bloggang.com mainmenu search





งานบรรพศิลป์ที่พิพิธภัณฑ์เทอร์ราค็อตตาอินเดีย
นิวเดลี อินเดีย




บรรพศิลป์ หรือ อนารยศิลป์ (Primitive art หรือ Tribal art) เป็นคำ
ศัพท์กว้างๆ ที่ใช้บรรยายวัตถุหรือสิ่งที่สร้างโดยชนพื้นเมืองผู้มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Primitive culture) ที่อาจจะเรียกว่า “'Ethnographic art” หรือ “Arts Primitive” (“บรรพศิลป์”) บรรพศิลป์แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม

ศิลปะแอฟริกัน
ศิลปะโลกใหม่ หรือ ศิลปะอเมริกา (ไม่ใช่ “ศิลปะอเมริกัน”)
ศิลปะโอเชียเนีย


นิยามและลักษณะ

“บรรพศิลป์” อาจจะถือว่าเป็นศิลปะพื้นบ้านที่มักจะเป็นศิลปะ ที่มีความสำคัญทาง ประเพณี/ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเฉพาะของชนเผ่าใดชนเผ่าหนึ่ง

โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป และจะเป็นศิลปะที่คำนึงถึงหัวข้อที่ทำ และ ฝีมือในการสร้างจากประชาคมกลุ่มเล็ก (ชนเผ่า) ที่มักจะไม่มีประเพณีการอ่านการเขียน

“บรรพศิลป์” ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดมาจากทวีปอเมริกา (ตัวอย่างเช่นงานของอินนิวอิท, อเมริกันอินเดียนเกรตเพลน (Plains Indians--อเมริกันอินเดียนจากตอนกลางของสหรัฐอเมริกา) และจากดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คนในอเมริกากลาง และ อเมริกากลางใต้)

โอเชียเนีย (โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย เมลานีเซีย นิวซีแลนด์ และ โพลีนีเซีย) และ แอฟริกาซับซาฮารา ลักษณะของสังคมที่สร้างศิลปะตระกูลนี้ก็ได้แก่

สังคมที่แยกจากสังคมอารยธรรมหลักของยุโรป แอฟริกาเหนือ หรือ เอเชียทั้งทางที่ตั้ง ทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ
สังคมที่ใช้ประเพณีมุขปาฐะ (oral tradition) เป็นหลัก ไม่มีการอ่านการเขียน

สังคมขนาดเล็กและเป็นอิสระ มักจะอยู่ในรูปของหมู่บ้านที่มีประชากรราวสองสามร้อยคน และการติดต่อสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวโดยตรงโดยปราศจากการจัดระเบียบสังคม (social organization) หรือมารยาทการสังคมที่วางไว้อย่างเป็นทางการ งานจำนวนน้อย/เชี่ยวชาญศิลปะเฉพาะทาง

สังคมล่าสัตว์-เก็บพืชผัก (Hunter-gatherer) ที่ดำรงชีวิตแบบยังชีพ หรือ ถ้าทำการเกษตรก็เป็นการเกษตรขนาดเล็กระดับพอกิน

ขาดเทคโนโลยีที่เกินไปกว่าเครื่องมือง่ายๆ ที่อาจจะทำจากหินแทนที่จะเป็นโลหะ

สังคมที่มีแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม จนมาถึงก่อนหน้าที่จะมีการติดต่อกับชาวยุโรป


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร ปรีดิ์มานเปรมปราโมทย์ค่ะ
Create Date :14 มิถุนายน 2553 Last Update :21 มิถุนายน 2553 0:32:02 น. Counter : Pageviews. Comments :0