"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

จิตรกรรมสีฝุ่นเทมเพอรา ที่มาจากธรรมชาติ และอยู่ไปนานคู่กับธรรมชาติ







พระแม่มารีและพระบุตรโดยดูชิโอ,
เทมเพอราและทองบนไม้ ค.ศ. 1284 เซียนา






ภาพเขียนสีฝุ่นเทมเพอราบนไม้
โดยนิคโคโล เซมิเทโคโล ค.ศ. 1367





จิตรกรรมสีฝุ่นเทมเพอรา (Tempera หรือ egg tempera) “เทมเพอรา” เป็นสิ่งที่ใช้ในการเขียนภาพที่แห้งง่ายและถาวร ที่ประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับของเหลวที่เป็นตัวเชื่อม (มักจะใช้สารกลูเตน (Gluten)) เช่นไข่แดงหรือสารที่เป็นตัวเชื่อม (Sizing) อื่นๆ

นอกจากนั้นเทมเพอราก็ยังหมายถึงจิตรกรรม ที่เขียนด้วยสารผสมดังกล่าวด้วย การเขียนด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ภาพที่เขียนมีอายุยืนนาน เช่นภาพที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งก็ยังมีอยู่ให้เห็น

เทมเพอราที่ผสมด้วยไข่เป็นวิธีที่ใช้ในการเขียนภาพโดยทั่วไป มาจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมาแทนที่ด้วยการเขียนด้วยสีน้ำมัน เทมเพอราอีกประเภทหนึ่ง ที่ผสมระหว่างรงควัตถุกับสารที่เป็นกาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมักจะเรียกโดยผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาว่าสีโปสเตอร์


ประวัติ

การเขียนจิตรกรรมเทมเพอรา พบมาตั้งแต่การเขียนตกแต่งโลงหินสมัยอียิปต์โบราณ ภาพเหมือนมัมมีเฟยุม (Fayum mummy portraits) หลายภาพก็เขียนด้วยเทมเพอรา และบางครั้งก็ผสมกับจิตรกรรมขี้ผึ้งร้อน (Encaustic painting)

การเขียนด้วยวิธีดังว่านี้เป็นวิธีที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยคลาสสิค และเป็นวิธีเขียนหลักในการเขียนจิตรกรรมแผง และ หนังสือวิจิตรของไบแซนไทน์และในยุคกลาง และ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นในยุโรป

จิตรกรรมเทมเพอราเป็นวิธีเขียนหลัก ของจิตรกรรมแผงที่ใช้โดยจิตรกรแทบทุกคนในยุคกลาง และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นมาจนถึงปี ค.ศ. 1500 ตัวอย่างเช่นงานเขียนของงานเขียนจิตรกรรมแผงทุกชิ้น ที่ยังคงหลงเหลืออยู่โดยไมเคิล แอนเจโล เป็นงานเขียนเทมเพอราผสมไข่

สีน้ำมันที่อาจจะมาจากอัฟกานิสถาน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 9 และแพร่เข้ามาทางตะวันตกในยุคกลาง ในที่สุดก็มาแทนที่เทมเพอราระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในจิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นทางตอนเหนือของยุโรป

ราวปี ค.ศ. 1500 สีน้ำมันก็มาแทนที่เทมเพอราในอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการฟื้นฟูการเขียนด้วยเทมเพอราขึ้นมาเป็นช่วงๆ ในการศิลปะตะวันตก เช่นในกลุ่มจิตรกร พรีราฟาเอลไลท์, จิตรกรสัจนิยมต่อสังคมและอื่นๆ

จิตรกรรมเทมเพอรายังคงเป็นวิธีเขียนในกรีซและรัสเซีย ที่เป็นวิธีที่ระบุว่าต้องใช้ในการเขียนไอคอน ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์


วิธีเขียน

เทมเพอราเดิมทำโดยการบดรงควัตถุ ที่เป็นผงแห้งลงไปพร้อมกับสิ่งที่ผสานสีกับพื้นผิวที่ทาเช่นไข่ กาว น้ำผึ้ง น้ำ นมในรูปของ casein หรือ ต้นยางต่างๆ

การเขียนก็เริ่มด้วยการนำรงควัตถุปริมาณเล็กน้อยบนจานสี จาน หรือ ชาม และเติมสารที่เป็นตัวเชื่อมราวเท่าตัว และทำการผสม ปริมาณของสารเชื่อมก็แล้วแต่สีที่ใช้ จากนั้นก็เติมน้ำกลั่น


เทมเพอราไข่

พระกระยาหารมื้อสุดท้ายโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี, เทมเพอราบนชอล์ค, ค.ศ. 1495–ค.ศ. 1498

“บานพับภาพทาร์ลาที” โดยเปียโตร ลอเร็นเซ็ตติ, เทมเพอราและทองบนแผง

ค.ศ. 1320วิธีการเขียนเทมเพอราที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือ “เทมเพอราไข่” วิธีการผสมแบบนี้จะใช้เฉพาะไข่แดง ส่วนผสมก็จะได้รับการปรับไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาดุลย์ระหว่าง “ความมัน” และ “ความใส” ที่ต้องการ โดยการปรับปริมาณไข่และปริมาณน้ำ

เมื่อเทมเพอราเริ่มแห้ง จิตรกรก็จะเติมน้ำเพื่อรักษาระดับความข้นที่ต้องการเอาไว้ และป้องกันการแห้งตัวของไข่แดงเมื่อปะทะอากาศ

วิธีผสมแบบอื่นอาจจะใช้เฉพาะไข่ขาว หรือ ทั้งไข่ขาวและไข่แดงเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ บางครั้งก็อาจจะเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เช่นน้ำมัน หรือขี้ผึ้งเหลว ตัวอย่างการเติมน้ำมันก็จะไม่เกินอัตรา 1:1 ทำให้ได้ผลไปอีกแบบหนึ่งและทำให้สีไม่หนา


รงควัตถุ

รงควัตถุที่ใช้โดยจิตรกรในยุคกลาง เช่นสีแดงชาดเป็นสีที่เป็นพิษ จิตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้สีสังเคราะห์ ที่มีความเป็นพิษน้อยกว่า แต่ให้สีที่คล้ายคลึงกับสีที่ทำจากรงควัตถุตามวิธีเดิม

แต่กระนั้นรงควัตถุสมัยใหม่บางสีก็ยังเป็นสารอันตราย ฉะนั้นการเก็บรักษาต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง เช่นเก็บสีในสภาพที่เปียกเพื่อป้องกันการหายใจฝุ่นสีเข้าไป


การใช้

สีเทมเพอราจะแห้งอย่างรวดเร็ว การใช้ก็มักจะทาบางๆ กึ่งใส หรือ ใส การเขียนเทมเพอราเป็นวิธีการเขียนที่เที่ยง เมื่อใช้วิธีการเขียนที่ทำกันมาที่ใช้การวาดด้วยฝีแปรงสั้นๆ ถื่ๆ ไขว้กัน

เมื่อแห้งจะทำให้ดูเหมือนมีผิวเรียบ สีเทมเพอราใช้ได้แต่เพียงบางๆ เช่นสีน้ำมันที่ทาได้เป็นชั้นหนาๆ หลายชั้น จิตรกรรมสีเทมเพอราจึงแทบจะไม่มีภาพเขียนที่มีสีที่เรียกว่าลึกเหมือนกับสีน้ำมัน

ซึ่งทำให้จิตรกรรมสีเทมเพอราที่ไม่ได้เคลือบเงา ดูเหมือนสีพาสเทล แต่ถ้าเคลือบน้ำมันแล้วก็จะทำให้สีดูเข้มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสีเทมเพอราจะไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เหมือนสีน้ำมันที่จะเข้มขึ้นและออกเหลือง และใสขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น


พื้นผิว

สีเทมเพอราจะติดพื้นผิวที่ซับความชื้นที่มีระดับ “น้ำมัน” ต่ำได้ดีกว่าถ้าใช้สารที่เป็นตัวเชื่อม (ตามสูตรที่ว่า “ไขมันมากกว่าเนื้อ” พื้นที่เขียนเดิมส่วนใหญ่จะเป็นชอล์ค (gesso) ที่ไม่ยืดหยุ่น และซับสเตรตที่มักจะแข็งเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วก็จะใช้แผงไม้เป็นซับสเตรต หรือ กระดาษหนาก็ใช้ได้


จิตรกรเทมเพอรา

แม้ว่าเทมเพอราจะหมดความนิยมไปแล้ว ตั้งแต่ปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยบาโรก แต่กระนั้นก็ยังมีจิตรกรรุ่นต่อมาที่พยายามฟื้นฟูขึ้นมาใช้อีกครั้ง เช่นวิลเลียม เบลค, ผู้นำของกลุ่มขบวนการนาซารีน, พรีราฟาเอลไลท์ และ โจเซพ ซัทธัล

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเขียนเทมเพอรา ก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้ง เช่นในงานเขียนของGiorgio de Chirico, Otto Dix และ Pyke Koch


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริธีววาร ปรีดิ์มานกมลสันติ์ค่ะ




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2553
0 comments
Last Update : 26 สิงหาคม 2553 0:23:16 น.
Counter : 3101 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.