bloggang.com mainmenu search
ผมเองเป็นหนึ่งในแกนนำม็อบหน้าม้า หาคนดูเข้าไปชม เพราะประทับใจกับความรู้สึกอิ่มอุ่นที่หนังมอบให้ ดั่งหลักฐานที่เขียนไว้ใน blog นี้



ขออาสาเป็นหน้าม้า ขออาสาเป็นป๋าดัน เชียร์หนัง .. Always: Sunset on Third Street (หนังของเขาดีจริงๆ)
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&group=5&month=04-2006&date=24&blog=1



... แม้หนังจะอยู่ในกลุ่มที่ บิวท์สุดฤทธิ์ แต่ผมก็ไม่ขัดข้องหาก การบิวท์นั้นมีประสิทธิภาพมากพอที่จะโน้มน้าวให้เราคล้อยตามที่จะรักและอินไปกับมัน ดั่งที่เขียนไว้ใน blog นี้

Always: Sunset on Third Street , บางสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา แต่สัมผัสได้ด้วยใจ//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&month=05-2006&date=13&group=1&blog=1



... ความจำสุดท้ายเมื่อสองปีก่อน คือ ความรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่ผมไม่อยากให้สร้างภาคต่อ เพราะ ภาคแรกจบสมบูรณ์ในตัวเองแล้ว แต่เมื่อผู้สร้างทีมเดิมคิดจะสร้างภาคสองขึ้นมาจะให้พลาดได้อย่างไร




...เรื่องราวในภาคสอง สานต่อภาคแรกแบบไม่ทิ้งช่วงไปนาน นับตั้งแต่ ฮิโรมิรับแหวนที่มองไม่เห็นหนีไปเป็นนางระบำ ส่วน ริวโนะสุเกะก็รับอุปการะเด็กที่ชื่นชมเขาไว้ดูแลดั่งลูกชาย จุดเริ่มต้นของภาคนี้คือเมื่อพ่อตัวจริงของ จุนโนะสุเกะ หวนกลับมาเพื่อต้องการรับลูกกลับไปเลี้ยงเอง เพราะเชื่อว่า นักเขียนไส้แห้งคงไม่สามารถดูแลลูกเขาได้ดีพอ

ธีมหลักในภาคนี้พูดแบบชัดแจ้งตรงไปตรงมาผ่านปากตัวละครพ่อผู้เป็นนักธุรกิจตั้งแต่ต้นเรื่อง เกี่ยวกับ ‘บางสิ่งที่ไม่ได้สามารถซื้อหาได้ด้วยเงินตรา กับ การปรับตัวของญี่ปุ่นผ่านยุคสงคราม’


...จากนั้น หนังก็เริ่มนำเสนอตัวละครใหม่ๆ+พล็อตย่อยๆ เช่น

พฤติกรรมต่อต้านแกมแก่แดด จากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ , การใช้ชีวิตแบบรู้สึกผิดในฐานะผู้อยู่รอด (survivor guilt) ของอดีตทหารเก่า , การก้าวเข้ามาของเด็กหนุ่มในชีวิตของโรขุ , อดีตรักฝังใจของหญิงสาวที่ต้องพลัดพรากเพราะสงคราม

เรื่องราวใหม่ๆเหล่านี้ถูกแต่งแต้มเข้ามาในหนังภาคสอง เพื่อขับย้ำธีม‘บางสิ่งที่ไม่ได้สามารถซื้อหาได้ด้วยเงินตรา กับ การปรับตัวของญี่ปุ่นผ่านยุคสงคราม’ ที่หนังต้องการสื่อสาร แต่ เรื่องราวใหม่ๆที่ใส่เข้ามา ส่วนที่เด่นที่สุดในหนังภาคนี้ก็ยังมาจากพล็อตเก่าในภาคแรก นั่นคือ ส่วนของนักเขียนหนุ่ม กับ เด็กผู้ชาย และ หญิงสาว

...สามคนนี้คือตัวละครสำคัญที่ตบประเด็น บางสิ่งที่มีคุณค่าสำคัญกว่าเงินตรา ให้ชัดเจนเรียกน้ำตาอีกครั้ง เมื่อ ชายหนุ่มพิสูจน์ให้คนรอบข้างเห็นว่าแม้ไม่มีเงินทองแต่เขาก็ไม่ยอมปล่อยให้คนดูถูกโดยไม่ทำอะไร และ พยายามเต็มความสามารถที่จะรั้งคนที่รักไว้ให้อยู่กับตัว จนถึงสุดท้ายหากรู้ว่าตัวเองไม่สามารถดูแลคนที่รักได้ดีพอ ก็พร้อมจะปล่อยให้เขาไปมีอนาคตที่ดีกว่า

ด้วย ความรักและความดี ที่ไม่สามารถตีค่าเป็นราคาได้นี้เอง จึงทำให้ พ่อที่แท้จริง ไว้วางใจและเชื่อมั่นที่จะฝากลูกตัวเองไว้ต่อไปแม้จะไม่เต็มใจนักก็ตาม เช่นเดียวกับ หญิงคนรักที่สัมผัสได้ถึง ความรักและห่วงใยอันแท้จริง ซึ่ง แหวนที่มองไม่เห็น ย่อมมีคุณค่ามีราคามากกว่า ทรัพย์สมบัติของคนที่เธอไม่ได้รักมอบให้

ประเด็นในส่วนนี้ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักให้ประเด็นที่สอง นั่นคือ หลังญี่ปุ่นถูกสงครามทำลายลง แม้ผู้คนจะยังยากจนกำลังก่อร่างสร้างตัว สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูประเทศหาใช่เงินทอง แต่เป็น ความดีงามและความรักของผู้คนต่างหากที่สำคัญ

เพราะมันเป็นพลังสำคัญในการก่อเกิด ความหวังอันเรืองรองเฉกเช่นแสงสว่างที่ทุกคนเฝ้ามองบนหอคอยโตเกียว เช่นเดียวกับที่พ่อของจุนโนะสุเกะมองเห็นในตัว นักเขียนไส้แห้งยากจนคนหนึ่ง


....ภาคนี้หากมองอย่างไม่เปรียบเทียบ ก็จัดได้ว่า เป็นหนังอิ่มอุ่นหัวใจอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งทำออกมาได้ไม่ขัดเขิน มี CG ที่เนียนตา มีการแสดงที่เรียกเสียงฮาและเรียกความประทับใจ

แต่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่แฟนๆต้องคิดถึงภาคแรก ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อภาคแรกลอยขึ้นมา ภาคนี้ถือว่าด้อยกว่าในทันที เพราะ ตัวละครใหม่ๆที่ใส่เข้ามาไม่สามารถสร้างความประทับใจได้ติดตรึง พล็อตย่อยๆที่กระจายในภาคนี้ไม่มีน้ำหนักน่าสนใจใกล้เคียงส่วนของ นักเขียนหนุ่ม

ซึ่งต่างจากภาคก่อน ที่พล็อตย่อยชีวิตอื่นๆบนถนนสายที่ 3 แห่งนี้ สามารถเรียกน้ำตาและความประทับใจได้ไม่แพ้กัน เช่น เราร้องไห้ให้กับเด็กสองคนที่กลับบ้านช้า เราเสียน้ำตาให้กับแหวนที่มองไม่เห็น เราน้ำตาซึมให้กับเด็กสาวที่คิดว่าครอบครัวไม่รัก ฯลฯ


...ภาคนี้ถึงจะมี ความพยายามบิวต์อารมณ์ น้อยกว่าภาคแรก แต่ ปัญหาคือ ภาคแรกอาจจะจงใจใส่ความรู้สึกดีเต็มที่แต่มันก็มีศักยภาพมากเพียงพอที่เราจะฟีลกู๊ดตามไปกับหนัง แต่พอผกก.ลดพลังตรงจุดนี้ไป เรากลับเริ่มรู้สึกถึงความเลี่ยนๆเรื่อยๆแบบไม่อินดีเท่าไหร่นัก บทที่เขียนมาให้บุคลิกตัวละครกับซับพล็อตในภาคนี้ยังไม่มีพลังขยี้อารมณ์ได้มากพอ

ยังดีที่ช่วงท้าย หนังตีตื้นรีดน้ำตาขึ้นมาได้บ้าง เมื่อหนังกลับมาบิวท์ได้มีประสิทธิภาพเหมือนภาคแรก คือ ถึงเราจะรู้ว่ามันน้ำเน่าหนักหนา มันเมโลดราม่าสุดฤทธิ์ แต่เราก็ยินดีที่จะปล่อยใจให้คล้อยตามก่อนจะปิดฉากลงอย่างสวยงาม จะน่าผิดหวังเล็กน้อยก็ตรง ภาคนี้ดูเหมือนอะไรต่อมิอะไรจะบอกกันจะๆแจ้งๆไม่ปล่อยให้คนดูได้คิดแล้วอิน เช่น ตอนจบของภาคแรก หนังไม่ได้มีบทสรุปให้ทุกชีวิต แต่ มอบความหวังทิ้งไว้ให้จินตนาการคนดูได้เติมเต็มด้วยตัวเอง แต่ ตอนจบของภาคนี้ค่อนข้าง บอกบทสรุปเบ็ดเสร็จชัดเจนโดยไม่เหลือช่องว่างใดๆให้กับคนดู


สรุป ... ดูภาคแรกมาแล้ว ภาคนี้ย่อมห้ามพลาด แต่ยังไม่เคยดูซักภาค น่าจะหาภาคแรกมาดูก่อน



สามารถติดตามบทสรุป การให้คะแนน และบทวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้เพิ่มเติม หรือบทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ พร้อมความเห็นของเพื่อนร่วมบล็อคที่รักการดูหนัง ได้ที่ //vreview.yarisme.com พร้อมลุ้นรับบัตร Major M Cash มูลค่า 500 บาท จำนวน 8 ใบ ทุกเดือน





แจ้งข่าวครับ :

เชิญชวนเพื่อนผู้อ่านทั้งใน Blog และ ใน Book มาพบปะพูดคุยและบังคับแจกลายเซ็น ที่ บูธซีเอ็ด ใน งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน เที่ยงครึ่งถึงบ่ายสองโมง จ้า (อย่าปล่อยข้าพเจ้านั่งหง่าวเพียงลำพังเลย)





ขอฝาก พ็อกเก็ตบุ้คสองเล่มที่เกี่ยวกับหนังแต่ไม่ใช่ หนังสือวิจารณ์หนังเพราะ "หนังสือรัก" เป็นการหยิบยกความรักและความสัมพันธ์ในภาพยนตร์ มาช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง ได้มากขึ้นและลึกซึ้งกว่าเดิม ส่วน องศาที่ 361 หนังสือเล่มล่าสุดที่จะช่วยให้คุณค้นหามุมเล็กๆในตัวเองที่จะมีความสุขในชีวิตได้มากขึ้น โดยไม่ต้องมองหาจากผู้อื่น


เพื่อนๆที่หาซื้อตามร้านไม่ได้ "หนังสือรัก"เข้าไปสั่งได้จากเว็บของสนพ.เลยจ้าที่ //www.bynatureonline.com/store/bookstore.php ส่วน องศาที่ 361 สั่งได้จากเว็บของซีเอ็ดครับผม




ชวนไปอ่านบทความเรื่องอื่นๆ คลิกhtmlentities(' >')> หน้าสารบัญ

ชวนคลิก ชวนคุยกับเจ้าของ Blog ที่ --> หน้าแรก

รวบรวมรายชื่อหนังเรื่องเก่าๆที่เคยเขียนไว้แล้วที่ ---> ห้องเก็บหนัง




ขอคิดค่าบริการต่อการอ่าน 1 หน้าในอัตราเพียง

ความเห็น
ของคุณมีประโยชน์กับผู้อ่านคนถัดมา คำทักทายของคุณเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน คำติชมหรือคำแนะนำของคุณจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาหากคุณเข้ามาอ่านครั้งถัดไป
Create Date :03 เมษายน 2551 Last Update :3 เมษายน 2551 3:14:23 น. Counter : Pageviews. Comments :16