bloggang.com mainmenu search





ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจ็วต
และน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจ็วต
ลักษณะที่ผู้เป็นแบบมีเป็นความกันเองมากขึ้น
ที่แวน ไดค์มาวิวัฒนาการในอังกฤษ ประมาณ ค.ศ. 1638






พระเจ้าชาร์ลที่ 1 (ราว ค.ศ.1635)





อิตาลี

ในปี ค.ศ. 1620 โดยการแนะนำของพี่ชายของดยุ๊คแห่งบัคกิงแฮม แอนโทนี แวน ไดค์เดินทางไปอังกฤษเป็นครั้งแรกเพื่อไปทำงานในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นเงินจำนวน £100

ในลอนดอนแวน ไดค์ได้เห็นงานของทิเชียนที่สะสมโดยทอมัส เฮาเวิร์ด เอิร์ลแห่งอารัลเดลที่ 21 เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นงานการใช้สีและการวางองค์ประกอบที่แวน ไดค์ นำมาปรับปรุงเข้ากับทฤษฏีที่เรียนมากับรูเบนส์ มาเป็นการวางรูปและการใช้สีแบบใหม่ของแวน ไดค์เอง

สี่เดือนหลังจากนั้น แวน ไดค์ก็กลับไปฟลานเดอร์ส และในปี ค.ศ. 1621 ก็ได้เดินทางต่อไปอิตาลี ไปเรียนเพิ่มความรู้ในการเขียนภาพและสร้างชื่อเสียงอยู่ที่นั่น 6 ปี

เมื่ออยู่ที่นั่นแวน ไดค์ ก็มีชื่อเสียงว่าไม่เหมือนใคร เริ่มวางมาด ซึ่งทำให้เป็นที่รำคาญของจิตรกรกลุ่มที่ใช้ชีวิตแบบโบฮีเมียที่โรม จนเบลลอรีกล่าวว่าแวน ไดค์วางท่าเหมือนเซอูซิส เหมือนกับว่าแวน ไดค์จะเป็นเจ้านายมากกว่ามนุษย์เดินดิน

แวน ไดค์จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่หรูหรา เพราะความที่เคยอยู่ในแวดวงของรูเบนส์และคนชั้นสูงๆ อื่นๆ และตัวของแวน ไดค์เองก็เป็นคนหัวสูงอยู่แล้ว จึงต้องทำตัวให้เป็นที่เด่น โดยการแต่งตัวด้วยผ้าไหม ใส่หมวกปักขนนกกลัดด้วยเข็มกลัดอัญมณี ใส่สร้อยทองบนใหล่และมีคนใช้ติดตาม

แวน ไดค์ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เจนัว แต่ก็ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ และไปอยู่ที่ปาร์เลอโมในซิซิลีอยู่พักหนึ่ง ระหว่างที่อยู่เจนัวก็เขียนรูปให้กับเจ้านายที่นั่น โดยการเขียนภาพเหมือนแบบเต็มตัวที่ได้อิทธิพลมาจากการเขียนแบบเวโรนา, ทิเชียน และรูเบนส์ ซึ่งผู้เป็นแบบจะดูสูงแต่สง่าและมองผู้ดูอย่างทรนง

ในปี ค.ศ.1627 แวน ไดค์ เดินทางกลับไปอันท์เวิร์พและไปอยู่ที่นั่นอีกห้าปี เขียนภาพให้กับชาวเฟลมมิชตามลักษณะที่เขียนที่เจนัว คือทำให้ผู้เป็นแบบมีลักษณะที่สง่าที่สุดเท่าที่จะทำได้

งานเขียนรูปเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล 24 ภาพที่บรัสเซลส์ถูกทำลายไปหมดเมื่อปี ค.ศ.1695 แวน ไดค์มีเสน่ห์กับลูกค้า และเหมือนกับรูเบนส์ที่เข้ากับเจ้านายได้อย่างสนิทสนม จึงสามารถได้รับสัญญาว่าจ้างจากลูกค้า

เมื่อปี ค.ศ.1630 แวน ไดค์ก็ได้เป็นช่างเขียนประจำสำนักของอาร์คดัชเชสอิสซาเบลลา ผู้ว่าการฟลานเดอร์สของแฮ็บสเบิร์ก ในระยะเดียวกันนี้แวน ไดค์ก็วาดจิตรกรรมทางศาสนาหลายชิ้น โดยเฉพาะฉากแท่นบูชาและเริ่มงานภาพพิมพ์ด้วย


อังกฤษ

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษทรงนิยมการสะสมศิลปะ เพราะทรงถือว่าเป็นเครื่องส่งเสริมความหรูหราโอ่อ่าของพระบารมีขึ้น ในปี ค.ศ. 1628 ทรงซึ้องานสะสมศิลปะของกอนซากา ดยุ๊คแห่งมานตัว ที่จำต้องขาย

นอกจากนั้นก็ยังทรงพยายามชักชวน จิตรกรชาวต่างประเทศผู้มีชื่อเสียงเข้ามาทำงานกับราชสำนัก ตั้งแต่เริ่มขึ้นครองราชย์ เมื่อปี ค.ศ.1625 ในปี ค.ศ.1626 ทรงสามารถเชิญโอราซิโอ เจ็นทิเล (Orazio Gentileschi) จากอิตาลีให้มาตั้งหลักแหล่งในอังกฤษได้

ต่อมาอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิลูกสาวและลูกชายของเขาก็ตามมาด้วย ศิลปินผู้ทรงอยากชวนให้มาจะให้มาที่สุดคือ Rubens ผู้ซึ่งต่อมาก็มาอังกฤษ ในฐานะทางการทูตซึ่งก็มาเขียนรูปด้วย ในปี ค.ศ.1630 และต่อมาอีกครั้งโดยเอาภาพเขียนจากอันท์เวิร์พมาด้วย

ระหว่างที่มาอยู่ที่ลอนดอน 9 เดีอนก็ได้รับการรับรองเป็นอย่างดี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง

แดเนียล ไมเตนสชาวเฟลมมิชเป็นช่างเขียนภาพเหมือนของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ที่ไม่มีอะไรพิเศษนัก และการที่พระเจ้าชาร์ลที่ 1 มีพระวรกายที่สูงเพียงไม่ถึงห้าฟุต ก็มิได้ช่วยทำให้การเขียนภาพเหมือนของพระองค์ที่ทำให้ดูสง่าผึ่งผายง่ายขึ้นเท่าใดนัก

ขณะที่ไม่ได้อยู่อังกฤษแวน ไดค์ก็ยังมีการติดต่อกับทางราชสำนักอังกฤษอยู่ และยังเป็นผู้ช่วยตัวแทนของราชสำนักอังกฤษ ในการเสาะหาภาพเขียนในยุโรป สำหรับการสะสมของพระเจ้าชาร์ล นอกจากนั้นก็ยังหาภาพของช่างเขียนคนอื่น

แล้ว แวน ไดค์ก็ยังส่งงานของตนเองไปด้วย รวมทั้งภาพเหมือนของตนเองและเอ็นดีเมียน พอร์เตอร์ (Endymion Porter) ตัวแทนของพระเจ้าชาร์ลคนหนึ่ง ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1623

ภาพตำนานเทพ “รินาลโดและอาร์มิลดา” (Rinaldo and Armida) ค.ศ.1629 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะบัลติมอร์ และงานศิลปะศาสนาสำหรับพระชายาของพระเจ้าชาร์ล

แวน ไดค์เขียนภาพของอลิสซาเบ็ธแห่งโบฮีเมีย ผู้เป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลที่กรุงเฮกเมื่อปี ค.ศ.1632 ในเดือนเมษายนของปีเดียวกันแวน ไดค์ก็กลับไปอังกฤษ และได้เข้ารับราชการในราชสำนักทันที

ในเดือนกรกฎาคมก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง และได้รับค่าบำรุงปีละ £200 ต่อปี ตามคำบรรยายหน้าที่ว่า “ช่างเขียนเอกประจำพระองค์” นอกจากเงินประจำปีแล้ว ตามทฤษฏีจะได้ค่าจ้างเขียนภาพแต่ละภาพเป็นจำนวนมากต่างหาก

แต่อันที่จริงแล้วพระเจ้าชาร์ลมิได้จ่ายค่าบำรุงเป็นเวลาถึงห้าปี และลดราคาค่าเขียนภาพหลายภาพ นอกจากนั้นก็ยังมีบ้านให้ที่ริมแม่น้ำที่แบล็คฟรายเออร์ส ซึ่งขณะนั้นอยู่นอกตัวเมืองลอนดอน

ฉะนั้นจึงไม่ต้องขึ้นกับสมาคมช่างเขียนของลอนดอน (Worshipful Company of Painter-Stainers) สำหรับบ้านพักนอกเมืองก็เป็นห้องชุดที่วังเอลแธมซึ่งเป็นวังที่ราชวงค์มิได้ใช้แล้ว

ห้องเขียนภาพที่แบล็คฟรายเออร์ส ซึ่งเป็นที่ที่พระเจ้าชาร์ลและพระราชินีเฮ็นเรียตตา มาเรียพระชายาชอบเสด็จมาเยี่ยมบ่อยๆ จนในที่สุดก็ต้องสร้างทางเดินเพื่อเข้าออกได้สะดวก หลังจากแวน ไดค์เข้ามาเป็นช่างเขียนประจำพระองค์ พระเจ้าชาร์ลก็เกือบมิได้นั่งให้ช่างเขียนอื่นเขียนภาพของพระองค์อีก


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานรมเยศค่ะ
Create Date :14 กรกฎาคม 2553 Last Update :31 กรกฎาคม 2553 15:17:40 น. Counter : Pageviews. Comments :0