มิถุนายน 2558

 
1
4
6
7
10
11
12
13
14
16
18
19
20
21
27
28
 
 
All Blog
อาหารหมักจากเปลือกข้าวโพด

อาหารหมักจากเปลือกข้าวโพด

  สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา จึงได้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของข้าวโพดมาเป็นอาหารหยาบหลัก  สำหรับเลี้ยงโค – กระบือ รองรับยุทธศาสตร์การเลี้ยงโคครบวงจรของจังหวัดพะเยา และเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจากการเผาตอซังข้าวโพดแต่เนื่องจากเปลือกข้าวโพดแห้งมีความน่ากินและคุณค่าทางโภชนะต่ำ รวมทั้งมีเยื่อใยสูง จำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาใช้เลี้ยงสัตว์โดยนำมาหมักร่วมกับจุลินทรีย์เพื่อผลิตเป็นอาหารหมัก (Silage) ดังนั้นการศึกษาเปลือกและซังข้าวโพดมาหมักจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สูงขึ้น โค-กระบือสามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้นแก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารหยาบของโค – กระบืออย่างยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์การผลิตอาหารหมักจากเศษเหลือจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารหยาบในช่วงฤดูแล้ง

ส่วนประกอบในการทำหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพจากแป้งเหล้า (ส่าเหล้า) เพื่อใช้หมักเปลือกข้าวโพด

1. แป้งเหล้าหรือส่าเหล้า น้ำหนัก 3 ขีด ( 300 กรัม ) 

2. กากน้ำตาล  5  ขีด ( 500 กรัม )

3. ปุ๋ยยูเรีย  1  ขีีด (100 กรัม )

4. น้ำ  10  ลิตร (1,000 กรัม)

ลำดับขั้นการผสมส่วนผสม

1. ละลายปู๋ยยูเรียในน้ำ คนให้เข้ากันจนปุ๋ยละลายหมดก่อน

2. เติมกากน้ำตาล คนให้เข้ากัน

3. เติมแป้งเหล้าที่บดละเอียดแล้ว คนให้เข้ากัน

4. ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น ใช้สำหรับมักเปลือกข้าวโพด (เปลือกแห้ง)

วิธีการนำไปใช้งาน 

- เนื่องจากหัวเชื้อที่ได้มีความเข้มข้นสูง ก่อนใช้ต้องนำไปเจือจางกับน้ำก่อน อัตราส่วนที่ใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร ต่อ น้ำ 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 2 วันแล้วนำไปใช้หมักเปลือกข้าวโพดได้เลย

- หัวเชื้อที่ผ่นการหมัก 2 วัน สามารถนำไปเพาะพันธุ์ขยายเชื้อไว้ใช้งานได้ตลอดไป โดยไม่ต้องกลับไปใช้แป้งเหล้าเป็นหัวเชื้ออีกแล้ว ให้นำไปหมักกับส่วนผสมอัตรส่วนเหมือนตอนแรก แต่ใช้น้ำหัวเชื้อ 1 ลิตรแทนแป้งเหล้า 300 กรัม หมักใช้ต่อไปได้ตลอดกาล


1.หมักหัวเชื้อโดยใช้ แป้งเหล้า3% ยูเรีย 1% กากน้ำตาล 5% ผสมให้เข้ากันทิ้งไว้ ประมาณ 1 ชั่วโมง

2.นำเปลือกข้าวโพดใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดเช่น ถังรียูช ถุงดำ หรือบ่อหมัก

3.รดน้ำพอให้เปลือกข้าวโพดชุ่มน้ำ (ความชื้นประมาณ 60 %)

4.รดหัวเชื้อให้ทั่วเปลือกข้าวโพด

5.อัดไล่อากาศหรือเหยียบให้แน่น

6.หมักไว้ประมาณ 30 วันแล้วเปิดนำไปเลี้ยงโค

ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น


การประเมินคุณภาพอาหารหมักจากลักษณะทางกายภาพ (กรมปศุสัตว์,2547)

 จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาหารหมัก โดยเฉพาะจากเศษเหลือจากการปลูกข้าวโพดพบว่า มีคุณภาพดีถึงดีมาก มีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้ดอง เนื้อแน่น และมีสีน้ำตาลทอง

การวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนเบื้องต้นและต้นทุนการผลิต

ตัวอย่าง

วัสดุที่ใช้ทดลอง

วัตถุแห้ง

%

เยื่อใย

%

โปรตีน

%

1

เปลือกข้าวโพด

+ลูกแป้ง

94.46

29.26

4.56

2

เปลือกข้าวโพด

+รำหยาบ

+ลูกแป้ง

94.95

46.54

5.35

3

ผสม+รำหยาบ

+ลูกแป้ง

91.85

29.24

5.87

4

ผสม+รำหยาบ

+ลูกแป้ง

+กากน้ำตาล

96.98

28.34

13.85

5

หญ้าสด (control)

96.01

28.13

8.10

ผสม* คือ เปลือก ซังข้าวโพด ฝุ่นข้าวโพด

การหมักเปลือกข้าวโพดผสม (ผสม คือ เปลือก ซังข้าวโพด ฝุ่นข้าวโพด) ร่วมกากน้ำตาล จะได้วัตถุแห้ง 96.98 % ไขมัน 1.20 % เยื่อใย 28.34 % โปรตีน 13.85 % สรุปคือเปลือกข้าวโพดหมัก สามารถนำมาทดแทนหญ้าสดได้ เพราะมีโปรตีนสูง และต้นทุนต่ำ (ประมาณ 50 บาท ต่ออาหารหมัก 100 กิโลกรัม

เมื่อเปรียบเทียบการให้อาหารหยาบระหว่างอาหารหมักจากเปลือกข้าวโพดและฟางข้าวพบว่า โคจะกินอาหารหมักเปลือกข้าวโพดดีกว่าฟางข้าว 

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช. (เครือข่ายภาคเหนือ) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้ข้อมูลและคำปรึกษาจากคณะอาจารย์สาขาเทคโนโลยีชีวภาพและสาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา 


ระยะเวลาในการกินอาหารหยาบของโคขุน

เมื่อเปรียบเทียบการให้อาหารหยาบระหว่างอาหารหมักจากเปลือกข้าวโพดและฟางข้าวพบว่า โคจะกินอาหารหมักจากเปลือกข้าวโพดดีกว่าฟางข้าว เวลาเฉลี่ยในการกินประมาณ 30 นาที ต่อการให้อาหารในรางอาหาร 1 ครั้ง

ต้นทุนการผลิตอาหารข้นในการเลี้ยงโคขุน ต่อ 1 มื้อ ต่อ 1 ตัว (วัตถุดิบ+รำหยาบ+กากน้ำตาล)

ต้นทุนอาหารข้น (บาท)
กากเบียร์ กากมันหมัก ฟักทองหมัก เปลือกข้าวโพดหมัก
30.85 20.45 18.45 15.49

กากเบียร์ : ใช้วัตถุดิบคือ กากเบียร์+รำหยาบ+กากน้ำตาล

กากมันหมัก : ใช้วัตถุดิบคือ กากมันหมัก+รำหยาบ+กากน้ำตาล

ฟักทองหมัก : ใช้วัตถุดิบคือ ฟักทองหมัก+รำหยาบ+กากน้ำตาล

เปลือกข้าวโพดหมัก : ใช้วัตถุดิบคือ เศษเหลือข้าวโพดหมัก+รำหยาบ+กากน้ำตาล

การวัดประสิทธิภาพการผลิตโคขุน

การใช้อาหารหมักจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมีประสิทธิภาพในการเพิ่มน้ำหนักโคขุนทัดเทียมกับการใช้กากเบียร์ จึงเป็นแนวทางที่เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตโคขุนอย่างยั่งยืนได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นายสัตวแพทย์ สมชาติ ธนะ

ดร. มนตรี ปัญญาทอง

ดร. ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ

โทรศัพท์ 0-5446-6666 ต่อ 3266 3263

โทรสาร 0-5446-6716

สาขา สัตวศาสตร์ และ สาขา เทคโนโลยีชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา





Create Date : 22 มิถุนายน 2558
Last Update : 22 มิถุนายน 2558 11:14:08 น.
Counter : 4287 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]