กรกฏาคม 2558

 
 
 
1
2
4
5
7
11
12
14
18
19
21
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
เลี้ยง 'กุ้งก้ามแดง' ในนาข้าว สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง

ปัจจุบันดูเหมือนว่ากุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครฟิช ที่คุ้นเคยเรียกว่า "กุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืด" ที่นิยมเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรปและออสเตรเลียนั้น กำลังรับได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาล ส.ป.ป.ลาว ประกาศส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงอย่างเป็นทางการ เพราะเลี้ยงง่าย ตลาดต้องการ ราคาดี ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่มาแรง ล่าสุดสหกรณ์การเกษตรเขื่อนพระปรง จ.สระแก้ว ได้นำมาเลี้ยงในนาข้าวเชิงการ ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ที่ก่อนหน้านี้โครงการหลวงดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งผู้ที่นำกุ้งชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นที่แรกประสบผลสำเร็จมาระดับหนึ่ง
                      อำนาจ ยาสา ประธานสหกรณ์การเกษตรเขื่อนพระปรง จำกัด จ.สระแก้ว บอกว่า ได้มีการศึกษาการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือที่เรียกว่ากุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืด จากการเลี้ยงในนาข้าวของโครงการหลวงมาระดับหนึ่ง จึงมองว่าสมาชิกของสหกรณ์กว่า 50 ราย มีอาชีพทำนาเป็นหลัก ที่ผ่านมาอาชีพทำนาไม่เคยสร้างฐานะที่ดีขึ้น บางปีประสบปัญหาขาดทุน จึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในนาข้าว จากนั้นได้ศึกษาอย่างจริงจัง ไปดูวิธีการเลี้ยง การเพาะพันธุ์ลูกกุ้งและนำมาทดลองเลี้ยงร่วมกับสมาชิกจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากสมาชิกสหกรณ์จะขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นแล้ว ยังหาพันธมิตรจากพื้นที่อื่นมาเสริมมาเลี้ยงด้วย เพื่อร่วมสร้างตลาดให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและทำให้การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงกลายเป็นอาชีพที่มั่นคงของเกษตรกรด้วย 

"กุ้งชนิดนี้มีจุดเด่นคือ เปลือกหนา ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ จึงสามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไป แม้แต่ในนาข้าว ในบ่อดิน หรือกระชังในแม่น้ำ  โดยมีอัตราการสูญเสียหรืออัตราการตายน้อยมาก  เจริญเติบโตเร็ว สามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่ของบ้านเรา สหกรณ์เราเองจะเน้นการเลี้ยงในนาข้าว เพียงมาปรับบ่อใหม่คือพื้นที่ 1 ไร่ จะต้องยกคันล้มให้สูง เพื่อขังน้ำให้สูงกว่าระดับน้ำในนาข้าวทั่วไป และป้องกันศัตรูธรรมชาติ บริเวณรอบขอบบ่อ 1 ใน 3 ส่วน จะขุดให้ลึก 50-70 ซม.เพื่อเป็นที่อาศัยของกุ้งในช่วงกลางวันซึ่งกุ้งจะนอนพักในระดับน้ำที่ลึกลงไป ส่วนพื้นที่ตรงกลางบ่อ 2 ใน 3 ส่วน ระดับน้ำสูง 30 ซม.ซึ่งเป็นระดับน้ำในการทำนาปกติ พื้นที่ส่วนนี้กุ้งจะขึ้นมาอาศัยและหากินในช่วงกลางคืนตามซอกต้นข้าว" อำนาจ กล่าว 
                      สำหรับการปล่อยลูกกุ้งจะนิยมปล่อย 2 ขนาด คือ ขนาด 1 นิ้ว อัตราการปล่อย 5,000 ตัวต่อไร่ กับขนาด 3 นิ้ว อัตราการปล่อย 3,000 ตัวต่อไร่ ส่วนอาหารจะใช้อาหารกุ้งกุลาดำเบอร์ 2, 3, 4 สำหรับลูกกุ้งขนาด 1 นิ้ว ขนาด 3 นิ้วใช้อาหารเบอร์ 3 และ 4 โดยเบอร์ 3 จะเริ่มให้หลังปล่อยเลี้ยง 1 เดือน เบอร์ 4 จะให้หลังปล่อยเลี้ยง 2.5 เดือน อาหารจะให้มื้อเดียวช่วง 6 โมงเย็น กุ้งจะมากินอาหารตอนกลางคืน อัตราการให้อาหารเริ่มต้นที่ 1 ขีดสำหรับกุ้ง 1,000 ตัว และจะเพิ่มอาหารทุก 7 วัน มื้อละ 1-1.2 ขีดไปเรื่อยๆ จนจับขายหลังปล่อยลงเลี้ยง 4-4.5 เดือนจะได้กุ้งขนาดตั้ง 10-20 ตัวต่อกิโลกรัม
                      "ตอนนี้กุ้งก้ามแดงราคาแพงมาก ที่เราขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-600 บาท ขณะที่ต้นทุนยู่ที่กิโลกรัมละ 170-250 บาท ถ้าเป็นของสมาชิกสหกรณ์จะรับซื้อจากปากบ่อ 2 ขนาด คือ ขนาดเล็ก 20-25 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาปากบ่อกิโลกรัม 400 บาท ราคากุ้งไซส์ใหญ่ 7-15 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 500 บาท ที่ผ่านมาสหกรณ์ได้บุกเบิกตลาดและแนะนำกุ้งก้ามแดงเข้าสู่ตลาดจนเป็นที่รู้จักแล้วในระดับหนึ่ง ปัจจุบันมีตลาดรองรับทั้งโรงแรมชื่อดังหลายแห่ง ภัตตาคาร รวมทั้งห้างสรรพสินแม็คโคร แหล่งที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่รู้จักกุ้งชนิดนี้เป็นอย่างดี อาทิ พัทยา  ภูเก็ต หัวหิน กระบี่ เชียงใหม่" อำนาจ กล่าว
(ทำมาหากิน : เลี้ยง 'กุ้งก้ามแดง' ในนาข้าว สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง : โดย...ดลมนัส กาเจ)

เครดิต   คมชัดลึก



Create Date : 08 กรกฎาคม 2558
Last Update : 8 กรกฎาคม 2558 10:41:33 น.
Counter : 6639 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]