bloggang.com mainmenu search






“พระวรสารลอร์สช” โดยสกุลช่าง
ของราชสำนักของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ





ศิลปะคาโรแล็งเชียง (Carolingian art) เป็นศิลปะที่มาจากจักรวรรดิแฟรงค์ในช่วงเวลาราว 120 ปี ราวระหว่าง ค.ศ. 780 จนถึง ค.ศ. 900 ในรัชสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ และทายาท สมัยนี้นิยมเรียกกันว่าเป็น “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคาโรแล็งเชียง”

ศิลปะคาโรแล็งเชียงสร้างโดยศิลปินของราชสำนัก ที่สร้างงานให้กับราชสำนัก และโดยสำนักสงฆ์สำคัญๆ ที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหาจักรพรรดิ

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ของยุโรปเหนือในการฟื้นฟูและเลียนแบบงานศิลปะคลาสสิกของเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งทางรูปแบบและลักษณะ ที่กลายมาเป็นการผสานองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิก เข้ากับศิลปะของทางตอนเหนือของยุโรป

ในรูปแบบของงานที่เป็นสง่าและตระการตา (sumptuous) โดยเฉพาะอิทธิพลในการสร้างรูปลักษณ์ของมนุษย์ ที่เป็นการวางรากฐานให้แก่ศิลปะโรมาเนสก์ที่ตามมา และต่อมาศิลปะกอธิคในยุโรปตะวันตก

สมัยคาโรแล็งเชียงเป็นส่วนหนึ่งของสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะของศิลปะยุคกลางที่เรียกว่า “ศิลปะยุคก่อนโรมาเนสก์”

ประวัติ

หลังจากที่ทำการก่อตั้งจักรวรรดิที่ใหญ่พอๆ กับจักรวรรดิไบแซนไทน์ในเวลานั้น และมีขนาดใหญ่พอกับจักรวรรดิโรมันตะวันตกเดิมแล้ว ราชสำนักคาโรแล็งเชียง ก็คงจะต้องมีความรู้สึกว่าตนเองยังมีความด้อยกว่าทางด้านศิลปะ เมื่อเปรียบเทียบกับจักรวรรดิทั้งสอง

หรือแม้แต่เมื่อเปรียบเทียบกับศิลปะยุคหลังยุคโบราณ (หรือที่นักประวัติศาสตร์เอิร์นส คิทซินเจอร์ เรียกว่า “sub-antique”) ที่ยังคงสร้างกันอยู่บ้างในกรุงโรม และที่ศูนย์กลางบางแห่งในอิตาลี

ที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญได้มีโอกาสทอดพระเนตรเห็น ระหว่างที่ทำการรณรงค์ทางทหารอยู่ และเมื่อเสด็จไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในกรุงโรมในปีค.ศ. 800

ในฐานะที่ประมุขสัญลักษณ์ของโรม จักรพรรดิชาร์เลอมาญก็ทรงทำการฟื้นฟูวัฒนธรรมและการศึกษาของตะวันตก และทรงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างงานศิลปะ ที่สามารถสื่อเรื่องราวพร้อมแสดงรูปลักษณ์ของบุคคลในเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปแบบเจอร์มานิคไม่อาจจะทำได้

พระองค์ทรงมีพระประสงค์ ที่จะสร้างชื่อเสียงให้แก่พระองค์เองในฐานะทายาทของประมุขผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ผู้ที่เลียนแบบและแสดงสัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อ ระหว่างความสำเร็จของวัฒนธรรมของคริสเตียนยุคแรก และไบแซนไทน์กับของพระองค์เอง

แต่การวิวัฒนาการของศิลปะ มิใช่แต่เพียงเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของโรมันโบราณเท่านั้น แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ ความขัดแย้งที่เกิดจากการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ เป็นกรณีที่สร้างความแตกแยกในจักรวรรดิไบแซนไทน์

จักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงสนับสนุนสถาบันคริสต์ศาสนา ของตะวันตกที่ไม่อนุญาตให้มีการทำลายรูปเคารพ “กฎบัตรพระเจ้าชาร์ลส์” (Libri Carolini) วางนโยบายของราชสำนัก ซึ่งไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์

หนังสือวิจิตรและงานแกะสลักงาช้างเป็นจำนวนพอสมควร จากสมัยคาโรแล็งเชียงยังคงตกทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่งานศิลปะประเภทอื่นที่รวมทั้งงานโลหะ งานโมเสก หรือ งานเขียนภาพบนผนังมีเพียงจำนวนไม่มากนัก

หนังสือวิจิตรเป็นงานที่ก็อปปีหรือตีความหมายใหม่ จากงานศิลปะโบราณหรือไบแซนไทน์ นอกไปจากอิทธิพลดังกล่าวแล้ว พลังอันมีชีวิตจิตใจของศิลปะเกาะ ก็ยังช่วยเพิ่มอรรถรสแก่งานศิลปะคาโรแล็งเชียงอีกด้วย

ที่บางครั้งก็จะเป็นการตกแต่งด้วยลายสอดประสาน และจะออกไปทางความเป็นอิสระของงานศิลปะเกาะ ที่ใช้การตกแต่งที่แผ่กว้างออกไป และบางครั้ง ก็จะเลยไปยังบทบรรยายที่เป็นตัวอักษรบนหน้าหนังสือด้วย

เมื่อการปกครองโดยคาโรแล็งเชียงสิ้นสุดลงในราวปี ค.ศ. 900 การสร้างงานศิลปะที่มีคุณภาพสูงก็ลดน้อยลงไป เป็นเวลาราวสามชั่วคนในจักรวรรดิ

เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ขบวนการปฏิรูปแอบบีคลูนี และการฟื้นฟูทางด้านจิตวิญญาณของจักรวรรดิ ทำให้การสร้างงานศิลปะรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ลักษณะของศิลปะยุคก่อนโรมาเนสก์ เริ่มปรากฏขึ้นในเยอรมนีในศิลปะออตโตเนียนซึ่งเป็นราชวงศ์ต่อมา ในอังกฤษก็เป็นศิลปะแองโกล-แซ็กซอนหลังจากการรุกรานของไวกิงสิ้นสุดลง และในสเปน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โสรวารสิริวิบูลย์ รัศมิสูรย์รุจิพูนประภัสสร์ค่ะ
Create Date :30 มิถุนายน 2553 Last Update :31 กรกฎาคม 2553 15:20:16 น. Counter : Pageviews. Comments :0