงนี้ แม้กระทั่งการทำกะไหล่ทองที่ยังเหมือนกันอีกด้วย ???
ผมเฝ้ารอด้วยใจระทึกที่จะได้เห็น golden boy องค์จริง ในเร็ววันนี้
Create Date : 19 ธันวาคม 2566 |
|
4 comments |
Last Update : 28 ธันวาคม 2566 9:02:36 น. |
Counter : 985 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: หอมกร 20 ธันวาคม 2566 7:31:08 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
ไม่มีอะไรที่ใช่จริงอ่ะ
ทุกเรื่องยากที่จะสรุป