bloggang.com mainmenu search





“จิตรกรรมมาเอสตา” ค.ศ.1280 - ค.ศ.1285
ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ ฟลอเรนซ์






“Crucifix” ค.ศ.1287 - ค.ศ.1288
ที่ บาซิลิกาดิซานตาโครเช (Basilica di Santa Croce)
ฟลอเรนซ์





เชนนี ดิ เป็บโป (จิโอวานนี) ชิมาบูเย (ภาษาอิตาลี: Cenni di Pepo (Giovanni) Cimabue) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เบนชิเวียนี ดิ เป็บโป (Bencivieni Di Pepo) หรือในภาษาอิตาลีสมัยใหม่ว่า เบนเวนูโต ดิ จุยเซ็พปี (Benvenuto Di Giuseppe)

(ประมาณ ค.ศ. 1240 - ประมาณ ค.ศ. 1302) เป็นจิตรกรและช่างโมเสกชาวอิตาลีจากเมืองฟลอเรนซ์ (ผู้เป็นอาจารย์ของจอตโต ดี บอนโดเน)

ชิมาบูเยมีบทบาทสำคัญต่องานจิตรกรรมในประเทศอิตาลี และถือว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญคนสุดท้าย ของสมัยศิลปะไบแซนไทน์

ศิลปะยุคนี้ประกอบด้วยโครงสร้างและทิวทัศน์ ที่ยังเป็นสองมิติและเป็นสมัยที่เน้นการตกแต่ง (highly stylized) คล้ายจิตรกรรมฝาผนังในวัดไทย ชิมาบูเยเป็นผู้ริเริ่มการวาดแบบใกล้เคืยงธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากรูปคนที่ขนาดสัดส่วนเท่าคนจริง และการเริ่มใช้แสงเงาบ้างเล็กน้อย


ประวัติ

หลักฐานเกี่ยวกับชีวิตของชิมาบูเยมีน้อยมาก เราจึงไม่ค่อยทราบประวัติชีวิตของเขา นอกจากทราบว่าเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ จอร์โจ วาซารีกล่าวถึงชิมาบูในหนังสือ “ชีวิตจิตรกร” (Le Vite) ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะเล่มแรกแต่เขียน 200 ปีหลังจากชิมาบูเยเสียชีวิตไปแล้ว

ฉะนั้นความเที่ยงตรงจึงไม่เป็นที่แน่นอน วาซารีกล่าวว่าเมื่อชิมาบูเยยังเด็ก “แทนที่จะเรียนหนังสือ ชิมาบูเยใช้เวลาส่วนใหญ่วาดรูปคน ม้า บ้าน และสิ่งต่างๆ ที่เขาจินตนาการ”

แต่คำบรรยายที่ทำให้เราเห็นถึงความมุ่งมั่นของศิลปิน เป็นคำบรรยายที่มักจะใช้กันมากในการบรรยายชีวะประวัติของศิลปิน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากวาซารีแล้ว ดานเต (Dante) ก็กล่าวถึงชิมาบูเยในหนังสือเรื่อง “Purgatorio”


ชิมาบูเยเสียชีวิตที่พิซา

งาน

ถ้าดูจากค่าสัญญาว่าจ้างที่ได้รับ ชิมาบูเยก็ดูเหมือนว่าจะเป็นศิลปินที่มี่ชื่อเสียงในสมัยนั้น ขณะที่ชิมาบูเยทำงานอยู่ที่ฟลอเรนซ์ ดูชิโอเป็นจิตรกรคนสำคัญของเมืองเซียนนา และอาจจะเป็นคู่แข่งของชิมาบูเยก็ได้

งานชิ้นสำคัญที่ชิมาบูเยได้รับคืองานจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่สองบริเวณในมหาวิหารเซนต์ฟรานซิสแห่งอาซิซิ ซึ่งอยู่ในบริเวณแขนกางเขนเป็นภาพ “พระเยซูบนกางเขน” (Crucifixion) และ “การนำร่างพระเยซูลงจากกางเขน” (Deposition)

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่บริเวณนี้ค่อนข้างมืด จึงทำให้เห็นผลงานของชิมาบูเยอย่างไม่ได้อย่างเต็มที่ ระหว่างที่มหาวิหารถูกยึดครองโดยทหารชาวฝรั่งเศส ก็เกิดไฟไหม้ฟางที่ทำให้ความเสียหายแก่ภาพเขียน

สีขาวที่มีเงินเป็นส่วนผสม ทำปฏิกิริยากับอ็อกซิเจนทำให้กลายเป็นสีดำ ทำให้ใบหน้าและเสื้อผ้ากลายเป็นเน็กกาทีฟ

งานของชิมาบูเยที่ได้รับความเสียหายอีกชิ้นหนึ่ง คือกางเขนใหญ่ที่บาซิลิกาซานตาโครเชที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นงานชิ้นที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งทางศิลปะ เสียหายอย่างหนักเมื่อเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ที่ฟลอเรนซ์เมื่อปี ค.ศ. 1966 ทั้งสีและผิวหน้าของภาพถูกชะไปเกือบหมด

งานของชิมาบูเยที่ยังเหลืออยู่ก็ได้แก่ “Madonna of Santa Trinita” ซึ่งเคยอยู่ที่วัดซานตาทรินิตา แต่ปัจจุบันตั้งแสดงพร้อมกับภาพ “Rucellai Madonna” โดยดูชิโอ และ “Ognissanti Madonna” โดยจอตโต ที่พิพิธภัณฑ์อูฟิซิ (Uffizi museum)

ชั้นล่างของบาซิลิกาเซ็นต์ฟรานซิส เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังชิ้นที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของชิมาบูเย ที่แสดงภาพพระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์ ล้อมรอบด้วยนักบุญและนักบุญฟรานซิส ซึ่งว่ากันว่าเป็นงานที่ชิมาบูเยทำเมื่ออายุมากแล้ว

งานอีกสองชิ้นที่สันนิษฐานว่าเป็นของชิมาบูเยคือภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” (The Flagellation of Christ) ซึ่ง พิพิธภัณฑ์ฟริค (Frick Collection) จาก นครนิวยอร์กเป็นผู้ซื้อไปเมื่อ ค.ศ. 1950

ซึ่งขณะนั้นเรื่องใครเป็นศิลปินของภาพนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่เมื่อปี ค.ศ. 2000 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ลอนดอนซึ้อภาพ “พระแม่มารีกับพระบุตรบนบัลลังก์กับเทวดาสององค์” (The Virgin and Child Enthroned with Two Angels) ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ไม่ว่าจะเป็นขนาด วัสดุที่ใช้วาด ขอบสีแดง การตัดขอบและอื่นๆ

ฉะนั้นทั้งสองภาพนี้ในปัจจุบันจึงสันนิษฐานกันว่า เป็นงานที่เป็นชุดเดียวกันจากบานพับภาพสอง หรือสาม ของฉากแท่นบูชา ภาพคู่นี้เชื่อกันว่าวาดราวปี ค.ศ. 1280 พิพิธภัณฑ์ฟริคจึงยืมภาพ “พระแม่มารีกับพระบุตร” เพื่อไปตั้งแสดงคู่กับ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” เมื่อปี ค.ศ. 2006

อีกภาพหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาของชิมาบูเย คือภาพเล็กชื่อ “พระแม่มารีกับพระบุตร กับนักบุญปีเตอร์และนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” (Madonna and Child with SS. Peter and John the Baptist)

ที่ปัจจุบันอยูที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ซึ่งเขียนโดยชิมาบูเยหรือลูกศิษย์ประมาณปี ค.ศ. 1290


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วุธวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสสวัสดิ์สิริค่ะ
Create Date :03 กรกฎาคม 2553 Last Update :7 กรกฎาคม 2553 21:17:12 น. Counter : Pageviews. Comments :0