bloggang.com mainmenu search






พระแม่มารีและพระบุตรโดยดูชิโอ,
เทมเพอราและทองบนไม้ ค.ศ. 1284 เซียนา






ภาพเขียนสีฝุ่นเทมเพอราบนไม้
โดยนิคโคโล เซมิเทโคโล ค.ศ. 1367





จิตรกรรมสีฝุ่นเทมเพอรา (Tempera หรือ egg tempera) “เทมเพอรา” เป็นสิ่งที่ใช้ในการเขียนภาพที่แห้งง่ายและถาวร ที่ประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับของเหลวที่เป็นตัวเชื่อม (มักจะใช้สารกลูเตน (Gluten)) เช่นไข่แดงหรือสารที่เป็นตัวเชื่อม (Sizing) อื่นๆ

นอกจากนั้นเทมเพอราก็ยังหมายถึงจิตรกรรม ที่เขียนด้วยสารผสมดังกล่าวด้วย การเขียนด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ภาพที่เขียนมีอายุยืนนาน เช่นภาพที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งก็ยังมีอยู่ให้เห็น

เทมเพอราที่ผสมด้วยไข่เป็นวิธีที่ใช้ในการเขียนภาพโดยทั่วไป มาจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมาแทนที่ด้วยการเขียนด้วยสีน้ำมัน เทมเพอราอีกประเภทหนึ่ง ที่ผสมระหว่างรงควัตถุกับสารที่เป็นกาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมักจะเรียกโดยผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาว่าสีโปสเตอร์


ประวัติ

การเขียนจิตรกรรมเทมเพอรา พบมาตั้งแต่การเขียนตกแต่งโลงหินสมัยอียิปต์โบราณ ภาพเหมือนมัมมีเฟยุม (Fayum mummy portraits) หลายภาพก็เขียนด้วยเทมเพอรา และบางครั้งก็ผสมกับจิตรกรรมขี้ผึ้งร้อน (Encaustic painting)

การเขียนด้วยวิธีดังว่านี้เป็นวิธีที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยคลาสสิค และเป็นวิธีเขียนหลักในการเขียนจิตรกรรมแผง และ หนังสือวิจิตรของไบแซนไทน์และในยุคกลาง และ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นในยุโรป

จิตรกรรมเทมเพอราเป็นวิธีเขียนหลัก ของจิตรกรรมแผงที่ใช้โดยจิตรกรแทบทุกคนในยุคกลาง และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นมาจนถึงปี ค.ศ. 1500 ตัวอย่างเช่นงานเขียนของงานเขียนจิตรกรรมแผงทุกชิ้น ที่ยังคงหลงเหลืออยู่โดยไมเคิล แอนเจโล เป็นงานเขียนเทมเพอราผสมไข่

สีน้ำมันที่อาจจะมาจากอัฟกานิสถาน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 9 และแพร่เข้ามาทางตะวันตกในยุคกลาง ในที่สุดก็มาแทนที่เทมเพอราระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในจิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นทางตอนเหนือของยุโรป

ราวปี ค.ศ. 1500 สีน้ำมันก็มาแทนที่เทมเพอราในอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการฟื้นฟูการเขียนด้วยเทมเพอราขึ้นมาเป็นช่วงๆ ในการศิลปะตะวันตก เช่นในกลุ่มจิตรกร พรีราฟาเอลไลท์, จิตรกรสัจนิยมต่อสังคมและอื่นๆ

จิตรกรรมเทมเพอรายังคงเป็นวิธีเขียนในกรีซและรัสเซีย ที่เป็นวิธีที่ระบุว่าต้องใช้ในการเขียนไอคอน ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์


วิธีเขียน

เทมเพอราเดิมทำโดยการบดรงควัตถุ ที่เป็นผงแห้งลงไปพร้อมกับสิ่งที่ผสานสีกับพื้นผิวที่ทาเช่นไข่ กาว น้ำผึ้ง น้ำ นมในรูปของ casein หรือ ต้นยางต่างๆ

การเขียนก็เริ่มด้วยการนำรงควัตถุปริมาณเล็กน้อยบนจานสี จาน หรือ ชาม และเติมสารที่เป็นตัวเชื่อมราวเท่าตัว และทำการผสม ปริมาณของสารเชื่อมก็แล้วแต่สีที่ใช้ จากนั้นก็เติมน้ำกลั่น


เทมเพอราไข่

พระกระยาหารมื้อสุดท้ายโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี, เทมเพอราบนชอล์ค, ค.ศ. 1495–ค.ศ. 1498

“บานพับภาพทาร์ลาที” โดยเปียโตร ลอเร็นเซ็ตติ, เทมเพอราและทองบนแผง

ค.ศ. 1320วิธีการเขียนเทมเพอราที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือ “เทมเพอราไข่” วิธีการผสมแบบนี้จะใช้เฉพาะไข่แดง ส่วนผสมก็จะได้รับการปรับไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาดุลย์ระหว่าง “ความมัน” และ “ความใส” ที่ต้องการ โดยการปรับปริมาณไข่และปริมาณน้ำ

เมื่อเทมเพอราเริ่มแห้ง จิตรกรก็จะเติมน้ำเพื่อรักษาระดับความข้นที่ต้องการเอาไว้ และป้องกันการแห้งตัวของไข่แดงเมื่อปะทะอากาศ

วิธีผสมแบบอื่นอาจจะใช้เฉพาะไข่ขาว หรือ ทั้งไข่ขาวและไข่แดงเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ บางครั้งก็อาจจะเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เช่นน้ำมัน หรือขี้ผึ้งเหลว ตัวอย่างการเติมน้ำมันก็จะไม่เกินอัตรา 1:1 ทำให้ได้ผลไปอีกแบบหนึ่งและทำให้สีไม่หนา


รงควัตถุ

รงควัตถุที่ใช้โดยจิตรกรในยุคกลาง เช่นสีแดงชาดเป็นสีที่เป็นพิษ จิตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้สีสังเคราะห์ ที่มีความเป็นพิษน้อยกว่า แต่ให้สีที่คล้ายคลึงกับสีที่ทำจากรงควัตถุตามวิธีเดิม

แต่กระนั้นรงควัตถุสมัยใหม่บางสีก็ยังเป็นสารอันตราย ฉะนั้นการเก็บรักษาต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง เช่นเก็บสีในสภาพที่เปียกเพื่อป้องกันการหายใจฝุ่นสีเข้าไป


การใช้

สีเทมเพอราจะแห้งอย่างรวดเร็ว การใช้ก็มักจะทาบางๆ กึ่งใส หรือ ใส การเขียนเทมเพอราเป็นวิธีการเขียนที่เที่ยง เมื่อใช้วิธีการเขียนที่ทำกันมาที่ใช้การวาดด้วยฝีแปรงสั้นๆ ถื่ๆ ไขว้กัน

เมื่อแห้งจะทำให้ดูเหมือนมีผิวเรียบ สีเทมเพอราใช้ได้แต่เพียงบางๆ เช่นสีน้ำมันที่ทาได้เป็นชั้นหนาๆ หลายชั้น จิตรกรรมสีเทมเพอราจึงแทบจะไม่มีภาพเขียนที่มีสีที่เรียกว่าลึกเหมือนกับสีน้ำมัน

ซึ่งทำให้จิตรกรรมสีเทมเพอราที่ไม่ได้เคลือบเงา ดูเหมือนสีพาสเทล แต่ถ้าเคลือบน้ำมันแล้วก็จะทำให้สีดูเข้มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสีเทมเพอราจะไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เหมือนสีน้ำมันที่จะเข้มขึ้นและออกเหลือง และใสขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น


พื้นผิว

สีเทมเพอราจะติดพื้นผิวที่ซับความชื้นที่มีระดับ “น้ำมัน” ต่ำได้ดีกว่าถ้าใช้สารที่เป็นตัวเชื่อม (ตามสูตรที่ว่า “ไขมันมากกว่าเนื้อ” พื้นที่เขียนเดิมส่วนใหญ่จะเป็นชอล์ค (gesso) ที่ไม่ยืดหยุ่น และซับสเตรตที่มักจะแข็งเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วก็จะใช้แผงไม้เป็นซับสเตรต หรือ กระดาษหนาก็ใช้ได้


จิตรกรเทมเพอรา

แม้ว่าเทมเพอราจะหมดความนิยมไปแล้ว ตั้งแต่ปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยบาโรก แต่กระนั้นก็ยังมีจิตรกรรุ่นต่อมาที่พยายามฟื้นฟูขึ้นมาใช้อีกครั้ง เช่นวิลเลียม เบลค, ผู้นำของกลุ่มขบวนการนาซารีน, พรีราฟาเอลไลท์ และ โจเซพ ซัทธัล

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเขียนเทมเพอรา ก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้ง เช่นในงานเขียนของGiorgio de Chirico, Otto Dix และ Pyke Koch


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริธีววาร ปรีดิ์มานกมลสันติ์ค่ะ
Create Date :26 สิงหาคม 2553 Last Update :26 สิงหาคม 2553 0:23:16 น. Counter : Pageviews. Comments :0