
พระเยซูคืนชีพ Resurrection
เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา ค.ศ. 1460
จิตรกรรมฝาผนัง
225 × 200 cm
ที่พิพิธภัณฑ์ ซานเซพอลโคร
พระเยซูคืนชีพ (Resurrection) เป็นภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา จิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี
ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองซานเซพอลโคร ประเทศอิตาลี
พระเยซูคืนชีพ เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนราวปี ค.ศ. 1460 ชื่อภาพเป็นนัยถึงชื่อของเมืองซานเซพอลโคร ที่เป็นชื่อที่ตั้งตาม วัดโฮลีเซพัลเครอ (Church of the Holy Sepulchre) ที่เมืองเยรุซาเล็ม
ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระเยซู เพราะเมืองซานเซพอลโคร เป็นเจ้าของวัตถุมงคลสองชิ้น ที่นักแสวงบุญสองคนไปนำมาจากกรุงเยรุซาเล็ม ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และพระเยซูเองก็เป็นส่วนหนึ่งของตราประจำเมือง
ในภาพพระเยซูยืนตรงกลางภาพ ในขณะที่ทรงฟื้นจากความตายซึ่งจะเห็นได้จากท่าที่ทรงก้าวขึ้นมาโดยมีพระบาทข้างหนึ่งวางอยู่บนระเบียงเตี้ยๆ ลักษณะพระวรกายเป็นแบบไอคอนที่แข็งนิ่ง ทรงยืนเหนือทหารสี่คนที่นอนหลับไหลอยู่
ทำให้เห็นถึงของความแตกต่าง ระหว่างมวลมนุษย์และเทพ (หรือความตายที่ถูกพิชิตโดยความสว่างจากพระเยซู)
ภูมิทัศน์ที่เป็นแสงตอนรุ่งอรุณ ก็มีคุณค่าทางสัญลักษณ์ ความแตกต่างอย่างอื่นในภาพ ก็คือความแตกต่างระหว่างต้นไม้ ที่มีใบสะพรั่งทางขวาและต้นไม้ที่ไม่มีใบทางซ้าย ซึ่งหมายถึงการฟื้นตัวของมนุษย์ ที่เกิดจากแสงแห่งการฟื้นตัวของพระเยซู
เชื่อกันว่าทหารใส่เสื้อเกราะสีน้ำตาลทางขวา ของพระเยซูเป็นภาพเหมือนตนเองของเปียโร หัวของเปียโรสัมผัสกับคธา ที่พระเยซูทรงถือซึ่งอาจจะหมายถึงการสัมผัสระหว่างเปียโรกับพระเจ้า
ซานเซพอลโคร รอดมาจากการถูกระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะผู้บัญชาการกองทหารอังกฤษ ที่มีหน้าที่ในการระเบิดจำได้ว่าได้อ่านบทความของอัลดัส ฮักซลีย์ ที่บรรยายภาพ พระเยซูคืนชีพ ว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดในโลก
แม้ไม่เคยเห็นรูปที่ว่า กัปตันแอนโทนี คล้าคก็ห้ามการระเบิดเมืองซานเซพอลโคไว้ทัน แต่อันที่จริงแล้วในขณะนั้น ทหารเยอรมันก็ถอยตัวไปแล้ว ถ้าระเบิดเมืองก็เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วุธวารสิริวิบูลย์ รัศมิสูรย์ส่องจำรูญจรัสเรืองค่ะ
Create Date :20 พฤษภาคม 2553
Last Update :26 พฤษภาคม 2553 22:09:21 น.
Counter : Pageviews.
Comments :0