การสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมักพลาสติกพีวีซี

เขียนโดย ทีมงาน Biogas

ขั้นตอนการสร้างบ่อหมัก 1. ศึกษาระบบการทำงานของบ่อก๊าซชีวภาพให้เข้าใจดีเสียก่อน
07

2. เตรียมพื้นที่ ข้อควรระวัง
1
. ไม่ควรขุดหลุมใต้ต้นไม้ หรือ ในที่ร่ม หรือใต้ชายคาบ้าน เพราะจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดก๊าซสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิสูง
2. ระยะห่างจากหลุมถึงห้องครัว ควรห่างประมาณ 10-20 เมตร ไม่ควรใกล้เกินไปเพราะบางรายหากมีการทำอาหารโดยใช้ฟืนจะทำให้เถ้าถ่านปลิวตกบนถุงหมัก ซึ่งอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ แต่ถ้าหากไกลเกินไจะทำให้แรงดันก๊าซน้อย ไฟไม่แรง

3. พื้นที่ที่จะทำการสร้างบ่อหมัก ควรเป็นพื้นที่ลาดเอียงต่ำกว่าระดับคอกสัตว์เล็กน้อยเพื่อให้มูลสัตว์ไหลระบายเข้าบ่อเอง หรืออาจทำเป็นบ่อชนิดตักมูลสัตว์มาเติมได้ หากไม่คำนึงถึงระดับของบ่อหมักกับคอกสัตว์

08
แผนผังการขุดหลุมสำหรับทำบ่อหมักมูลรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีพื้นที่ส่วนบนกว้างกว่าฐานบ่อ

ควรขุดด้านหัวและท้ายของบ่อเป็นแนวสำหรับวางท่อรับและระบายมูลด้วย โดยให้ทางเข้ามูลมีระดับสูงกว่าทางระบายมูลออกเล็กน้อย (ดังภาพ)

09 10
ลักษณะหลุมบ่อหมัก ด้านหัวและท้ายขุดเป็นร่องเพื่อวางท่อพีวีซี

3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์นอกจากพลาสติกพีวีซีแล้ว ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาง่ายในท้องถิ่น 

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำบ่อหมักขนาด 7-8 ลูกบาศก์เมตร อย่างคร่าวๆ มีดังนี้

ชนิด

ราคา (บาท)

1.พลาสติกพีวีซี ความหนา 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 1.8 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 3 ผืน

 1,000

2.ท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1.2 เมตร จำนวน 2 อัน

350

3.กาวอีแว๊ป ½ กระป๋อง พร้อมแปรง

100

4.เกลียวนอก-ใน พีวีซี ¾ - 1 นิ้ว จำนวน 1 ชุด

20

5.ยางในรถจักรยานยนต์เก่า

-

6.แผ่นพลาสติกแข็ง ขนาด 3 นิ้ว 2 แผ่น (กระป๋องน้ำมันเครื่องเก่า)

-

7.ท่อพีอี หรือท่อพีวีซี ข้อต่อ ขนาด ¾ - 1 นิ้ว จำนวนขึ้นกับความยาวของท่อส่งก๊าซที่ต้องการ (20 เมตร)

 300

8.สามทางพีวีซี ¾ - 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน

10

9.ขวดดักจับไอน้ำ 1 ใบ (ขวดน้ำดื่มที่ใช้แล้ว)

-

10.วาล์วทองเหลือง 4 หุน หรือบอลวาล์ว จำนวน 1 อัน

40-100

11.หัวก๊าซ 1 หัว

400-600

12.สายส่งก๊าซความยาว 2 เมตร

100

13.ปูนซีเมนต์ 1 ถุง พร้อมทราย

110

14.วงบ่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50-80 ซม.

200-400

ราคารวมประมาณ 2,630-3,090 บาท (ไม่รวมค่าขุดหลุม)

4. ประกอบถุงหมักพีวีซี

ขั้นตอนที่ 1

ตัดพลาสติกพีวีซีที่มีขนาดกว้าง 1.8 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 3 ชิ้น ข้อควรระวังในขั้นตอนนี้ คือ ควรวางแผ่นพลาสติกบนพื้นราบ ไม่มีกรวด หิน หรือทราย เพราะจะทำให้พลาสติกเป็นรอยขีดข่วน หรือรั่วได้

ขั้นตอนที่ 2

           วางแผ่นพลาสติกที่ตัดแล้วทั้ง 3 ชิ้น ตามแนวยาวให้ด้านข้างทับกันประมาณ 3-4 นิ้ว จากนั้นติดพลาสติกเข้าด้วยกันด้วยกาวอีแว๊ป ใช้มือกด/รีดบริเวณที่ทากาวเบาๆ เพื่อย้ำให้พลาสติกติดกันแน่นขึ้นและเป็นการตรวจสอบรอยรั่วอีกทางหนึ่ง ข้อแนะนำสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจทั่วไป คือ ไม่ควรทากาวให้หนาเกินไป เพราะกาวจะทำให้พลาสติกย่น เกิดเป็นรูรั่วได้

1112

ขั้นตอนที่ 3

เมื่อติดกาวครบทั้ง 3 ชิ้นแล้ว ถุงที่ได้จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ให้ติดชุดส่งก๊าซจากตัวถุง โดยเลือกบริเวณที่จะติดให้อยู่ส่วนกลางของถุง พับถุงเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วตัดด้วยกรรไกรกว้าง 1 ซม. จากนั้นติดชุดส่งก๊าซให้เกลียวในพีวีซีอยู่ด้านในถุง และเกลียวนอกพีอีสำหรับต่อกับสายส่งก๊าซอยู่ด้านนอก ควรระวังไม่ให้ปลายของเกลียวนอก – ใน ขีดข่วนกับถุง
1315

ขั้นตอนที่ 4

    ผูกท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ความยาว 1.2 เมตร ที่ปลายทั้งสองข้างของถุง แล้วรัดด้วยยางในรถจักรยานยนต์เก่า ให้ปลายของท่อพีวีซีเข้าไปในถุงประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของความยาวของท่อ ควรระวังไม่ให้ปลายท่อขูดหรือขีดกับพลาสติก ควรยกทั้งท่อและถุงไว้ ไม่ควรลากบนพื้นดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงรั่ว
1617

ขั้นตอนที่ 5

          ทดสอบการรั่วของถุงด้วยไอสียจากรถยนต์ โดยการสอดปลายท่อเข้าที่ปลายท่อไอเสีย ส่วนท่ออีกฝั่งและทางเดินของท่อก๊าซให้ปิดด้วยถุงพลาสติกเพื่อป้องกันลมออก แล้วเร่งเครื่องยนต์นานประมาณ 5 – 10 นาที ถุงจะพองตัวขึ้น หรืออาจใช้เครื่องพ่นเมล็ดพืช/ปุ๋ยแทนได้
1819

หลังจากนั้นให้เกษตรกรช่วยกันยกถุงที่ได้นี้ไปยังบ่อที่ขุดเตรียมไว้แล้ว ควรระวังไม่ให้ถุงเกี่ยวโดนกิ่งไม้ หรือของปลายแหลม

ขั้นตอนที่ 6

นำถุงลงหลุม จัดวางถุงให้ดี ต่อสายยางเข้ากับชุดต่อส่งก๊าซที่ถุง แล้วเติมน้ำให้ท่วมปลายท่อด้านในของถุงทั้งสองด้าน แกะพลาสติกที่มัดปลายท่อพีวีซีทั้งสองด้านออก
2021
2223

ขั้นตอนที่ 7

ทำบ่อทางเข้าของมูลและบ่อล้น ที่ปลายท่อพีวีซีทั้งสองด้าน          ตัวอย่างการทำรางระบายมูลสัตว์จากคอก เป็นทางเข้า
2425

หรือใช้วงบ่อ/บล็อกซีเมนต์ เป็นทางเข้าของมูลสัตว์

2627

การเติมมูลสัตว์  ใช้สัดส่วนของมูลสัตว์และน้ำ เท่ากับ 1 : 1 หรือ 1 : 4  โดยเติมมูลวันละ 24 ลิตร และใช้น้ำวันละ 24 – 96 ลิตร
2829

ตัวอย่างบ่อทางออก/น้ำล้น  กากตะกอนที่ได้ นำไปใช้เป็นปุ่ยรดพืชผักสวนครัว

3031

ขั้นตอนที่ 8

ประกอบสายส่งก๊าซ พร้อมกับติดตั้งขวดปรับแรงดันและดักน้ำ  โดยให้จุดแรกอยู่ใกล้กับบ่อหมักประมาณ 2 เมตร ถ้าระยะทางระหว่างบ่อกับจุดที่จะใช้ก๊าซอยู่ไกลมาก ให้ติดตั้งขวดดักน้ำอีก 1-3 จุด ข้อควรระวังคือ ระยะทางอาจทำให้แรงดันก๊าซน้อยลง ควรเลือกบริเวณที่วางถุงให้อยู่ใกล้กับเตาหุงต้ม หากแรงดันก๊าซน้อย อาจใช้แผ่นไม้กระดานทับด้วยถุงทรายวางเป็นคานถ่วงน้ำหนักให้เกิดแรงกด ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ก๊าซแรงขึ้น และที่สำคัญควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำในขวดดักไอน้ำให้เต็มขวดเสมอ เพราะถ้าน้ำแห้งก๊าซจะระบายออกทางช่องระบายน้ำของขวด
3233

ขั้นตอนที่ 9

          ติดตั้งท่อส่งก๊าซและวาล์วควบคุมก๊าซบริเวณใกล้เคียงกับเตาหุงต้ม
3435